รถถัง
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
รถถัง เป็นยานรบหุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ[1]
ประวัติ
[แก้]รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ
ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน
การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู
ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย
เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่[2] อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ[3]
การออกแบบ
[แก้]ปัจจัยหลักสามปัจจัยที่จะกำหนดความีประสิทธิภาพของรถถังคือ อำนาจการยิง การป้องกัน และความคล่องตัว ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การผลิตรถถังแบบเศรษฐกิจนั้นดูแลโดยบริษัทผู้ผลิต การออกแบบรถถังขึ้นอยู่กับการคำนวณและการบำรุงรักษา เป็นสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะบ่งบอกว่ารถถังมากแค่ไหนเป็นกำลังสำคัญของประเทศนั้น ๆ
ไม่มีการออกแบบใดที่ถูกใช้ในจำนวนมากพอที่จะพิจูน์ได้ว่าซับซ้อนเกินไปหรือยากเกินไปที่จะผลิต และมันได้สร้างความต้องการของกองทัพอย่างมาก การออกแบบที่มีราคาถูกได้เข้ามามีตำแหน่งเหนือกว่าเอกลักษณ์ในการทำงานของรถถัง ไม่ว่าที่ไหนสิ่งนี้ก็ดูเหมือนว่าจะดีกว่ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อรถถังทั้งสองของฝ่ายสัมพันธิมตร ที-34 และเอ็ม4 เชอร์แมน ที่แม้ว่าจะมีการออกแบบทางวิศวกรรมที่เหมือนกัน แต่มันถูกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหนือกว่ารถถังที่ออกแบบได้ยุ่งยากของเยอรมนี ซึ่งเป็นรถถังที่แพงกว่า ด้วยสิ่งนั้นลูกเรือของรถถังจะต้องใช้เวลาส่วนมากในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ที่ซับซ้อน วิศวกรรมแบบง่ายๆ จึงถูกนำมาใช้กับการออกแบบรถถังหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างการพัฒนากลไก ไฟฟ้า และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
อำนาจการยิงเป็นจุดเด่น การปะทะ และการทำลายของรถถัง การป้องกันเป็นสิ่งที่มันต้องมี ความคล่องตัวไปทั่วสมรภูมิบนพื้นที่ขรุขระและสิ่งกีดขวางนั้นต้องดีเท่ากับการเคลื่อนที่บนถนน ทางรถไฟ การขนส่งทางเรือหรือเครื่องบิน เพื่อที่จะเข้าร่วมในสมรภูมิได้อย่างรวดเร็ว
การออกแบบรถถังนั้นเป็นสิ่งที่เป็นชั้นยอด มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเพิ่มอำนาจการยิง การป้องกัน และความคล่องตัวให้สูงสุดในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การเพิ่มการป้องกันด้วยการเพิ่มเกราะเข้าไปจะทำให้มันมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นการทำให้มันเคลื่อนที่ได้ช้าลง การเพิ่มอำนาจการยิงด้วยการติดตั้งปืนขนาดใหญ่ขึ้นเข้าไปจะทำให้ผู้ออกแบบต้องรถความเร็วหรือเกราะเพื่อรองรับน้ำหนักของปืน แม้กระทั่งรถถังอย่างเอ1 เอบรามส์ซึ่งมีอำนาจการยิง ความเร็ว และเกราะที่ยอดเยี่ยม แต่ความได้เปรียบเหล่านี้ก็อยู่บนความสมดุลของเครื่องยนต์ ซึ่งลดพิสัยและความคล่องตัวลง
เพราะการพัฒนารถถังในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้บทเรียนจากการเปลี่ยนแปลงทางกลไกขนาดใหญ่เพื่อทำให้การออกแบบเน้นไปที่ความได้เปรียบของเทคโนโลยีในระบบรองของรถถังเพื่อทำให้มีทำงานได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการออกแบบมากมายในช่วงนี้อย่าง ที-1 ของโซเวียต เอส-แท็งค์ของสวีเดน เมอร์เควาของอิสราเอล ได้ผสมผสานหลายอย่างเข้าด้วยกันและการเข้ามาของระบบเติมกระสุนอัตโนมัติที่ทำให้ลดจำนวนลูกเรือลง
การคิดค้นรถถัง
[แก้]รถถังเริ่มถูกคิดค้นโดยอังกฤษ และปรากฏตัวครั้งแรก ในสนามรบเมื่อ กันยายน 1916 เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทางตะวันตก ทั้งสองครั้ง ยังใช้การรบในแบบหลบในสนามเพลาะ ปืนกล และ การกั้นรั่วลวดหนาม ใช้ในการทำแนวป้องกัน ดังนั้นสถานการณ์การรบจึงหยุดนิ่ง
ทางอังกฤษต้องการอาวุธใหม่ ในการทำลายแนวลวดหนาม ข้ามผ่าสนามเพลาะ และป้องกันปืนกลได้ดี อาวุธใหม่นี้ส่งผลให้เกิดรถถังขึ้นมา เมื่อทางอังกฤษพัฒนารถถังได้ พวกเข้าบอกว่ามันเป็นอุปกรณ์สำหรับขนย้ายน้ำในการปกปิดความจริง เนื่องจากรูปร่างเป็นทรงเพชร อังกฤษจะขนานนามมันว่า 'รถถัง' และใช้ชื่อนี้มาจนทุกวันนี้
อำนาจการยิง
[แก้]อาวุธหลักของรถถังยุคใหญ่คือปืนขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่บนป้อมปืนที่สามารถหมุนได้รอบทิศทาง ปืนใหญ่โดยทั่วไปจะเป็นอาวุธที่สามารถยิงกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ที่เรียกว่ากระสุนแซ็บบ็อต (Sabot) ระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถัง ระเบิดแรงสูงหัวบด และขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถังเพื่อทำลายยานเกราะของศัตรู เช่นเดียวกับกระสุนระเบิดแรงสูงที่ใช้สำหรับทำลายเป้าหมายทั่วไปที่ไม่ได้หุ้มเกราะ นอกจากนี้มันยังสามารถใช้กระสุนที่ไร้สะเก็ดได้เมื่อต้องทำการต่อสู้ในเขตเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้สะเก็ดของระเบิดแรงสูงทำร้ายฝ่ายเดียวกัน[4]
ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น
โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่
ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน
รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย
โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือน ๆ กัน
การป้องกัน
[แก้]สิ่งที่จะวัดการป้องกันของรถถังคือการผสมผสานความสามารถของมันเข้ากับการหลบหลีก เพื่อหลบหลีกการยิงของศัตรู การต้านทานการยิงของศัตรู และความสามารถในการรับมือกับความเสียหายโดยที่ยังสามารถทำภารกิจต่อไปได้ หรืออย่างน้อยก็ช่วยชีวิตของลูกเรือเอาไว้ ส่วนมากแล้วรถถังมักเจออุปสรรคอย่างป้าหรือเมืองซึ่งลดความได้เปรียบเรื่องระยะยิงและการเคลื่อนที่ของมัน เป็นการจำกัดความสามารถในการตรวจหาเป้าหมายของลูกเรือและอาจทำให้ป้อมปืนไม่สามารถทำการหมุนได้ แม้ว่าจะมีข้อด้อยเหล่านั้นรถถังก็ยังคงมีความอยู่รอดสูงเมื่อต้องเจอกับอาร์พีจีในทุกสภาพแวดล้อมเพราะเกราะที่ยอดเยี่ยมของมัน
รถถังประจัญบานหลักแทบทุกคันจะติดตั้งเกราะช็อบแฮมที่ออกแบบโดยอังกฤษ ตัวอย่างเช่น รถถังเอ็ม1 เอบรามส์ของสหรัฐและรถถังลีโอพาร์ด 2 ของเยอรมนี มันเป็นแผ่นเกราะที่ก้าวหน้าที่สุดที่รถถังจะใช้ได้ (ยกเว้นชาเลนเจอร์ 2 ของอังกฤษ) และได้ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าให้การป้องกันจากเครื่องยิงจรวดและระเบิดแรงสูงได้ดี
อย่างไรก็ตามแม้ว่าเป็นเกราะที่มีประสิทธิภาพและก้าวหน้า ความอยู่รอดของรถถังเมื่อต่อเจอกับขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบใหม่ก็ยังคงเป็นที่กังวลของเหล่ากองทัพในปัจจุบัน[5]
การหลบหลีก
[แก้]รถถังทำการหลบหลีกด้วยการใช้การพรางตัว (ทำให้ดูเหมือนสิ่งรอบตัว) การปกปิด (ทำให้ไม่ถูกมองเห็น) และการหลอกล่อ (ทำให้เหมือนสิ่งอื่นแทน)
มันเป็นเรื่องยากที่รถถังจะหลบหลีกอะไรได้ด้วยความจริงที่ว่ารถถังเป็นเหล็กชิ้นโตที่มีสะดุดตา ย้อนแสงได้ง่าย ปล่อยความร้อน และเสียงดัง ผลที่ตามมาคือมันเป็นการยากที่จะอำพรางลำตัวส่วนล่างของรถถังให้ได้ประสิทธิภาพ รถถังจะถูกพบเห็นได้ง่ายมากเมื่อมันเคลื่อนที่เพราะขนาดที่ใหญ่ เสียงดังที่เป็นเอกลักษณ์ แรงสั่นสะเทือน และความร้อนจากเครื่องยนต์ สายพานหรือตีนตะขาบและกลุ่มฝุ่นเองก็เป็นภัยต่อรถถังเพราะมันจะถูกตามรอยได้ รถถังที่ไม่ได้ติดเครื่องยนต์ก็ตกเป็นเป้าของการตรวจจับโดยอินฟราเรดได้เพราะความแตกต่างระหว่างคุณสมบัตินำความร้อนและความร้อนจากเหล็กของรถถังและสิ่งที่อยู่รอบๆ มัน ในระยะใกล้รถถังเองก็สามารถถูกตรวจจับได้แม้ว่ามันจะเบาเครื่องยนต์และปกปิดอย่างดีเพราะว่ากลุ่มอากาศร้อนเหนือรถถังและกลิ่นของน้ำมันดีเซลจากเครื่องยนต์
ผ้าห่มความร้อนจะลดอัตราการกระจายของความร้อนและตาข่ายพรางตัวจะใช้การผสมวัสดุต่างๆ ที่ให้ความร้อนแตกต่างกันเพื่อหลอกอินฟราเรด การอำพรางจะทำเพื่อขจัดเอกลักษณ์และการย้อนแสงของรถถัง การปรับตำแหน่งของป้อมปืนหรือตัวรถจะลดการย้อนแสงของรถถังและเป็นการเพิ่มการป้องกันไปในตัว
เกราะ
[แก้]เพื่อให้การป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อรถถังและลูกเรือ เกราะรถถังต้องรับมือกับอาวุธได้แทบทุกชนิด การป้องกันกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์และระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่เกราะของรถถังยังสามารถป้องกันขีปนาวุธต่อต้านรถถังจากทหารราบ กับระเบิด ระเบิด ปืนใหญ่ และภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี
แผ่นเกราะเหล็กนั้นเป็นเกราะแบบแรกสุดของรถถัง เยอรมนีนั้นใช้เกราะเหล็กผิวแข็งในสงครามโลกครั้งที่ 2 และโซเวียตก็ใช้เกราะลาดเอียง การพัฒนาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังทำให้หมดยุคของเกราะเหล็กด้วยการมาของกระสุนหัวรบอย่างแพนเซอร์ฟอสท์และบาซูก้าซึ่งให้การทำลายที่ร้ายกาจ กับระเบิดแม่เหล็กได้นำไปสู่การพัฒนาของสีและผิวต้านทานแรงแม่เหล็ก
นักวิจัยรถถังของอังกฤษได้ก้าวหน้าไปด้วยการพัฒนาเกราะช็อบแฮมหรือรู้จักกันทั่วไปว่าเกราะผสม มันเป็นการผสมผสานของเซรามิกและพลาสติกโดยมีเรซินอยู่ระหว่างแผ่นเหล็ก ซึ่งให้การป้องกันที่ดีจากระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถัง กระสุนหัวบดทำให้เกิดเกราะต้านสะเก็ดระเบิด และกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ก็ทำให้เกิดวัสดุผสมที่แปลกใหม่อย่างกากยูเรเนียมที่ใส่เข้าไปในเกราะผสม เกราะปฏิกิริยาประกอบด้วยกล่องขนาดเล็กที่มีวัตถุระเบิดบรรจุอยู่ภายในซึ่งจะจุดชนวนเมื่อถูกยิงโดยกระสุนจรวดที่ยิงออกมาจากระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถัง ทำให้แผ่นเหล็กของมันเข้าทำลายกระสุน หัวรบซ้อนได้เอาชนะเกราะปฏิกิริยาด้วยการทำให้เกราะจุดชนวนก่อนเวลาอันควร เครื่องยิงลูกระเบิดซึ่งสามารถสร้างม่านควันและระบบตอบโต้ยังสร้างการป้องกันเสริมให้กับรถถัง
ความคล่องตัว
[แก้]ความคล่องตัวของรถถังนั้นขึ้นอยู่กับสมรภูมิหรือการเคลื่อนที่ทางยุทธวิธี ความคล่องตัวในการปฏิบัติการ และความคล่องตัวในด้านยุทธศาสตร์ ความคล่องตัวด้านยุทธวิธีอย่างแรกคือความรวดเร็ว อัตราการเร่งของรถถัง เบรก ความเร็ว และอัตราการในการปรับตัวตามภูมิประเทศ และอย่างที่สองคือการฝ่าเครื่องกีดขวาง ความคล่องตัวในการปฏิบัติการเป็นการทำงานของพิสัยการเคลื่อนที่ แต่ก็ยังเกี่ยวกับขนาดและน้ำหนัก และการจำกัดการเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น ที-80 ที่รวมตัวกันเป็นขบวนจะมีความสามารถในการรุกมากกว่าเอ็ม-1 เอบรามส์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเพราะว่าถนนและสะพานเข้ามาเป็นตัวจำกัด ความคล่องตัวในทางยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกันกองทัพฝ่ายใดจะเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ รวดเร็วกว่ากัน ตัวอย่างเช่น รถถังที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถเดินทางผ่านอุโมงค์รถไฟ ทำให้มันมีความคล่องตัวทางด้านยุทธศาสตร์มากกว่าคันที่ใหญ่กว่า
ความคล่องตัวของรถถังนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถถังเพราะว่าความเฉื่อยของมันในขณะเคลื่อนที่และแรงที่มันกระทำต่อพื้นดิน พลังที่ส่งออกมาจากเครื่องยนต์และการส่งสัญญาณและการออกแบบตีนตะขาบ นอกจากนี้แล้วสภาพพื้นที่ขรุขระยังเป็นอุปสรรคต่อความเร็วของรถถัง การฝ่าพื้นที่เหล่านี้ประสบความสำเร็จในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อระบบดูดซับแรงการกระเทือนถูกพัฒนาขึ้น ทำให้มันสามารถเดินทางข้ามประเทศและยิงขณะเคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น ระบบอย่างระบบคริสตี้ในรุ่นแรกหรือทอร์ชั่น-บาร์ในรุ่นต่อมาถูกพัฒนาขึ้นโดยเฟอร์ดินานด์ พอร์เชเป็นระบบที่ช่วยให้การเดินทางข้ามประเทศเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น[6]
รถถังประจัญบานหลักนั้นเคลื่อนที่รวดเร็วและสามารถเดินทางข้ามพื้นที่ได้แทบทุกรูปแบบเพราะตีนตะขาบต่อเนื่องและการลดแรงกระเทือนที่ก้าวหน้า ตีนตะขาบจะกระจายน้ำหนักของรถถังไปทั่วพื้นที่ ทำให้มันมีแรงกดพอๆ กับคนเดิน[7] รถถังสามารถเดินทางได้ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนพื้นที่ราบและ 070 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนถนน แต่เนื่องมาจากความตึงด้านกลไลของพาหนะและการผลาญเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษารถถัง ความเร็วดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองที่จะก่อให้เกิดปัญหาด้านกลไกของเครื่องยนต์และระบบส่งสัญญาณ ผลที่ตามมาคือรถเคลื่อนย้ายรถถังและทางรถไฟเพื่อทำการขนย้ายรถถังในระยะทางที่ไกล การจำกัดการเคลื่อนที่ระยะไกลของรถถังจะเห็นความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะ การปฏิบัติการส่วนใหญ่ของการโจมตีสายฟ้าแลบเป็นอัตราการเคลื่อนที่ให้ได้ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นแค่เพียงบนถนนในฝรั่งเศส[8]
การปฏิบัติการในน้ำ
[แก้]เมื่อไม่มีมีทหารช่าง รถถังส่วนใหญ่นั้นจะเกิดปัญหาเมื่อต้องทำการข้ามแม่น้ำ รถถังประจัญบานหลักส่วนใหญ่จะข้ามน้ำที่ลึกไม่เกิน 1 เมตรเพราะว่าตำแหน่งของเครื่องยนต์และพลขับที่อยู่ต่ำ รถถังที-80 ของโซเวียตและลีโอพาร์ด 1 และลีโอพาร์ด 2 ของเยอรมนีสามารถเดินทางในน้ำที่ลึกได้ถึง 3-4 เมตร เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อม ลูกเรือของรถถังมักจะมีความสามารถที่จำกัดเมื่อดำน้ำลึกขนาดนั้นแต่ด้วยการเพิ่มกล้องเข้าไปมันก็ทำให้เกิดหนทางใหม่ในการเข้าโจมตี
รถถังสะเทินน้ำสะเทินบกเป็นการออกแบบพิเศษสำหรับการปฏิบัติการในน้ำโดยเฉพาะ แต่พวกมันมีจำนวนมากในกองทัพยุคใหม่ โดยเข้ามาแทนที่ยานพาหนะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกและรถสายพานลำเลียงพลในการจู่โจมแบบสะเทินน้ำสะเทินบก รถสะพานอีเอฟเอและเอ็มที-55 ได้ลดสิ่งกีดขวางของรถถังอย่างแม่น้ำออกลง[9]
ขุมกำลัง
[แก้]เครื่องยนต์ของรถถังจะคอยให้พลังงานจลน์เพื่อเคลื่อนที่ และพลังไฟฟ้าผ่านทางเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้กับป้อมปืนที่ต้องใช้มอเตอร์และระบบอิเลคทรอนิกอื่นๆ ของรถถัง ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ขุมกำลังของรถถังนั้นต้องพึ่งน้ำมันและเครื่องยนต์อัตโนมัติ จนเครื่องยนต์ดีเซลได้พัฒนาไปอย่างมาก และมีเครื่องยนต์เทอร์ไบน์ที่ทรงพลังแต่กินน้ำมันอย่างของที-80 และเอ็ม-1 เอบรามส์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ von Senger and Etterlin (1960), The World's Armored Fighting Vehicles, p.9.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHouse1984
- ↑ {{ Citation | first = Roger | last = Tranquiler | title = Modern Warfare. A French View of Counterinsurgency, trans. Daniel Lee | quote = Pitting a traditional combined armed force trained and equipped to defeat similar military organisations against insurgents reminds one of a pile driver attempting to
- ↑ USA Today (2005), Tanks adapted for urban fights they once avoided
- ↑ BBC News (2006) Tough lessons for Israeli armour
- ↑ Deighton (1979), Blitzkrieg, From the rise of Hitler to the fall of Dunkirk, pp. 154
- ↑ Thompson and Sorvig (2000), Sustainable Landscape Construction: A Guide to Green Building Outdoors, p.51
- ↑ Deighton (1979), Blitzkrieg, From the rise of Hitler to the fall of Dunkirk, p.180
- ↑ Deighton (1979), Blitzkrieg, From the rise of Hitler to the fall of Dunkirk, pp.234-252