ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลเดดซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทะเลตาย)
ทะเลเดดซี
ทะเลเดดซีมองจากชายฝั่งอิสราเอล
ทะเลเดดซีตั้งอยู่ในประเทศอิสราเอล
ทะเลเดดซี
ทะเลเดดซี
ที่ตั้งเอเชียตะวันตก
พิกัด31°30′N 35°30′E / 31.500°N 35.500°E / 31.500; 35.500
ชนิดของทะเลสาบทะเลปิด
ทะเลสาบน้ำเค็ม
ชื่อในภาษาแม่
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำจอร์แดน
แหล่งน้ำไหลออกไม่มี
พื้นที่รับน้ำ41,650 ตารางกิโลเมตร (16,080 ตารางไมล์)
ประเทศในลุ่มน้ำอิสราเอล, จอร์แดน และเวสต์แบงก์
ช่วงยาวที่สุด50 กิโลเมตร (31 ไมล์)[1] (เฉพาะทางเหนือ)
ช่วงกว้างที่สุด15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ605 ตารางกิโลเมตร (234 ตารางไมล์) (2016)[2]
ความลึกโดยเฉลี่ย199 เมตร (653 ฟุต)[3]
ความลึกสูงสุด298 เมตร (978 ฟุต) (จุกต่ำสุด, ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 728 เมตร ลบความสูงพื้นผิวปัจจุบัน)
ปริมาณน้ำ114 ลูกบาศก์กิโลเมตร (27 ลูกบาศก์ไมล์)[3]
ความยาวชายฝั่ง1135 กิโลเมตร (84 ไมล์)
ความสูงของพื้นที่−430.5 เมตร (−1,412 ฟุต) (2016)[4]
อ้างอิง[3][4]
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (อังกฤษ: Dead Sea; ฮีบรู: יַם הַמֶּלַח, ยัม ฮาเมลาห์; อาหรับ: اَلْبَحْرُ الْمَيْتُ, อัลบะห์รุลมัยต์) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่เป็นชายแดนของประเทศจอร์แดนทางตะวันออก และเวสต์แบงก์กับอิสราเอลทางตะวันตก

ค.ศ. 2019 พื้นผิวทะเลสาบอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 430.5 เมตร (1,412 ฟุต)[4][5] ทำให้เป็นชายฝั่งที่ต่ำที่สุดในโลก ด้วยความลึก 304 เมตร (997 ฟุต) ทำให้เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ลึกที่สุดในโลก และด้วยความเค็มของน้ำอยู่ที่ 342 กรัม/กิโลกรัม หรือ 34.2% (ใน ค.ศ. 2011) ทำให้เป็นหนึ่งในแหล่งน้ำที่เค็มที่สุดในโลก[6] และมีความหนาแน่นที่ 1.24 กิโลกรัม/ลิตร ซึ่งทำให้นักว่ายน้ำลอยตัวขึ้น[7][8] ความเค็มนี้ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อพืชและสัตว์ จึงเป็นที่มาของชื่อนี้

ทะเลเดดซีดึงดูดนักเดินทางทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาพันกว่าปี โดยเป็นหนึ่งในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพแห่งแรกของโลก (สำหรับพระเจ้าเฮโรดมหาราช) และเป็นสถานที่ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ตั้งแต่ยางมะตอยสำหรับมัมมีอียิปต์จนถึงโพแทชสำหรับปุ๋ย ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวเดินทางมายังทะเลนี้ทั้งในประเทศอิสราเอล จอร์แดน และเวสต์แบงก์

น้ำในทะเลเดดซีลดลงในอัตราที่รวดเร็ว โดยพื้นผิวในปัจจุบันอยู่ที่ 605 ตารางกิโลเมตร (234 ตารางไมล์) (ใน ค.ศ. 1930 พื้นผิวน้ำอยู่ในระดับ 1,050 ตารางกิโลเมตร (410 ตารางไมล์)) โดยมีการเสนอโครงการคลองและท่อส่งหลายรายการ เพื่อไม่ให้น้ำในทะเลลดลง เช่นโครงการ Red Sea–Dead Sea Water Conveyance ที่ถูกยกเลิกแล้ว[9]

ชื่อ

[แก้]

ชื่อ "ทะเลเดดซี" (Dead Sea) ในภาษาอังกฤษ เป็นคำที่ยืมแบบแปลจากชื่อในภาษาอาหรับว่า บะหร์ หรือ อัลบะห์รุลมัยยิต (البحر الميت),[10] ซึ่งiยืมแบบแปลจากภาษากรีกโบราณว่า (Νεκρά Θάλασσα, Nekrá Thálassa) และชื่อภาษาละตินว่า (Mare Mortuum) ที่อิงจากการขาดแคลนสัตว์น้ำที่เกิดจากความเค็มของทะเลสาบ ชื่อนี้ปรากฏในวรรณกรรมฮีบรูเป็น Yām HaMāvet (ים המוות), "ทะเลมรณะ"[11]

ชื่อทะเลสาบที่พบในภาษาฮีบรูไบเบิล[12] และฮีบรูสมัยใหม่คือทะเลเกลือ (ים המלח, Yām HaMelaḥ) ส่วนชื่ออื่นที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลได้แก่ ทะเลอะราบา (ים הערבה, Yām Ha‘Ărāvâ) และทะเลตะวันออก (הים הקדמוני, HaYām HaKadmoni) ส่วนในภาษาอาหรับ รู้จักกันในชื่อทะเลลูฏ (بحر لوط, Buhayrat,[13] Bahret, หรือ Birket Lut)[14] ซึ่งมาจากชื่อหลานชายของอับราฮัม ท่านมีภรรยาที่ถูกสาปให้เป็นเสาเกลือในช่วงการทำลายล้างเมืองโสโดมและโกโมราห์

ประวัติ

[แก้]
วิดีโอสั้นเกี่ยวกับทะเลเดดซีจาก Israeli News Company
การสะสมเกลือ (มองเช่นปล่องภูเขาไฟ) อยู่ใกล้พื้นผิวของทะเลเดดซี (มุมมองทางอากาศ, 2007)

ชื่อ ทะเลมรณะ ในภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทย แปลมาจากภาษาเดิมว่า Dead Sea มีประวัติย้อนไปสมัยฐปนนท์ (323–30 ปีก่อนคริสตกาล) เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในไบเบิล เพราะเป็นยุคสมัยของอับราฮัม (บรรพบุรุษของชาวฮีบรูและอาหรับ) และการทำลายเมืองโสโดมและกอมอร์ราห์ (ปรากฏในพระคัมภีร์เก่า กล่าวว่าถูกทำลายจากไฟสวรรค์ เพราะความชั่วร้ายของผู้คนในดังกล่าวคงจะจมในบริเวณตอนใต้ของทะเลเดดซี) แม่น้ำที่แตกสาขาออกไป เป็นทางหนีของกษัตริย์ดาวิด (กษัตริย์แห่งอิสราเอล) และภายหลังก็เป็นทางหนีของกษัตริย์เฮโรด กษัตริย์แห่งยูดาย

ทะเลเดดซีกินเนื้อที่ส่วนต่ำสุดของถ้ำในทะเลจอร์แดน-ทะเลเดดซี (ยาว 560 กิโลเมตร) ซึ่งขยายออกไปจากทางเหนือของสันปันน้ำแอฟริกาตะวันออก เป็นภูเขาที่จมลงในเขตรอบเลื่อนทวีปขนานสองรอย คือทางตะวันออก ตามขอบที่ราบสูงโมอาบ ซึ่งมองจากทะเลสาบนี้เห็นได้ง่ายกว่ารอยเลื่อนตะวันตก

ในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส (208–66.4 ล้านปีที่ผ่านมา) ก่อนการเกิดถ้ำ ทะเลเมดิเตอร์เคไมโอซีน (23.7–5.3 ล้านปี) ก้นทะเลยกตัวขึ้น ทำให้มีระดับสูงกว่าเดิมมาก

ทะเลเดดซีอยู่ในเขตทะเลทราย น้ำเค็ม มีฝนตกน้อยและไม่สม่ำเสมอ ประมาณ 65 มิลลิเมตรต่อปี

เหตุที่เรียกว่าเดดซีเพราะทะเลสาบนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีเพียงแม่น้ำจอร์แดนที่ไหลลงสู่ทะเลเ เมื่อเวลาผ่านไปน้ำในทะเลนี้ระเหยขึ้นทำให้เกลือในทะเลสาบเดดซีตกค้างอยู่ในบริเวณเดิมน้ำในทะเลสาบเดดซีจึงมีความเค็มมากกว่าน้ำทะเลปกติ 6 เท่า จึงทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Virtual Israel Experience: The Dead Sea". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 21 January 2013.
  2. "The Dead Sea Is Dying Fast: Is It Too Late to Save It, or Was It Always a Lost Cause?". Haaretz. 7 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 Dead Sea Data Summary 2015.Water Authority of Israel.
    "Red Sea - Dead Sea Water Conveyance Study Program". The World Bank Group. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-15.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Long-Term changes in the Dead Sea". Israel Oceanographic and Limnological Research - Israel Marine Data Center (ISRAMAR).
  5. "Israel and Jordan Sign 'Historic' $900 Million Deal to Save the Dead Sea". Newsweek. 2015-02-27.
  6. Goetz, P. W., บ.ก. (1986). "Dead Sea". The New Encyclopædia Britannica. Vol. 3 (15th ed.). Chicago. p. 937.
  7. R W McColl, บ.ก. (2005). Encyclopedia of world geography. Facts on File. p. 237. ISBN 9780816072293.
  8. "Dead Sea - Composition of Dead Sea Water". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04.
  9. "5 alliances shortlisted to execute Red-Dead's phase I". The Jordan Times. 27 November 2016. สืบค้นเมื่อ 3 December 2016.
  10. คำกำกับนามอันแรก อัล- มักไม่จำเป็นและไม่ค่อยได้ใช้
  11. David Bridger; Samuel Wolk (September 1976). The New Jewish Encyclopedia. Behrman House, Inc. p. 109. ISBN 978-0-87441-120-1. สืบค้นเมื่อ July 25, 2011. It was named the "Dead Sea" because of the fact that no living thing can exist there, since the water is extremely salty and bitter.
  12. KJV
  13. Moshe Sharon (1999). Bani Na'im: Maqam an-Nabi Lut. Corpus Inscriptionum Arabicarum Palaestinae (CIAP). Vol. Two: B-C. Leiden-Boston-Köln: Brill. p. 15 (of pp.12–21). ISBN 978-90-04-11083-0. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
  14. Dead Sea: Israel and Jordan. Library of Congress: Subject Headings. Vol. 1: A-E (14th ed.). Washington, D.C.: Cataloging Distribution Service, Library of Congress. 1991. p. 1163. ISSN 1048-9711. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Dead Sea
  • คู่มือการท่องเที่ยว Dead Sea จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ) (Israeli and West Bank part and Jordanian part)
  • นิยามแบบพจนานุกรมของ Dead Sea ที่วิกิพจนานุกรม