จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี
จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี | |
---|---|
ใบปิดละครโทรทัศน์ | |
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | |
อังกฤษ | From Chao Phraya to Irrawaddy |
พม่า | ကျောက်ဖရားမှဧရာဝတီသို့ |
จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี | |
แนว | ย้อนยุค, อิงประวัติศาสตร์, ดราม่า |
บทประพันธ์ | ชาติชาย เกษนัส |
กำกับโดย | ชาติชาย เกษนัส |
แสดงนำ | จิรายุ ตันตระกูล นัฐรุจี วิศวนารถ เดาง์ นีนตเวยูออง ธนเวทย์ สิริวัฒน์ธนกุล เพ็ญพักตร์ ศิริกุล ดวงใจ หิรัญศรี โกวิท วัฒนกุล |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | "เสน่หา" เนื้อร้อง/ทำนอง มนัส ปิติสานต์ เรียบเรียง ณัฐพากย์ กวีธรรมวงษ์ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย ประเทศพม่า |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย พม่า อังกฤษ ไทใหญ่ |
จำนวนตอน | 12 ตอน |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | ค่ายสุรสีห์[1] |
ความยาวตอน | 50 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | บริษัท มาเจนตา มีเดีย ครีเอชั่น จำกัด |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส |
ออกอากาศ | 1 มกราคม ค.ศ. 2022 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 |
จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี (อังกฤษ: From Chao Phraya to Irrawaddy; พม่า: ကျောက်ဖရားမှဧရာဝတီသို့) เป็นละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ กำกับโดย ชาติชาย เกษนัส จำนวน 12 ตอน เริ่มออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.15 น. มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าปดุง ราชวงศ์โก้นบองกับอาณาจักรอยุธยา ราว พ.ศ. 2325 ช่วงเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวอโยธยารวมทั้งเชื้อพระวงศ์ที่ถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[2][3] ราว จ.ศ. 1129 (พ.ศ. 2310) นำแสดงโดย จิรายุ ตันตระกูล นัฐรุจี วิศวนารถ เดาง์ และนีนตเวยูออง
เรื่องย่อ
[แก้]เหตุการณ์เริ่มต้นที่ ณ ใจกลางเมืองย่างกุ้ง นุชนาฏ (นำแสดงโดย: นัฐรุจี วิศวนารถ) ได้รับงานใหม่ในตำแหน่งผู้ช่วยเชฟ เธอได้รู้จักกับเพื่อนใหม่เป็นชาวเมียนมา ชื่อ ซินซิน (นำแสดงโดย: นีน ตเว ยู ออง) รวมทั้งหัวหน้าเชฟ ปกรณ์ (นำแสดงโดย: จิรายุ ตันตระกูล) นุชนาฏ มักมีอาการหมดสติบ่อยครั้งจากโรคเนื้องอกในสมอง วันหนึ่ง นุชนาฏ ได้หนังสือโบราณเล่มหนึ่งเรื่อง อิเหนา ฉบับภาษาพม่า มีภาพประกอบเป็นท่าร่ายรำต่างๆ แต่เมื่อเธอลองร่ายรำตามท่วงท่าที่ปรากฏในหนังสือนั้นจึงหมดสติไป เมื่อตื่นขึ้นมาอีกครั้ง นุชนาฏ กลับพาว่าตัวเองย้อนกลับไปในอดีตกลายเป็นหญิงสาวชาวโยดะยา นามว่า ปิ่น อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านโยเดียที่กรุงอังวะซึ่งถูกกวาดตอนมาช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง นุชนาฏยังได้พบกับ เจ้าฟ้ากุณฑล (นำแสดงโดย: เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) และ เจ้าฟ้ามงกุฎ (นำแสดงโดย: ดวงใจ หิรัญศรี) ทั้งสองพระองค์ก็ถูกกวาดต้อนมาด้วย ปิ่น ได้ร่ายรำในป่า กระทั่งหม่องสะ (นำแสดงโดย: เดาง์) ศิลปินแห่งโรงละครหลวงพม่าพบเห็นเธอเข้า จึงได้พาตัวปิ่นไปเป็นนางรำให้กับโรงละครหลวง ปิ่นยังได้พบ บากอง ทหารมือขวาของอุปราช มีใบหน้าคล้ายกับปกรณ์ และพระสนมมาลา ที่คล้ายกับซินซินในภพปัจจุบัน นำพาให้นุชนาฏในร่างของปิ่นพบเหตุการณ์หลายสิ่งเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ราวกับติดในอดีตยาวนาน ส่วนอีกด้านหนึ่ง ปกรณ์ หัวหน้าเชฟที่แอบมีใจให้กับนุชนาฏจึงได้แต่เฝ้ารอให้เธอตื่นเพื่อที่เขาจะได้ฟังเรื่องราวที่นุชนาฏพูดจากสิ่งที่อยู่ในความฝัน แต่แล้วอาการป่วยของนุชนาฏก็ทรุดลงเรื่อยๆ เธอจึงต้องเข้ารับการรักษาจนไม่รู้ว่าจะได้พบปกรณ์ ได้อีกเมื่อไร[4]
นักแสดง
[แก้]- จิรายุ ตันตระกูล รับบท ปกรณ์ / อุบากอง (อังกฤษ: Upagaung; พม่า: ဥပါကောင်း)[5][6]
- นัฐรุจี วิศวนารถ (ตังตัง) รับบท นุชนาฏ / นางปิ่น
- เดาง์ (อังกฤษ: Daung; พม่า: ဒေါင်း) รับบท หม่องสะ
- นีนตเวยูออง (อังกฤษ: Hnin Thway Yu Aung; พม่า: နှင်းသွေးယုအောင်) รับบท ซินซิน / พระสนมมาลาในพระเจ้าปดุง
- ธนเวทย์ สิริวัฒน์ธนกุล รับบท เจ้าชายชเวต่าวมิน / พระมหาอุปราช[7]
- เพ็ญพักตร์ ศิริกุล รับบท เจ้าฟ้ากุณฑล
- ดวงใจ หิรัญศรี รับบท เจ้าฟ้ามงกุฏ
- โกวิท วัฒนกุล รับบท อูเทวฉ่วย / พระเจ้าปดุง[8]
- สุวัฒน์ วงศ์โชติวัฒนา รับบท สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร[ต้องการอ้างอิง]
- สุมณฑา สวนผลรัตน์ รับบท ชด (หัวหน้าแม่ครัวตำหนักใน)
- จุมพล ทองตัน รับบท เจ้าฟ้าเมืองนาย
- กัมปนาท เรืองกิตติวิลาส รับบท หม่องเล (ขันที)
- สิทธิพร เนตรนิยม รับบท ครูอูโต หรือ สยาอูโต (อังกฤษ: Saya U Toe; พม่า: ဦးတိုး)[9][10][11]
- อมรเทพ ริมดุสิต รับบท ลุงของอุบากอง[12]
- สุพิชา แสงเมล รับบท นางปิ่น (วัยเด็ก)
ตอน
[แก้]ตอน | กำกับโดย | เขียนโดย | วันเผยแพร่เดิม | |
---|---|---|---|---|
1 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 1 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
นุชนาฏได้สมัครงานใหม่ตำแหน่งผู้ช่วยเชฟที่โรงเรียนสอนทำอาหารของโรงแรมแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ปกรณ์ หัวหน้าเชฟคนไทยมีความเคร่งครัด พร้อมจะกลั่นแกล้งนุชนาฏตลอดเวลา วันหนึ่งนุชนาฏรู้ช่าวลือว่า อูเทวฉ่วย มหาเศรษฐีชาวพม่าจะยึดครองโรงเรียนสอนทำอาหาร โชคดีที่นุชนาฏได้รู้จักกับซินซิน เพื่อนใหม่จากโรงเรียนสอนทำอาหารที่ช่วยปลอบใจด้วยการพานุชนาฏออกไปเดินเล่นถนนปานโซดาน ย่านกลางเมืองย่างกุ้ง นุชนาฏได้เข้าไปในร้านหนังสือเก่าและได้หนังสืออิเหนาฉบับแปลเป็นภาษาพม่า นุชนาฏจึงได้ร่ายรำท่วงท่าในหนังสือเล่มนั้นจึงทำให้เธอหลุดย้อนกลับไปในกาลอดีต | ||||
2 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 2 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
ในกาลอดีต นุชนาฏหลุดย้อนกลับไปราวปี พ.ศ. 2328 ในร่างของนางปิ่น หม่องสะได้เห็นท่วงท่าเต้นรำของนางปิ่นในชายป่าจึงรู้สึกประทับใจ วันหนึ่งนางปิ่นทำงานหนักจนตกเลือดในระหว่างที่ตั้งครรถ์ หม่องสะจึงพานางปิ่นไปรักษาที่บ้านของเขา จนอาการดีขึ้น นางปิ่นได้ร่ายรำตามเสียงพิณที่หม่องสะเล่นแต่อาการของเธอกลับแย่ลง ในกาลปัจจุบัน อูเทวฉ่วย ได้ขอให้โรงแรมทำเมนูโมฮิงก่ารสชาติดั้งเดิม แต่เซฟปกรณ์ไม่สามารถปรุงรสชาติให้ถูกปากเขาได้ อูเทวฉ่วยจึงคิดจะปิดโรงเรียนสอนทำอาหารนั่นทำให้ปกรณ์ตกอยู่ในความลำบากอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันนุชนาฏก็หายตัวไปไม่ได้มาทำงาน ไม่มีใครติดต่อเธอได้นอกจากซินซิน ต่อมาจึงพบว่านุชนาฏนอนหมดสติอยู่ในห้องของเธอ | ||||
3 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 8 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
นุชนาฏพบว่าเธอมีอาการเนื้องอกกดทับเส้นประสาททำให้ส่งผลต่อการควบคุมความทรงจำ เมื่อนุชนาฏได้กลับไปพักที่ห้องของเธอจึงได้แต่คิดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้นุชนาฏสับสนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความจริงหรือความฝันกันแน่ ต่อมาปกรณ์ได้ชักชวนนุชนาฏไปพญาปงเพื่อค้นหาสูตรการทำโมฮิงก่าเพื่อพิชิตใจอูเทวฉ่วยให้ได้ | ||||
4 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 9 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
นุชนาฏหลุดย้อนกลับไปในร่างของนางปิ่นอีกครั้ง หม่องสะชักชวนให้นางปิ่นเป็นนางรำในละครหลวงและขอประทานพระอนุญาตเจ้าฟ้ากุณฑลขอแปลอิเหนา พระนิพนธ์ของพระองค์เป็นภาษาพม่า ทรงอนุญาตให้นางปิ่นเป็นนางรำในละครหลวงได้แต่ไม่ทรงอนุญาตให้แปลอิเหนาแต่เจ้าฟ้ามงกุฏแอบให้อิเหนาแก่หม่องสะ นุชนาฏกลับมายังกาลปัจจุบันอีกครั้ง ปกรณ์บอกว่าเอหมดสติไปหลายวินาทีได้ นุชนาฏนึกถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นกับเธอและไม่เชื่อว่าเธอจะสามารถย้อนกลับไปสู่กาลอดีตได้นานถึงเพียงนี้ | ||||
5 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 15 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
ในกาลปัจจุบัน นุชนาฏกับปกรณ์สามารถปรุงเมนูโมฮิงก่าจนสามารถพิชิตใจอูเทวฉ่วยนั่นทำให้โรงเรียนสอนทำอาหารจึงไม่ถูกปิด ปกรณ์ตัดสินใจเล่าความรู้สึกที่มีต่อนุชนาฏ วันหนึ่งพวกเขาได้ไปเที่ยมชมวัดมหาเต็งดอจีด้วยกันแต่นั่นกลับเป็นเหตุให้พวกเขาต้องเลิกรา นั่นเพราะปกรณ์ต้องการตอกย้ำนุชนาฏว่าเหตุการณ์ที่เธอหลุดเข้าไปในห้วงกาลอดีตนั้นไม่เคยเกิดขึ้นจริง นุชนาฏกลับหมดสติอีกครั้งก่อนที่จะเข้าใจในสิ่งที่ปกรณ์บอกกับเธอ | ||||
6 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 16 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
นุชนาฏย้อนกลับไปเป็นนางปิ่นอีกครั้งในโรงละครหลวงในกาลอดีต นางปิ่นได้พบกับแม่บากอง เอถูกกล่าวหาว่าจงใจแท้งลูกและแอบมีใจให้กับหม่องสะ นุชนาฏฟื้นขึ้นมาอีกครั้งในกาลปัจจุบันที่กรุงเทพฯ พร้อมกับปกรณ์ที่คอยดูแลอยู่เคียงข้างเธอ หมอพบว่าเธอมีอาการผิดปกติในสมองแต่นุชนาฏไม่ต้องการผ่าตัด อาการของนุชนาฏจึงแย่ลงจนหลับไหลไปอีกแสนนาน | ||||
7 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 22 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
เจ้าฟ้ากุณฑลทรงประทานพระอนุญาตให้หม่องสะเล่นละครอิเหนาต้อนรับคณะหลวง เจ้าชายชเวต่าวมินทรงประทับใจการแสดงอิเหนาและกล่าวชื่นชมคณะโรงละครหลวงอย่างมาก หลังจบการแสดง บากองได้เข้ามาหานางปิ่นในห้องแต่งตัวนั่นทำให้นุชนาฏในร่างของนางปิ่นตกใจและสับสนอย่างมาก | ||||
8 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 23 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
บากองมาหานางปิ่นที่ครัวแต่กลับไม่พบ จึงได้ไปตามหาที่โรงละครหลวง นุชนาฏในร่างของนางปิ่นพยายามอธิบายบากองว่าตัวเธอเป็นผู้หญิงอีกผู้หนึ่งที่เข้ามาอยู่ในร่างของนางปิ่น แล้วกาลอดีตก็ย้อนกลับมายังปัจจุบันนุชนาฏต้องรักษาตัวโดยมีปกรณ์ดูอาการของเธออย่างใกล้ชิด | ||||
9 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 29 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
นุชนาฏตื่นอีกครั้งในร่างของนางปิ่น เธอสับสนอย่างมากและได้คืนดีกับบากองอีกครั้ง เมื่อนางปิ่นกลับมาซ้อมละครอิเหนาอีกครั้ง เธอจึงรู้ว่ามีคำสั่งให้เธอเล่นละครรามเกียรติ์เพื่อสนับสนุนสงครามเก้าทัพที่อังวะเตรียมการ นางปิ่นยังพบความวุ่นวายกับนางรำคนใหม่อีก | ||||
10 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 30 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
เกิดเรื่องวุ่นวายในโรงละครหลวง นุชนาฏในร่างของนางปิ่นถูกสอบปากคำ นางปิ่นถูกใส่ร้ายว่ามีผีมาเข้า พระเจ้าปดุงทรงท้าทายให้เธอทำนายผลสงครามว่าแพ้หรือชนะ ทันทีที่นางปิ่นตอบผลทำนายนั้นชะตาชีวิตของเธอจึงเปลี่ยนไปตลอดกาล | ||||
11 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 | |
นุชนาฏในร่างของนางปิ่นถูกคุมขัง เธออาลัยอาวรณ์ชะตากรรมและได้พบกับพระสนมมาลาอีกครั้ง ส่วนหม่องสะกับบากองรวบรวมความกล้าหาญที่จะเข้าพบเจ้าชายชเวต่าวมิน อุปราชเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษแก่นางปิ่น บากองได้ตรวจยามอย่างเคร่งเครียดเพื่อกำลังวางแผนทำการใหญ่ | ||||
12 | ชาติชาย เกษนัส | ชาติชาย เกษนัส, จารุนนท์ พันธชาติ, พิมพ์ภณิดา พันธุ์ใหม่, วนิดา มงคลวิทย์, กานต์ชนิด พันธุลี, เม เมียว ฮัน | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 | |
เจ้าชายชเวต่าวมิน อุปราชทรงผิดพระทัยกับบากอง นายทหารคนสนิท ชะตากรรมของบากองและนางปิ่นไม่อาจเปลี่ยนพระทัยได้ หม่องสะได้ไปพบนุชนาฏในร่างของนางปิ่นที่ถูกคุมขังเพื่อบอกอำลา นุชนาฏขอให้หม่อมงสะร่วมแสดงละครที่เคยซ้อมร่วมกันอีกครั้งต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าปดุงก่อนที่เธอสิ้นลมหายใจ |
สถานที่สำคัญที่ปรากฏในละคร
[แก้]- วัดพระศรีสรรเพชญ์
- วัดมเหยงคณ์
- วัดอุทุมพราราม (วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ) (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงสร้างขึ้นขณะผนวช)
- จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดมหาเต็งดอจี
- เจดีย์ชเวดากอง
- หมู่บ้านชาวโยดะยา (หมู่บ้านสุขะ)
- แม่น้ำอิรวดี
วัฒนธรรม
[แก้]- ยามะซะตอ : โขนละครรามายณะแบบพม่าซึ่งได้รับอิทธิพลจากอิเหนาและรามเกียรติ์จากเชลยชาวโยดะยาที่ถูกกวาดต้อน
- โยดะยาอิเหนา : อิเหนาชาวโยดะยา พระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฏ ตอนที่ปรากฏในละคร คือ บุษบาเสี่ยงเทียน และนางสีดาลุยไฟ
- โมฮิงก่า หรือ โหมะน์ฮี่นก้า : ชื่อขนมจีนแบบพม่า และเป็นอาหารประจำชาติของพม่า
- มงรัดเกล้า : ชื่อขนมแป้งทอดสีขาวแบบไทยของชาวโยดะยา ทำด้วยแป้งปั้นผสมงาดำทรงกลมคล้ายโดนัท ขนมมงรัดเกล้า มีความหมายว่า กำไล[13]
- สลัดทวาย : ยำชนิดหนึ่งมีต้นกำเนิดจากชนกลุ่มน้อยชาวพม่าและมอญที่เคยตั้งถิ่นฐานที่บ้านทวาย ใกล้กับวัดยานนาวา ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ราวปี พ.ศ. 2334) ปรากฏในละครตอน เชฟปกรณ์ สั่งให้นักเรียนของตนออกแบบอาหาร
- ยามอุบากอง : ศาสตร์พยากรณ์โบราณของชาวโยดะยาที่อุบากองใช้หาฤกษ์มงคลยาม
- ฉุยฉายชาวโยดะยา : ท่วงท่าฟ้อนรำที่นางปิ่นรำในชายป่า
- อิเหนาโลมบุษบาในถ้ำพระบนเขาวิลิศมาหรา[14]: 107 : ท่าฟ้อนรำนางปิ่นกับหม่อมสะแสดงการเกี้ยวพาราสีของอิเหนากับนางบุษบาในฉากรำบุษบาเสี่ยงเทียนตอนไหว้พระ
- รำเชิดหุ่นสายพม่า[15] : ท่าฟ้อนรำนาฏศิลป์พม่าที่หม่องเล ขันทีหลวงร่ายรำแสดงความอาฆาตต่อพระสนมมาลา
รางวัล
[แก้]ปี | รางวัลที่ได้เข้าชิง | รางวัล/สาขา | ผล |
---|---|---|---|
พ.ศ. 2566 | รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 13[16] | ทีมสร้างสรรค์แห่งปี รางวัลละครแห่งปี |
ได้รับรางวัล |
พ.ศ. 2566 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 14 | สาขาละครยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "การลงพื้นที่ตรวจกองถ่ายละครโทรทัศน์ช่วงสถานการณ์โควิดระลอกใหม่. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี. (2564)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-27. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
- ↑ วีรวัฒน์ อัจจุตมานัส. (2565). เข้าใจไทย-พม่าด้วยมุมมองใหม่ ผ่านความละเมียดละไมของละครจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ นวกิจ บ้านเมือง. (2565). จุดกระแสศิลปวัฒนธรรมผ่านละคร “จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี Exclusive Night”. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์. (2564). เรื่องย่อ “จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี”. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ แกมป์เฟอร์ เอนเยลเบิร์ต (แต่ง), และอัมพร สายสุวรรณ (แปล). ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545.
- ↑ Siam Society. (1959). The Siam Society: Selected Articles from the Siam Society Journal. Vol. 6. p 168.
- ↑ หนังสือพิมพ์ข่าวสด - ข่าวสดออนไลน์. (2565). ชลพรรษา ตกลงรับปาก กอบกุล ว่าจะช่วยให้ ชยุต และ มณีสุดา คืนดีกัน. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ ม้าน้ำ. (2565). รู้จักนักแสดง 'จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี' (เปิดวาร์ป ประวัติ ผลงาน) ละครรักย้อนประวัติศาสตร์ หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ U Toe (Author, 1784), U Ohn Shwe and Saya U E Tin. (1965). Rama Ragan Vol. I. Rangoon : The Hanthawaddy Press. 239 p.
- ↑ Burma Research Society. (1965). The Journal of the Burma Research Society Vol. 48-52. Yangoon : The Society. p. 116.
- ↑ U Toe (ဦးတိုး). ရာမရကန္ (ဦးတိုး). Rangoon : Amyin Thit Sarpay (အျမင္သစ္စာေပ).
- ↑ จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ตอนที่ 10
- ↑ วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ, "LIFE: The Missing Piece of Yodia.," a day BULLETIN 10, 497 (31 กรกฎาคม 2560) : 28.
- ↑ สิทธิพร เนตรนิยม. (2565). "สังเขปประวัติวรรณกรรมอิเหนา : ไทย-พม่า", ศิลปวัฒนธรรม, 43 (5). (มีนาคม 2565).
- ↑ กนกพร โชคจรัสกุล. (2565, 21 มิถุนายน). "ความสุขของชีวิตคือการเต้น กัมปนาท เรืองกิตติวิลาส". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566.
- ↑ กองบรรณาธิการ. (2566, 26 พฤษภาคม). ผลรางวัล 'ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด 2023' เกียรติยศ - ความภูมิใจสู่คนบันเทิง. คมชัดลึกออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566.