โกวิท วัฒนกุล
โกวิทย์ วัฒนกุล | |
---|---|
เกิด | 29 มกราคม พ.ศ. 2497 จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย |
คู่สมรส | วาสนา วัฒนกุล (2527–ปัจจุบัน) |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2522–ปัจจุบัน |
พระสุรัสวดี | พ.ศ. 2531 ดาวร้ายฝ่ายชายยอดเยี่ยม จาก ตลาดพรหมจารี |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | พ.ศ. 2544 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จาก เกมล้มโต๊ะ |
โทรทัศน์ทองคำ | พ.ศ. 2534 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก ไผ่แดง |
เมขลา | พ.ศ. 2529 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก แม่เอิบ พ.ศ. 2534 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก ไผ่แดง |
ฐานข้อมูล | |
IMDb | |
ThaiFilmDb |
โกวิทย์ วัฒนกุล (เกิด 29 มกราคม พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น เมา เป็นนักแสดงและนักการเมืองชาวไทย ที่มีผลงานการแสดงตั้งแต่ พ.ศ. 2522
ประวัติ
[แก้]โกวิทย์ วัฒนกุล เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดชัยภูมิ โดยก่อนเข้าสู่วงการบันเทิง โกวิทย์เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ตำแหน่งพนักงานขบวนรถ(พนักงานห้ามล้อ) และเคยเป็นนักมวยในค่าย แต่ด้วยรูปร่างที่กำยำเพราะต่อยมวยจึงลาออกและเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการชักชวนของเกชา เปลี่ยนวิถี เริ่มแจ้งเกิดจากการเป็นพระเอกภาพยนตร์โทรทัศน์ทางช่อง 3 เรื่อง ขุนศึก ในปี พ.ศ. 2522 ในบท "เสมา" ต่อมาได้แสดงภาพยนตร์ไทยเรื่องชายสามโบสถ์ในบทพระเอก คู่กับ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ในปี พ.ศ. 2524 จนเริ่มมีชื่อเสียงในจอเงิน โดยผ่านการแสดงภาพยนตร์กว่า 200 เรื่อง เช่น สิงโตคำราม, ไอ้ผาง รฟท., นางแมวป่า, กตัญญูประกาศิต, 7 พระกาฬ, เกียรติศักดิ์ทหารเสือ, เพชรตัดเพชร, เรือนแพ รวมทั้งละครโทรทัศน์ เช่น แม่เอิบ, โผน กิ่งเพชร, ทองเนื้อเก้า, หนุ่มทิพย์, ไผ่แดง เป็นต้น ต่อมาได้ผันตัวไปเป็นพ่อค้าน้ำอ้อยเนื่องจากงานแสดงน้อยลง และแสดงในหนังผีอย่างเช่นพรายตะเคียน (2530), ตะเคียนคู่ (2533) และหนังเฉพาะทางของญี่ปุ่นที่มีโอกาสมาถ่ายทำในเมืองไทยหลายเรื่อง โกวิทย์ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2531 ในฐานะดาวร้ายชายยอดเยี่ยมจากเรื่อง ตลาดพรหมจารี, รางวัลเมขลา และรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2534 ในฐานะดารานำชายดีเด่นจากเรื่อง ไผ่แดง [1]
อนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยชื่นชมบทบาทการแสดงของโกวิทย์มาตั้งแต่เรื่องขุนศึก และเขียนชื่นชมการแสดงในละครเรื่อง แม่เอิบ ลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ทั้งสองจึงได้พบและรู้จักกันเสมือนครูกับศิษย์ ทำให้โกวิทย์ได้รับเล่นละครเรื่อง ไผ่แดง และเข้าสู่ถนนสายการเมืองแต่ไม่สำเร็จ[2]
ปัจจุบัน โกวิทย์ยังคงมีผลงานการแสดงอยู่ โดยไม่จำกัดสังกัด ด้านครอบครัว โกวิทย์สมรสกับ วาสนา วัฒนกุล มีบุตรสาว 3 คน คนแรกชื่อ เมธ์วดี วัฒนกุล (เม) คนที่สอง คือ มิณฑิตา วัฒนกุล (มิ้น AF3) และคนเล็กชื่อ มาธวี วัฒนกุล (มาย) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2555[3]
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- ชายสามโบสถ์ (2524) รับบท ผง
- วันสังหาร (2524) รับบท เข้ม
- สิงโตคำราม (2524) รับบท เสิม
- สกาวเดือน (2524) รับบท หลวงราชไมตรี
- รักครั้งแรก (2524)
- ตามรักตามฆ่า (2525) รับบท ดอน
- เพชฌฆาตหน้าเป็น (2525) รับบท เติบ
- จ้าวนรก (2525) รับบท โหน่ง
- ไอ้ผาง รฟท. (2525) รับบท ชาติ
- กระท่อมนกบินหลา (2525)
- นางแมวป่า (2525)
- ลูบคมพยัคฆ์ (2526) รับบท หมอ
- นักเลงข้าวนึ่ง (2526) รับบท เลี่ยม
- 7 พระกาฬ (2526) รับบท ดามพ์ เมฆา
- ปิดตำราฆ่าโหด (2526)
- กตัญญูประกาศิต (2526)
- เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526) รับบท พ.ต.นิเวศน์
- เห่าดง (2526) รับบท ร.ต.อ.เชาว์
- ทุ่งปืนแตก (2526)
- ไฟรักอสูร (2526) รับบท ใจ
- สิงห์ด่านเกวียน (2526) รับบท โหนก บางมะกอก
- ลำพูนดำ (2526) รับบท คุณหม่อมสุสิงห์
- แหกนรกเวียตนาม (2526) รับบท นายพล
- ไอ้ป.4 (ไม่มีเส้น) (2526) รับบท ตำรวจ
- พยัคฆ์ทมิฬ (2526) รับบท เด๋อ
- หัวใจทมิฬ (2526) รับบท สารวัตร
- น.ส. เย็นฤดี (2526) รับบท โกวิท
- อั้งยี่ (2526)
- ตีแสกหน้า (2527)
- ลวดหนาม (2527)
- ไอ้โหด .357 (2527)
- สองสิงห์สองแผ่นดิน (2527)
- อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527) รับบท โฆษก
- เพชรตัดเพชร (2527) รับบท ยอด
- ขอโทษที ที่รัก (2527) รับบท โกวิท
- ผ่าโลก 2 แผ่นดิน (2527)
- แตนป่าแตก (2527) รับบท แฟนของแอน
- อีเสือเทียน (2527) รับบท สารวัตร
- พรหมสี่หน้า (2527) รับบท เพื่อนสนิทของวรรณ
- ครูเสือ (2527) รับบท คำค่อน
- ป่าเดือด (2527) รับบท เสี่ยดิเรก
- มือเหนือเมฆ (2527) รับบท เสี่ยเฮง
- หน่วย 123 (2527) รับบท ร.อ. เชิด ชายชาญ
- ยอดนักเลง (2527)
- ถล่มด่านปืน (2527)
- เขี้ยวฉลาม (2527)
- น้ำผึ้งป่า (2528) รับบท วิทย์
- แก้วกลางดง (2528) รับบท ทนง
- นางเสือดาว (2528) รับบท เสือเอี้ยงไล่ล่า
- มือปืนคาราบาว (2528)
- นักล่าสลาตัน (2528)
- เลือดตี๋ก็สีแดง (2528) รับบท เสือดาว
- หัวใจเถื่อน (2528) รับบท วาริน รัตนพงษ์
- ขุมทองนรก (2529)
- คำสิงห์ (2529) รับบท แชมป์มวยไทย
- สิงห์ต้องสู้ (2529)
- ฆ่าเอาบุญ (2529)
- ปืนเถื่อน (2529)
- สิงห์ตีนสั่ง (2529)
- เปิดบัญชีฆ่า (2529) รับบท ปลิก
- เก่ง เฮง โหด (2529) รับบท แคล้ว นรชาติ
- พรายตะเคียน (2530) รับบท เทียน
- ปรารถนาแห่งหัวใจ (2530)
- คาวน้ำผึ้ง (2530) รับบท สีนาด
- นักรบพบรัก (2530)
- เชลยรัก (2530) รับบท ไชยันต์
- ภูผาทอง (2531) รับบท หาญศึก
- ตลาดพรหมจารี (2531) รับบท ฟอง
- วัยหวาน วัยคะนอง (2531)
- เพชฌฆาตเดนสงคราม (2531) รับบท ผู้กอง
- เพชรพยัคฆราช (2531) รับบท เสี่ยธวัชชัย
- ไซ่ง่อน (2531) รับบท ทหารเวียตกง
- นักรบดำ (2531) รับบท ผู้พันบิลลี่
- ดงพญาเสือ (2531) รับบท ไอ้ชัช
- ปีศาจสีเงิน (2531) รับบท สมชาติ
- เรือนแพ (2532) รับบท ฮั่น (รับเชิญ)
- เพชรตาแมว (2532) รับบท นิพนธ์
- ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ (2532) (รับเชิญ)
- แด่เพื่อนพ้องและตัวกู (2532) รับบท ยง
- โหดตามคิว (2532) รับบท อาสันติ
- เจ้าพ่อ (2533) รับบท ทวน/เวทย์
- มูเซอดำ (2533) รับบท ตำรวจหมาป่า
- รอยแค้น (2533)
- ตี๋ใหญ่ 2 (2533) รับบท ไอ้รื่น (ผู้ช่วยไอ้ดง)
- ตะบันเพลิง (2533) รับบท ผู้กอง
- ตะเคียนคู่ (2533) รับบท แก้ว
- ไอ้แจ้งมีเมีย (2533) รับบท ผู้กอง
- กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก (2533) รับบท ทหารเวียดนาม
- เจาะนรกเผด็จศึก (2533) รับบท ทหารพราน
- กองทัพเถื่อน (2533) รับบท ผู้กอง
- ดาบบูชิโด (2533) รับบท ชัย
- ทอง 4 (2533) รับบท ทรยศ
- เรียม (2534)
- นายซีอุย แซ่อึ้ง (2534)
- ยากูซ่า แก๊งค์ค้าคน (2535) รับบท คนทรยศ
- แม้ว (2535)
- นักสู้ฟ้าแล่บ (2535) รับบท ลิ่วล้อเจ้าพ่อ
- กระหน่ำให้แสบสะเทิน (2536)
- ม.6/2 ห้องครูวารี (2537) (รับเชิญ)
- อยู่ที่ใจจะไขว่คว้า (2537)
- ม.6/2 ห้องครูวารี เทอม 2 (2539) (รับเชิญ)
- กองพันทหารเกณฑ์12 ตอน แนวรักริมฟุตบาท (2539) (รับเชิญ)
- ถนนนี้หัวใจข้าจอง (2540) รับบท พ่อของบู๊ต (รับเชิญ)
- เพื่อเพื่อน เพื่อฝัน เพื่อวันเกียรติยศ (2540)
- โก๊ะตี๋ วีรบุรุษอารามบอย (2541) รับบท กำลังเลี้ยงนก
- ดอกไม้ในทางปืน (2542) รับบท ตำรวจ
- หัวใจข้า หัวใจนาง หัวใจหลอมเพชร (2543) รับบท เฮียบัติ
- โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ (2544) รับบท สอง
- ผีสามบาท (2544) รับบท วินัย
- สมุย...เกาะรักเกาะในฝัน (2544)
- คนใจเย็นเป็นเจ้าพ่อไม่ได้ (2544) รับบท เจ้าพ่อ
- พรางชมพู กะเทยประจัญบาน (2545) รับบท หมู่ปกรณ์
- คืนไร้เงา (2546) รับบท เฮียง
- คนบอผีบ้าป่าช้าแตก (2546)
- ชายา (2546)
- ขุนศึก (2546) รับบท ขุนรณฤทธิ์
- สนิมสร้อย (2546) รับบท ป๋าพร
- แก้วขนเหล็ก (2546) รับบท พ่อของเขา
- 102 ปิดกรุงเทพปล้น (2547) รับบท ดาบจักร
- เจ้าสาวผัดไทย (2547) รับบท พิเชษฐ์
- นักฆ่าเลือดเย็น 3 (2547) รับบท เจ้าพ่อเวียดนาม
- อมนุษย์ (2547) รับบท ดร มั่น
- บางกอกนินจา (2547) รับบท คนพายเรือ
- ซีอุย (2547)
- ตุ๊กแกผี (2547) รับบท เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
- อียิปต์กังฟู (2547)
- วัยรุ่น วัยอันตราย (2547)
- ทาสรัก House Gory (2547) รับบท เจ้าพระยา
- ทิม มวยไทยหัวใจติดเพลง (2547) รับบท ครูเพลง
- นางบ่าว (2548) รับบท หลวงพัฒนานุการ
- ผมสมชายนะยะ (2548)
- เณรแอ จอมขมังเวทย์ (2548)
- เพลงรักชาวทุ่ง ตอน มีเมียเด็ก (2548) รับบท เสี่ยมานะ
- เดี่ยวมหากาฬ (2549)
- กระสือวาเลนไทน์ (2549) รับบท หมอใหญ่
- ฮอลลี่...ชีวิตนี้ใครลิขิต (2549) รับบท คนใหญ่คนโต
- นาค รักแท้ วิญญาณ ความตาย (2549)
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (2550) รับบท ขุนรัตนแพทย์
- ผีเลี้ยงลูกคน (2550) รับบท เฮียต๋ง
- เวิ้งปีศาจ (2550) รับบท จ่าถวัลย์
- หนุมานคลุกฝุ่น (2551) รับบท อาจารย์บุญ
- ปาฏิหาริย์รักต่างพันธุ์ (2551)
- ท้าชน (2553)
- ไฟรัก ไฟสงคราม (2553)
- สายเลือดมังกร สายน้ำ แห่งความศรัทธา (2553)
- หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553) รับบท ล่ารี
- สมาน-ฉัน (2553)
- ชิงหมาเถิด (2553) รับบท สุเทพ
- โหด เลว ดี ชั่ว (2553)
- A Better Tomorrow (2553)
- หมาแก่ อันตราย (2554) รับบท พ่อเลี้ยงของดาว
- ปัญญา เรณู (2554) รับบท นักการเมืองท้องถิ่น (รับเชิญ)
- ผ่าวิกฤตเชื้อนรก (2554)
- Bangkok revenge เกิดมาสู้ (2554)
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554) รับบท ขุนรัตนแพทย์
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554) รับบท ขุนรัตนแพทย์
- The Impossible 2004 สึนามิ ภูเก็ต (2555)
- Rebirth (2555) รับบท ปรมาจารย์ทางด้านศิลปะการต่อสู้
- เกาะ ติด ตาย (2555) รับบท สารวัตร
- 2015 อุบัติรักลิขิตชีวิต (2556)
- รับคำท้าจากพระเจ้า (2556)
- แม่ THE MOTHER (2556) รับบท ตาผล
- ศรีธนญชัย 555+ (2557) รับบท หลวงพิทักษ์
- น้ำมันพราย (2557) รับบท เดช
- เร็วทะลุเร็ว (2557) รับบท ชัย
- ขรัวโต (2558) รับบท พระโหราธิบดี
- พี่ชาย My Hero (2558) รับบท เสี่ยผู้มีอิทธิพล
- 367 วัน Him and Her (2558) รับบท พ่อของไทน์
- The man with the iron fists 2 วีรบุรุษหมัดเหล็ก 2 (2558)
- ยอดคนอิสตันบูล (2561) รับบท เจ้าหน้าที่เรือนจำ
- Home Sweet Hell เรือนขังผี (2563)
- วัยอลวนฮ่า! (2564) (รับเชิญ)
- ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์ (2566) รับบท ขุนสมาน
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]- สามสิงห์ (2522) ช่อง 3 รับบท ก๊กเฮง
- ขุนศึก (2522) ช่อง 3
- เพลิงกินรี (2524) ช่อง 5
- ชลาลัย (2524) ช่อง 9
- ไฟโชนแสง (2524) ช่อง 5
- มายาสีเงิน (2524) ช่อง 3
- สางสยอง (2524) ช่อง 9
- เพลงชีวิต (2524) ช่อง 9
- สามหัวใจ (2525) ช่อง 3
- ทางสายพิศวาส (2525) ช่อง 5
- อีสา (2525) ช่อง 9
- เสื้อสีฝุ่น (2526) ช่อง 5
- บาปปรารถนา (2527) ช่อง 3
- ทายาทท่านผู้หญิง (2527) ช่อง 5
- ทาสบาป (2527) ช่อง 5
- หลวงตา (2527) ช่อง 7
- แม่เอิบ (2528) ช่อง 5
- มาเฟียซาอุ (2529) ช่อง 5
- โผน กิ่งเพชร (2529) ช่อง 5
- บนถนนสายเดียวกัน ภาค 2 (2529) ช่อง 9
- แว่วเสียงซอ (2529) ช่อง 7
- จิตรกร (2529) ช่อง 7
- ทองเนื้อเก้า (2530) ช่อง 7
- หนุ่มทิพย์ (2530) ช่อง 7
- สารวัตรเถื่อน (2530) ช่อง 7
- ผู้พิทักษ์ความสะอาด (2530) ช่อง 9
- คมสวาท (2531) ช่อง 5
- ปริศนาของเวตาล (2532) ช่อง 7
- เรื่องสั้นวันจันทร์ ตอน หาวัด (2532) ช่อง 7
- ท่าฉลอม (2532) ช่อง 9
- เมียหลวง (2532) ช่อง 7
- ไผ่แดง (2534) ช่อง 7
- สมเด็จพระสุริโยทัย (2535) ช่อง 3 รับบท บุเรงนอง
- มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2536) ช่อง 9
- เพื่อนรัก (2536) ช่อง 3
- ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ (2537) ช่อง 3
- แม่แตงร่มใบ (2537) ช่อง 3
- เมียน้อย (2537-2538) ช่อง 3
- เลือดเข้าตา (2538) ช่อง 5
- ชมรมขนหัวลุก ตอน ฮัลโหลสยอง (2538) ช่อง 5
- ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก (2539) ช่อง 5
- อารีดัง (2539) ช่อง 5
- ตราบใดที่หัวใจยังเต้น (2539) ช่อง 3
- รักไร้อันดับ (2540) ช่อง 3
- กุหลาบที่ไร้หนาม (2540) ช่อง 7
- อินทรีแดง (2540) ... (รับเชิญ) ช่อง 7
- ลูกสาวเจ้าพ่อ (2541) ช่อง 3
- กระท่อมโสมจันทร์ (2541) ช่อง 7
- เถ้ากุหลาบ (2541) ช่อง 7
- มุกมังกร (2541) ช่อง 7
- คู่เขย คู่ขวัญ (2541) ช่อง 7
- พ่อ ตอน ความฝันอันสูงสุด (2542) ช่อง 5
- เพลงพราย (2542) ช่อง 7
- หนึ่งในดวงใจคือเธอ (2542) ช่อง 5
- กามเทพลวง (2543) ช่อง 7
- เจ้าสัวน้อย (2543) ช่อง 7
- ตะวันตัดบูรพา (2544) ช่อง 5
- แม่โขง (2544) .... (รับเชิญ) ช่อง 7
- เหยื่ออารมณ์ (2544) ช่อง 5
- ส่วย สะท้านแผ่นดิน (2544) ช่องไอทีวี
- ซิงติ๊ง (2544) ช่อง 3
- ฉันชื่อไศลา (2544) ช่อง 7
- หัวใจในสุญญากาศ (2544) ช่อง 7
- ฟ้าเพียงดิน (2544) ช่อง 3
- ใครกำหนด (2545) ช่อง 7
- พยัคฆ์ร้าย 6 แผ่นดิน (2546) ช่อง 3
- โบตั๋น (2546) ... (รับเชิญ) ช่อง 3
- สายโลหิต (2546) ช่อง 3
- พุทธานุภาพ (2546) ... (รับเชิญ) ช่อง 3
- เลือดขัตติยา (2546) ช่อง 5
- ทีเด็ด ครูพันธุ์ใหม่จิตพิสัยเดือด (2546) ช่อง 3
- ไผ่กำเพลิง (2547) ช่อง 3
- ฟ้าใหม่ (2547) ช่อง 7
- แหวนทองเหลือง (2547) ช่อง 7
- ขอพลิกฟ้าตามล่าเธอ (2547) ช่อง 3
- เหมราช (2548) ช่อง 7
- มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต (2548) ช่อง 7
- ระเบิดเถิดเทิง ตอน ลายแทงมหาสมบัติ (2548) ช่อง 9
- สืบ-สาว-ราว-รัก (2548) ช่อง 7
- ปูลม (2549) ช่อง 3
- ลิขิตรัก ลิขิตเลือด (2549) ช่อง 5
- เพลงรักริมฝั่งโขง (2550) ช่อง 7
- ชุมแพ (2550) .... (รับเชิญ) ช่อง 7
- เรไรลูกสาวป่า (2551) ช่อง 7
- อยากหยุดตะวันไว้ที่ปลายฟ้า (2552 - 2553) .... (รับเชิญ) ช่อง 5
- นักฆ่าขนตางอน (2553) ช่อง 7
- เปรี้ยวตลาดแตก (2553) ช่อง 7
- สามหัวใจ (2553) ช่อง 3
- หลายชีวิต ตอน โนรี (2554) ไทยพีบีเอส
- บันทึกกรรม ตอน โยนกรรม (2555) ช่อง 3
- ผู้กองเจ้าเสน่ห์ ตอน พ่อเปิ้ล...เปิ้นแค้น (2556) ช่อง 3
- เจ้าเวหา ตอน ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า (2559) ช่อง ทรูโฟร์ยู
- GUARDIAN หักเหลี่ยมมัจจุราช (2559) ช่อง โมโน 29
- วัยฝันร้ายเดียงสา (2560) ช่อง 5
- เชลยศึก (2560) ช่อง 8
- อังกอร์ (2561) ช่อง 3
- The Mirror กระจกสะท้อนกรรม ตอน โยนกรรม (2561) ช่อง 3
- ฟ้ามีตา ตอน ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน (2562) ช่อง 7
- ดาวคนละดวง (2564) ช่อง 3
- จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี (2565) ไทยพีบีเอส รับบท พระเจ้าปดุง (อดีต) / อูเทวฉ่วย (เทวฉ่วย)
- หุบพญาเสือ (2565) (รับเชิญ) ช่อง 7
- กล้า ผาเหล็ก (2566) (รับเชิญ) ช่อง 7
- ฟ้ามีตา ตอน เผลอเป็นไม่ได้ (2566) ช่อง 7
- Coin Digger เกม สูญ เหรียญ (2566) แอมะซอนไพรม์วิดีโอ
มิวสิควีดีโอ
[แก้]- ท่าฉลอม ศิลปิน ชรินทร์ นันทนาคร (2532)
- ลืมเสียเถิด ศิลปิน พัชรา แวงวรรณ (2535)
การเมือง
[แก้]โกวิทย์ วัฒนกุล เข้ามาทำงานการเมืองครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 โดยลงสมัคร ส.ส.เขต 2 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรครักษ์สันติ ในระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[5][6] ในพ.ศ. 2562 โกวิทย์ วัฒนกุลได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อชาติ[7]
รางวัล
[แก้]ปี | รางวัล | สาขารางวัล | จากผลงาน | ผลการตัดสิน |
---|---|---|---|---|
2529 | รางวัลเมขลา | ดารานำชายดีเด่น | แม่เอิบ | ชนะ |
2531 | รางวัลตุ๊กตาทอง | ดาวร้ายฝ่ายชายยอดเยี่ยม | ตลาดพรหมจารี | ชนะ [8] |
2534 | รางวัลเมขลา | ดารานำชายดีเด่น | ไผ่แดง | ชนะ |
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ | ดารานำชายดีเด่น | ไผ่แดง | ชนะ | |
2544 | รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | Goal Club เกมล้มโต๊ะ | ชนะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ไปดูหนัง..พบดารา ที่ลานดารา ตอนที่ 22". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.
- ↑ "พ่อลูก"วัฒนกุล" คอลัมน์ หมายเหตุมายา โดย นิมิต ประชาชื่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20.
- ↑ "'โกวิท'เศร้า! ลูกสาวคนเล็กนั่งเบนซ์ตกสะพานเสียชีวิต". www.thairath.co.th. 9 ส.ค. 2012.
- ↑ "ครม.จูงใจไปเลือกตั้ง สั่ง 24 ธ.ค เป็นวันหยุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ "พรรครักษ์สันติขอคะแนนเสียงเชียงราย "โกวิทย์ วัฒนกุล" นำทัพ จากมติชน".
- ↑ "เปิดรายชื่อส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย 61 ปชป. 44 ภท. 5 รักประเทศไทย 4 ชทพ.4 ชพน.2 จากมติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-29.
- ↑ "'โกวิท วัฒนกุล' หาเสียงกลางงานกาชาดสุรินทร์ พร้อมสโลแกน 'ลูกแม่มูลคืนถิ่น'". 18 ธ.ค. 2018.
- ↑ "รางวัลตุ๊กตาทอง ปี 2531". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kowit Wattanakul at Rotten Tomatoes เก็บถาวร 2017-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kowit Wattanakul at TMDb เก็บถาวร 2020-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดชัยภูมิ
- บุคคลจากจังหวัดสุรินทร์
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์ชายชาวไทย
- ผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- นักการเมืองไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรครักษ์สันติ
- พรรคเพื่อชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร
- บุคคลจากโรงเรียนสิรินธร