ข้ามไปเนื้อหา

เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอฟ-16)
เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินขับไล่หลากบทบาท
ชาติกำเนิด สหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตเจเนรัล ไดนามิกส์
ล็อกฮีด มาร์ติน
สถานะประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศสหรัฐ
ประเทศอื่นอีก 25 ประเทศ (ดูที่ประเทศผู้ใช้งาน)
จำนวนที่ผลิตมากกว่า 4,400 ลำ
ประวัติ
เริ่มใช้งาน17 สิงหาคม พ.ศ. 2521
เที่ยวบินแรก20 มกราคม พ.ศ. 2517
สายการผลิตเจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ-16เอ็กซ์แอล
เอฟ-16 วิสต้า
มิตซูบิชิ เอฟ-2

เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน (อังกฤษ: F-16 Fighting Falcon) เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมทีพัฒนาขึ้นโดยบริษัทGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศ[1] เอฟ-16 เป็นโครงการเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันตกพร้อมด้วยการผลิตกว่า 4,400 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519[1] ถึงแม้ว่ามันจะไม่ถูกซื้อโดยกองทัพอากาศสหรัฐอีกต่อไป รุ่นที่ก้าวหน้าก็ยังคงทำตลาดในหมู่ต่างประเทศได้ ในปีพ.ศ. 2536 เจเนรัล ไดนามิกส์ขายธุรกิจการผลิตเครื่องบินให้กับบริษัทล็อกฮีด[2] ซึ่งได้กลายมาเป็นล็อกฮีด มาร์ตินหลังจากทำการรวมเข้ากับมาร์ติน มาเรียทต้าในปีพ.ศ. 2538[3]

เอฟ-16 เป็นนักสู้กลางอากาศที่มีวัตกรรมมากมายรวมทั้งฝาครอบห้องนักบินที่โค้งมน คันบังคับแบบแท่งที่ทำให้งานต่อการควบคุมภายใต้แรงจี และที่นั่งที่เอนไปด้านหลังเพื่อลดแรงจีที่กระทำต่อนักบิน อาวุธมีทั้งปืนใหญ่เอ็ม61 วัลแคนและขีปนาวุธมากมาย 11 ตำบล มันยังเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่ถูกสร้างมาเพื่อทำการเลี้ยวแบบ 9 จีได้ มันมีอัตราการผลักต่อน้ำหนักที่ดีมาก ส่งผลให้มันมีพลังในการไต่ระดับและการเร่งที่ยอดเยี่ยมหากจำเป็น[4] แม้ว่าชื่อทางการของมันคือ"ไฟทิงฟอลคอน" แต่นักบินก็เรียกมันว่าไวเปอร์ (Viper) เนื่องมาจากมันคล้ายกับงูเห่าและตั้งชื่อตามยานขับไล่ในซีรีส์สแบทเทิลสตาร์ กาแลคติก้า[5][6]

เอฟ-16 มีกำหนดการที่จะปลดออกจากประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐในปีพ.ศ. 2568[7] มีการวางแผนที่จะแทนที่เอฟ-16 ด้วยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ซึ่งจะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2554 และจะเริ่มเข้าแทนที่เครื่องบินหลากบทบาทจำนวนมากในกองทัพของชาติที่เข้าร่วมโครงการ

การพัฒนา

[แก้]

ต้นกำเนิด

[แก้]

ด้วยประสบการณ์จากสงครามเวียดนามที่บ่งบอกถึงความสามารถของเครื่องบินขับไล่ที่อเมริกาจะต้องการในเร็วๆ นี้ และความต้องการที่จะต้องให้นักบินได้รับการฝึกการต่อสู้ในอากาศให้มากขึ้น[8] ความต้องการเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศแบบใหม่นั้นทำให้กองทัพอากาศสหรัฐเริ่มศึกษาการพัฒนาจากสองความคิดในปีพ.ศ. 2508 คือ โครงการทดลองเครื่องบินขับไล่หรือเอฟเอกซ์ (Fighter Experimental, FX) ที่เป็นเครื่องบินปีกพับได้ขนาด 27,200 กิโลกรัมพร้อมเครื่องยนต์สองเครื่อง และ โครงการเครื่องบินขับไล่กลางวันแบบพัฒนาหรือเอดีเอฟ (Advanced Day Fighter, ADF) ที่เป็นเครื่องบินน้ำหนักเบาขนาด 11,300 กิโลกรัมซึ่งมากกว่ามิก-21 25% อย่างไรก็ดีการปรากฏตัวของมิก-25 ที่ทำความเร็วได้ถึงมัก 3 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 นั้น ทำให้โครงการเอดีเอฟตกเป็นรองจากโครงการเอฟเอกซ์ ซึ่งได้ผลิตเอฟ-15 ขนาด 18,100 กิโลกรัมออกมา[9]

ด้วยการใช้ประสบการจากการเป็นนักบินในสงครามเกาหลีและครูสอนยุทธวิธีในต้นทศวรรษที่ 1960 ผู้พันจอห์น บอยด์และนักคณิตศาสตร์โธมัส คริสตี้ได้พัฒนาทฤษฎีพลังงาน-ความคล่องตัวหรืออี-เอ็ม (Energy-Maneuverability theory, E-M) ขึ้นมาเพื่อเป็นแบบในการต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่ การเคลื่อนที่หรือกระบวนท่าเป็นกุญแจสู่สิ่งที่บอยด์เรียกว่า"การตีลังการแบบโอโอดีเอ (OODA Loop, Observation-Orientation-Decision-Action) งานของบอยด์ต้องการเครื่องบินที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักที่เบาพร้อมกับอัตราแรงผลักต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น[10][11] การศึกษาของกองทัพอากาศในปีพ.ศ. 2508 แนะว่าให้เพิ่มเครื่องบินขับไล่ที่มีราคาสูงและต่ำผสมกันในฝูงบินเพื่อเป็นการประหยัด[12]

โครงการเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา

[แก้]

ในปลายทศวรรษที่ 1960 บอยด์ได้รวบรวมกลุ่มผู้คิดค้นที่กลายมาเป็นกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ"มาเฟียเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา" ในปีพ.ศ. 2512 กลุ่มสามารถหาทุนในการศึกษาและประเมินผลทฤษฎีอี-เอ็มของพวกเขา เจเนรัล ไดนามิกส์ได้รับเงินจำนวน 149,000 ดอลลาร์สหรัฐ และนอร์ทธรอปได้รับ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการพัฒนาแบบความคิดที่จะใช้เป็นตัวทฤษฎีอี-เอ็มของบอยด์ งานของพวกเขานำไปสู่วายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ[13][14]

แม้ว่าเหล่าผู้สนับสนุนโครงการเอฟเอ็กซ์ของกองทัพอากาศยังคงไม่ชอบความคิดนี้เพราะพวกเขาเข้าใจว่ามันเป็นภัยต่อโครงการเอฟ-15 ความคิดโครงการเอดีเอฟได้รับการสนับสนุนจากพลเมืองภายใต้ผู้รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเดวิด แพ็คคาร์ด ผู้ท่ชอบความคิดในการแข่งขันหาต้นแบบ ผลที่ได้คือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2514 กลุ่มศึกษาต้นแบบของกองทัพอากาศถูกตั้งขึ้นมาโดยมีบอยด์เป็นคนสำคัญ และแบบเสนอสองแบบจากหกก็ได้รับทุน แบบหนึ่งคือเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบาหรือแอลดับบลิวเอฟ (Lightweight Fighter, LWF) การร้องข้อเสนอเกิดขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2515 ต้องการเครื่องบินขับไล่กลางวันขนาด 9,100 กิโลกรัมพร้อมกับอัตราการเลี้ยวที่ดี การเร่งและพิสัย และสามารถทำการต่อสู้ที่ความเร็ว 0.6-1.6 มักได้และทำการได้ในระดับความสูง 30,000-40,000 ฟุต นี้คือขอบเขตซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐคาดว่าการต่อสู้กลางอากาศในอนาคตส่วนมากจะเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานมาจากสงครามเวียดนาม สงครามหกวัน และสงครามอินโด-ปากีสถาน ราคาที่คาดกันในการผลิตเครื่องบินคือ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แผนการผลิตนี้เป็นเพียงการคาดเดาตามที่กองทัพอากาศนั้นไม่มีข้อผูกมัด และอันที่จริง ไม่มีแผนที่จะหาผู้ชนะ ซึ่งจะต้องประกาศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518[15][16]

บริษัทห้าบริษัทตอบสนองและในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 มีการประกาศผู้ชนะในการพัฒนาต้นแบบและทำการทดสอบคือโมเดล 908-909 ของโบอิง และ โมเดล 401 ของเจเนรัล ไดนามิกส์ อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นหน่วยเอสเอสเอ (Source Selection Authority, SSA) ได้ลดโบอิงไปอยู่ที่สามตามหลังพี-600 ของนอร์ทธรอป เจเนรัล ไดนามิกส์และนอร์ทธรอฟได้รางวัลในการทำสัญญามูลค่า 37.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 39.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างวายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ โดยทำการบินครั้งแรกของทั้งสองแบบนั้นวางแผนเอาไว้ในต้นปีพ.ศ. 2517 เพื่อเอาชนะคนใหญ่คนโตในกองทัพอากาศ กลุ่มมาเฟียเครื่องบินขับไล่และผู้สนับสนุนแอลดับบลิวเอฟได้สนับสนุนความคิดการใช้เครื่องบินราคาสูงและต่ำผสมกัน ความคิดนี้จะระบุความสัมพันธ์ของเอฟ-15 และเอฟ-16 และต่อมาก็คือเอฟ-22 แร็พเตอร์และเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2[17][18]

เริ่มบิน

[แก้]
มุมมองจากด้านขวาของวายเอฟ-16 และนอร์ทธรอฟ วายเอฟ-17 แต่ละลำติดขีปนาวุธเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์

วายเอฟ-16 ปรากฏตัวครั้งแรกในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และการบินครั้งแรกของมันใช้เวลา 90 นาทีที่ศูนย์ทดสอบการบินกองทัพอากาศที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด แคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 20 มกราคม ในขณะที่เร่งความเร็ว การควบคุมที่ไม่นิ่งทำให้ปลายปีกและหางครูดกับพื้น และเครื่องบินเริ่มหันออกนอกทางวิ่งไป นักบินทดสอบของเจเนรัล ไดนามิกส์ ฟิล โอเอสทริชเชอร์ตัดสินใจที่จะยกเครื่องขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เครื่องเสียหาย และลงจอดอย่างปลอดภัยในอีกหกนาทีต่อมา ความเสียหายเล็กน้อยได้รับการซ่อมแซมอย่างรวดเร็วและมันก็ถูกบันทึกเป็นการบินครั้งแรกอย่างเป็นทางการ การบินเหนือเสียงครั้งแรกของวายเอฟ-16 เกิดขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 และต้นแบบที่สองของวายเอฟ-16 ได้บินในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 สิ่งนี้ตามมาด้วยการการบินครั้งแรกของวายเอฟ-17 ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายนและ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ตามลำดับ ทั้งหมดแล้ววายเอฟ-16 ทำการบิน 330 ครั้งเป็นชั่วโมงทั้งสิ้น 417 ชั่วโมง วายเอฟ-17 ทำการบินไป 268 ครั้ง[19]

การแข่งขันในการต่อสู้ทางอากาศ

[แก้]

ปัจจัยทั้งสามค่อยๆ รวมกันเพื่อเปลี่ยนแอลดับบลิวเอฟให้กลายเป็นโครงการพัฒนาที่จริงจัง ขั้นแรกนาโต้ที่เป็นพันธมิตรทั้งสี่กับสหรัฐฯอย่าง เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ กำลังมองหาสิ่งที่จะมาแทนที่เอฟ-104จีที่เป็นแบบหนึ่งของเอฟ-104 สตาร์ไฟเตอร์ นอกจากนั้น พวกเขายังมองหาเครื่องบินที่อุตสหกรรมของพวกเขาสามารถผลิตได้ภายใต้ใบอนุญาต ในต้นปีพ.ศ. 2517 พวกเขาได้รับข้อตกลงกับสหรัฐฯ ว่าหากกองทัพอากาศสหรัฐสั่งซื้อแอลดับบลิวเอฟที่ชนะ พวกเขาก็ต้องสั่งซื้อมันเช่นกัน ขั้นที่สองในขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐไม่ได้สนใจเฉพาะเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศเท่านั้น พวกเขาเริ่มต้องการแทนที่เอฟ-105 ธันเดอร์ชิฟ ขั้นที่สามสภาคองเกรสของสหรัฐฯ อยากที่จะได้เครื่องบินขับไล่ที่ใช้ได้ทั้งกองทัพอากาศและกองทัพเรือ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517 สภาคองเกรสเปลี่ยนการให้ทุนสำหรับโครงการวีเอฟเอเอ็กซ์ของกองทัพเรือไปให้กับโครงการเอ็นเอซีเอฟแทน ซึ่งเน้นการดัดแปลงเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดทางน้ำแบบแอลดับบลิวเอฟ ความต้องการเหล่านี้สัมพันธ์กัน แต่การตั้งเวลาในการจัดซื้อนั้นจำกัดโดยพันธมิตรทั้งสี่ประเทศ ผู้ที่ก่อตั้ง"กลุ่มโครงการเครื่องบินขับไล่นานาชาติ"หรือ"เอ็มเอฟพีจี" (Multinational Fighter Program Group, MFPG) และรีบเร่งสำหรับการตัดสินใจของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 กองทัพอากาศสหรัฐได้ประกาศแอลดับบลิวเอฟที่ชนะในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 แต่การตัดสินใจยืดออกไปจนถึงปีใหม่ และการทดสอบก็ถูกเร่ง เพื่อสะท้อนสิ่งใหม่นี้ความตั้งใจในการจัดซื้อเครื่องบินใหม่จึงจริงจังมากขึ้น พร้อมกับการกำหนดเป้าหมายใหม่ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด โครงการแอลดับบลิวเอฟกลายเป็นการแข่งขันในการต่อสู้ทางอากาศหรือเอซีเอฟ (Air Combat Fighter, ACF) ที่ประกาศโดยรัญมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เจมส์ อาร์. เชลซิงเกอร์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2517 เชลซิงเกอร์ยังเปิดเผยว่าเอซีเอฟลำใดๆ ก็ตามจะทำเพื่อเครื่องบินที่นอกเหนือจากเอฟ-15 ซึ่งเป็นการยุติฝ่ายค้านของแอลดับบลิวเอฟ[20][21][22]

เอซีเอฟยักได้เพิ่มเสาหลักให้กับเจเนรัล ไดนามิกส์และนอทร์ทธรอฟเพราะว่ามันเป็นผู้เข้าแข่งขันที่มีความตั้งใจในการทำกำไรงาม สิ่งเหล่านี้คือมิราจ เอฟ1เอ็ม-53ของดัซโซลท์ เอวิเอชั่น เซเปแคท จากัวร์ และซ้าบ วิกเก้นที่พัฒนาเป็นซ้าบ 37อี ยูโรไฟเตอร์ (ซึ่งไม่ใช่แบบเดียวกับยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน) นอร์ทธรอฟยังได้เสนออีกแบบหนึ่งคือพี-530 คอบรา ซึ่งคล้ายคลึงกับวายเอฟ-17 อย่างมาก จากัวร์และคอบราถูกยกเลิกโดยเอ็มเอฟพีจี ทำให้แบบของยุโรปสองแบบและแอลดับบลิวเอฟของสหรัฐฯ อีกสองแบบเป็นผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2517 กองทัพอากาศสหรัฐได้ยืนยันแผนที่จะสั่งซื้อเอซีเอฟที่ชนะเพื่อเพิ่มมันเข้าไปในฝูงบินยุทธวิธีห้าฝูงบิน เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีกองทัพอากาศจอห์น แอล. แมคลูคัสได้ประกาศว่าวายเอฟ-16 ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะในการแข่งขันเอซีเอฟ[23]

เหตุผลหลักที่รัฐมนตรีให้ต่อการตัดสินใจนี้คือราคาใช้งานที่ถูกกว่า พิสัยที่มากกว่า และการทำงานที่ดีกว่าของวายเอฟ-16 เหนือวายเอฟ-17 โดยเฉพาะความเร็วเหนือเสียง โครงการทดสอบการบินได้เผยว่าวายเอฟ-16 มีการเร่ง อัตราไต่ระดับ ความทนทาน และอัตราเลี้ยวที่เหนือกว่า อีกข้อได้เปรียบหนึ่งคือวายเอฟ-16 ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ใช้กับเอฟ-15 ทำให้มันลดค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการเครื่องยนต์[22][24]

ไม่นานหลังจากการเลือกวายเอฟ-16 รัฐมนตรีแมคลูคัสได้เผยว่ากองทัพอากาศสหรัฐได้วางแผนที่จะสั่งซื้ออย่างน้อย 650 ถึง 1,400 ลำ กองทัพอากาศเริ่มสั่งซื้อเครื่องบินที่มี"การพัฒนาแบบเต็มที่"หรือ"เอฟเอสดี" (Full-Scale Development, FSD) 15 ลำ (11 ลำเป็นแบบหนึ่งที่นั่งและอีก 4 ลำเป็นแบบสองที่นั่ง) สำหรับโครงการทดสอบการบิน แต่ต่อมาได้ลดเหลือ 8 ลำ (เอฟ-16เอ 6 ลำและเอฟ-16 บี 2 ลำ) อย่างไรก็ตามกองทัพเรือได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ว่าได้มีการตัดสินใจที่จะไม่ซื้อเอฟ-16 แบบสำหรับกองทัพเรือ พวกเขาเลือกที่จะใช้เครื่องบินที่พัฒนามาจากวายเอฟ-17 ซึ่งนั่นก็คือเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทของแมคดอนเนลล์ ดักลาสนั่นเอง[25]

เข้าสู่การผลิต

[แก้]

บริษัทผู้ผลิตเอฟ-16 คือเจเนรัล ไดนามิกส์ในฟอร์ทเวอร์ธรัฐเท็กซัสในปลายปีพ.ศ. 2518 พร้อมตัวอย่างแรกคือเอฟ-16เอ ที่วางแผนจะผลิตในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามมาด้วยการบินครั้งแรกของมันในวันที่ 8 ธันวาคม แบบสองที่นั่งเริ่มทำการบินครั้งแรกในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 การผลิตเริ่มแรกของเอฟ-16เอเริ่มในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2521 และส่งให้กับกองทัพอากาศสหรัฐในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เอฟ-16 ได้ชื่อเล่นในตอนแรกว่า"ไฟทิงฟอลคอน"ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2523 และมันได้เข้าประจำการในฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 388 ที่ฐานทัพอากาศฮิลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523[26]

เอฟ-16ซีของกองทัพอากาศสหรัฐในกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศของโคโลราโด ที่เพิ่งบินผละออกจากการเติมเชื้อเพลิงเหนือแคนาดา (จะเห็นช่องเชื้อเพลิงที่ยังเปิดอยู่)

ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2518 หุ้นส่วนยุโรปสี่ประเทศได้ทำสัญญาสำหรับเครื่องบินจำนวน 348 ลำที่งานแสดงในปารีส สำหรับเบลเยียม 116 ลำ เดนมาร์ก 58 ลำ เนเธอร์แลนด์ 102 ลำ และ นอร์เวย์ 72 ลำ พวกมันจะถูกผลิตบนสายการผลิตสองสายของยุโรป หนึ่งคือในเนเธอร์แลนด์ที่โรงงานของฟอกเกอร์และอีกที่หนึ่งในโรงงารแซบก้า (Société Anonyme Belge de Constructions Aéronautiques, SABCA) ของเบลเยียม การผลิตจะถูกแบ่งเป็น 184 ลำและ 164 ลำตามลำดับ บริษัทคองสเบิร์กของนอร์เวย์และเทอร์ม่า เอ/เอสของเดนมาร์กผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบิน การผลิตร่วมของยุโรปเริ่มอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ที่โรงงานฟอกเกอร์ ในกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ชิ้นส่วนที่ผลิตโดยฟอกเกอร์ถูกส่งไปที่ฟอร์ทเวิร์ธเพื่อทำการประกอบลำตัว ซึ่งจะถูกส่งกลับไปที่ยุโรป การประกอบขั้นสุดท้ายจะเริ่มที่โรงงานของเบลเยียมในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 พร้อมส่งให้กับกองทัพอากาศเบลเยียมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 สายผลิตของเดนมาร์กเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2521 และได้ทำการส่งครั้งแรกให้กับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2522 ในปีพ.ศ. 2523 เครื่องบินลำแรกถูกส่งให้กับกองทัพอากาศนอร์เวย์โดยแซบก้าและกองทัพอากาศเดนมาร์กโดยฟอกเกอร์[22][27][28]

ตั้งแต่นั้นสายการผลิตเพิ่มเติมถูกสร้างขึ้นในแอนคาร่าในตุรกี ที่ซึ่งอุตสาหกรรมอากาศยานของตุรกีหรือทีเอไอ (Turkish Aerospace Industries, TAI) ได้ผลิตเอฟ-16 บล็อก 30/40/50 จำนวน 232 ลำภายใต้ใบอนญาตให้กับกองทัพอากาศตุรกีในปลายทศวรรษที่ 1980 และ 1990 และได้จะไดรับบล็อก 50 แอดวานซ์เซดจำนวน 30 ลำในปีพ.ศ. 2553 ทีเอไอยังได้สร้างบล็อก 40 จำนวน 46 ลำให้กับอียิปต์ในปลายทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมอากาศยานของเกาหลีได้เปิดสายการผลิตสำหรับโครงการเคเอฟ-16 โดยผลิตบล็อก 52 จำนวน 140 ลำตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990-2000 สำหรับอินเดียพวกเขาเลือกเอฟ-16ไอเอ็นโดยจะมีสายการผลิตเอฟ-16 สายที่หกที่จะผลิตเครื่องบิน 108 ลำ[29]

การพัฒนา

[แก้]

หลังจากที่ถูกเลือก วายเอฟ-16 ก็ถูกเปลี่ยนเป็นเอฟ-16 โครงสร้างลำตัวถูกทำให้ยาวขึ้น 10.6 นิ้ว ส่วนจมูกที่ใหญ่ขึ้นถูกติดตั้งด้วยเรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-66 พื้นที่ปีถูกเพิ่มจาก 26 ตารางเมตรเป็น 28 ตารางเมตร ปีกหางถูกลดความสูงเล็กน้อย ปีกบริเวณท้องถูกทำให้ใหญ่ขึ้น มีการเพิ่มที่เก็บของ และฝาเปิดล้อหน้าถูกเปลี่ยนจากแบบสองฝามาเป็นฝาเดียว การดัดแปลงเหล่านี้เพิ่มน้ำหนักของเอฟ-16 ประมาณ 25% จากต้นแบบ[30][31][32]

ความต้องการหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่นับคือการเพิ่มการควบคุมสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดทำงานของเครื่องยนต์ในตอนที่ทำมุมปะทะสูง แบบทดสอบของวายเอฟ-16 ถูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยในแลงลีย์ มีการพบปัญหาสำคัญแต่ไม่มีแล็บที่ใดพบเหมือนกัน การบินทดสอบของวายเอฟ-16 ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะแก้ไขปัญหา แต่การบินครั้งสำคัญนั้นคือสิ่งที่ต้องสนใจจริงๆ ผลที่ได้ของพื้นที่หางแนวนอนที่เพิ่มขึ้นอีก 25% ถูกใช้กับบล็อก 15 ในปีพ.ศ. 2524 และต่อมาก็ใช้กับเครื่องบินสำแรกๆ อีกอย่างคือการลดความเสี่ยงอย่างมากของการที่เครื่องยนต์หยุดทำงาน หางแนวนอนที่ใหญ่ขึ้นยังเพิ่มความเสถียรและให้การวิ่งขึ้นที่รวดเร็วขึ้น[33][34][35]

ในทศวรรษที่ 1980 โครงการการพัฒนานานาชาติหรือเอ็มเอสไอพี (Multinational Staged Improvement Program, MSIP) ถูกจัดขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถใหม่ให้กับเอฟ-16 การลดความเสี่ยงในขณะทำการพัฒนาเทคโนโลยี และเพื่อมั่นใจว่ามันจะคงทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โครงการทำการพัฒนาเอฟ-16 สามขั้นตอน ด้วยประการทั้งปวงเอ็มเอสไอพีทำการเสนอความสามารถใหม่ของเอฟ-16 ในราคาต่ำ และลดความเสี่ยงเมื่อเทียบกับระบบแบบเดิม [36] เอฟ-16 ทำการพัฒนาอื่นๆ อีกที่รวมทั้งการยืดอายุการใช้งานในปีพ.ศ. 2543[37]

การออกแบบ

[แก้]
เอฟ-16ซีเจพร้อมขีปนาวุธอากาศสู่อากาศและระเบิดซีด

โดยรวม

[แก้]

เอฟ-16 เป็นเครื่องบินหลาบทบาทหนึ่งเครื่องยนต์ที่มีความเร็วเหนือเสียง เอฟ-16 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นนักสู้ที่คุ้มค่าซึ่งสามารถทำภารกิจได้หลากหลายและยังมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา มันมีขนาดเล็กและเบากว่าเครื่องบินก่อนหน้า แต่ใช้อากาศพลศาสตร์และระบบอิเลคทรอกนิกอากาศที่ล้ำหน้ากว่า รวมทั้งใช้ระบบฟลาย-บาย-ไวร์ (Fly-by-wire) กับอาร์เอสเอส (Relaxed static stability) เป็นครั้งแรก เพื่อให้ทำกระบวนท่าได้สูงสุด ด้วยความคล่องแคล่วสูงเอฟ-16 สามารถทำแรงได้ในระดับ 9 จีและสามารถทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่า 2 มัค

เอฟ-16 มีปืนใหญ่เอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.ที่โคนปีกด้านซ้ายและในรุ่นแรกๆ สามารถติดตั้งเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ได้ถึงหกลูก รวมทั้งขีปนาวุธอีกอย่างละลูกที่ปลายปีก บางแบบสามารถใช้เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์และในรุ่นล่าสุดก็สามารถใช้เอไอเอ็ม-120 แอมแรมได้อีกด้วย มันยังสามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบอื่น ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น จรวดหรือระเบิด อุปกรณ์ต่อต้านอิเลคทรอนิก (อีเอ็มซี) การนำร่อง กระเปาะหาเป้าหรือปืน และถังเชื้อเพลิงในทั้ง 11 ตำบล โดยมีหกตำบลที่ใต้ปีก สองที่ปลายปีก และสามที่ใต้ลำตัว

โครงร่างโดยปกติ

[แก้]

การออกแบบเอฟ-16 ใช้แพลนฟอร์มแบบครอป-เดลต้าร่วมกับการรวมปีกเข้ากับลำตัวและปีกขนาบข้าง เรขาคณิตที่ตายตัว ช่งอรับลมที่ด้านใต้เข้ากับเครื่องยนต์ไอพ่นแบบเทอร์โบแฟน ส่วนหางที่มีหางแนวนอนที่เคลื่อนที่ไดทั้งหาง ครีบคู่ที่ใต้ลำตัวท้ายขอบปีก ฝาครอบห้องนักบินแบบชิ้นเดียว และล้อลงจอดทั้งสาม มันมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศที่จะมีช่องเติมอยู่ที่หลังห้องนักบิน เบรกอากาศอยู่ที่ช่วงท้ายของตัวปีก และตะขอเกี่ยวอยู่ที่ใต้ลำตัวส่วนท้าย ที่โคนปีกจะมีส่วนเก็บอุปกรณ์มากมายอย่างอีซีเอ็มหรือร่มฉุด เอฟ-16 แบบต่อมามากมายอย่างเอฟ-16ไอจากบล็อก 50 มีส่วนที่เชื่อมโยงไปตามแกนของลำตัวตั้งแต่ห้องนักบินไปจนถึงส่วนหาง มันสามารถถูกใช้เพื่อเก็บอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือเชื้อเพลิงได้[29][38]

เอฟ-16 ถูกออกแบบมาให้มีราคาถูกในการสร้างและใช้งานได้ง่ายมากกว่าเครื่องบินขับไล่แบบก่อนๆ โครงสร้างทำจากอัลลูมิเนียมอัลลอย 80% เหล็ก 8% วัสดุผสม 3% และไทเทเนียม 1.5% การควบคุมพื้นผิวอย่างขอบที่แบนราบ ส่วนหาง และครีบท้องนั้นใช้โครงสร้างแบบใยที่ทำจากอะลูมิเนียมและผิวที่ทำจากกราไฟต์แผ่นบางๆ เอฟ-16เอมี 228 แผงตลอดทั่วทั้งลำตัว สายเชื้อเพลิงและโมดูลที่สามารถนำออกได้ยังถูกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับแบบก่อนหน้า[29][32]

แม้ว่าโครงการแอลดับบลิวเอฟของกองทัพอากาศสหรัฐจะเรียกร้องหาเครื่องบินที่สามารถมีชั่วโมงบินได้เพียง 4,000 ชั่วโมง และสามารถทำแรงได้ 7.33 จีพร้อมเชื้อเพลิงภายใน 80% วิศวกรของเจเนรัล ไดนามิกส์ตัดสินใจตั้งแต่แรกที่จะออกแบบโครงสร้างของเอฟ-16 ให้คงทนได้ 8,000 ชั่วโมงและได้แรงได้ 9 จีพร้อมเชื้อเพลิงเติมถัง มันได้พิสูจน์ถึงความได้เปรียบกว่าเมื่อภารกิจของมันถูกเปลี่ยนจากอากาศสู่อากาศเป็นแบบหลากบทบาทแทน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลากับแผนการใช้งานปฏิบัติการและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องมาจากระบบเพิ่มเติมทำให้มันต้องการโครงสร้างมากมายที่ต้องแข็งแกร่งขึ้น[39]

ปีกหลักและปีกขนาบข้าง

[แก้]

การศึกษาด้านอากาศพลศาสตร์เมื่อต้นทศวรรษที่ 1960 ได้แสดงให้เห็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า"การยกตัวของกระแสลม" (อังกฤษ: vortex lift) ที่สามารถเป็นประโยชน์โดยการใช้ปีกที่ลู่อย่างมากเพื่อทำมุมปะทะได้มากขึ้นผ่านการใช้กระแสลมแรงที่ไหลเวียนผ่านด้านข้างยกมันขึ้น เพราะว่าเอฟ-16 ถูกมองว่าเป็นเครื่องบินที่รวดเร็วในการต่อสู้ นักออกแบบของเจเนรัล ไดนามิกส์จึงได้เลือกปีกแบบครอป-เดลต้าที่เพรียวพร้อมกับปีกเสริมขนาบข้างทำมุม 40 องศาและท้ายปีกที่เป็นแนวตรง เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกระบวนท่าได้มากของมัน ปีกโค้งนูนพร้อมกับแอร์ฟอล์ยแบบเอ็นเอซีเอ 64เอ-204 จึงถูกเลือกมาใช้งาน ส่วนโค้งเรียกว่า"แคมเบอร์" (camber) นั้นถูกปรับผ่านทางการใช้ขอบด้านหน้าและชอบด้านหลังที่เชื่อมเข้ากับระบบควบคุมการบินหรือเอฟซีเอส (flight control system, FCS) ซึ่งจะปรับโดยอัตโนมัติผ่านทางช่องการบิน[29][39]

ผลของการยกตัวด้วยกระแสลมนี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยการเพิ่มพื้นที่ขอบด้านหน้าปีกที่ส่วนโคน จุดเชื่อมต่อกับลำตัว เรียกว่าส่วนขนาบข้างหรือ"สเตรค" (strake) สเตรคทำหน้าที่เหมือนสิ่งที่เพรียวลม มีขนาดยาว ไม่กว้าง ปีกทรงสามเหลี่ยมที่เริ่มตั้งแต่โคนปีกไปจนถึงส่วนหน้าของลำตัว ด้วยการผสมลำตัวที่ไม่มีจุดเชื่อมต่อที่เป็นมุม รวมทั้งโคนปีก สเตรคจะสร้างกระแสลมที่เร็วซึ่งยังคงติดอยู่กับส่วนบนของปีกเมื่อมุมปะทะสูงขึ้น ด้วยวิธีนี้เองแรงยกก็จะเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เครื่องบินสามารถทำมุมปะทะได้ในแบบที่ปกติแล้วเครื่องบินจะไม่สามารถควบคุมได้ การใช้สเตรคหรือปีกเสริมนั้นยังใช้อัตราปีกที่ต่ำ ซึ่งเพิ่มอัตราการหมุนและความเสถียรในขณะที่ลดน้ำหนักเครื่องบิน โคนปีกที่ลึกขึ้นยังเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้าง และเพิ่มปริมาณเชื้อเพลิงภายใน[39] ผลที่ได้คือเศษส่วนเชื้อเพลิงของเอฟ-16 ประมาณ 0.31 ที่ทำให้มันมีพืสัยมากกว่าเครื่องบินที่คล้ายคลึงกัน[32]

ระบบควบคุมการบิน

[แก้]

เสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบ

[แก้]

วายเอฟ-16 เป็นเครื่องบินลำแรกของโลกที่ถูกออกแบบให้มีอากาศพลศาสตร์ที่ไม่เสถียรเล็กน้อย เทคนิคนี้เรียกว่า"อาร์เอสเอส" (relaxed static stability, RSS) ทำงานร่วมเพื่อเพิ่มการทำงานของเครื่องบิน เครื่องบินส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นบวก ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เครื่องบินกลับไปสู่ความสูงเดิมของมันได้หลังจากที่เสียการทรงตัว อย่างไรก็ตามเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นบวกนั้นหยุดความคล่องตัว เพราะว่ามีจะคอยทำให้เครื่องบินอยู่ในตำแหน่งปกติแทนที่จะเป็นแบบที่นักบินต้องการ ในอีกทางหนึ่ง เครื่องบินที่มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบจะไม่อยู่ในระดับและการควบคุมในทันที ถึงกระนั้นเครื่องบินที่มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบจะคล่องแคล่วกว่าพวกที่เป็นบวก เมื่อทำความเร็วเหนือเสียงเครื่องบินที่มีเสถียรภาพในการทรงตัวที่เป็นลบจะมีแนวทางที่เป็นบวกมากกว่าเดิม เพราะว่าแรงอากาศพลศาสตร์เปลี่ยนส่วนท้ายระหว่างการบินแบบต่ำกว่าเสียงและเร็วเหนือเสียง อย่างไรก็ตามในความเร็วเหนือเสียงเครื่องบินขับไล่มักมีแนวโน้มที่จะหลุดจากการควบคุมได้ตลอดเวลา[40][41]

ฟลาย-บาย-ไวร์

[แก้]

เพื่อเผชิญหน้ากับการหลุดจากการควบคุมและหลีกเลี่ยงความต้องการที่จะต้องใช้เวลาในการเข้าควบคุมโดยนักบิน เอฟ-16 จึงมีช่องฟลาย-บาย-ไวร์สี่ช่อง คอมพิวเตอร์ควบคุมการบินหรือเอฟแอลซีซี (flight control computer, FLCC) ซึ่งเป็นตัวสำคัญของระบบควบคุมการบินหรือเอฟเอลซีเอส (Flight Control System, FLCS) ยอมรับการเชื่อมต่อจากนักบินจากคันบังคับและหางเสือ และจัดการการควบคุมพื้นผิวโดยไม่ทำให้เสียการควบคุม เอฟแอลซีซียังใช้การวัดเป็นพันๆ ครั้งต่อวินาทีของความสูงที่เครื่องบินอยู่ และจะทำให้มันถูกต้องโดยอัตโนมัติเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางการบินที่ไม่ได้มาจากนักบิน นั่นทำให้มันบินได้อย่างเสถียร สิ่งนี้นำไปสู่คำพังเพยของนักบินเอฟ-16 ที่ว่า "คุณไม่ได้ขับเอฟ-16 หรอก มันนั่นแหละที่ขับคุณ"[42]

เอฟแอลซีซียังทำงานร่วมกับตัวจำกัดการควบคุมการเคลื่อนไหวที่มีพื้นฐานมาจากระดับความสูงปัจจุบันของเครื่องบินไอพ่น ความเร็วลมและมุมปะทะ และป้องกันการเคลื่อนของการควบคุมพื้นผิวซึ่งจะทำให้เกิดความไม่เสถียรอย่างการสลิปหรือสคิด หรือมุมปะทะระดับสูงที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้ ตัวจำกัดยังทำหน้ที่ป้องกันกระบวนท่าที่จะสร้างแรงมากกว่า 9 จีต่อนักบินหรือโครงสร้าง[32][43]

ไม่เหมือนกับวายเอฟ-17 ที่จุดเด่นอยู่ที่ระบบเอฟบีดับบลิวพร้อมกับการควบคุมด้วยน้ำที่เป็นตัวสำรอง นักออกแบบเอฟ-16 นั้นใช้วัตกรรมใหม่ในการกำจัดส่วนเชื่อมระหว่างคันบังคับและหางเสือและพื้นผิวควบคุมอากาศพลศาสตร์ ความไว้ใจได้ของเอฟ-16 ต่อระบบอิเลคทรอนิกและสายไฟเพื่อคงการควบคุมการบิน แทนที่จะเป็นการใช้สายเคเบิลและระบบกลไกในการควบคุม สิ่งนี้ทำให้เอฟ-16 ได้รับชื่อเล่นว่า"อิเลคทริกเจ็ท"หรือ"เจ็ทไฟฟ้า" ช่องบินทั้งสี่หากสูญเสียไปหนึ่งช่องระบบก็จะเปลี่ยนมาเป็นแบบสามช่อง[44] เอฟแอลซีซีเริ่มต้นในฐานะระบบอนาล็อกในแบบเอ/บี แต่ต่อมาได้เป็นระบบดิจิตอลในแบบซี/ดีของบล็อก 40[32][45][46]

ห้องนักบินและการจัดอุปกรณ์

[แก้]

อีกจุดเด่นหนึ่งของมันจากมุมมองของนักบินคือความยอดเยี่ยมโดยรวมของเอฟ-16 ในห้องนักบิน จุดเด่นนี้เป็นสิ่งสำคัญขณะทำการต่อสู้กลางอากาศ ฝาครอบชิ้นเดียวที่ทำมาจากโพลีคาร์บอเนทให้มุมมอง 360 องศาพร้อมมุมมองขึ้นลง 40 องศาตลอดด้านข้างของเครื่องบิน และ 15 องศาเหนือส่วนจมูก ที่นั่งนักบินติดตั้งบนที่ปรบขึ้นลงได้ นอกจากนี้ห้องนักบินเอฟ-16 ไม่มีส่วนโค้งที่ด้านหน้าซึ่งมีในเครื่องบินส่วนใหญ่ ซึ่งมันทำให้นักบินมองเห็นได้ชัดขึ้นในบริเวณด้านหน้า (ในแบบสองที่นั่งจำเป็นต้องมีกรอบมากั้นระหว่างนักบินทั้งสอง)[29][32][47]

ห้องนักบินเอฟ-16 สำหรับฝึก

เก้าอี้ดีดตัวเอซเซส2 พลังจรวดอยู่ที่ด้านหลังโดยทำมุม 30 องศา ที่นั่งในแบบที่เก่ากว่าและร่วมสมัยนั้นมักทำมุมเพียง 13-15 องศาทำนั้น ที่นั่งเอนที่ไปด้านหลังของเอฟ-16 ถูกเลือกเพื่อเพิ่มความทนทานของนักบินต่อแรงจีได้ และเพื่อลดความอ่อนไหวของนักบินต่อแรงโน้มถ่วงที่จะทำให้หมดสติ อย่างไรก็ตามมุมที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่คอจะได้รับบาดเจ็บหากไม่ใช้ที่พักศีรษะ[48] การออกแบบเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ ในเวลาต่อมาที่นั่งจะเล็กกว่าและทำมุมเพียง 20 องศา[29][32][49] เพราะมุมที่มากของที่นั่งและความหนาของฝาครอบที่ทำมาจากโพลีคาร์บอเนท เก้าอี้ดีดตัวของเอฟ-16 จึงขาดส่วนที่เป็นเหล็กเพื่อกระแทกให้ฝาครอบแตกอย่างที่เครื่องบินลำอื่นๆ มี ซึ่งตัวกระแทกนั้นจะทำให้ฝาครอบแตกหากมันไม่สามารถเปิดได้ ในเครื่องเอฟ-16 การดีดตัวของนักบินทำโดยการปลดฝาครอบทิ้งไปก่อน เมื่อแรงลมดึงฝาครอบออกไปแล้ว ไกก็จะลั่นส่งให้เก้าอี้พุ่งออกไปด้วยพลังจรวด[50]

นักบินที่บินเครื่องบินจะใช้คันบังคับที่ด้านขวาเป็นหลักและคันเร่งจะอยู่ที่ด้านซ้าย หรือจะเป็นคันเหยีบก็ได้ เพื่อเพิ่มองศาในการควบคุมของนักบินในตอนที่มีแรงจีเยอะ สวิตช์มากมายจึงถูกย้ายไปที่คันบังคับแทน การกดเพียเบาๆ ที่คันบังคับจะส่งสัญญาณอิเลคทรอนิกผ่านทางระบบฟลาย-บาย-ไวร์เพื่อปรบการควบคุมการบินมากมาย ดั้งเดิมแล้วคันบังคับไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่การจัดใช้แบบนี้ได้พิสูจน์ว่าไม่สะดวกและยากสำหรับนักบินที่จะควบคุม บางครั้งมันส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะหมุนเกินไปในตอนที่วิ่งขึ้น ตั้งแต่ที่มันปรากฏตัวในเครื่องเอฟ-16 คันบังคับแบบโฮทัส (HOTAS) ได้กลายมาเป็นแบบพื้นฐานของเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่ (แม้ว่าคันบังคับด้านข้างนั้นจะไม่แพร่หลายนัก)[32][51]

ห้องนักบินของเอฟ-16 ยังมีเฮด-อัพดิสเพลย์หรือฮัด (Head-Up Display, HUD) ซึ่งฉายภาพการบินและข้อมูลการรบในรูปแบบสัญลักษณ์ต่อหน้านักบินโดยปราศจากสิ่งกีดขวาง ด้วยการที่สามารถมองหาเป้าได้ทั่วห้องนักบินนักบินจึงมีการระวังตัวอย่างมากต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว[52] หมวกเจเอชเอ็มซีเอส (Joint Helmet Mounted Cueing System, JHMCS) ของโบอิงถูกใช้ในบล็อก 52 สำหรับขีปนาวุธพิสัยไกลอย่างเอไอเอ็ม-9 เอ็กซ์ หมวกพิเศษนี้สามารถบองตำแหน่งของระบบอาวุธได้ตามที่นักบินมอง แม้กระทั่งนอกจอแสดงผลก็ตาม ในขณะที่ยังคงมีการระวังภัย[53] หมวกนี้ทำการครั้งแรกในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก[54]

นักบินจะได้รับการบินเพิ่มและข้อมูลสถานะของระบบจากมัลติ-ฟังชั่น ดิสเพลย์หรือเอ็มเอฟดี (multi-function display, MFD) เอ็มเอฟดีที่ด้านซ้ายคือหน้าจอแสดงการบินหลัก ซึ่งโดยปกติจะแสดงเรดาร์และแผนที่เคลื่อนที่ เอ็มเอฟดีทางด้านขวาจะแสดงระบบ ซึ่งแสดงข้อมูลสำคัญของเครื่องยนต์ อุปกรณ์ลงจอด ฝาครอบและแพนปีก เชื้อเพลิง และสถานะอาวุธ เริ่มแรกเอฟ-18เอ/บีมีจอหลอดรังสีคาโทด (ซีอาร์ที) เพียงจอเดียวเท่านั้นที่ทำหน้าที่พีเอฟดี พร้อมกับข้อมูลระบบที่แสดงตามมาตรวัดต่างๆ เอ็มแอลยูได้นำจอเอ็มเอฟดีเข้าสู่ห้องนักบินและยังใช้ได้ในแบบกลางคืนอีกด้วย[34] จอซีอาร์ทีเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยจอแอลซีดีในบล็อก 50/52[29] ในบล็อก 60 จอเอ็มเอฟดีแบบสีที่สามารถใส่โปรแกรมและสลับเปลี่ยนได้ พร้อมความสามารถภาพต่อภาพซึ่งให้สถานการณ์ได้ตรงตามเวลาบนแผนที่เคลื่อนที่[55]

เรดาร์

[แก้]

เอฟ-16เอ/บีเดิมที่ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิงแบบพัลส์-ดอพเพลอร์เอเอ็น/เอพีจี-66 ของเวสติ้งเฮาส์ (ตอนนี้คือนอร์ทธรอป กรัมแมน) เสาอากาศของมันถูกออกแบบมาเพื่อมีประสิทธิภาพกับสมูกขนาดเล็กของเอฟ-16 ในรูปแบบอัพลุค เอพีจี-66 ใช้คลื่นสั่นสะเทือนซ้ำหรือพีอาร์เอฟ (Pulse repetition frequency, PRF) ระดับต่ำสำหรับเป้าหมายที่อยู่ระดับกลางและสูงในสภาพแวดล้อมที่รก และในรูปแบบดาวน์ลุคจะเป็นการใช้พีอาร์เอฟระดับกลางสำหรับสภาพแวดล้อมที่รกอย่างมาก มันมีคลื่นความถี่สี่คลื่นภายในเอ็กว์แบนด์ (X band) และมีรูปแบบสี่รูปแบบสำหรับการต่อสู้อากาศสู่อากาศและเจ็ดสำหรับการต่อสู้อากาศสู่พื้น แม้แต่ในตอนกลางคืนหรือสภาพอากาศที่เลวร้าย เอพีจี-66(วี)2 ของบล็อก 15 ได้เพิ่มตัวประมวลสัญญาณที่ทรงพลัง ความเชื่อใจได้ และเพื่มระยะในสภาพแวดล้อมที่รกหรือมีการรบกวนได้ไกลขึ้น โครงการเพิ่มอายุใช้งานได้พัฒนาสิ่งนี้เป็นเอพีจี-66(วี)2เอ ซึ่งมีจุดเด่นเป็นความเร็วและความจำ[32][56]

เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-68 เป็นการพัฒนาของเอพีจี-66 ถูกนำมาใช้กับเอฟ-16ซี/ดี บล็อก 25 เอพีจี-68 มีระยะและการประมวลผลที่มากกว่า เช่นเดียวกับรูปแบบปฏิบัติการที่มากขึ้นเป็น 25 รูปแบบ และการติดตามขณะตรวจหาหรือทีดับบลิวเอส (track-while-scan, TWS) สำหรับเป้าหมายมากถึงสิเป้าหมาย เอพีจี-68(วี)1 ของบล็อก 40/42 ได้เพิ่มการทำงานร่วมเต็มที่กับระบบแลนเทิร์นของล็อกฮีด มาร์ติน และรูปแบบติดตามแบบพัลส์-ดอพเพลอร์ด้วยพีอาร์เอฟระดับสูงเพื่อให้ส่งคลื่นต่อเนื่องเข้าสู่เป้าหมายเพื่อชี้เป้าให้กับขีปนาวุธแบบกึ่งเรดาร์อย่างเอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ เอฟ-16 บล็อก 50/52 เริ่มได้รับเอพีจี-59(วี)5 ที่เชื่อถือได้มากกว่าซึ่งมีตัวประมวลผลที่ใช้เทคโนโลยีวงจรร่วมความเร็วสูง บล็อก 50/52 ที่ห้าวหน้าถูกติดตั้งด้วยเอพีจี-68(วี)9 ซึ่งมีระยะตรวจจับได้มากกว่า 30% และรูปแบบเอสเออาร์ (synthetic aperture radar, SAR) สำหรับการประมวลผลระดับสูงของแผนที่และการตรวจจับเป้าหมาย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 นอร์ทธรอฟ กรัมแทนได้รับสัญญาในการเริ่มการพัฒนาเรดาร์เอพีจี-68 ของบล็อก 40/42/50/52 ให้เป็นแบบ(วี)10 ซึ่งทำให้เอฟ-16 มีการตรวจจับในทุกสภาพอากาศและการจับเป้าในแบบจีพีเอส มันยังเพิ่มรูปแบบแผนที่เอสเออาร์และรูปแบบตามพื้นภูมิประเทศ[29][32]

เอฟ-16อี/เอฟที่ใช้เรดาร์เออีเอสเอ (Active Electronically Scanned Array, AESA) เอเอ็น/เอพีจี-80 ของนอร์ทธรอป กรัมแมน ทำให้มันเป็นเครื่องบินลำที่สามที่ใช้มัน[55][57]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เรย์ธีออนได้ประกาศว่ามันได้ทำการพัฒนาเรดาร์รุ่นใหม่ขึ้นมาโดยมีพื้นฐานมาจากเอเอ็น/เอพีจี-79 รุ่นก่อนหน้าเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเอเอ็น/เอพีจี-68 และเอเอ็น/เอพีจี-80 ของนอร์ทธธรอป กรัมแมนสำหรับเอฟ-16 แบบใหม่[29][58] ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โบอิงได้เลือกการออกแบบนี้เพื่อทำการพัฒนาเอฟ-15อีให้กับกองทัพอากาศสหรั[59]

การขับเคลื่อน

[แก้]

ในตอนแรกขุมกำลังของเอฟ-16 คือเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100-พีดับบลิว-200 หนึ่งเครื่องยนต์ มันถูกดัดแปลงเล็กน้อยจากเอฟ100-พีดับบลิว-100 ที่ใช้โดยเอฟ-15 ด้วยอัตราแรงขับ 23,830 ปอนด์ทำให้มันยังคงใช้ไปจนถึงเอฟ-16 ในบล็อก 25 ยกเว้นบล็อก 12 พร้อมการพัฒนาความสามารถปฏิบัติการหรือโอซียู (Operational Capability Upgrade, OCU) โอซียูได้นำเครื่องเอฟ100-พีดับบลิว-220 ที่ให้แรงขับ 23,770 มาใช้ ซึ่งยังได้ติดตั้งในบล็อก 32 และ 42 ในขณะที่มันไม่ได้เพิ่มแรงขับอย่างเห็นได้ชัดนัก มันก็ได้นำระบบควบคุมเครื่องยนต์อิเลคทรอกนิกแบบดิจิตอลหรือดีอีอีซี (Digital Electronic Engine Control, DEEC) มาใช้ซึ่งได้เพิ่มความไว้ใจได้และลดความเสี่ยงของเครื่องยนต์ที่จะหยุดทำงาน (ซึ่งเป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นกับรุ่น "-200" ซึ่งจำเป็นต้องทำการสตาร์ทเครื่องใหม่กลางอากาศ) ด้วยการปรากฏตัวบนสายผลิตเอฟ-16 ในปีพ.ศ. 2531 "-220" ยังได้เข้าแทนที่ "-100" ของเอฟ-15 ดังนั้นทั้งสองจึงมีเครื่องยนต์ที่เหมือนกัน เครื่องยนต์รุ่น "-220" มากมายของบล็อก 25 และเครื่องบินลำต่อๆ มาถูกพัฒนาตั้งแต่กลางปีพ.ศ. 2540 ให้เป็น "-220อี" ซึ่งได้เพิ่มความไว้ใจได้และใช้งานได้ง่าย รวมทั้งลดอัตราการซ่อมแซมลงไป 35%[22][32][60][61]

การพัฒนาเอฟ-100-พีดับบลิว-220/220อีเป็นผลมาจากโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์ของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งมีเจเนรัล อิเลคทริกเป็นผู้สร้างเครื่องยนต์ให้กับเอฟ-16อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอฟ110-จีอี-100 ต้องการการดัดแปลงในส่วนของช่องรับลม แบบเดิมนั้นให้แรงขับสูงสุดเพียง 25,735 ปอนด์ ในขณะที่แบบใหม่ให้แรงขับสูงสุดถึง 28,984 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย (เพื่อแยกแยะเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์แตกต่างกัน ลำที่ใช้ของเจเนรัล อิเลคทริกใช้ลงท้ายบล็อกด้วย "0" (เช่น บล็อก 30) และลำที่ใช้ของแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์จะลงท้ายด้วย "2" (เช่น บล็อก 32))[34][60][62][63][64]

การพัฒนาเพิ่มโดยผู้แข่งขันเหล่านี้ภายใต้เครื่องยนต์ที่เพิ่มการทำงานทำให้เกิดเครื่องยนต์เอฟ110-จีอี-129 ที่ให้แรงขับ 29,588 ปอนด์ในบล็อก 50 และเครื่องยนต์เอฟ-พีดับบลิว-229 ที่ให้แรงขับ 29,100 ในบล็อก 52 ขึ้นมา เอฟ-16 เริ่มบินด้วยเครื่องยนต์เหล่านี้ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2534 และ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ตามลำดับ ด้วยประการทั้งปวงเอฟ-16ซี/ดี 1,446 ลำที่สั่งซื้อโดยกองทัพอากาศสหรัฐ มี 556 ลำที่ใช้เครื่องยนต์ตระกูลเอฟ100 และ890 ลำที่ใช้เอฟ110[29] บล็อก 60 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอฟ110-จีอี-132 ของเจเนรัล อิเลคทริกซึ่งให้แรงขับสูงสุด 32,500 ปอนด์ สูงสุดในบรรดาเอฟ-16 ทั้งหมด[55][62][65]

ประวัติการใช้งาน

[แก้]
นักบินเอฟ-16 ของกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศในห้องนักบินพร้อมกล้องมองกลางคืน

เนื่องมาจากการที่มีพวกมันอยู่ทั่วทุกที่ เอฟ-16 จึงมีส่วนร่วมในการรบมากมายซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตะวันออกลาง

การรบครั้งแรกประสบผลที่หุบเขาเบก้าและการบุกออสอิรัก (พ.ศ. 2524)

[แก้]

การต่อสู้ทางอากาศครั้งแรกของเอฟ-16 เกิดขึ้นโดยกองทัพอากาศอิสราเอลเหนือหุบเขาเบก้าเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 โดยจัดการกับเฮลิคอปเตอร์มิล เอ็มไอ-8 ของซีเรีย ซึ่งถูกยิงตกโดยปืนหลังจากไม่สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ยิงได้ หนึ่งปีต่อมาในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ในขณะทำการรบทางอากาศกองทัพอากาศอิสราเอลได้ใช้เอฟ-16 ทำแต้มกับเครื่องบินขับไล่อีกลำเป็นครั้งแรกโดยยิงมิก-21 หนึ่งลำของซีเรียตก[66]

ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2524 เอฟ-16 แปดลำของอิสราเอลที่คุ้มกันโดยเอฟ-15 ทำปฏิบัติการโอเปร่าโดยเป็นการโจมตีทางอากาสู่พื้นครั้งแรกของมัน การบุกครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับออสอิรัก เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรักที่กำลังก่อสร้างในแบกแดด เพื่อป้องกันไม่ให้ซัดดัม ฮุสเซนใช้มันสร้างอาวุธนิวเคลียร์[67]

ปฏิบัติการความสงบเพื่อกัลลิลี (พ.ศ. 2525)

[แก้]

ปีต่อมาในปฏิบัติการความสงบเพื่อกัลลิลีในสงครามเลบานอนปีพ.ศ. 2525 เอฟ-16 ของอิสราเอลได้เข้าปะทะกับเครื่องบินของซีเรียซึ่งเปนการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่น ซึ่งเริ่มในวันที่ 9 มิถุนายนและยังคงต่อเนื่องไปอีกสองวัน เมื่อสิ้นสุดการรบกองทัพอากาศอิสราเอลได้สังหารไป 44 ลำ ส่วนใหญ่เป็นมิก-21 และมิก-23 ในขณะที่ไม่สูญเสียเอฟ-16 เลย[66][68] เอฟ-16 ยังได้ใช้การโจมตีภาคพื้นดินเพื่อเข้าโจมตีเป้าหมายในเลบานอน

เหตุการณ์ในช่วงสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2529-2531)

[แก้]

ในสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถานระหว่างเดอืนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 และมกราคม พ.ศ. 2533 กองทัพอากาศปากีสถานอ้างว่า ได้ใช้เอฟ-16 ยิงข้าศึกจากฝ่ายอัฟกานิสถานตกไปอย่างน้อยสิบลำ สี่ลำเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดซู-22 สามลำเป็นเครื่องบินขนส่ง (แอน-26 สองลำและแอน-24 หนึ่งลำ) และอีกนึ่งลำเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดซู-25 ส่วนใหญ่ถูกสังหารโดยไซด์ไวน์เดอร์ แต่ซู-22 ถูกปืนยิงตกและแอน-24 หนึ่งลำถูกบังคับให้ลงจอดฉุกเฉินเมื่อถูกเข้าสกัดกั้น[69]

อัฟกานิสถานอ้างว่า Mig-23 ที่ขับโดยนักบินโซเวียต ได้ยิงเอฟ-16เอของปากีสถานตกหนึ่งลำในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2530 นักบินดีดตัวได้อย่างปลอดภัยและตกลงในพื้นที่ของปากีสถาน ทางปากีสถานยอมรับว่าได้สูญเสียเครื่องบินให้กับฝ่ายศัตรู แต่อ้างว่ามันอาจเป็นได้ทั้งเอฟ-16 หรือเอฟ-6 และยืนกรานว่ามันถูกโจมตีเหนือพื้นที่ของปากีสถาน[70] ต่อมาทางการปากีสถานได้ยืนยันการสูญเสียเอฟ-16 หนึ่งลำ แต่อ้างว่า เป็นอุบัติเหตุโดยถูกยิงโดยพวกเดียวกันเองขณะต่อสู้อย่างชุลมุนเหนือเขตแดนของปากีสถาน ตามคำกล่าวอ้างเอฟ-16 ของผู้หมวดซาฮิด ไซกันดาร์ คานถูกยิงโดยเอไอเอ็ม-9 ที่ยิงมาจากนักบินเอฟ-16 อีกนายหนึ่งโดยหัวหน้าฝูงบินอัมจาด จาเวด[71]

ปฏิบัติการพายุทะเลทราย (พ.ศ. 2534)

[แก้]

ในปฏิบัติการพายุทะเลทราย เมื่อปีพ.ศ. 2534 เอฟ-16 จำนวน 249 ลำของกองทัพอากาศสหรัฐทำการบิน 13,340 ครั้งเพื่อเข้าโจมตีอิรัก ส่วนใหญ่เป็นของกองกำลังผสม เครื่องบินสามลำอ้างว่าถูกยิงตกขณะทำการยืนยันการเคลื่อนไหวของศัตรู สองลำถูกยิงโดยขีปนาวุธพื้นสู่อากาศนำวิถีด้วยเรดาร์เอสเอ-6 และเอสเอ-3ที่ผลิตในรัสเซีย[72][73] และอีกหนึ่งลำถูกยิงโดยขีปนาวุธขนาดเล็กแบบประทับบ่าของรัสเซียรุ่นเอสเอ-16 [74] เอฟ-16 ลำอื่นได้รับความเสียหายในอุบัติเหตุและการยิงของศัตรูแต่ก็สามารถบินกลับฐานและซ่อมแซมได้ในที่สุด[75][76] โดยรวมแล้วเอฟ-16 เจ็ดลำถูกยิงตกในพายุทะเลทรายระหว่างวันที่ 16 มกราคมและ 28 กุมภาพันธ์[77]

ปฏิบัติการทางอากาศเหนืออิรัก (พ.ศ. 2534-2546)

[แก้]

หลังจากสิ้นสุดปฏิบัติการพายุทะเลทรายจนถึงการบุกอิรักในปีพ.ศ. 2546 เอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐได้ทำการลาดตระเวนในเขตห้ามบินของอิรัก มีชัยชนะทางอากาศสองครั้งที่ทำแต้มโดยเอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐในปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์[78] ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เอฟ-16ดีหนึ่งลำของกองทัพอากาศสหรัฐยิงมิก-25 หนึ่งลำของอิรักตกในเขตห้ามบินของสหประชาชาติเหนือทางตอนใต้ของอิรักด้วยเอไอเอ็ม-120 แอมแรม นี่เป็นครั้งแรกที่เอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐทำแต้มตั้งแต่ที่มันเริ่มทำหน้าที่ และยังเป็นการใช้แอมแรมสังหารครั้งแรกอีกด้วย[79] ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2535 เอฟ-16ซีของกองทัพอากาศสหรัฐได้ทำลายมิก-23 หนึ่งลำของอิรักด้วยขีปนาวุธแอมแรมอันเป็นชัยชนะครั้งที่สองของเอฟ-16[80]

เอฟ-16 ได้กลับเข้าอิรักในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ในส่วนหนึ่งของปฏิบัติการจิ้งจอกทะเลทรายโดยทำภารกิจทิ้งระเบิดเพื่อลดความสามารถในการผลิตอาวุธของอิรัก[81]

การพยายามรัฐประหารเวเนซูเอลา (พ.ศ. 2535)

[แก้]

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เอฟ-16 สองลำของเวเนซูเอลามีส่วนร่วมในการพยายามรัฐประหารเวเนซูเอลาโดยทำงานให้กับฝ่ายรัฐบาล เอฟ-16เอสองลำยิงกราดใส่เป้าหมายบนพื้นดินและยิงโอวี-10 บรองโกสองลำตกด้วยเอไอเอ็ม-9 และเอที-27 ทูคาโน่หนึ่งลำตกโดยใช้ปืนเมื่อเครื่องบินของกบฏดังกล่าวได้บินเข้าโจมตีที่มั่นของกองทัพ[82]

บัลข่าน (พ.ศ. 2537-2538 และ 2542)

[แก้]

เอฟ-16 ยังถูกใช้โดยนาโต้ในปฏิบัติการรักษาความสงบของบอสเนียในปีพ.ศ. 2537-2538 ในภารกิจโจมตีภาคพื้นดินและป้องกันเขตห้ามบินเหนือบอสเนีย (ปฏิบัติการดีนายไฟลท์) ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เครื่องเจ-21 สี่ลำและไอเจ-21 สองลำ และเจ-22 สองลำได้รุกล้ำเขตห้ามบินเพื่อทำการทิ้งระเบิด นักบินของเจ-22 ทั้งสองลำเห็นเอฟ-16 เหนือพวกเขาและหลังจากการโจมตี พวกเขาก็บินจากไปในระดับต่ำมุ่งหน้าไปโครเอเชีย ที่ซึ่งเครื่องบินของสหรัฐไม่สามารถบินตามไปได้ ในขณะนั้นกลุ่มที่เหลือถูกโจมตี ระลอกแรกโดยเอฟ-16ซี 2 ลำของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งทำได้สามแต้ม เจ-21 ที่เหลือถูกจัดการโดยเอฟ-16ซี อีกคู่หนึ่ง เครื่องบินของยูโกสลาเวียหกลำเข้าปะทะ มีสี่ลำที่ถูกยิงตก[83][84] ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เอฟ-16ซีลำหนึ่งถูกยิงตกโดย2เค12 คับของเซอร์เบียในขณะทำการลาดตระเวนเหนือบอสเนีย นักบินสกอตต์ โอเกรดี้ดีดตัวออกและได้รับการช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ซีเอช-53 ซีสตัลเลียนของนาวิกโยธินสหรัฐในวันที่ 8 มิถุนายน[85]

เอฟ-16 ของนาโต้ยังได้มีส่วนร่วมในการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังของเซอร์เบียในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปฏิบัติการเดลิเบอร์เรทฟอร์ซในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 และอีกครั้งในปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซเหนือยูโกสลาเวียตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนยน พ.ศ. 2542 ในปฏิบัติการนี้เอฟ-16 ได้รับชัยชนะ 1-2 ครั้ง หนึ่งครั้งโดยกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ที่ยิงเครื่องมิก-29 (ที่ขาดการซ่อมบำรุงเนื่องการมาตรการคว่ำบาตร) หนึ่งลำของยูโกสลาเวียตก และอีกครั้งโดยเอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐโดยเหยื่อคือมิก-29 เช่นกัน อย่างไรก็ตามในกรณีต่อมาเซอร์เบียได้อ้างว่าได้พบซากของ9เค32เอ็มในซากของมิก-29 และบอกว่ามันถูกยิงตกโดยพวกเดียวกันเอง[86]

ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เอฟ-16ซีจีหนึ่งลำถูกยิงตกเหนือเซอร์เบียโดยขีปนาวุธรัสเซียรุ่นเอส-125 นักบินสามารถดีดตัวออกมาได้และต่อมาได้รับความช่วยเหลือ[87][88] สร้างของเครื่องบินถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์การบินของยูโกสลาเวีย

เหตุการณ์ในอีเจียน (พ.ศ. 2539 และ 2549)

[แก้]

ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ในการเผชิญหน้าทางอากาศในน่านฟ้าของกรีซเหนือทะเลอีเจียน เครื่องมิราจ 2000ได้ยิงขีปนาวุธอาร์550 แมจิกใส่เครื่องเอฟ-16ดีของตุรกีตก ซึ่งรัฐบาลตุรกีอ้างว่าเป็นการฝึกในน่านฟ้าสากลทางเหนือของเกาะซามอสของกรีก นักบินตุรกีเสียชีวิตในขณะที่นักบินร่วมดีดตัวออกมาได้และได้รับการช่วยเหลือโดยกองกำลังของกรีซ[89][90] ในขณะที่รัฐบาลตุรกียอมรับความสูญเสีย รัฐบาลกรีซได้ปฏิเสธเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[91]

ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เอฟ-16 บล็อก 52+ สองลำของกรีซเข้าสกัดกั้นอาร์เอฟ-4 และเอฟ-16 สองลำของตุรกีที่นอกชายฝั่งเกราะคาร์พาธอสของกรีซ การต่อสู้ระหว่างเอฟ-16 ของทั้งสองฝ่ายจบลงด้วยการชนกันกลางอากาศระหว่างเครื่องเอฟ-16 ของทั้งสองฝ่าย นักบินตุรกีดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัยก่อนที่เครื่องจะชน แต่นักบินกรีซเสียชีวิต[92]

สงครามคาร์จิล (พ.ศ. 2542)

[แก้]

เอฟ-16 ของปากีสถานได้ปะทะกับมิก-29 ของอินเดียในสงครามคาร์จิลในแคชเมียเมื่อปีพ.ศ. 2542 กองทัพอากาศอินเดียใช้มิก-29 อย่างกว้างขวางเพื่อคุ้มกันมิราจ 2000 ซึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ใส่เป้าหมาย ในสงครามคาร์จิลมิก-29 จากฝูงบินที่ 47 ของกองทัพอากาศอินเดียได้ทำการล็อกเป้าใส่เอฟ-16 ของกองทัพอากาศปากีสถานซึ่งเข้าใกล้น่านฟ้าอินเดีย โดยที่เอฟ-16 ไม่สามารถหลบหนีหรือตอบโต้ได้เลย แต่เพราะอินเดียและปากีสถานยังไม่ได้ประกาศรบกันอย่างจริงจังในตอนนั้น มิกจึงถูกสั่งให้เลิกติดตาม หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นกองทัพอากาศปากีสถานได้สั่งการให้เครื่องบินอยู่ในน่านฟ้าของตนเองเท่านั้น[93]

ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน)

[แก้]

เอฟ-16 ถูกใช้โดยสหรัฐอเมริกาในอัฟกานิสถานตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 ในปีพ.ศ. 2545 กองทัพอาการ่วมยุโรป (ประกอบด้วยกองทัพอากาศเดนมาร์ก กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ และกองทัพอากาศนอร์เวย์) ใช้เอฟ-16 จำนวน 18 ลำทำหน้าที่โจมตีภาคพื้นดินที่ฐานบินมานาสในคีร์กีซสถานเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการเอนดูริงฟรีดอมในอัฟกานิสถาน

ช่องรับลมสำหรับความเร็วเหนือเสียง

ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2548 เอฟ-16 แปดลำของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์กับเอฟ-16 สี่ลำของกองทัพอากาศนอร์เวย์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้ทำการสนับสนุนทหารราบในทางใต้ของอัฟกานิสถาน[94] ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เอฟ-16เอเอ็มของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ตกในเขตกาซนิและนักบินเสียชีวิต[95] ไม่มีการให้เหตุผลใดๆ ในการตกครั้งนี้แต่การสืบสวนล่าสุดอ้างว่า ได้พบแมงมุมและสัตว์อื่นๆ ในห้องนักบินของเนเธอร์แลนด์ในอัฟกานิสถาน[96][97]

ปฏิบัติการพายุมืด

[แก้]

เอฟ-16 จากกองทัพอากาศปากีสถานได้ทำการต่อต้านผู้ก่อการร้ายอย่างมากให้กับปากีสถาน กองทัพอากาศปากีสถานได้ใช้เอฟ-16 บ่อยครั้งในการสนับสนุนกองทัพบกของตนที่ปฏิบัติการในหุบเขาสวัทและในเขตฟาต้า ตามข้อมูลจากสถานทูตปากีสถานในวอชิงตัน กองทัพอากาศทำการบิน 93 ครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เพื่อต่อสู้กับกลุ่มตาลิบัน อย่างไรก็ตามเอฟ-16 ของพวกเขาสามารถใช้ทำหน้าที่สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดได้เพียงตอนกลางวันและอากาศแจ่มใสเท่านั้น[98] กองทัพอากาศได้ทำการทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงใส่ภูเขาสวัท เอฟ-16 ได้ทำลายค่ายฝึกทหารของตาลิบันและสังหารผู้นำส่วนใหญ่ ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 เอฟ-16 ได้ทำการทิ้งระเบิดใส่ภูเขาในเขตเดียซึ่งสังหารนักรบตาลิบันไปกว่า 70 คน ด้วยการสนับสนุนจากเอฟ-16 ทหารราบของปากีสถานจึงทำงานสำเร็จ ในวันที่ 28 เมษายนเอฟ-16 ของปากีสถานได้ทิ้งระเบิดใส่ภูเขาในพื้นที่บาบาไจคานเดาในบูเนอร์[99]

ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 กองทัพอากาศปากีสถานพร้อมกับกองทัพบกได้เริ่มปฏิบัติการต่อต้านตาลิบัน เอฟ-16 ได้ทิ้งระเบิดภูเขาของตาลิบันโดยสังหารไป 143 คนและผู้นำ[100] ด้วยการสนับสนุนจากเอฟ-16 กองทัพบกได้ยึดบูเนอร์คืนและพื้นที่อีกบางส่วน เอฟ-16 ยังได้มีส่วนในการทิ้งระเบิดเนินเขาและภูเขาในสวัท ซึ่งเป็นที่ซ่อนของผู้นำกลุ่มตาลิบัน

การบุกอิรักและปฏิบัติการหลังสงคราม (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน)

[แก้]

เอฟ-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐได้มีส่วนร่วมในการบุกอิรักในปีพ.ศ. 2546 และสูญเสียเพียงเอฟ-16ซีจีหนึ่งลำจากฝูงบินขับไล่ที่ 421 ซึ่งตกใกล้กับแบกแดดในวันที่ 12 มิถุนยน พ.ศ. 2546 เมื่อเชื้อเพลิงหมด[101]

เรดาร์ควบคุมการยิงขีปนาวุธพื้นสู่อากาศเอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียตของกองทัพบกได้รับความเสียหายในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 จากขีปนาวุธเอจีเอ็ม-88 ฮาร์มที่ยิงโดยเอฟ-16ซีของกองทัพอากาศสหรัฐที่ทำการลาดตระเวนเหนือทางใต้ของอิรัก เมื่อเรดาร์ได้ทำการล็อกเป้าใส่เอฟ-16 ลำดังกล่าว[102] ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เอฟ-16 สองลำได้ทิ้งระเบิดนำวิถีขนาด 500 ปอนด์ใส่ที่มั่นของอัลกออิดะห์โดยสังหารอาบู มาซาบ อัลซาร์กาวิผู้นำของกลุ่มในอิรัก[103]

เอฟ-16ซีจีลำหนึ่งตกใกล้กับฟอลลูจาห์เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในขณะทำการยิงกราดในระดับต่ำ แม้ว่าจะถูกยิงตามข้อมูลของกองทัพอากาศสหรัฐ เหตุเกิดจากการบินต่ำเพื่อระบุเป้าหมายที่เป็นพาหนะของศัตรู นักบินทรอย กิลเบิร์ตเสียชีวิต[104][105] เอฟ-16 อีกสองลำตกในอิรักหนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายนและ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[106][107] โดยอุบัติเหตุ[108][109] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เอฟ-16ซีหนึ่งลำถูกทำลายที่ฐานบินบาลัดในอิรักเมื่อไม่สามารถทำการบินขึ้นได้ นักบินปลอดภัย[110][111] ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เอฟ-16 หนึ่งลำได้ยิงยูเอวีอบาบิล-3 ของอิหร่านตก ซึ่งมันได้ล่วงล้ำน่านฟ้าเข้ามาในอิรัก เหตุการณ์นี้เป็นการสังหารทางอากาศเพียงครั้งเดียวในสงคราม[112]

สงครามเลบานอนครั้งที่สอง (พ.ศ. 2549)

[แก้]

เอฟ-16 ของอิสราเอลได้มีส่วนร่วมในสงครามเลบานอนเมื่อปีพ.ศ. 2549 เอฟ-16 ที่สูญเสียมีเพียงเอฟ-16ไอของกองกำลังป้องกันของอิสราเอลที่ชนในวันที่ 19 เมื่อยางเส้นหนึ่งของมันแตกในตอนที่บินขึ้นจากฐานบินในเนเกฟ นักบินดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัยและไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[113] เอฟ-16 ของอิสราเอลได้ยิงยูเอวีของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์สามลำตกตลอดสงคราม[114]

ความขัดแย้งของอิสราเอลและกาซ่าในปีพ.ศ. 2551-2552

[แก้]

เอฟ-16 ของอิสราเอลถูกใช้เพื่อทำการโจมตีฉนวนกาซ่าในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551

แบบต่างๆ

[แก้]

เอฟ-16 ถูกระบุด้วยเลขตามบล็อกต่างๆ เพื่อระบุการพัฒนาเฉพาะของรุ่น บล็อกจะรวมทั้งแบบหนึ่งและสองที่นั่ง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ระบบ อาวุธ และโครงสร้างที่แตกต่างกันไปนั้นถูกจัดตั้งขึ้นตลอดหลายปีเพื่อพัฒนาเอฟ-16 และมีผลต่อเครื่องบินที่ส่งให้กับลูกค้าในภายหลัง

ในขณะที่เอฟ-16 มากมายถูกผลิตตามบล็อกเหล่านี้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมากมายตามโครงการดัดแปลงเอฟ-16 การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ส่งผลต่อบทบาทเฉพาะทาง อย่าง แบบสำหรับการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดและลาดตระเวน แบบมากมายยังได้รับการพัฒนาเป็นตัวทดสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ เอฟ-16 ยังได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับเครื่องบินแบบอื่นๆ ซึ่งถูกจัดว่าเป็นการดัดแปลงมาจากเอฟ-16

แบบตามการผลิตหลัก

[แก้]
บล็อก รุ่น เครื่องยนต์
1 เอฟ-16เอ/บี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200
5 เอฟ-16เอ/บี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200
10 เอฟ-16เอ/บี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200
15 เอฟ-16เอ/บี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200
20 เอฟ-16เอ/บี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200
25 เอฟ-16ซี/ดี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-200อี
30 เอฟ-16ซี/ดี เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-100
32 เอฟ-16ซี/ดี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-220อี
40 เอฟ-16ซี/ดี เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-100
42 เอฟ-16ซี/ดี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-100-พีดับบลิว-220อี
50 เอฟ-16ซี/ดี เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-129
52 เอฟ-16ซี/ดี แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100-พีดับบลิว-229
60 เอฟ-16อี/เอฟ เจเนรัล อิเลคทริก เอฟ110-จีอี-132

เอฟ-16เอ/บี

[แก้]

เอฟ-16เอ (หนึ่งที่นั่ง) และเอฟ-16บี (สองที่นั่ง) มีอุปกรณ์เป็นเรดาร์พัลส์-ดอพเพลอร์เอเอ็น/เอพีจี-66 ของเวสติ้งเฮาส์ เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอฟ100-พีดับบลิว-200 ให้แรงขับ 14,670 ปอนด์ และ 23,830 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย แบบเอและบีนั้นรวมทั้งบล็อก 1 5 10 15 และ 20 กองทัพอากาศสหรัฐได้ซื้อเอฟ-16เอจำนวน 674 ลำและเอฟ-16บีจำนวน 121 ลำ พร้อมกำหนดส่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 เอฟ-16เอ/บีมีมูลค่าลำละ 14.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2535)

บล็อกแรกๆ (1 5 10) มีความแตกต่างเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วเป็นของบล็อก 10 ในต้นทศวรรษที่ 1980 บล็อก 15 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งแรกของเอฟ-16 มันได้เพิ่มหางแนวนอนให้ใหญ่ขึ้น เพื่อจุดติดอาวุธเข้าไปอีกสองแห่ง เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-66(วี)2 และเพิ่มความจุของปีก บล็อก 15 ยังมีวิทยุยูเอชเอฟอีกด้วย หางแนวนอนถูกเพิ่มขนาดอีก 30% เพื่อรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น บล็อก 15 เป็นแบบที่มีมากที่สุดของเอฟ-16 โดยผลิตออกมา 981 ลำ

บล็อก 20 ได้เพิ่มความสามารถบางส่วนของเอฟ-16ซี/ดีเข้าไป อย่าง เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-66(วี)3 ขีปนาวุธเอจีเอ็ม-45 ชไรค์ เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน และเอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม เช่นเดียวกับระบบนำร่องและกระเป้าจับเป้าแบบแลนเทิร์น บล็อก 20 มีคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาอย่างมากเมื่อเทียบกับแบบก่อนหน้า สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้รับเอฟ-16เอ/บี บล็อก 20 จำนวน 150 ลำ[115]

เอฟ-16ซี/ดี

[แก้]

เอฟ-16ซี (หนึ่งที่นั่ง) และเอฟ-16ดี (สองที่นั่ง) ถูกนำมาใช้ในปีพ.ศ. 2527 บล็อก 25 เป็นบล็อกแรกของรุ่นซี/ดี มันได้เพิ่มความสามารถในการปฏิบัติการในทุกสภาพอากาศเข้าไปพร้อมกับขีปนาวุธเกินระยะมองเห็นเอไอเอ็ม-7 และเอไอเอ็ม-120[116] บล็อก 25 ได้เปิดตัวระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ทันสมัยภายในห้องนักบินและเรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-68 บล็อก 25 เป็นรุ่นแรกที่ใช้เครื่องยนต์เอฟ100-พีดับบลิว-200 และต่อมาได้พัฒนาเป็นเอฟ100-พีดับบลิว-220อี บล็อก 25 มีทั้งสิ้น 209 ลำที่ส่งให้กับลูกค้า[117] เอฟ-16ซี/ดีมีมูลค่าลำละ 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2541) [4]

เอฟ-16 บล็อก 30 สามลำของกองทัพอากาศสหรัฐบินเหนือเกาหลีใต้

บล็อก 30/32 นั้นเป็นบล็อกแรกของเอฟ-16 ที่ได้รับผลจากโครงการเครื่องยนต์ทางเลือกซึ่งเครื่อบินจะได้รับการติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ของแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ หรือ เอฟ110-จีอี-100 ของเจเนรัล อิเลคทริกเป็นครั้งแรก ตั้งแต่จุดนี้บล็อกจะลงท้ายด้วย "0" (เช่น บล็อก 30) เพื่อระบุเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ของเจเนรัล อิเลคทริก และลงท้ายด้วย "2" (เช่น บล็อก 32) สำหรับของแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ-16 บล็อก 30 ลำแรกเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2530 ความแตกต่างที่สำคัญคือเอจีเอ็ม-45 ชไรค์ เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม และเอไอเอ็ม-120 ตั้งแต่บล็อก 30ดีเครื่องบินจะติดตั้งช่องรับลมที่ใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มแรงขับให้กับเครื่องยนต์ของเจเนรัล อิเลคทริก บล็อก 30/32 มีทั้งสิ้น 733 ลำที่ถูกผลิตและส่งให้กับลูกค้าในหกประเทศ[118]

บล็อก 40/42 ได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2531 มันเป็นแบบสำหรับโจมตีกลางวันกลางคืนและทุกสภาพอากาศที่มีกระเปาะแลนเทิร์น มันได้รับชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่าเอฟ-16ซีจี/ดีจี ความสามารถในตอนกลางคืนของมันทำให้มันมีชื่อว่า"ไนท์ฟอลคอน" บล็อกนี้ได้เพิ่มความแข็งแกร่งและความยาวของกระเปาะแลนเทิร์น เรดาร์ที่พัฒนา และตัวรับจีพีเอส ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 บล็อก 40/42 ได้เพิ่มพิสัยของอาวุธที่รวมทั้งระเบิดเจแดม เอจีเอ็ม-154 เจซอว์ ดับบลิวซีเอ็มดี (Wind-Corrected Munitions Dispenser, WCMD) และจีบียู-27 เพฟเวย์ บล็อก 40/42 ทั้งหมด 615 ลำถูกส่งให้กับลูกค้าในห้าประเทศ[119]

บล็อก 50/52 ถูกส่งครั้งแรกในปลายปีพ.ศ. 2534 เครื่องบินได้การติดตั้งจีพีเอส/ไอเอ็นเอสและสามารถบรรทุกขีปนาวุธเพิ่มเติมอย่าง เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม เจแดม เจซอว์ และดับบลิวซีเอ็มดี บล็อก 50 ใช้เครื่องยนต์เอฟ110-จีอี-129 ในขณะที่บล็อก 52 ใช้เครื่องยนต์เอฟ100-พีดับบลิว-229 บล็อก 50/52+ ซึ่งหมายถึงแบบที่พัฒนาขึ้นไปอีกถูกส่งครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ให้กับกองทัพอากาศกรีก ความแตกต่างหลักคือถังเชื้อเพลิงพิเศษ เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-68(วี)9 ระบบออกซิเจน และหมวกเจเอชเอ็มซีเอส[120]

เอฟ-16อี/เอฟ

[แก้]

เอฟ-16อี (หนึ่งที่นั่ง) เอฟ-16เอฟ (สองที่นั่ง) เดิมที่แล้วแบบหนึ่งที่นั่งของเจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ-16เอ็กซ์แอลจะใช้ชื่อว่าเอฟ-16อีและเอฟสำหรับสองที่นั่ง สิ่งนี้ถูกนำไปใช้กับการเลือกเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลของกองทัพสหรัฐเมื่อปีพ.ศ. 2527 การตั้งชื่อบล็อก 60 ยังได้ทำการหยุดเอาไว้ในปีพ.ศ. 2532 สำหรับเอ-16 แต่ก็ถูกยกเลิกไป [121] ชื่อเอฟ-16อี/เอฟในปัจจุบันเป็นของรุ่นพิเศษที่สร้างให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบางครั้งถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าดีเซิร์ทฟอลคอน (Desert Falcon)

เอฟ-16 บล็อก 60 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บินขึ้นจากโรงงานของล็อกฮีด มาร์ตินในฟอร์ทวอร์ธรัฐเท็กซัส

บล็อก 60 มีพื้นฐานมาจากเอฟ-16ซี/ดี บล็อก 50/52 จุดเด่นของมันคือเรดาร์และอิเลคทรอนิกอากาศที่พัฒนาและถังเชื้อเพลิงพิเศษ มันถูกขายให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เท่านั้น ครั้งหนึ่งรุ่นนี้ถูกเข้าใจผิดว่าใช้ชื่อเอฟ-16ยู ความแตกต่างหลักจากบล็อกก่อนหน้าคือเรดาร์เออีเอสเอรุ่นเอเอ็น/เอพีจี-80 ของนอร์ทธรอป กรัมแมน ซึ่งทำให้เครื่องบินมีความสามารถในการติดตามและทำลายเป้าหมายบนพื้นดินและในอากาศได้ในเวลาเดียวกัน เครื่องยนต์เอฟ110-จีอี-132 ของบล็อก 60 นั้นพัฒนามาจากรุ่น -129 และมีอัตราให้แรงขับที่ 32,500 ปอนด์ บล็อก 60 นั้นสามารถใช้อาวุธทุกอย่างของบล็อก 50/52 รวมทั้งเอไอเอ็ม-132 อัสแรมและเอจีเอ็ม-84อี สแลม ถังเชื้อเพลิงพิเศษได้เพิ่มความจุเชื้อเพลิงอีก 450 แกลลอนสหรัฐ ทำให้เพื่มพิสัยหรือเวลาประจำสถานี และพื้นที่ว่างให้กับขีปนาวุธที่ใต้ปีก ตัวเก็บข้อมูลเอ็มไอแอล-เอสทีดี-1553 ถูกแทนที่ด้วยเอ็มไอแอล-เอสทีดี-1773 ที่สามารถจัดการข้อมูลได้เพิ่มขึ้น 1000 เท่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มอบทุนในการพัฒนาเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และแลกเปลี่ยนด้วยการแสดงความรับผิดชอบหากมีเครื่องบล็อก 60 ลำใดๆ ถูกขายให้กับประเทศอื่น การรายงานกล่าวว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่สหรัฐขายเครื่องบินที่เหนือกว่าของที่ตนเองมีให้กับประเทศอื่น"[122]

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
ประเทศผู้ใช้งานเอฟ-16

อุบัติเหตุ

[แก้]

อุบัติเหตุในต่างประเทศ

[แก้]
  • ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ในขณะที่ทำการซ้อมแสดงแรงระดับ 9 จีของเครื่องวายเอฟ-16 (หมายเลข 72-1568) ที่ฟอร์ทวอน์ธก่อนที่จะส่งไปงานแสดงในปารีส เกิดการขัดข้องของล้อล้อหนึ่ง นักบินทดสอบเนลล์ แอนเดอร์สันได้ทำการลงจอดฉุกเฉินโดยไม่กางล้อและลงจอดในสนามหญ้าโดยหวังที่จะลดความเสียหายและผู้บาดเจ็บที่เป็นผู้ชม เครื่องบินได้รับความเสียหายเล็กน้อย มันถูกกำหนดให้ไปแสดงในงานที่ปารีสแต่ด้วยอุบัติเหตุทำให้ต้นแบบแรก (หมายเลข 72-1567) ถูกส่งไปแทน
  • ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เอฟ-16 จากกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ตกในเมืองเฮนเกโล เครื่องยนต์เสียหายไม่นานหลังจากที่บินขึ้นและนักบินได้พยายามบินกลับไปที่ฐานบิน นักบินดีดตัวและตกลงอย่างปลอดภัยบนหลังคาอาคาร เอฟ-16 นั้นตกระหว่างบ้านโดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
  • ในการฝึกของกองทัพอากาศกับกองทัพบกที่จัดขึ้นที่ฐานทัพอากาศโป๊ป รัฐแคโรไลน่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2537 เอฟ-16ดี (หมายเลข 88-0171) จากฝูงบินขับไล่ที่ 74 เป็นจุดเริ่มต้นของการชน และได้รู้จักกันในชื่อ"หายนะกรีนแรมพ์" (อังกฤษ: Green Ramp disaster) ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 80 ราย สาหัส 24 ราย[123]
  • ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2543 เอฟ-16ดี-30เอฟของกองทัพอากาศอิสราเอลในฐานบินมัทเดวิด ได้ตกลงในทะเลมิดิเตอร์เรเนียนขณะซ้อมบิน 31 กิโลเมตรห่างจากหมู่บ้านชายฝั่งในทางเหนือของอิสราเอล นักบินโยนาธาน เบกินเป็นหลานของอดีตนายกรัฐมนตรีเมนาเฮม เบกิน ทั้งเขาและนักบินร่วม ร้อยโทไลออร์ ฮาราริ ไม่ได้โทษฝ่ายควบคุมการบินภาคพื้น[124][125]

อุบัติเหตุในประเทศไทย

[แก้]
  • ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เอฟ-16เอ บล็อก 15 โอซียู หรือบ.ข.19 หมายเลข 40315 พร้อม เรืออากาศเอก ฐานิกร เหลืองรุ่งวารี นักบินฝูงบิน 403 ของกองทัพอากาศไทยตกขณะซ้อมบินจากกองบิน 4 นครสวรรค์ไปกองบิน 41 เชียงใหม่ โดยบินเกาะหมู่ 4 ลำ แต่เมื่อไปถึงสนามบินเชียงใหม่ พบว่ามีเพียง 3 ลำที่ลงจอด ต่อมา พบว่าเครื่องบินลำดังกว่า ตกที่บ้านเด่นไม้ซุง หมู่ 9 ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยสันนิษฐานว่า เกิดจากนักบินหลงสภาพอากาศ จึงทำให้เครื่องบินพุ่งชนแนวสันเขา อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ เรืออากาศเอก ฐานิกร เหลืองรุ่งวารี นักบินเสียชีวิต
  • ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เครื่องบิน F-16 ADF จำนวน 2 เครื่องจากฝูงบิน 102 กองบิน 1 จ.นครราชสีมา ประสบอุบัติเหตุตกบนเทือกเขาภูแลนคา ในพื้นที่หมู่ 3 และหมู่ 4 ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จังหวัดชัยภูมิ ขณะทำการฝึกคอบร้าโกลด์ (Cobra Gold) ร่วมกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ นักบินทั้งสองนายคือ นาวาอากาศตรี กฤษดา สุขจันทร์ และ เรืออากาศเอก ชัชชานนท์ พรหมเดช สามารถดีดตัวออกจากเครื่องได้อย่างปลอดภัย
  • ในวันที่ 20 กุมพาพันธ์ 2558 เมื่อเวลา 14.53 น. เกิดเหตุเครื่องบินขับไล่แบบ F-16A ของฝูงบิน 103 กองบิน 1 นครราชสีมา ตกที่ ม.4 ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ตกระหว่างการฝึก ขณะปฏิบัติภารกิจฝึกบินใช้อาวุธทางอากาศ ตามวงรอบปกติของกองบิน ที่สนามชัยบาดาล โดยมีนักบินชื่อ ร.อ.นพนนท์ นิวาสานนท์ เสียชีวิต ส่วนสาเหตุที่เครื่องบินตกในครั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

เครื่องบินที่เทียบเท่า

รายละเอียด เอฟ-16ซี

[แก้]
  • ลูกเรือ 1 นาย
  • ความยาว 15 เมตร
  • ความสูง 4.8 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีก 9.45 เมตร
  • พื้นที่ปีก 27.87 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 8,670 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 12,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 14,968 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบเอฟ110-จีอี-100 ให้แรงขับ 17,155 ปอนด์และ 28,600 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
  • ความเร็วสูงสุด
    • 1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับน้ำทะเล
    • 2.27 มัค (2,415 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับสูง
  • รัศมีทำการรบ 550 กิโลเมตรพร้อมระเบิด 450 กิโลกรัม
  • ระยะในการขนส่ง 4,220 กิโลมตรพร้อมถังที่สลัดทิ้งได้
  • เพดานบินทำการ > 60,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
  • น้ำหนักบรรทุกที่ปีก 194 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 1.1
ปืนเอ็ม61เอ1 บนแท่นแสดง

[4][126][127][128]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Lockheed Martin press release (8 June 2008). "United States Government Awards Lockheed Martin Contract to Begin Production of Advanced F-16 Aircraft for Morocco" เก็บถาวร 2009-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 11 July 2008.
  2. Rosenwald, Michael S. (updated 17 December 2007). “Downside of Dominance? Popularity of Lockheed Martin's F-16 Makes Its F-35 Stealth Jet a Tough Sell”. Washington Post. Retrieved 11 July 2008.
  3. Anon. (undated). Company Histories – Lockheed Martin Corporation. Funding Universe. Retrieved 11 July 2008.
  4. 4.0 4.1 4.2 F-16 Fact Sheet, US Air Force, October 2007.
  5. F-16 Fighting Falcon, F16, or Viper?
  6. Peacock 1997, p. 100.
  7. Tirpak, John A. "Making the Best of the Fighter Force". Air Force Magazine, March 2007. Retrieved: 23 June 2008.
  8. Spick, Mike ed. "F-16 Fighting Falcon", Great Book of Modern Warplanes. MBI, 2000. ISBN 0-7603-0893-4.
  9. Richardson 1990, p. 7.
  10. Hillaker, Harry. "Tribute To John R. Boyd" เก็บถาวร 2009-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Code One, July 1997. Retrieved: 7 June 2008.
  11. Hehs, Eric. “Harry Hillaker – Father of the F-16.” เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Code One, April & July 1991. Retrieved: 7 June 2008.
  12. Jenkins, Dennis R. McDonnell Douglas F-15 Eagle, Supreme Heavy-Weight Fighter, p. 6. Arlington, TX: Aerofax, 1998. ISBN 1-85780-081-8.
  13. Richardson 1990, pp. 7–8.
  14. Coram, Robert. Boyd: the Fighter Pilot Who Changed the Art of War. New York: Little, Brown, and Co., 2002. ISBN 0-316-88146-5.
  15. Peacock 1997, pp. 9–10.
  16. Richardson 1990, pp. 7–9.
  17. Peacock 1997, pp. 10–11.
  18. Richardson 1990, pp. 8–9.
  19. Richardson 1990, pp. 12–13.
  20. Richardson 1990, p. 14.
  21. Peacock 1997, pp. 12–13.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Anon. “YF-16 : The Birth of a Fighter.” F-16.net. Retrieved: 13 June 2008.
  23. Peacock 1997, pp. 13–16.
  24. Richardson 1990, p. 13.
  25. Peacock 1997, pp. 14, 17–19, 33–34.
  26. Peacock 1997, pp. 17–19, 33–34.
  27. Peacock 1997, pp. 14–16, 21.
  28. Richardson 1990, pp. 13–15.
  29. 29.00 29.01 29.02 29.03 29.04 29.05 29.06 29.07 29.08 29.09 Anon. “Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon.” Jane’s All The World’s Aircraft, updated 21 January 2008. Retrieved: 30 May 2008.
  30. Peacock 1997, pp. 31–32.
  31. Spick 2000, p. 196.
  32. 32.00 32.01 32.02 32.03 32.04 32.05 32.06 32.07 32.08 32.09 32.10 Goebel, Greg. “F-16 Origins.” Vectorsite, 1 April 2007. Retrieved: 14 June 2008.
  33. Chambers, Joseph R. "Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon : Curing Deep Stall" in Partners in Freedom: Contributions of the Langley Research Center to U.S. Military Aircraft of the 1990’s เก็บถาวร 2008-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Monographs in Aerospace History Number 19, The NASA History Series (NASA SP-2000-4519). Washington, DC: National Aeronautics and Space Administration, 2000. Retrieved: 22 June 2008.
  34. 34.0 34.1 34.2 Goebel, Greg. "F-16 Variants". Vectorsite.net, 1 April 2007. Retrieved: 26 May 2008.
  35. Darling 2003, p. 56.
  36. Camm, Frank. The F-16 Multinational Staged Improvement Program: A Case Study of Risk Assessment and Risk Management เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Accession No. ADA281706). RAND Corp., 1993. Retrieved: 2 June 2008.
  37. “F-16 Fighting Falcon – Service Life”. Global Security. Retrieved: 30 May 2008.
  38. Peacock 1997, pp. 99–102.
  39. 39.0 39.1 39.2 Richardson 1990, p. 10.
  40. Hoh, Roger H. and David G. Mitchell. Flying Qualities of Relaxed Static Stability Aircraft – Volume I: Flying Qualities Airworthiness Assessment and Flight Testing of Augmented Aircraft. เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (DOT/FAA/CT-82/130-I). Federal Aviation Administration, September 1983. pp. 11ff. Retrieved: 16 June 2008.
  41. Aronstein, David C. & Piccirillo, Albert C. The Lightweight Fighter Program: A Successful Approach to Fighter Technology Transition. AIAA, 1996. p. 21. Retrieved: 25 October 2008.
  42. Greenwood, Cynthia. “Air Force Looks at the Benefits of Using CPCs on F-16 Black Boxes.” CorrDefense, Spring 2007. Retrieved: 16 June 2008.
  43. Hoh and Mitchell 1983, p. 5. Retrieved: 16 June 2008.
  44. Richardson 1990, p. 12.
  45. Nielsen, Mats (undated [2007]). “Total Immersion Fuel Tank Airborne Cable Assemblies” เก็บถาวร 2007-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Glenair. Retrieved: 16 June 2008.
  46. Day, Dwayne A. “Computers in Aviation.” เก็บถาวร 2007-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. Centennial of Flight Commission, 2003. Retrieved: 16 June 2008.
  47. Peacock 1997, p. 99.
  48. Albano, J. J. and J. B. Stanford. "Prevention of Minor Neck Injuries in F-16 Pilots". Aviation, Space and Environmental Medicine; 69, 1998: 1193-9.
  49. Peacock 1997, pp. 99–100.
  50. Sherman, Robert. “F-16 Fighting Falcon.” Federation of American Scientists (FAS), updated 30 May 2008. Retrieved: 20 June 2008.
  51. Pike, John. “F-16 Fighting Falcon.” Global Security, updated 27 April 2005. Retrieved: 20 June 2008.
  52. Task, H. L. (December 1983). Optical Effects of F-16 Canopy-HUD (Head Up Display) Integration, (Accession No. ADP003222). Air Force Aerospace Medical Research Lab.
  53. Anon. (undated). “Joint Helmet Mounted Cueing System (JHMCS)”. Boeing Integrated Defense Systems.
  54. Anon. F-16 Fighting Falcon Multi-Role Fighter Aircraft, USA. Airforce-technology.com. Retrieved: 21 June 2008.
  55. 55.0 55.1 55.2 Anon. “F-16E/F : Block 60.” F-16.net. Retrieved: 21 June 2008.
  56. Anon. “The AN/APG-66 Radar”. Avitop.com. Retrieved: 21 June 2008.
  57. Kopp, Carlo. “Active Electronically Steered Arrays: A Maturing Technology”. Australian Aviation, June 2002 (as reprinted by Air Power Australia). Retrieved: 21 June 2008.
  58. Shamim, Asif. “Raytheon and Northrop Grumman battle over F-16 radars”. F-16.net, 7 November 2007. Retrieved: 21 June 2008.
  59. Anon. “Boeing Selects Raytheon to Provide AESA Radar for U.S. Air Force F-15E Strike Eagles.” Boeing News Release, 1 November 2007. Retrieved: 21 June 2008.
  60. 60.0 60.1 Peacock 1997, pp. 102–103.
  61. Pike, John. “F100-PW-100/-200”. Global Security, updated 13 March 2006. Retrieved: 21 June 2008.
  62. 62.0 62.1 Peacock 1997, p. 103.
  63. Camm, Frank and Thomas K. Glennan, Jr. "The Development of the F100-PW-220 and F110-GE-100 Engines (N-3618-AF)." RAND Corp., 1993. Retrieved: 21 June 2008.
  64. Anon. “F-16C/D : Block 30/32”. F-16.net. Retrieved: 21 June 2008.
  65. Pike, John. “F110.” Global Security, updated 15 March 2006. Retrieved 21 June 2008.
  66. 66.0 66.1 Iskra, Alex (26 September 2003). “GD/L-M F-16A/B Netz in Israeli Service”. Air Combat Information Group (ACIG). Retrieved 16 May 2008.
  67. Grant, Rebecca. “Osirak and Beyond” เก็บถาวร 2008-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Air Force Magazine, August 2002. Retrieved: 16 May 2008.
  68. Schow, Jr., Kenneth C., Lt. Col., USAF. “Falcons Against the Jihad: Israeli Airpower and Coercive Diplomacy in Southern Lebanon” เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Air University Press, November 1995. Retrieved: 16 May 2008.
  69. "Pakistan Border Battles" เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pakistan Military Consortium. Retrieved: 17 May 2008.
  70. Weisman, Steven R. “Afghans Down a Pakistani F-16, Saying Fighter Jet Crossed Border”. The New York Times, 2 May 1987. Retrieved: 10 August 2008.
  71. Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 81-0918”. F-16.net. Retrieved: 10 August 2008.
  72. http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/airframe-profile/2254/
  73. http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/airframe-profile/2283/
  74. http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/airframe-profile/1720/
  75. Anon. “F-16 Accident Reports for 1991”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
  76. Anon. “USAF Manned Aircraft Combat Losses 1990-2002” เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Air Force Historical Research Agency. Retrieved: 16 May 2008.
  77. http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/mishaps-and-accidents/year/1991/
  78. Anon. “Aerial Victory Credits.” เก็บถาวร 2009-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air Force Historical Research Agency. Retrieved: 16 May 2008.
  79. Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 90-0778.” F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
  80. Anon. "F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 86-0262". F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
  81. NewsHour with Jim Lehrer "Secretary Albright" (transcript). PBS, 17 December 1998. Retrieved: 16 May 2008.
  82. Cooper, Tom and Juan Sosa. “Venezuelan Coup Attempt, 1992”. Air Combat Information Group (ACIG), 1 September 2003. Retrieved: 16 May 2008.
  83. Palmer, Eric L. “USAF F-16s shoot down 4 Serb attack aircraft”. F-16.net, 28 February 1994. Retrieved: 16 May 2008.
  84. Anon. “U.S. Air-to-Air Victories during the Cold War, Wars in Yugoslavia, and Anti-Terror War”. Air Combat Information Group (ACIG), 28 October 2003; updated 18 September 2004. Retrieved: 16 May 2008.
  85. Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 89-2032”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
  86. Anon. “Yugoslav & Serbian MiG-29s”. Air Combat Information Group (ACIG), 30 November 2003. Retrieved: 16 May 2008.
  87. Roberts, Chris. "Holloman commander recalls being shot down in Serbia". F-16.net, 7 February 2007. Retrieved: 16 May 2008.
  88. Anon. "F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 88-0550". F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
  89. Anon. "F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 91-0023". F-16.net. Retrieved: 18 May 2008.
  90. Anon. “Greek & Turkish Air-to-Air Victories”. Air Combat Information Group (ACIG), 28 October 2003; updated 18 September 2004. Retrieved: 16 May 2008.
  91. Dewitte, Lieven. “Deadly 1996 Aegean clash is confirmed”. F-16.net, 22 May 2003. Retrieved: 16 May 2008.
  92. “Greek F-16 and Turkish F-16 collide - 1 pilot OK”. F-16.net, 23 May 2006. Retrieved: 16 May 2008.
  93. Strategy | date = 2005-05-20
  94. Anon. “F-16s complete one thousand hours of flight operations over Afghanistan” เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dutch Ministry of Defense, 3 January 2006. Retrieved: 16 May 2008.
  95. http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/5303600.stm
  96. F-16 mishap horror, F-16.net, 12 July 2007.
  97. "F-16 Mishap Horror"[ลิงก์เสีย]
  98. http://www.globalsecurity.org/military/world/pakistan/f-16.htm
  99. http://www.myembarq.com/news/read.php?rip_id=%3CD97RF9VO0%40news.ap.org%3E&ps=1012&_LT=MNEW_LARSDCCL2_UNEWS[ลิงก์เสีย]
  100. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-15.
  101. Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 88-0424”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
  102. Weisman, Jonathan. “Patriot Missiles Seemingly Falter For Second Time; Glitch in Software Suspected”. Washington Post, 26 March 2003 (via Global Security). Retrieved: 17 May 2008.
  103. "Iraq Terror Chief Killed in Airstrike". CBS News, 8 June 2006. Retrieved: 29 June 2008.
  104. Anon. "US F-16 goes down in Iraq". Al Jazeerah, 27 November 2006. Retrieved: 17 May 2008.
  105. Anon. “F-16 Aircraft Database: F-16 Airframe Details for 90-0776”. F-16.net. Retrieved: 16 May 2008.
  106. "Pilot killed in an F-16 fighter crash on takeoff in Iraq, Air Force says". International Herald Tribune, 16 June 2007. Retrieved: 17 May 2008.
  107. "U.S. F-16 warplane crashes in Iraq, pilot uninjured". Xinhua News Agency, 17 July 2007. Retrieved: 17 May 2008.
  108. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-16.
  109. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-16.
  110. [1]
  111. F-16 fire
  112. http://www.airforcetimes.com/news/2009/03/airforce_iran_uav_031609/
  113. Harel, Amos. “IDF fighter jet crashes during take-off in Negev; no injuries”. Haaretz, 20 July 2007. Retrieved: 16 May 2008.
  114. http://www.f-16.net/aircraft-database/F-16/mission-markings/airforce/IDFAF/
  115. "F-16A/B, Block 1/5/10/15/15OCU/20". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
  116. Darling 2003, p. 59.
  117. "F-16C/D, Block 25". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
  118. "F-16C/D, Block 30/32". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
  119. "F-16C/D, Block 40/42". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
  120. "F-16C/D, Block 50/52". F-16.net. Retrieved: 25 January 2009.
  121. Anon. "A-16, F/A-16, F-16A (30mm gun)." F-16.net. Retrieved: 21 May 2008.
  122. "Dubai 2007: UAE shows off its most advanced Falcons" FlightGlobal.com, 11 November 2007.
  123. 23 March 1994 crash, Aviation Safety Net.
  124. "Grandson of Begin Lost in Israeli F-16 Crash". The New York Times, 29 March 2000. Retrieved: 13 June 2008.
  125. F-16 Crash
  126. Frawley, Gerard. The International Directory of Military Aircraft, p. 114. Aerospace Publications Pty Ltd, 2002. ISBN 1-875671-55-2.
  127. F-16 page, Aerospaceweb.org
  128. F-16 Specifications, GlobalSecurity.org.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]