ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องบินขับไล่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปขบวนเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐ : F-16 ไฟทิงฟอลคอน (ซ้าย), P-51D มัสแตง (ล่าง), F-86 เซเบอร์ (บน) และF-22 แร็พเตอร์ (ขวา)

เครื่องบินขับไล่ (อังกฤษ: Fighter aircraft) เป็นอากาศยานรบสมรรถนะสูงซึ่งมีขีดความสามารถครองอากาศ องค์ประกอบของการเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองคือต้องเป็นอากาศยานไอพ่น และสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ หากไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งก็จะจัดเป็นเพียงเครื่องบินโจมตี

ศัพท์เฉพาะทาง

[แก้]

คำว่า "ไฟเตอร์" ในภาษาอังกฤษที่แปลเป็นเครื่องบินขับไล่ในปัจจุบันนั้น เดิมไม่ได้เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอย่างเป็นทางการจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเดิมในกองบินของสหราชอาณาจักร เครื่องบินประเภทนี้ถูกเรียกว่า "เครื่องบินสอดแนม" (scout) จนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1920 อีกด้านหนึ่ง กองทัพบกสหรัฐเรียกเครื่องบินประเภทนี้ว่า "pursuit" อันหมายถึงเครื่องบินไล่ติดตาม (การใช้อักษานำหน้าประเภทเครื่องบินยุคนั้นจึงเป็นตัว P) ตั้งแต่ปี 1916 จนถึงปลายปีทศวรรษ 1940 ส่วนในภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันจะใช้คำที่มีความหมายว่า "เครื่องบินไล่ล่า" และต่อมาภาษาอังกฤษก็รับเอาไปใช้ ยกเว้นในภาษารัสเซียซึ่งเครื่องบินขับไล่ถูกเรียกว่า "истребитель" (อิสเตรบิเตล) ซึ่งหมายความว่า "ผู้ทำลาย"

ถึงแม้ว่าคำว่า "เครื่องบินขับไล่" ทางเทคนิคแล้วจะหมายถึงเครื่องบินที่ถูกออกแบบมาเพื่อยิงเครื่องบินลำอื่น การออกแบบดังกล่าวยังเป็นแบบหลากหลายบทบาทอย่างเครื่องบินขับไล่โจมตีและเครื่องบินต่อสู้ภาคพื้นดินที่ขนาดเล็กกว่า ตัวอย่างเช่น ในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาพึงพอใจในเครื่องบินขับไล่มากกว่าเครื่องบินดำทิ้งระเบิด และพี-47 ทันเดอร์โบลท์ก็เป็นที่นิยมใช้ในการโจมตีภาคพื้นดิน เอฟ-111 ถูกใช้เพื่อเป็นเพียงเครื่องบินต่อสู้ทิ้งระเบิดเท่านั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดโดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงบทบาทในการทิ้งระเบิดในระยะไกล ความไม่ชัดเจนนี้ได้ตามมาด้วยการใช้เครื่องบินขับไล่ในการโจมตีทหารราบและสิ่งก่อสร้างด้วยการใช้การยิงกราดลงมาจากฟ้าหรือทิ้งระเบิด

หนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่แพงที่สุดอย่างเช่น เอฟ-14 ทอมแคท และ เอฟ-15 อีเกิล ถูกใช้เป็นเครื่องบินสกัดกั้นในทุกสภาพอากาศเช่นเดียวกับการเป็นเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ มีเพียงตอนช่วงท้ายเท่านั้นที่พวกมันมาทำหน้าที่อากาศสู่พื้น เครื่องบินขับไล่/โจมตี หลายภารกิจอย่าง เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท มักถูกกว่าและทำหน้าที่ในการโจมตีภาคพื้นดิน หรือในกรณีของเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทจะเข้าแทนที่เพราะความสามารถที่หลากหลายเป็นพิเศษของเครื่องบิน

การริเริ่ม

[แก้]

เครื่องบินขับไล่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโต้การใช้อากาศยานและเรือบินในการทำหน้าที่ลาดตระเวนสอดแนมและโจมตีภาคพื้นดินในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เครื่องบินขับไล่ยุคแรก ๆ นั้นมีขนาดเล็กและมีอาวุธที่เบามากเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ในปัจจุบัน และมักเป็นเครื่องบินปีกสองชั้น ต่อมา เมื่อสงครามทางอากาศและการครองอากาศเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ในสงครามโลกครั้งที่สองเครื่องบินขับไล่เป็นเครื่องบินปีกเดี่ยวที่ทำจากเหล็กพร้อมปืนใหญ่หรือปืนกลที่ปีก เมื่อสิ้นสุดสงครามเครื่องยนตร์เทอร์โบเจ็ทก็เริ่มเข้ามาแทนที่เครื่องยนต์ลูกสูบเพราะแรงขับเคลื่อนที่ดีกว่า และเพราะอาวุธใหม่ ๆ เริ่มเข้ามาอีกมาก

เครื่องบินขับไล่ไอพ่นในปัจจุบันมีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนหนึ่งหรือสองเครื่องยนต์ และติดตั้งเรดาร์เพื่อใช้ในการหาเป้าหมาย อาวุธจะประกอบด้วยขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเป็นหลัก พร้อมกับปืนใหญ่เป็นอาวุธรอง (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 20 และ 30 มม.) อย่างไรก็ตาม พวกมันก็สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นได้เช่นเดียวกับระเบิดนำและไม่นำวิถี

เครื่องบินขับไล่แบบเครื่องยนต์ลูกสูบ

[แก้]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

[แก้]
Vickers F.B.5. Gunbus

ความว่าเครื่องบินขับไล่หรือไฟเตอร์นั้นถูกใช้ครั้งแรกเพื่อบรรยายถึงเครื่องบินสองที่นั่งพร้อมความสามารถในการขนปืน เครื่องบินขับไล่แรกๆ นั้นก็คือ"กันบัส"ที่เป็นแบบทดลองของบริษัทวิกเกอร์สในอังกฤษซึ่งมีรุ่นดีสุดที่เรียกว่าวิกเกอร์ส เอฟ.บี.5 กันบัสในปี 1914 จุดด้อยของเครื่องบินชนิดนี้คือมันช้า ไม่นานผู้คนก็เริ่มรู้ว่าเครื่องบินนั้นจะต้องรวดเร็วเพื่อไล่เหยื่อของมันให้ทัน

โชคดีสำหรับเครื่องบินทางทหารอีกชนิดหนึ่งที่ได้สร้างออกมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเครื่องบินขับไล่ที่มีประสิทธิภาพ มันมีพื้นฐานมาจากเครื่องบินที่รวดเร็วก่อนสงครามที่ใช้เพื่อการแข่งขัน เครื่องบินสอดแนมของกองทัพไม่ได้ถูกคาดว่าจะสามารถบรรทุกอาวุธได้ แต่ก็เน้นไปที่ความเร็วเพื่อทำให้มันไปถึงจุดที่มันจะต้องทำการสอดแนมและจากนั้นก็กลับมารายงานได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ทำให้มันยากที่จะตกเป็นเป้าของปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานหรือเครื่องบินติดอาวุธของข้าศึก

ในทางปฏิบัติ ไม่นานหลังจากที่สงครามเริ่มต้น นักบินเครื่องบินสอดแนมเริ่มติดอาวุธให้ตัวเองเป็นปืนพก ปืนยาว และระเบิดมือเพื่อโจมตีเครื่องบินของศัตรู มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะอาวุธสำหรับเครื่องบินสอดแนมในตอนนั้นยังไม่มี อีกวิธีหนึ่งคือการสร้างเครื่องบินสอดแนมขับไล่อย่างแอร์โค ดีเอช.2 ที่มีใบพัดอยู่ด้านหลังของนักบิน ข้อเสียของมันคือแรงฉุดที่มากของโครงสร้างแบบดังกล่าวซึ่งทำให้มันช้ากว่าเครื่องบินที่ไล่หลังมันอยู่ แบบต่อๆ มาจึงมีการติดปืนกลบนเครื่องบินขับไล่ที่สามารถยิงออกนอกวงโค้งของใบพัดได้

เครื่องบินสอดแนมขับไล่ Airco D.H.2

มีเพียงสองทางเลือกเท่านั้นที่ถูกใช้เป็นอย่างแรกกับเครื่องบินติดตาม ทางเลือกหนึ่งคือการให้มีนักบินคนที่สองที่จะนั่งอยู่ที่ด้านหลังของนักบินเพื่อเล็งและยิงปืนกลเข้าใส่เครื่องบินข้าศึก อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่จะต้องป้องกันตนเอง และยากที่นักบินทั้งสองจะทำงานร่วมกันได้เพราะในขณะที่อีกคนหนึ่งหลบหลีกนั้นอีกคนหนึ่งก็จะทำการยิงได้ยาก ซึ่งลดความแม่นยำและประสิทธิภาพของพลปืนไป ทางลือกนี้ถูกใช้ในแบบป้องกันสำหรับเครื่องบินสอดแนมสองที่นั่งตั้งแต่ปี 1915 เป็นต้นมา อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการติดตั้งปืนบนปีกด้านบนเพื่อยิงให้เหนือใบพัด ในขณะที่มีความมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการรบแบบรุกต้องมาจากนักบินสามารถขยับและเล็งปืนได้ การวางปืนแบบนี้จึงทำให้นักบินเล็งเป้าได้ยาก นอกจากนั้นตำแหน่งของปืนดังกล่าวทำให้มันแทยเป็นไปไม่ได้ที่นักบินจะหาตำแหน่งยิง มันทำให้ปืนกลนั้นแทบไม่มีประโยชน์แต่ก็เพราะว่านี่คือทางเลือกเพื่อทดแทนเท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามการยิงปืนกลเหนือวงโค้งของใบพัดก็มีข้อดี และยังคงอยู่ตั้งแต่ปี 1915 จนถึง 1918

เครื่องโมคอง-ซูลเนียของเยอรมนี

ความต้องการที่จะติดอาวุธให้กับเครื่องบินติดตามที่ยิงไปทางด้านหน้าโดยที่กระสุนจะผ่านใบพัดเกิดขึ้นอย่างชัดเจนก่อนสงครามจะเริ่มขึ้น และนักประดิษฐ์ทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนีก็เริ่มสร้างระบบกลไกที่จะยิงกระสุนออกไปในเวลาเดียวกันกับที่เกิดช่องว่างในการหมุนของใบพัด ฟรันทซ์ ชไนเดอร์ วิศวกรชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้จดสิทธิบัตรอุปกรณ์ดังกล่าวในเยอรมนีเมื่อปี 1913 แต่งานต้นแบบของเขาก็ไม่ได้ปรากฏตัวออกมา นักออกแบบเครื่องบินชาวฝรั่งเศสชื่อเคย์มง ซูลเนียได้จดสิทธิบัตรในเดือนเมษายน 1914 แต่การทดสอบก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะความโน้มเอียงของปืนกลทำให้ความแม่นยำนั้นไม่น่าเชื่อถือ

ในเดือนธันวาคม 1914 นักบินขาวฝรั่งเศสชื่อโคลอง การ์คอส ได้ขอให้ซูลเนียติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวในเครื่องโมคอง-ซูลเนียของการ์คอส โชคร้ายที่ปืนกลฮอทช์คิสที่ใช้ระบบแก๊สนั้นยังเป็นวงกลมซึ่งทำให้กระสุนออกจากปืนช้าเกินไปจนขัดต่ออุปกรณ์ของซูลเนีย เพราะว่าสิ่งนี้เองใบพัดจึงต้องติดเกราะป้องกัน และช่างเทคนิคของการ์คอส ชื่อจูลส์ ฮิว ก็ติดเหล็กเข้าไปที่ใบพัดเพื่อป้องกันนักบินจากสิ่งที่อาจสะท้อนกลับเข้ามา เครื่องบินปกชั้นเดียวที่ถูกดัดแปลงของการ์คอสได้บินครั้งแรกในเดือนมีนาคม 1915 และเขาได้เริ่มทำการต่อสู้ไม่นานหลังจากนั้น ด้วยการใช้กระสุนทองแดงขนาด 8 มม.การ์คอสก็ทำแต้มด้วยชัยชนะสามครั้งในสามสัปดาห์แรกก่อนที่เขาเองจะถูกยิงตกในวันที่ 18 เมษายนพร้อมกับเครื่องบินของเขา ทำให้สิ่งประดิษฐ์ทั้งหมดถูกยึดโดยเยอรมนี

อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ดังกล่าวที่คิดขึ้นใหม่โดยวิศวกรรมของอันโทน ฟ็อคเคอร์เป็นอุปกรณ์แรกที่ติดตั้งเข้ากับเครื่องบินอย่างเป็นทางการ และสิ่งนี้ทำให้เกิดการสร้างเครื่องบินปีกชั้นเดียวแบบฟ็อคเคอร์ ไอน์เด็คเคอร์ที่สร้างความหวาดกลัวเหนือแนวหน้าทางด้านตะวันตก ถึงแม้ว่ามันเป็นการนำอุปกรณ์จากเครื่องบินแข่งขันก่อนสงครามของฝรั่งเศสมาใช้ก็ตาม ชัยชนะครั้งแรกของไอน์เด็คเคอร์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 1915 ร้อยโทเคิร์ท วินท์เจนส์ปืนเครื่องบินของเขาในแนวหน้าฝั่งตะวันตก เพื่อขับไล่เครื่องโมคอง-ซูลเนียแบบสองที่นั่งของลูเนฝีล เครื่องบินของวินท์เจนส์เป็นหนึ่งในเครื่องฟ็อคเคอร์ M.5K/MG ทั้งห้าลำที่เป็นต้นแบบตัวอย่างของไอน์เด็คเคอร์ มันมีอาวุธเป็นระบบกลไลการยิงที่ตรงจังหวะกับใบพัด ปืนกลพาราเบลลัม MG14 แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ บางมุมก็มองว่านี่คือชัยชนะครั้งแรกอย่างแท้จริงในประวัติศาสตร์การบินของเครื่องบินขับไล่

ฟ็อคเคอร์ อี.3 ไอน์เด็คเคอร์ 210/16 ขณะบินเมื่อปี 1916

ความสำเร็จของไอน์เด็คเคอร์ทำให้คู่แข่งคนอื่นๆ ในสนามรบต้องพ่ายแพ้ จึงเกิดการสร้างเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เครื่องอัลบาทรอส D.Iที่ถูกออกแบบโดยโรเบิร์ต ธีเลนเมื่อปลายปี 1916 ได้ตั้งรูปแบบคลาสสิกที่เป็นต้นแบบให้กับเครื่องบินทั้งหลายต่อไปอีก 20 ปี เหมือนกับD.Iคือพวกมันเป็นเครื่องบินปีกสองชั้น โครงสร้างทรงกล่องที่แข็งแรงของปีกทำให้ปีกที่แข็งแรงมีความแม่นยำในการควบคุมมากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของเครื่องบินขับไล่ พวกมันมีที่นั่งเดียวซึ่งนักบินจะบังคับเครื่องบินและยังสามารถใช้อาวุธได้อีกด้วย พวกมันติดอาวุธเป็นปืนกลแม็กซิมสองกระบอก ซึ่งได้พิสูจน์ว่ามันเข้ากับระบบยิงเป็นจังหวะกับใบพัดได้ดีกว่าแบบอื่น ท้ายปืนจะอยู่ตรงทางขวาด้านหน้าของนักบิน สิ่งนี้มีความหมายโดยนัยถึงในกรณีอุบัติเหตุ หากเกิดการขัดข้องก็สามารถทำการแก้ไขได้และทำให้การเล็งง่ายยิ่งขึ้น

จักรวรรดิเยอรมันเป็นชาติแรกที่สร้างเครื่อบินโจมตีด้วยเหล็กในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อันโทน ฟ็อคเคอร์ ได้ใช้เหล็กที่คล้ายกับสแตนเลสทำโครงสร้างของเครื่องบิน และวิศวกรชาวเยอรมันชื่อฮูโก ยุงเคิร์ส ได้สร้างเครื่องบินปีกชั้นเดียวแบบหนึ่งที่นั่งที่ทำจากเหล็กทั้งลำขึ้นมา

เมื่อประสบการณ์ในการต่อสู้มากขึ้น นักบินที่ประสบความสำเร็จอย่าง ออสวอลด์ โบลค์ แม็กซ์ อิมเมบมานน์ และเอ็ดเวิร์ด แมนน็อค ได้พัฒนายุทธวิธีและกระบวนท่าเพื่อเพิ่มความสามารถในฝูงบินของพวกเขา ซึ่งทำให้พวกเขารอดชีวิตได้นานและทำให้นักบินหน้าใหม่เข้าร่วมในแนวหน้าได้

นักบินของสัมพันธมิตรและเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่ได้สวมร่มชูชีพ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจึงไม่รอดชีวิตเมื่อเครื่องบินได้รับความเสียหายอย่างหนัก ร่มชูชีพถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1918 และถูกใช้โดยเยอรมนีในช่วงปีนั้น แต่ทางสัมพันธมิตรก็ยังคงไม่ใช่ร่มชูชีพด้วยเหตุผลหลายประการ[1]

ช่วงปลอดสงครามโลก (1919-1938)

[แก้]

การพัฒนาเครื่องบินขับไล่เป็นไปอย่างช้าๆ ระหว่างสงคราม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นในช่วงหลังของสงคราม เมื่อเครื่องจักรแบบคลาสสิกของสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มทำให้เกิดเครื่องบินปีกชั้นเดียวที่ทำจากเหล็กด้วยโครงสร้างของปีกที่แข็งแรง ด้วยการที่ทุนนั้นมีอย่างจำกัดทางกองทัพอากาศจึงมีแนวโน้มที่จะระมัดระวังในเรื่องการซื้อเครื่องบิน และเครื่องบินปีกสองชั้นยังคงได้รับความนิยมอยู่ในหมู่นักบินเพราะมันรวดเร็ว การออกแบบอย่างกลอสเตอร์กลาดิเอเตอร์ เฟียท ซีอาร์.42 และโพลิคาร์โปฟ ไอ-15 เป็นที่รู้จักกันดีในทศวรรษ 1930 และมีพวกมันจำนวนมากที่ยังคงเข้าประจำการอยู่จนถึงปลายปี 1942 ในกระทั่งปี 1930 เครื่องบินขับไล่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบปีกสองชั้นที่หุ้มด้วยผ้า

ในที่สุดอาวุธของเครื่องบินก็เริ่มถูกนำมาติดที่ด้านในปีก นอกรัศมีของใบพัด ถึงแม้ว่าการออกแบบส่วนใหญ่จะยังใช้ปืนกลสองกระบอกโดยติดตั้งไว้เหนือเครื่องยนต์ (ซึ่งถูกมองว่าแม่นยำกว่า) ปืนกลอากาศขนาดที่เป็นที่นิยมคือขนาด 12.7 มม.และปืนใหญ่ขนาด 20 มม.ซึ่งถูกมองว่าใหญ่เกินไป ด้วยการที่เครื่องบินมากมายมีการออกแบบที่คล้ายคลึงกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแต่ก็มองกันว่าการใช้อาวุธจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพื่อจัดการมันนั้นก็ไร้เหตุผล ด้วยความคิดเช่นนี้ทำให้ช่วงแรกนั้นการรบทางอากาศเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพ

เครื่องยนต์โรเตอรี่ที่เคยเป็นที่นิยมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้หายไปอย่างรวดเร็วและถูกแทนที่โดยเครื่องยนต์แบบใหม่ เครื่องยนต์ของเครื่องบินได้เพิ่มพลังมากกว่ายุคก่อนๆ ความขัดแย้งระหว่างเครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบยังคงมีด้วยการที่ทางกองทัพเรือต้องการเครื่องยนต์แบบใหม่ แต่กำลังทางบกต้องการเครื่องยนต์แบบเก่า แบบใหม่นั้นไม่ต้องมีระบบทำความเย็นที่แยกต่างหาก แต่มันก็สร้างแรงฉุด เครื่องยนต์แบบเก่าให้อัตราแรงผลักต่อน้ำหนักได้ดีกว่าแต่มันไม่ทนทาน

โบอิง พี-26 พีชู๊ตเตอร์

บางกองทัพอากาศได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ขนาดหนัก (ถูกเรียกว่า"เครื่องบินพิฆาต"โดยเยอรมนี) เครื่องบินเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่ มักมีเครื่องยนต์สองเครื่อง บ้างก็ใช้เพื่อทำหน้าที่เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาหรือกลาง การออกแบบดังกล่าวปกติแล้วจะช่วยเพิ่มความจุของเชื้อเพลิงภายใน (เป็นการเพิ่มพิสัยปฏิบัติการ) และติดอาวุธขนาดหนัก จากการต่อสู้พบว่าพวกมันอุ้ยอ้ายและเป็นเป้าของเครื่องบินขับไล่ที่มีขนาดเล็กกว่า

นวัตกรรมใหม่ของเครื่องยนต์เกิดขึ้นในยุคที่อาวุธใหม่เข้ามา มันไม่ได้เกิดจากทุนของรัฐแต่มากจากการแข่งขันเครื่องบินของพลเรือน เครื่องบินที่ถูกออกแบบมาสำหรับการแข่งขันมีเครื่องยนต์อันทรงพลังที่จะทำให้พวกมันอยู่จนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามสงครามกลางเมืองสเปน นี่เป็นโอกาสให้กับกองทัพอากาศเยอรมัน อิตาลี และสหภาพโซเวียตทำการทดสอบการออกแบบเครื่องบินล่าสุดของพวกเขา แต่ละประเทศได้ส่งเครื่องบินมากมายเข้ารบ ในการต่อสู้เหนือสเปน เครื่องบินขับไล่เม็สเซอร์ชมิทแบบล่าสุดทำการได้ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับโพลิคาร์โพฟ ไอ-16ของโซเวียต เยอรมนีได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสงครามสเปนและนำมันไปสร้างเครื่องบินที่ดียิ่งกว่าในสงครามโลกครั้งที่สอง ทางรัสเซียที่พ่ายแพ้ในสงครามยังคงมองว่าเครื่องบินของพวกเขานั้นเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ต่อมาไอ-16 ได้ถูกสังหารไปเป็นจำนวนมากโดยเครื่องบินของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ถึงแม้ว่าพวกมันยังคงเป็นเครื่องบินขับไล่ในแนวหน้าของโซเวียตจนถึงปี 1942 อิตาลีนั้นพอใจกับเครื่องบินปีกสองชั้นแบบเฟียท ซีอาร์.42 และด้วยขาดงบประมาณพวกเขาจึงยังคงใช้มันต่อไปถึงแม้ว่ามันจะล้าสมัยแล้วก็ตาม

สงครามกลางเมืองสเปนยังได้สร้างโอกาสให้กับยุทธวิธีใหม่ๆ หนึ่งในนั้นได้ส่งผลให้เกิดการจัดฝูงแบบสี่ลำหรือฟิงเกอร์-โฟร์ (finger-four) ขึ้นมาโดยเยอรมนี แต่ละกองบินจะถูกแบ่งเป็นเป็นหลายฝูงบินที่มีฝูงละสี่ลำ แต่ละฝูงบินจะถูกแบ่งเป็นสองคู่ แต่ละคู่จะประกอบด้วยหัวหน้าฝูงและปีกข้าง รูปขบวนที่ยืดหยุ่นนี้ทำให้นักบินมีความระมัดระวังตัวสูง และทั้งสองคู่จะสามารถแยกออกและทำการโจมตีเมื่อใดก็ได้ ฟิงเกอร์-โฟร์ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในพิธีต่างๆ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]
เม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 109
มิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่เป็นเครื่องบินที่รวดเร็วมากแต่ก็มีอาวุธและเกราะขนาดเบา
ฟ็อคเคอ-วุล์ฟ เอ็ฟเว 190

การต่อสู้ทางอากาศเป็นสิ่งสำคัญในสงครามโลกครั้งที่สอง ความสามารถของเครื่องบินในการชี้ตำแหน่ง, ก่อกวน และเข้าสกัดกองกำลังภาคพื้นดินเป็นปัจจัยสำคัญในกองทหารของเยอรมนี และความสามารถของพวกมันในการครองอากาศเหนือฝ่ายอังกฤษทำให้การรุกรานเยอรมนีเป็นไปไม่ได้ จอมพลของเยอรมนีชื่อเออร์วิน รอมเมลได้กล่าวถึงกำลังทางอากาศเอาไว้ว่า "ใครก็ตามที่ต้องต่อสู้แม้มีอาวุธที่ล้ำสมัย กับศัตรูที่ครองอากาศ จะสู้อย่างดุเดือดต่อทหารของยุโรป ภายใต้อุปสรรคเดียวกันและโอกาสเดียวกันในความสำเร็จ"

ในปี 1930 สองความคิดที่แตกต่างในการรบทางอากาศเริ่มเกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเครื่องบินปีกชั้นเดียวที่แตกต่างกัน ในญี่ปุ่นและอิตาลียังคงมีความเชื่อว่าเครื่องบินขับไล่ที่มีอาวุธขนาดเบาและความว่องไวสูงจะเป็นบทบาทหลักในการต่อสู้ทางอากาศ เครื่องบินอย่างนากาจิมะ คิ-27 นากาจิมะ คิ-43 และมิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่ในญี่ปุ่น และเฟียต จี.50และมัคชี ซี.200ในอิตาลีเป็นตัวอย่างชัดเจนในแนวคิดนี้

อีกความคิดหนึ่งซึ่งมีในอังกฤษ เยอรมนี สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาเป็นหลักคือความเชื่อว่าความเร็วสูงและแรงจีหมายถึงการรบทางอากาศที่เป็นไปแทบไม่ได้เลย เครื่องบินต่อสู้อย่างเม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 109 ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ ยาโกเลฟ ยัค-1 และเคอร์ทิสส์ พี-40 วอร์ฮอว์ค ทั้งหมดล้วนถูกออกแบบให้มีความเร็วสูงและอัตราการไต่ระดับที่ดี ความคล่องตัวนั้นก็เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่มันไม่ใช่เป้าหมายหลัก

ในยุทธการคัลคีนกอลและการรุกรานโปแลนด์ในปี 1939 สั้นเกินไปที่พวกเขาจะทดสอบเครื่องบินขับไล่ของพวกเขา ในสงครามฤดูหนาวกองทัพอากาศฟินแลนด์ที่มีจำนวนมากกว่าได้ใช้รูปแบบฟิงเกอร์-โฟร์ของเยอรมนีเอาชนะกองทัพอากาศของรัสเซียที่มียุทธวิธีที่ด้อยกว่า

การรบในยุโรป

[แก้]
มอราน-โซนีเย แอมแอ็ส.406
มัคชี ซี.200
ยาโกเลฟ ยัค-9
ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ เอ็กวีไอเป็นตัวอย่างของเครื่องบินที่มีความเร็วสูงและอัตราการไต่ระดับที่ดีในสงครามโลกครั้งที่ 2
พี-47 ทันเดอร์โบลท์

ในยุทธการที่ฝรั่งเศสได้สร้างโอกาสให้กับฝ่ายเยอรมันได้พิสูจน์ประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับมาจากสงครามกลางเมืองสเปน กองทัพอากาศเยอรมันพร้อมด้วยนักบินที่มากประสบการณ์และเครื่องบินต่อสู้เม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 109 ที่ยังคงใช้ฝูงบินแบบฟิงเกอร์-โฟร์ ได้พิสูจน์ความเหนือชั้นกว่าฝูงบินสามลำที่บินเป็นตัว V ของฝรั่งเศสและอังกฤษ

ยุทธการที่บริเตนเป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ครั้งแรกที่ต่อสู้เพียงทางอากาศเท่านั้น และมันให้กับบทเรียนอย่างมากกับทั้งสองฝ่าย สิ่งสำคัญที่สุดคือเรดาร์สำหรับตรวจจับเครื่องบินของศัตรู ซึ่งทำให้เครื่องบินขับไล่เข้าสกัดได้อย่างแม่นยำจากระยะไกล มันเป็นยุทธวิธีแบบป้องกันที่ทำให้กองทัพอากาศอังกฤษใช้เครื่องบินขับไล่ที่มีอยู่น้อยให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ในตอนนั้นกองทัพอากาศอังกฤษมีอัตราการสกัดกั้นได้มากกว่า 80%

ยุทธการอังกฤษยังได้เผยให้เห็นความไม่เพียงพอของเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีเมื่อต้องใช้ในการโจมตีระยะไกล แนวคิดเครื่องบินต่อสู้ขนาดหนักแบบสองเครื่องยนต์ถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวเมื่อเครื่องเม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 110 ของกองทัพอากาศเยอรมันขาดความคล่องแคล่วและตกเป็นเป้าได้ง่ายต่อเครื่องเฮอริเคนและสปิตไฟร์ เบเอ็ฟ 110 จึงถูกลดขั้นมาเป็นเครื่องบินขับไล่กลางคืนและเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดซึ่งพบว่ามันเหมาะมากกว่า นอกจากนั้นเบเอ็ฟ 109 ของกองทัพอากาศเยอรมันปฏิบัติการในแบบที่สุดระยะของมันและไม่สามารถทำการรบได้นานนัก เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดขาดการบินคุ้มกัน เยอรมนีก็สูญเสียเครื่องบินมากขึ้น

อย่างไรก็ตามฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้เรียนรู้ถึงสิ่งนี้จนกระทั่งพวกเขาสูญเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดอย่างมากขณะทำภารกิจตอนกลางวัน ถึงแม้ว่าการยืนยันช่วงแรกเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธวิธีที่ทิ้งระเบิดแม่นยำ แม้กระทั่งบี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรสและบี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ของกองทัพอากาศสหรัฐ ก็สูญเสียอย่างหนักให้กับเครื่องบินขับไล่และปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานของเยอรมัน หลังจากการบุกสเวนเฟิร์ทครั้งที่สองกองกำลังทางอากาศของสหรัฐ ก็ถูกบังคับให้ต้องสูญเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ไร้การคุ้มกันจนกระทั่งมีเครื่องบินคุ้มกันพิสัยไกล ได้แก่ พี-38 ไลท์นิง พี-47 ทันเดอร์โบลท์ และพี-51 มัสแตง การใช้ถังแบบปลดเริ่มเป็นที่นิยมซึ่งทำให้เครื่องบินมีเชื้อเพลิงมากพอที่จะทำการในระยะไกล เชื้อเพลิงเพิ่มเตมถูกจนในถังอะลูมิเนียมใต้เครื่องบิน และถังจะถูกปลดออกเมื่อหมดเชื้อเพลิง วัตกรรมใหม่ทำให้เครื่องบินขับไล่ของอเมริกาบินถึงเยอรมนีและญี่ปุ่นได้ในปี 1944

เมื่อสงครามดำเนินไปเครื่องบินขับไล่พร้อมนักบินที่มีประสบการณ์ก็มากขึ้นเหนือเยอรมนี ถึงแม้ว่าจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีเจ็ทและจรวดของกองทัพอากาศเยอรมันก็ตาม การสูญเสียนักบินที่มีประสบการณ์จำนวนมากของเยอรมันก็ทำให้ต้องฝึกนักบินใหม่อย่างเร่งรีบ เพื่อทดแทนนักบินที่เสียไป ในขณะที่นักบินหน้าใหม่ของสัมพันธมิตรในยุโรปได้รับการฝึกมาอย่างดี นักบินของกองทัพอากาศเยอรมันนั้นไม่ได้รับการฝึกที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในฤดูร้อนปี 1944 เมื่อเครื่องบินขับไล่ฝ่ายสัมพันธิมตรมักบินอยู่บริเวณที่ฝึกของนักบินเยอรมัน การฝึกบินในกองทัพอากาศเยอรมันต้องหยุดชะงักเพราะการขาดเชื้อเพลิงในเดือนเมษายน 1944

การรบในมหาสมุทรแปซิฟิก

[แก้]
มิตซูบิชิ เอ6เอ็ม3 ซีโร่ แบบ 22
กรัมแมน เอฟ6เอฟ เฮลแคท
กรัมแมน เอฟ4เอฟ ไวลด์แคทกำลังลาดตระเวนในต้นปี 1942
นากาจิมะ คิ-43
เคอร์ทิสส์ พี-40 วอร์ฮอว์ค
นากาจิมะ คิ-27

สมรภูมิในแปซิฟิกฝ่ายญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์ใช้มิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่รุ่นล่าสุดของพวกเขาเพื่อครอบครองท้องฟ้า ในขณะที่กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรมักใช้เครื่องบินที่ล้าสมัยเพราะคิดว่าญี่ปุ่นนั้นไม่อันตรายเท่าเยอรมนี นั่นทำให้พวกเขาถูกบังคับให้ต้องล่าถอยจนกระทั่งฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มเหนื่อยล้า ขณะที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามพร้อมนักบินที่ฝึกมาอย่างดี พวกเขาก็ไม่เคยทดแทนนักบินที่เสียไปได้โดยที่มีคุณภาพเท่าเดิม แตกต่างจากโรงเรียนของสหรัฐ ได้ฝึกนักบินออกมานับพันคนที่มีความสามารถเพียงพอ เครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่นนั้นมีความเร็วและพิสัยไกล และในตอนนั้นนักบินฝ่ายสัมพันธมิตรได้พัฒนายุทธวิธีเพื่อใช้อาวุธที่เหนือกว่าของพวกเขาและการป้องกันของกรัมแมน เอฟ4เอฟ ไวลด์แคทและเคอร์ทิสส์ พี-40 วอร์ฮอว์ค ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1942 เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ของสัมพันธมิตรรวดเร็วกว่าและมีอาวุธที่ดีกว่าของญี่ปุ่น และยุทธวิธีใหม่ๆ ช่วยให้พวกเขาจัดการกับเครื่องซีโร่และนากาจิมะ คิ-43ที่เร็วกว่าได้ อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นไม่สามารถสร้างการผลิตได้มากเท่ากับของฝั่งตะวันตก และเครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่นก็ถูกกำจัดออกจากท้องฟ้ากลางปี 1944

วัตกรรมทางเทคโนโลยี

[แก้]
นอร์ทอเมริกัน พี-51 มัสแตง
เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดฟ็อคเคอร์-วุล์ฟ เอฟดับบลิว 190ดี-9
เครื่องบินขับไล่กลางคืนบีเอฟ 110จี-4 ของเยอรมันที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศในลอนดอน

ความสำคัญในพลังของเครื่องยนต์ลูกสูบเพิ่มอย่างมากในช่วงสงคราม เคอร์ทิสส์ พี-36 ฮอว์คใช้เครื่องยนต์ที่ลูกสูบเรียงกันเป็นวงกลมที่มีกำลัง 900 แรงม้า แต่ไม่นานมันก็ถูกออกแบบใหม่ให้เป็นพี-40 วอร์ฮอว์คที่มีเครื่องยนต์ลูกสูบแถวเรียงที่ให้กำลัง 820 แรงม้า ในปี 1943 พี-40 เอ็น รุ่นล่าสุดมีเครื่องยนต์อัลลิสันที่ให้กำลัง 1,300 แรงม้า เมื่อสิ้นสุดสงครามเครื่องฟ็อคเคอร์-วุล์ฟ เทอา 152 ของเยอรมันสามารถให้กำลังได้ 2,050 แรงม้าและ พี-51 มัสแตงมีเครื่องแพ็คคาร์ด วี-1650-9 ที่ให้กำลัง 2,218 แรงม้า เครื่องซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ มาร์ค 1 ในปี 1939 มีเครื่องยนต์เมอร์ลิน 2 ของโรส์รอยซ์ที่ให้กำลัง 1,030 แรงม้า รุ่นต่อมาของมันคือสปิตไฟร์ เอฟ.มาร์ค 21 มีเครื่องยนต์กริฟฟอร 61 ของโรส์รอยซ์ที่ให้กำลัง 2,035 แรงม้า นอกจากนี้เครื่องยนต์ลูกสูบวงกลมเป็นที่ชื่นชอบในเครื่องบินขับไล่จำนวนมากซึ่งให้กำลังตั้งแต่ 1,100 แรงม้าจนถึง 2,090 แรงม้า

เครื่องบินขับไล่พลังเจ็ทลำแรกถูกนำมาใช้ในปี 1944 และเห็นได้ชัดว่ามันดีกว่าเครื่องยนต์ลูกสูบ การออกแบบใหม่อย่างเม็สเซอร์ชมิท เม 262และกลอสเตอร์ เมเทโอได้แสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อน (เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เจ็ทที่มีชื่อเสียงอย่างเม็สเซอร์ชมิท เม 163 คอเม็ท เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันแต่ก็มีประสิทธิภาพที่น้อยกว่า) เครื่องบินขับไล่เหล่านี้จำนวนมากสามารถทำความเร็วได้มากกว่า 660 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเร็วพอที่จะเทียบกับความเร็วเสียง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินดำดิ่งลงมา เบรกอากาศ (Dive brake) ถูกเพิ่มให้กับเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เจ็ทหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อลดปัญหาและทำให้นักบินควบคุมเครื่องได้

อาวุธที่ทรงพลังมากขึ้นกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในสงคราม เมื่อมันเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องบินปีกชั้นเดียวที่ไม่ได้ถูกยิงตกง่ายๆ ด้วยปืนกล ประสบการณ์ของเยอรมันในสงครามกลางเมืองสเปนทำให้พวกเขาติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 20 มม.เข้าไปในเครื่องบินขับไล่ของพวกเขา ไม่นานทางฝ่ายอังกฤษก็ทำตามด้วยการใส่ปืนใหญ่เข้าไปในปีกของเฮอร์ริเคนและสปิตไฟร์ ทางอเมริกานั้นขาดแคลนอาวุธของพวกเขาเองพวกเขาจึงแทนที่ด้วยการใส่ปืนกลขนาด 12.7 มม.หลายประบอกเข้าไปแทน อาวุธยังคงเพิ่มขึ้นตลอดสงครามด้วยเครื่องเม 262 ของเยอรมันที่มีปืนใหญ่สี่กระบอกที่ปลายจมูก ปืนใหญ่นั้นยิงกระสุนระเบิดและสามารถสร้างรูบนเครื่องบินของศัตรูได้มากกว่าแค่สร้างความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ มีการถกเถียงกันระหว่างปืนกลที่มีอัตราการยิงสูงกับปืนใหญ่ที่มีอัตราการยิงต่ำแต่ให้การทำลายที่มากกว่า

ด้วยความต้องการการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดที่เพิ่มขึ้นในสมรภูมิรบ เครื่องบินขับไล่จึงมีระเบิดและถูกใช้เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด การออกแบบเครื่องบินบางแบบอย่างเอฟดับบลิว 190 ของเยอรมันนั้นเหมาะกับบทบาทนี้ ถึงแม้ว่านักออกแบบได้ออกแบบให้มันเป็นเครื่องบินสกัดกั้นก็ตาม ในขณะที่บรรทุกระเบิดอากาศสู่พื้นไว้ที่ใต้ปีก ความคล่องตัวของมันก็ถูกลดลงเนื่องมาจากแรงยกที่น้อยลงและแรงฉุดที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อระเบิดถูกทิ้งเครื่องบินก็จะสามารถเป็นเครื่องบินขับไล่ได้อีกครั้ง ด้วยธรรมชาติที่ยืดหยุ่นของเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดมันจึงได้ทำงานที่พิเศษทั้งทางอากาศและพื้นดิน

เทคโนโลยีด้านเรดาร์ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วซึ่งได้พัฒนาขึ้นไม่นานก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มันเหมาะกับเครื่องบินขับไล่บางชนิดอย่าง เม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 110 บริสตอล บิวไฟเตอร์ เอฟ6เอฟ เฮลแคท และพี-61 แบล็กวิโดว์เพื่อให้พวกมันหาเป้าหมายได้ในตอนกลางคืน เยอรมันได้พัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดกลางคืนมากมายเมื่อพวกเขาถูกระดมทิ้งระเบิดจากองทัพอากาศของอังกฤษ ทางอังกฤษที่เป็นผู้สร้างเรดาร์ขึ้นมาเป็นคนแรกให้กับเครื่องบินทิ้งระเบิดในปี 1940-1941 สูญเสียเทคโนโลยีของพวกเขาให้กับกองทัพอากาศเยอรมัน เนื่องมาจากเรดาร์ใช้อย่างในตอนนั้นมันจึงถูกติดตั้งกับเครื่องบินที่มี 2-3 ที่นั่งเพื่อให้มีผู้ใช้เรดาร์ที่ฝึกมาโดยเฉพาะ

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]
Lavochkin La-9
Ryan Fireball

โครงการเครื่องบินขับไล่มากมายที่เริ่มขึ้นต้นปี 2488 ดำเนินต่อหลังสงครามและนำไปสู่เครื่องยนต์ลูกสูบที่ก้าวหน้าซึ่งเข้าสู่การผลิตและประจำการในปี 1946 ตัวอย่างเช่นลาวอคชคิน ลา-9 (อังกฤษ: Lavochkin La-9) ซึ่งเป็นการวิวัฒนาการจากลาวอคชคิน ลา-7 ที่ประสบความสำเร็จในสงคราม ลา-120 ลา-126 และลา-130 ได้มีการหาวิธีแทนที่โครงสร้างที่เป็นไม้ของลา-7 ด้วยเหล็กแทน เช่นเดียวกับปีกแบบใหม่ที่เพิ่มความคล่องตัวและการเพิ่มอาวุธ ลา-9 เข้าประจำการในปี 1946 และผลิตจนถึงปี 1948 มันยังเป็นต้นแบบของการพัฒนาเครื่องบินคุ้มกันอย่างลาวอคชคิน แอลเอ-11 ซึ่งผลิตออกมาเกือบ 1,200 ลำในปี 1947-1951 ในสงครามเกาหลีมันเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ลูกสูบนั้นกำลังมาถึงจุดจบและอนาคตเป็นของเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่น

ช่วงนี้ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการทดลองเครื่องยนต์เจ็ทผสมลูกสูบ ลา-9 ได้ดัดแปลงด้วยเครื่องยนต์เจ็ทสำรองสองเครื่องที่ใต้ปีกแต่มันก็ไม่เคยถูกนำมาใช้ มีเพียงรุ่นเดียวที่นำมาใช้ก็คือไรอัน เอฟอาร์-1 ไฟร์บอลล์ที่ใช้โดยกองทัพเรือสหรัฐ ในปี 2488 การผลิตถูกหยุดเมื่อสงครามสิ้นสุดในวันที่สหรัฐ มีชัยเหนือญี่ปุ่น มีเพียง 66 ลำที่ผลิตออกมาและถูกเก็บคืนในปี 1947 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้สั่งซื้อแบบผสมเครื่องยนต์ไอพ่นกับเครื่องยนต์ใบพัดจำนวน 13 ลำก่อนการผลิต มันมีชื่อว่าคอนโซลิเดท วัลที เอ็กซ์พี-81 (อังกฤษ: Consolidated Vultee Xพี-81) แต่โครงการนี้ถูกยกเลิกเมื่อชนะญี่ปุ่นพร้อมงานที่เสร็จไปแล้ว 80%

รายชื่อเครื่องบินขับไล่ใบพัด

[แก้]
ประเทศ ผู้ผลิต เครื่องบิน ปีที่สร้างเสร็จ รุ่น
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส มอราน-โซนีเย แอมแอ็ส.406 1938
Dewoitine เด.500 1935
เด.520 1940
คาวดรอน-เรโนลต์ เซ.714 1940
Arsenal VG-33 1940
SNCASO แอมเบ.150 1939
SNCAN โปเตซ 630 1938
SPAD S.VII 1916
 ออสเตรีย-ฮังการี Lohner-Werke Type AA 1916
Phönix Flugzeug-Werke D.I 1917
 เยอรมนี
 ไรช์เยอรมัน
เม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 109 1937
เบเอ็ฟ 110 1937
เม 210 1942
เม 410 1943
ฟ็อคเคอ-วุล์ฟ เอ็ฟเว 190 1941
เทอา 152 1945
ยุงเคิร์ส ยู 88 1939
Dornier Flugzeugwerke โด 335 1944
ไฮง์เคิล เฮ 219 1943
Fokker Dr.I 1917
D.VII 1918
Albatros Flugzeugwerke D.III 1916
 อิตาลี มัคชี ซี.200 1939
ซี.202 1941
ซี.205 1943
Fiat Aviazione จี.50 1938
จี.55 1943
Reggiane Re.2000 1940
Re.2001 1941
Re.2002 1942
Gio. Ansaldo & C. A.1 Balilla 1918
 ญี่ปุ่น มิตซูบิชิ เอ5เอ็ม 1936 A5M4, A5M4-K
เอ6เอ็ม ซีโร่ 1940 A6M2, A6M2-N, A6M3, A6M5
เจ2เอ็ม 1942 J2M2, J2M3
เอ7เอ็ม 1944 A7M2
คิ-109 1944
Nakajima คิ-27 1937
คิ-43 1941
คิ-44 1942
เจ1เอ็น 1942
เอ6เอ็ม2-เอ็น 1942
คิ-84 1944
Kawasaki คิ-10 1935
คิ-45 1941
คิ-61 1942
คิ-100 1945
คิ-102 1944
Kawanishi เอ็น1เค 1943
 รัสเซีย
 สหภาพโซเวียต
มิโคยัน มิก-1 1940
มิก-3 1941
ยาโกเลฟ ยัค-1 1940
ยัค-3 1944
ยัค-7 1942
ยัค-9 1942
ลาวอชกิน ลา-1 1940
ลา-3 1941
ลา-5 1942
ลา-7 1944
โพลิคาร์พอฟ ไอ-15 1934
ไอ-16 1935
Russo-Balt Sikorsky S-16 1916
 สหราชอาณาจักร ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ 1938 Seafire
ซีไฟร์ 1942
Hawker Aircraft เฮอริเคน 1937 Sea Hurricane
ไทฟูน 1941
เทมเพสต์ 1944
Blackburn Aircraft สคัว 1938
ร็อก 1939
Fairey Aviation Company ฟูลมาร์ 1940
ไฟร์ฟลาย 1943
เดอ ฮาวิลแลนด์ มัสคีโต 1941
Bristol Aeroplane Company โบไฟเตอร์ 1940
Royal Aircraft Establishment S.E.5 1917
 สหรัฐ กรัมแมน เอฟ4เอฟ ไวลด์แคท 1940
เอฟ6เอฟ เฮลแคท 1943
เอฟ7เอฟ ไทเกอร์แคท 1944
เอฟ8เอฟ แบร์แคท 1945
วอท เอฟ4ยู คอร์แซร์ 1942
บรูว์สเตอร์ เอฟ2เอ บัฟฟาโล 1939
นอร์ทอเมริกัน พี-51 มัสแตง 1942
รีพับลิค พี-43 แลนเซอร์ 1941
พี-47 ทันเดอร์โบลท์ 1942
ล็อกฮีด พี-38 ไลท์นิง 1941
โบอิง พี-26 พีชูตเตอร์ 1932
เคอร์ทิสส์-ไรท์ พี-36 ฮอว์ค 1938
ซีดับเบิลยู-21 1939
พี-40 วอร์ฮอว์ค 1939
เบลล์ พี-39 ไอราคอบรา 1941
นอร์ทธรอป พี-61 แบล็กวิโดว์ 1942
สแตนดาร์ด E-1 1917
ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ Valtion VL Myrsky 1943
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย คอมมอนเวลธ์ CAC Boomerang 1943
 เชโกสโลวาเกีย Avia Avia B-135 1938
 ไทย Royal Thai Air Force ประชาธิปก 1929
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ PZL PZL P.11 1934
PZL P.24 1936
PZL.50 Jastrząb 1939
 จีน AFAMF Chu XP-0 1943
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน FFVS FFVS J 22 1943
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ Fokker Fokker D.XXI 1936
โรมาเนีย โรมาเนีย IAR IAR 80 1941
ยูโกสลาเวีย Ikarbus Rogožarski IK-3 1940
ฮังการี ฮังการี MÁVAG MÁVAG Héja 1941

เครื่องบินขับไล่พลังจรวด

[แก้]
เม็สเซอร์ชมิท เม 163 คอเม็ท เป็นเครื่องบินที่เร็วที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นเครื่องบินขับไล่พลังจรวดที่ผลิตออกมามากที่สุด

เครื่องบินลังจรวดลำแรกคือลิพพิช เอ็นเทอ (เยอรมัน: Lippisch Ente) ซึ่งทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 1918[2] เครื่องบินที่เป็นจรวดจริงๆ ที่ผลิตออกมาจำนวนมากคือเม็สเซอร์ชมิท เม 163 คอเม็ท ในปี 1944 มันเป็นหนึ่งในโครงการของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เล็งไปที่การพัฒนาเครื่องบินพลังจรวด[3] แบบต่อมาของเม 262 ถูกติดตั้งด้วยเครื่องยนต์จรวดในขณะที่รุ่นก่อนหน้านั้นเป็นเครื่องยนต์เสริม แต่ก็ไม่ได้ผลิตออกมามากนัก[4]

สหภาพโซเวียตได้ทดลองเครื่องบินสกัดกั้นพลังจรวดหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง มันคือมิโคยัน-กูเรวิชค์ ไอ-270 ซึ่งสร้างออกมาเพียงสองลำ

ในปี 1949 อังกฤษได้พัฒนาแบบผสมเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้ทั้งเครื่องยนต์จรวดและเครื่องยนต์ไอพ่น จรวดเป็นเครื่องยนต์หลักในการส่งความเร็วและความสูง และเครื่องยนต์ไอพ่นเพิ่มเชื้อเพลิงในการบิน ส่วนใหญ่แล้วเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินลงจอดได้โดยที่ไม่ต้องร่อนลง ซาวน์เดอร์ส-โร เอสอาร์.53 เป็นการออกแบบที่ประสบความสำเร็จและวางแผนที่จะทำการผลิตเมื่อเศรษฐกิจบังคับให้โครงการส่วนใหญ่สั้นลงในปี 1950 นอกจากนี้แล้วการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเครื่องยนต์ไอพ่นทำให้เครื่องยนต์ผสมล้าสมัย เอ็กซ์เอฟ-91 ธันเดอร์เซปเตอร์เผชิญกับชะตากรรมเดียวกันและไม่มีเครื่องบินแบบเครื่องยนต์ผสมถูกออกแบบมาทดแทน

เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่น

[แก้]

เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นยุคแรก (กลางทศวรรษ 1940 ถึงกลางทศวรรษ 1950)

[แก้]
เม็สเซอร์ชมิท เม 262อา ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งชาติของสหรัฐ
RAF Gloster Meteor
USAF Lockheed พี-80B Shooting Stars
McDonnell F2H Banshee

เครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นยุคแรกเริ่มจากการออกแบบเครื่องบินไอพ่นที่ปรากฏตัวในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองและต้นช่วงหลังสงคราม พวกมันแตกต่างไม่มากจากเครื่องยนต์ลูกสูบในด้านรูปลักษณ์ และใช้กับเครื่องบินปีกนิ่ง ปืนยังคงเป็นอาวุธหลัก แรงผลักดันในการพัฒนาเครื่องยนต์ไอพ่นนั้นก็คือเพื่อให้ได้ความเร็วสูงสุด ความเร็วสูงสุดของเครื่องบินขับไล่มากขึ้นตลอดสงครามโลกครั้งที่สองเช่นเดียวกับเครื่องยนต์ลูกสูบที่พัฒนาไปด้วย และเริ่มเข้าสู่การบินเหนือเสียงที่ซึ่งเครื่องยนต์ลูกสูบไม่สามารถทำได้

เครื่องบินไอพ่นลำแรกถูกสร้างขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองและต่อสู้ในปีสุดท้าย เม็สเซอร์ชมิทได้พัฒนาเครื่องบินเจ็ทขับไล่ลำแรก คือเม 262 มันรวดเร็วกว่าเครื่องบินลูกสูบลำใดๆ และเมื่ออยู่ในมือของนักบินที่มากประสบการณ์มันก็จะเป็นเรื่องยากที่นักบินฝ่ายสัมพันธมิตรจะเอาชนะมันได้ การออกแบบไม่เคยพัฒนามากพอที่จะหยุดการบุกของสัมพันธมิตร และเมื่อรวมกับเชื้อเพลิงที่ขาดแคลน การสูญเสียนักบิน และความยุ่งยากทางเทคนิคของเครื่องยนต์ทำให้การรบน้อยลง ถึงกระนั้นเม 262 ได้ชี้ทางให้กับจุดจบของเครื่องบินแบบเครื่องยนต์ลูกสูบ ด้วยการที่ได้รับรายงานถึงเครื่องบินไอพ่นของเยอรมัน กลอสเตอร์ เมเทโอของอังกฤษก็เข้าสู่การผลิตไม่นานต่อจากนั้นและมีสองลำที่เข้าประจำการในปี 1944 เมเทโอเป็นที่รู้จักในการใช้เข้าสกัดจรวดวี 1 เมื่อสงครามจบงานเกือบทั้งหมดของเครื่องยนต์ลูกสูบก็จบลงไปด้วย มีเพียงไม่กี่แบบที่เป็นการผสมของเครื่องยนต์ลูกสูบกับเครื่องยนต์ไอพ่น อย่างไรอัน เอฟอาร์ ไฟร์บอล มันถูกใช้เพียงสั้นๆ แต่เมื่อสิ้นสุดปี 1914 เครื่องบินขับไล่ทั้งหมดก็ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น

ถึงแม้ว่าจะมีข้อได้เปรียบ เครื่องบินขับไล่ไอพ่นรุ่นแรกๆ นั้นก็ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบโดยเฉพาะในยุคแรก ช่วงการในงานของพวกมันสั้นมากจนนับเป็นชั่วโมงได้ เครื่องยนต์เองก็บอบบางและเทอะทะ ฝูงบินมากมายของเครื่องยนต์ลูกสูบถูกนำมาใช้จนถึงปี 1950 วัตกรรมอย่างเก้าอี้ดีดตัวและส่วนหางถูกนำเสนอในช่วงนี้

อเมริกาเป็นหนึ่งในผู้แรกที่เริ่มใช้เครื่องบินขับไล่ไอพ่น พี-80 ชู้ทติ้งสตาร์ (ไม่นานถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเอฟ-80) มีความสวยงามน้อยกว่าเอ็ม 262 แต่ก็มีความเร็วในการร่อน 660 กิโลเมตร/ชั่วโมง เท่ากับขีดสูงสุดของเครื่องบินเครื่องยนต์ลูกสูบ อังกฤษได้ออกแบบเครื่องบินไอพ่นมากมายที่รวมทั้งเดอ ฮาวิลแลนด์ แวมไพร์ (อังกฤษ: de Havilland Vampire) ซึ่งถูกขายให้กับกองทัพอากาศของหลายประเทศ

น่าขันที่เทคโนโลยีของโรส์รอยซ์ได้เปลี่ยนมือจากอังกฤษมาเป็นของโซเวียต ผู้ซึ่งที่ต่อมาได้ใช้มันเพื่อพัฒนามิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-15 ที่ล้ำหน้าของพวกเขาซึ่งเป็นเครื่องบินปีกลู่หลังแบบแรกที่เข้ารบ มันเป็นวัตกรรมแรกที่นำเสนอโดยการวิจัยเยอรมันซึ่งทำให้การบินใกล้เคียงกับความเร็วเสียงได้มากกว่าปีกตรงของเอฟ-80 ความเร็วสูงสุดของพวกมันคือ 1,075 กิโลเมตร/ชั่วโมง สร้างความประหลาดใจให้กับนักบินเอฟ-80 ของอเมริกันในสงครามเกาหลีอย่างมาก พร้อมกับอาวุธเป็นปืนใหญ่ขนาด 23 มม.สองกระบอกและ 37 มม.หนึ่งกระบอกเทียบกับปืนกลของอเมริกัน ถึงกระนั้นในการต่อสู้ระหว่างเจ็ทกับเจ็ทครั้งแรกในประวัติศาสตร์นั้น ซึ่งเกิดขึ้นในสงครามเกาหลีในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1950 เอฟ-80 หนึ่งลำได้เข้าสกัดมิก-15 สองลำของเกาหลีเหนือและยิงพวกมันตก

อเมริกาตอบโต้ด้วยการสร้างฝูงบินปีกลู่หลังของเอฟ-86 เข้าต่อกรกับมิก เครื่องบินสองลำมีความแข็งแกร่งที่แตกต่างกัน แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีที่เหนือชั้นอย่างเรดาร์และทักษะของทหารผ่านศึกของฝ่ายอเมริกันทำให้พวกเขาเหนือกว่า

ทั้งโลกเปลี่ยนไปใช้เครื่องบินไอพ่นในช่วงนี้ กรัมแมนได้สร้างเอฟ9เอฟ แพนเธอร์ที่ใช้โดยกองทัพเรือสหรัฐ เป็นเครื่องบินหลักในสงครามเกาหลี และมันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ไอพ่นรุ่นแรกๆ ที่มีสันดาปท้าย เดอ ฮาวิลแลนด์ แวมไพร์เป็นเครื่องบินขับไล่ไอพ่นลำแรกของกองทัพเรืออังกฤษ เรดาร์ถูกใช้กับเครื่องบินกลางคืนอย่างเอฟ3ดี สกายไนท์ซึ่งได้ยิงมิกตกเหนือเกาหลี และต่อมาก็ติดตั้งให้กับเอฟ2เอช แบนชีและเครื่องบินปีกลู่หลังอย่างเอฟ7ยู คัทลาส และเอฟ3เอช ดีมอน ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบอินฟราเรดรุ่นแรกๆ อย่างเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์และขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์อย่างเอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 20 ถูกนำมาใช้ครั้งแรกกับเครื่องบินปีกลู่หลังอย่างคัทลาสและดีมอน

เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นยุคที่สอง (กลางทศวรรษ 1950 ถึงต้นทศวรรษ 1960)

[แก้]
อิงลิชอิเล็กทริคไลท์นิง
ดัซโซลท์ มิราจ III
มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 ของกองทัพอากาศเวียดนามที่ถูกยึดได้โดยอเมริกา

การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่สองมาจากการพัฒนาของเทคโนโลยี เป็นบทเรียนที่ได้รับมาจากสงครามเกาหลีและเน้นไปที่การปฏิบัติการในสภาพการของสงครามนิวเคลียร์ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านอากาศพลศาสตร์ การขับเคลื่อน และวัสดุก่อสร้างทำให้นักออกแบบทำการทดลองเครื่องบินใหม่ๆ อย่าง ปีกลู่หลัง ปีกทรงสามเหลี่ยม มีการใช้เครื่องยนต์พร้อมสันดาปท้ายอย่างกว้างขวางซึ่งทำให้พวกมันสามารถบินทะลุกำแพงเสียงได้ และความสามารถในการบินด้วยความเร็วเสียงก็กลายมาเป็นความสามารถโดยทั่วไปของเครื่องบินขับไล่ในรุ่นนี้

การออกแบบเครื่องบินขับไล่ยังได้ผลประโยชน์จากเทคโนโลยีทางไฟฟ้าแบบใหม่ซึ่งทำให้เกิดเรดาร์ที่มีประสิทธิภาพที่มีขนาดเล็กพอที่จะติดตั้งกับเครื่องบินขนาดเล็กได้ เรดาร์บนเครื่องบินจะตรวจจับเครื่องบินศัตรูที่อยู่นอกเหนือการมองเห็น ในทำนองเดียวกันก็มีขีปนาวุธนำวิถีซึ่งกลายมาเป็นอาวุธหลักในครั้งแรกของประวัติศาสตร์เครื่องบินขับไล่ ในช่วงเวลานี้เองขีปนาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดได้เกิดขึ้น แต่ขีปนาวุธแบบนี้แรกๆ นั้นบอบบางและมีมุมมองที่ด้านหน้าเพียง 30° ซึ่งจำกัดประสิทธิภาพของพวกมัน ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์ถูกนำเสนอเช่นเดียวกันแต่ตอนแรกๆ นั้นไม่ค่อยเชื่อถือได้ ขีปนาวุธกึ่งเรดาร์ยังสามารถติดตามและเข้าสกัดเครื่องบินของศัตรูได้ด้วยตนเอง ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางและไกลทำให้มันสามารถยิงได้โดยที่เป้าหมายไม่อยู่ในระยะมองเห็น และทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบนี้มากขึ้นไปอีก

ด้วยการที่เห็นว่าประเทศโลกที่สามเริ่มมีกองทัพขนาดใหญ่และอาวุธนิวเคลียร์มันจึงนำไปสู่การออกแบบใหม่ขึ้นมาสองแบบ คือ เครื่องบินสกัดกั้นและเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด ทั้งสองแบบถูกลดบทบาทในการต่อสู้ทางอากาศ เครื่องบินขับไล่ความเร็วสูงหรือเครื่องบินสกัดกั้นนั้นมีขีปนาวุธที่เข้ามาแทนปืนและการต่อสู้ของมันจะทำจากระยะที่มองไม่เห็น ผลที่ได้คือเครื่องบินสกัดกั้นถูกออกแบบให้บรรทุกขีปนาวุธได้มากและมีเรดาร์ที่ทรงพลัง โดยลดความเร็วและอัตราการไต่ระดับลง ด้วยบทบาทในการป้องกันทางอากาศเป็นหลัก ความสำคัญจึงอยู่ที่ความสามารถในการเข้าสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่บินอยู่ในระดับสูง เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดสามารถสับเปลี่ยนบทบาทระหว่างครองน่านฟ้ากับโจมตีภาคพื้นดิน และมักออกแบบมาให้มีความเร็วสูง ความสามารถในการบินระดับต่ำเพื่อทิ้งระเบิด ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์และด้วยโทรทัศน์ถูกนำมาใช้เพื่อขยายการใช้ระเบิดแรงโน้มถ่วง และมีบางรุ่นที่สามารถใช้ระเบิดนิวเคลียร์ได้

เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นยุคที่สาม (ต้นทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1970)

[แก้]
เอฟ-4 แฟนทอม 2 ทำการฝึกทิ้งระเบิด
เช็งยาง เจ-8
มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25

ยุคที่สามนั้นคือการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ของเครื่องบินขับไล่ยุคที่สอง แต่ส่วนใหญ่แล้วเน้นไปที่ความคล่องตัวและการโจมตีภาคพื้นดิน ในทศวรรษ 1960 มีการใช้ขีปนาวุธนำวิถีมากขึ้นในการต่อสู้ทางอากาศ ระบบอิเลคทรอนิกอากาศเริ่มเป็นที่รู้จัก มันเข้ามาแทนที่มาตรวัดแบบเก่าในห้องนักบิน เทคโนโลยีมากมายพยายามลดระยะทางในการนำเครื่องขึ้นหรือนำเครื่องขึ้นลงในแนวดิ่ง แต่แรงขับแบบปกตินั้นประสบความสำเร็จกว่า

ด้านการต่อสู้ทางอากาศนั้นมีการใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ ระบบเรดาร์ และระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่พัฒนา ในขณะที่ปืนยังคงเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศกลายมาเป็นอาวุธหลักของเครื่องบินขับไล่ชั้นยอด ซึ่งใช้เรดาร์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเพื่อทำแต้มจากการยิงนอกระยะสายตาได้ง่าย อย่างไรก็ตามการทำลายเป้าหมายความเป็นไปได้น้อยมากสำหรับขีปนาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดเพราะความเชื่อถือได้ที่น้อยและระบบต่อต้านอิเลคทรอนิกที่รบกวนระบบค้นหาของขีปนาวุธ ขีปนาวุธอินฟราเรดได้ขยายมุมมองที่ด้านหน้าเป็น 45° ซึ่งทำให้มันทรงพลังยิ่งขึ้น ถึงกระนั้นอัตราสังหารในการต่อสู้ทางอากาศที่ต่ำของอเมริกาในเวียดนามทำให้กองทัพเรือสหรัฐ ตั้งโรงเรียนฝึกท็อปกันที่มีชื่อเสียงเพื่อฝึกการใช้อาวุธ ซึ่งสร้างนักบินที่มีความสามารถสูงทั้งเทคนิคและยุทธวิธี

ในยุคนี้ยังเห็นการขยายความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน โดยเฉพาะในการใช้ขีปนาวุธนำวิถี และระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงสำหรับการโจมตีที่ดีขึ้น รวมทั้งระบบหลบหลีกภูมิประเทศ ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นที่มีตัวหาเป้าอย่างเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกได้กลายมาเป็นอาวุธหลัก และระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้กลายมาเป็นที่แพร่หลายด้วยความแม่นยำของมัน การนำวิถีของระเบิดแม่นยำนั้นใช้กระเปาะหาเป้าที่ติดอยู่ที่ส่วนปลาย ซึ่งถูกนำเสนอในกลางทศวรรษ 1960

มันยังได้นำมาซึ่งการพัฒนาอาวุธอัตโนมัติที่ใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนกลไกของปืนใหญ่ มันทำให้อาวุธหลายลำกล้อง (อย่างเอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 มม.) สามารถทำอัตราการยิงและความแม่นยำได้เยี่ยม ขุมกำลังที่เชื่อถือได้มากขึ้นและเครื่องยนต์ไอพ่นไร้ควันเพื่อให้มันยากที่จะมองเห็นโดยเครื่องบินลำอื่นจากระยะไกล

เครื่องบินต่อสู้ภาคพื้นดิน (อย่างเอ-6 อินทรูเดอร์และเอ-7 คอร์แซร์ 2) มีพิสัยที่ไกลขึ้น ระบบโจมตีกลางคืนที่ซับซ้อนขึ้น หรือราคาถูกกว่าเครื่องบินขับไล่เหนือเสียงปีกปรับมุมได้แบบเอฟ-111 ได้ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เทอาฟ30 พร้อมสันดาปท้าย โครงการที่ทะเยอทะยานพยายามที่จะสร้างเครื่องบินขับไล่ทวิบทบาทหรือหลายภารกิจ มันจะทำงานได้ดีเท่ากับเครื่องบินทิ้งระเบิดทุกสภาพอากาศ แต่ก็ขาดความสามารถในการเอาชนะเครื่องบินขับไล่ลำอื่น เอฟ-4 แฟนทอมถูกออกแบบเกี่ยวกับเรดาร์ให้เป็นเครื่องบินสกัดกั้นทุกสภาพอากาศ แต่ถูกรวบเข้าเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดหลากประโยชน์ที่ว่องไวพอที่จะหลบหลีกจากการต่อสู้ มันถูกใช้โดยกองทัพเรือ กองทัพอากาศ และนาวิกโยธินสหรัฐ ถึงแม้ว่าจุดอ่อนมากมายซึ่งยังไม่ถูกแก้ไขจนกระทั่งเครื่องบินขับไล่ใหม่กว่า แฟนทอมก็ทำคะแนนได้ 280 แต้มในการสังหารทางอากาศ มากกว่าเครื่องบินขับไล่แบบไหนๆ ของอเมริกาในเวียดนาม[5] ด้วยพิสัยและความจุได้เท่ากับเครื่องบินทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างบี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ แฟนทอมเป็นเครื่องบินที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นยุคที่สี่ (ทศวรรษ 1970 ถึงกลางทศวรรษ 1990)

[แก้]
เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน
มิโคยัน มิก-29
เอฟ-15 อีเกิล
ซุคฮอย ซู-27 แฟลงเกอร์
ดัซโซลท์ มิราจ 2000

เครื่องบินขับไล่ยุคที่สี่ยังคงเป็นแบบหลายภารกิจและติดตั้งระบบอาวุธและอิเลคทรอนิกอากาศที่ซับซ้อน เครื่องบินขับไล่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีพลังงาน-ความคล่องตัว (Energy-Maneuverability theory) ที่คิดโดยพันเอกจอห์น บอยด์และนักคณิตศาสตร์ชื่อโธมัส คริสตี้ โดยมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์รบของบอยด์ในสงครามเกาหลีและในฐานะครูสอนยุทธวิธีในทศวรรษ 1960 ทฤษฎีดังกล่าวเน้นไปที่ค่าของพลังงานเฉพาะของเครื่องบินที่จะสร้างความได้เปรียบในการต่อสู้

เอกลักษณ์ตามทฤษฎีถูกใช้ในเอฟ-15 อีเกิล แต่บอยด์และผู้สนับสนุนเขาเชื่อว่าตัวแปรเหล่านี้มีน้อย มันเป็นเครื่องบินน้ำหนักเบาที่มีปีกขนาดใหญ่ที่ให้แรงยกมาก ขนาดที่เล็กจะลดแรงฉุดและเพิ่มสัดส่วนแรงผลักต่อน้ำหนัก ในขณะที่ปีกขนาดใหญ่จะเพิ่มการกระจายน้ำหนัก ในขณะที่การกระจายน้ำหนักเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะลดความเร็วและพิสัย มันก็เพิ่มความจุและน้ำมันที่จะทำให้มันบินได้ไกลขึ้น ความพยายามของบอยด์ส่งผลในเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน

ความคล่องตัวของเอฟ-16 ได้พัฒนาขึ้นไปอีกด้วยการที่มันถูกออกแบบมาให้ลดความไม่เสถียรของอากาศพลศาสตร์ เทคนิคดังกล่าวทำให้เกิดระบบควบคุมการบินขึ้นมา (flight control system) ซึ่งตามลำดับสามารถทำได้โดยการพัฒนาคอมพิวเตอร์และระบบร่วม ระบบอิเลคทรอนิกอากาศต้องใช้ระบควบคุการบินแบบเอฟบีดับบลิว (fly-by-wire) กลายเป็นความต้องการสำคัญและเริ่มแทนที่โดยระบบควบคุมการบินแบบดิจิตอลในเวลาต่อมา นอกจากนั้นแล้วระบบควบคุมเครื่องยนต์ด้วยดิจิตอลแบบเต็มรูปแบบ (Full Authority Digital Engine Controls) มีเพื่อจัดการการทำงานของขุมกำลังของเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100 ความไว้ใจได้ในระบบอิเลคทรอนิกของเอฟ-16 ขึ้นอยู่กับหอควบคุมการบิน แทนที่จะใช้สายเคเบิลและการควบคุมแบบทั่วไป ทำให้มันได้ชื่อเล่นว่าเจ็ทไฟฟ้า (the electric jet) ไม่นานระบบดังกล่าวก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบเครื่องบินขับไล่

นวัตกรรมอื่นในเครื่องบินขับไล่ยุคที่สี่ยังรวมทั้งเรดาร์ จอแสดงผลแบบเอชดี คันบังคับ และหน้าจอแสดงผลที่หลากหลาย ทั้งหมดนั้นได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ วัสดุผสมที่มีโครงสร้างอัลลูมิเนียมแบบรวงผึ้ง และผิวกราไฟท์ถูกใช้สร้างเครื่องบินเพื่อลดน้ำหนัก เซ็นเซอร์หาและติดตามอินฟราเรดกลายมาเป็นที่แพร่หลายสำหรับการใช้อาวุธอากาศสู่พื้น และในอากาศสู่อากาศเช่นเดียวกัน ระบบนำวิถีด้วยอินฟราเรดกลายเป็นอาวุธพื้นฐาน ซึ่งทำให้การเข้าปะทะทำได้หลายมุม ขีปนาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดพิสัยไกลแบบแรกที่เข้าประจำการคือเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ ซึ่งติดตั้งกับเอฟ-14 ทอมแคท หนึ่งในเครื่องบินขับไล่ปีกปรับมุมได้ที่เข้าสู่การผลิต

อีกการปฏิวัติหนึ่งมาในรูปแบบของความไว้ใจได้แต่ดูแลรักษาง่าย ซึ่งคือชิ้นส่วนพื้นฐาน การลดจำนวนของแผงและลดชิ้นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อนอย่างเครื่องยนต์ เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นรุ่นแรกๆ นั้นต้องใช้เวลา 50 ช.ม.ของคนงานต่อทุกชั่วโมงของเครื่องบินในอากาศ รุ่นต่อมาลดเวลาทำงานและเพิ่มเที่ยวบินให้มากขึ้น เครื่องบินทางทหารที่ทันสมัยบางรุ่นต้องการเพียงแค่ 10 ช.ม.ต่อหนึ่งชั่วโมงบินเท่านั้น และบ้างก็มีประสิทธิภาพมากกว่า

วัตกรรมด้านอากาศพลศาสตร์ยังรวมทั้งปรกหลากรูปทรงและการใช้ประโยชน์จากกระแสลมในการยกตัวเพื่อทำมุมปะทะให้ได้มากขึ้น

ไม่เหมือนกับเครื่องบินสกัดกั้นยุคก่อนๆ เครื่องบินขับไล่ยุคที่สี่ส่วนมากนั้นถูกออกแบบมาให้ว่องไวในการต่อสู้ทางอากาศ (ยกเว้นมิโคยัน มิก-31 และพานาเวีย ทอร์นาโด เอดีวี) แม้ว่าราคาของเครื่องบินขับไล่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังคงเน้นสำคัญไปที่ความสามารถหลายภารกิจอยู่ ความต้องการของเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบนำไปสู่ความคิดพยายามทำราคาต่ำแต่คุณภาพสูง มันสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพที่สูงพร้อมราคาที่สูงตามไปด้วย หัวใจของการสร้างเครื่องบินขับไล่คือการเป็นเครื่องบินที่ยอดเยี่ยมแต่มีราคาถูก

เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดยุคที่สี่ส่วนใหญ่ อย่าง เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทและแดสซอลท์มิราจ 2000 เป็นเครื่องบินทวิบทบาทของแท้ มันถูกออกแบบมาให้เป็นแบบนั้นตั้งแต่แรก มันมาจากระบบอิเลคทรอนิกอากาศซึ่งสามารถสับเปลี่ยนการโจมตีระหว่างอากาศกับพื้นได้

การเพิ่มความสามารถในการโจมตีหรือการออกแบบในช่วงแรกสำหรับบทบาทที่แตกต่างกันไปนั้นกลายเป็นอดีต บทบาทโจมตีถูกมอบหมายให้กับเครื่องบินต่อสู้อย่างซุคฮอย ซู-24 และเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลหรือหากจะให้การสนับสนุนระยะใกล้ก็ตกเป็นของเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 และซุคฮอย ซู-25

เทคโนโลยีที่ดูเกินจริงมากที่สุดก็อาจเป็นเทคโนโลยีล่องหน ซึ่งเป็นการใช้วัสดุและการออกแบบลำตัวเครื่อง ที่สามารถตรวจจับด้วยเรดาร์ของข้าศึกได้ยาก เครื่องบินล่องหนลำแรกคือเครื่องบินจู่โจมเอฟ-117 ไนท์ฮอว์ค (ปี 2526) และเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-2 สปิริต (ปี 1989) ถึงแม้ว่าจะไม่มีเครื่องบินขับไล่ล่องหนในยุคที่สี่ แต่ม็มีรายงานถึงการใช้วัสดุดังกล่าวให้กับเครื่องบินขับไล่ยุคที่สี่

เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นยุคที่ 4.5 (ทศวรรษ 1990 ถึง 2000)

[แก้]
เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
ดาโซราฟาล
ยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน
ซุคฮอย ซู-30 แฟลงเกอร์

เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงในปี 1989 ทำให้หลายรัฐบาลลดการใช้จ่ายทางกองทัพเพื่อสันติ คลังแสงของกองทัพอากาศจึงถูกตัดขาด และโครงการวิจัยและพัฒนาตั้งใจที่จะพัฒนาสิ่งที่คาดว่าจะเป็น"เครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้า" หลายโครงการถูกยกเลิกในครึ่งแรกของทศวรรษ 1990 ส่วนพวกที่รอดก็ยืดออกไป ในขณะที่การพัฒนาที่เชื่องช้าได้ลดการระดมทุนในแต่ละปี มันก็หวนคืนมาในแบบค่าปรับของโครงการทั้งหมดและราคาของหน่วยในระยะยาว อย่างไรก็ตามในกรณีนี้มันได้ทำให้นักออกแบบมีแรงกระตุ้นในการสร้างคอมพิวเตอร์ ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ และระบบการบินอื่นๆ ซึ่งได้เป็นไปได้มากเนื่องจากการสร้างเทคโนโลยีไมโครชิปและเซมิคอนดักเตอร์ในทศวรรษ 1980 ถึงทศวรรษ 1990 โอกาสครั้งนี้ทำให้นักออกแบบพัฒนาแบบต่อจากยุคที่สี่ หรืออกแบบใหม่ พร้อมด้วยความสามารถที่ก้าวหน้า การออกแบบพัฒนาเหล่านี้กลายมาเป็น"เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.5" บ่งบอกว่ามันเป็นส่วนกลางระหว่างยุคที่สี่กับยุคที่ห้า และด้วยการช่วยเหลือจากพวกมันทำให้เกิดการพัฒนาไปไกลยิ่งกว่าในเทคโนโลยีของยุคที่ห้า

เอกลักษณ์เฉพาะของยุคกึ่งๆ นี้คือการใช้งานทางด้านดิจิตอลและวัสดุอวกาศ และมีระบบร่วมกับอาวุธที่ดีเยี่ยม เครื่องบินขับไล่เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยมีเครือข่ายศูนย์กลางและเป็นเครื่องบินทวิบทบาทที่หลายภารกิจ เทคโนโลยีด้านอาวุธมีทั้งขีปนาวุธระยะไกล อาวุธนำวิถีด้วยจีพีเอส เรดาร์ หมวกแสดงผล และความปลอดภัย การแบ่งข้อมูลที่ป้องกันการรบกวน การออกแบบด้านแรงขับเคลื่อนบางส่วนทำให้เครื่องบินบางแบบสามารถบินแบบซูเปอร์ครูซ (supercruise) ได้ เอกลักษณ์ในการล่องหนใช้เทคนิคทางด้านวัสดุที่ลดการสะท้อนและรูปร่างที่ไม่ธรรมดา

แบบเหล่านี้เป็นการสร้างโครงสร้างจากเดิมที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็ดัดแปลงหรือสร้างขึ้นมาใหม่ตามทฤษฏี อย่างไรก็ตามการดัดแปลงเหล่านี้เป็นการใช้วัสดุผสมสร้างโครงสร้างเพื่อลดน้ำหนัก เพิ่มเชื้อเพลิงเพื่อระยะที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทที่พัฒนาการมาจากเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทและมิโคยัน มิก-29/มิโคยัน มิก-35 เครื่องบินเหล่านี้ใช้เรดาร์แบบใหม่ซึ่งพัฒนามาเพื่อยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูนและแดสซอลท์ราเฟล และ ยาส 39 อีกแบบก็คือเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล เป็นแบบโจมตีภาคพื้นดินของเอฟ-15 อีเกิลที่ได้รับโครงสร้างที่แข็งแกร่งขึ้นและเครื่องยนต์ที่ทรงพลัง ห้องนักบินที่ทันสมัย และระบบนำร่องและหาเป้าที่ยอดเยี่ยม ในยุคที่ 4.5 มีเพียงซูเปอร์ฮอร์เน็ท สไตรค์อีเกิล และราเฟลเท่านั้นที่เข้าทำการรบ

เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.5 เข้าประจำการครั้งแรกในทศวรรษ 1990 และพวกมันยังคงถูกผลิตออกมา ไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าพวกมันจะถูกผลิตพร้อมกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้าเนื่องมาจากระดับที่พัฒนาของเทคโนโลยีล่องหนที่ต้องการบรรลุการออกแบบของเครื่องบินขับไล่ที่มองเห็นได้ยาก ซึ่งเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้า

เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นยุคที่ห้า ( 2005 ถึงปัจจุบัน)

[แก้]
เอฟ-22 แร็พเตอร์
ซุคฮอย ซู-57
เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2
เฉิงตู เจ-20

ในยุคที่ห้านั้นนำโดยเอฟ-22 แร็พเตอร์ของล็อกฮีด มาร์ตินเมื่อปลายปี 2005 เครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้ามีเอกลักษณ์เป็นการที่มันถูกออกแบบตั้งแต่แรกให้ทำงานในระบบอิเลคทรอนิก และใช้วัสดุในการสร้างและรูปร่างที่ใช้เทคนิคสูง พวกมันมีเรดาร์เออีเอสเอและความสามารถในการส่งข้อมูลที่ยากที่จะถูกสกัดกั้น เซ็นเซอร์ค้นหาและติดตามอินฟราเรดใช้ในการต่อสู้ทางอากาศและอากาศสู่พื้น เซ็นเซอร์เหล่านี้เมื่อพร้อมกับระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ห้องนักบินที่ทันสมัย หมวกพิเศษ และความปลอดภัย การป้องกันการสกัดกั้นข้อมูลจึงสูงเพื่อสร้างการรวบรวมข้อมูลต่อการระวังตัวในขณะที่ทำให้นักบินทำงานน้อยลง ระบบอิเลคทรอนิกนั้นใช้เทคโนโลยีทางวงจรที่รวดเร็วมาก และมีการส่งข้อมูลที่รวดเร็ว โดยรวมการผสมผสานปัจจัยทั้งหมดสร้างความสามารถที่ยอดเยี่ยมให้กับเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้า

เรดาร์เออีเอสเอให้ความสามารถที่ไม่ธรรมดากับเครื่องบิน มันมีการต้านทานอีซีเอ็มและอินฟราเรด มันทำให้เครื่องบินมีเอแว็กส์ขนาดย่อ ให้การสนันสนุนด้านสงครามอิเลคทรอนิก และการรบกวนทางอิเลคทรอนิก

เทคโนโลยีอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักกันในรุ่นที่ห้าก็คือเทคโนโลยีสงครามอิเลคทรอนิก การสื่อสาร การนำร่อง และการระบุจำแนก ระบบแสดงสถานะของยานหาหนะสำหรับการซ่อมแซม และเทคโนโลยีการล่องหน

การทำงานของความคล่องตัวยังคงเป็นเรื่องสำคัญและถูกพัฒนาโดยแรงขับเคลื่อน ซึ่งยังช่วยลดระยะในการขึ้นและลงจอด การบินแบบซูเปอร์ครูซอาจใช่และไม่ใช่จุดสำคัญ มันทำให้สามารถบินเหนือเสียงได้โดยที่ไม่ต้องใช้สันดาปท้าย ซึ่งสันดาปท้ายเป็นสิ่งที่เพิ่มสัญญาณอินฟราเรดอย่างมากเมื่อใช้เต็มพลัง

หัวใจของเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้าคือการล่องหน มีการออกแบบโครงสร้างและภายในของมันเพื่อลดการสะท้อนและถูกตรวจจับโดยเรดาร์ นอกจากนั้นแล้วเพื่อทำให้มันล่องหนขณะทำการต่อสู้ อาวุธหลักจึงถูกบรรทุกไว้ในห้องเก็บที่ใต้ท้องเครื่องบินและจะเปิดออกเมื่ออาวุธถูกยิง ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีล่องหนได้ก้าวหน้าจนสามารถใช้โดยไม่ต้องสูญเสียความสามารถในการบิน ในแบบก่อนนั้นเน้นไปที่การลดสัญญาณอินฟราเรด รายละเอียดของเทคนิคการลดสัญญาณเหล่านี้เป็นข้อมูลลับ แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการใช้รูปทรงพิเศษ วัสดุอย่างพลาสติกเทอร์โมเซทและเทอร์โมพลาสติก โครงสร้างผสมแบบพิเศษ วัสดุกันความร้อน สายตาข่ายที่ปิดบังส่วนหน้าของเครื่องยนต์และช่องระบายความร้อน และใช้วัสดุดูดซับเรดาร์ทั้งด้านนอกและด้านใน

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและความซับซ้อนของเครื่องบินสูงเท่ากับความสามารถของพวกมัน กองทัพอากาศสหรัฐ ได้วางแผนเดิมที่จะซื้อเอฟ-22 จำนวน 650 ลำแต่ในปัจจุบันดูเหมือนจะมีเพียง 200 ลำเท่านั้นที่จะถูกสร้าง ราคาของมันบานปลายเป็น 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขยายราคาในการพัฒนาและการผลิต โครงการจึงจัดขึ้นเพื่อมีประเทศอื่นๆ อีกแปดประเทศมาร่วมเสี่ยงและเป็นหุ้นส่วน ด้วนทั้งหมดประเทศหุ้นส่วนเก้าประเทศคาดหวังที่จะซื้อเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 มากกว่า 3,000 ลำโดยมีราคาประมาณ 80-85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามเอฟ-35 ถูกออกแบบมาให้มีสามทางเลือก คือ แบบที่ขึ้น-ลงแบบธรรมดา แบบที่ขึ้น-ลงในแนวตั้ง และแบบที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งก็มีราคาแตกต่างกันออกไป ประเทศอื่นๆ ได้เริ่มทำโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้า โดยมีซุคฮอย พีเอเค เอฟเอของรัสเซียที่คาดว่าจะเข้าประจำการในปี 2012-2015 ในเดือนตุลาคม 2007 รัสเซียและอินเดียได้ทำการพัฒนาเครื่องพีเอเค เอฟเอแบบสองที่นั่ง อินเดียยังได้กำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ห้าของตนเอง จีนได้รายงานว่าจะสร้างเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้าจำนวนมาก และทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ก็เช่นกัน

รายชื่อเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่น

[แก้]

ปฏิบัติการ

[แก้]
ประเทศ ผู้ผลิต เครื่องบิน ปีที่สร้างเสร็จ ยุค รุ่น
ธงของประเทศจีน จีน เฉิงตู J-10 2003 ยุค 4 J-10B
J-20 2017 ยุค 5
J-7 1971 ยุค 2
เช็งยาง J-11 1998 ยุค 4 J-11B,J-15, J-16
J-8 1980 ยุค 3
J-6 1961 ยุค 2
J-5 1956 ยุค 1
J-31 2012 ยุค 5
ซีอาน JH-7 1992 ยุค 4 JH-7A,JH-7B
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ดาโซ Mirage 2000 1982 ยุค 4 N/D
Rafale 2000 ยุค 4.5
Mirage F1 1973 ยุค 3
Super Étendard 1978 ยุค 3
Mirage III 1961 ยุค 2
 ไรช์เยอรมัน เม็สเซอร์ชมิท Me 262 1944 ยุค 1
ไฮง์เคิล He 162 1945 ยุค 1
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย HAL Tejas 2015 ยุค 4 Tejas Mark 2
Marut 1961 ยุค 2
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน เอชอีเอสเอ Azarakhsh 1997 ยุค 3
Saeqeh 2007 ยุค 3
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล ไอเอไอ Kfir 1976 ยุค 3
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี Fiat Aviazione G.91 1958 ยุค 2
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น มิตซูบิชิ F-2 2000 ยุค 4 F-2A/B
F-1 1978 ยุค 3
X-2 Shinshin 2016 ยุค 5
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ เคเอไอ FA-50 2011 ยุค 4
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
ธงของประเทศจีน จีน
พีเอซี
เฉิงตู
JF-17 Thunder 2007 ยุค 4
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
( สหภาพโซเวียต)
มิโคยัน MiG-31 1982 ยุค 4
MiG-35 2016 ยุค 4.75
MiG-29 1983 ยุค 4.5 M, K
MiG-15 1949 ยุค 1
MiG-17 1952 ยุค 1
MiG-19 1955 ยุค 2
MiG-21 1959 ยุค 2
MiG-23 1970 ยุค 3
MiG-25 1970 ยุค 3
ซุคฮอย Su-27 1984 ยุค 4 Su-30, Su-33, Su-34, Su-35
T-50 2016 ยุค 5
Su-7 1959 ยุค 2
Su-9 1959 ยุค 2
Su-11 1964 ยุค 2
Su-15 1965 ยุค 3
Su-17 1970 ยุค 3
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ Atlas Atlas Cheetah 1986 ยุค 3
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน ซ้าบ JAS 39 Gripen 1997 ยุค 4.5
Saab 37 Viggen 1971 ยุค 3
Saab 35 Draken 1960 ยุค 2
Saab 32 Lansen 1956 ยุค 1
Saab 29 Tunnan 1950 ยุค 1
 ไต้หวัน AIDC F-CK-1 Ching-kuo 1994 ยุค 4
 สหราชอาณาจักร
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
Panavia Tornado ADV 1985 ยุค 4
 สหราชอาณาจักร
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ธงของประเทศสเปน สเปน
Eurofighter Typhoon 2003 ยุค 4.5
 สหราชอาณาจักร ฮ็อคเกอร์ Hunter 1956 ยุค 2
บริติชแอร์โรว์สเปซ
ฮ็อคเกอร์
Sea Harrier 1978 ยุค 3
Gloster Meteor 1944 ยุค 1
 สหรัฐ กรัมแมน F-14 Tomcat 1974 ยุค 4
เจเนรัล ไดนามิกส์
(ล็อกฮีด มาร์ติน)
F-16 Fighting Falcon 1978 ยุค 4
แมคดอนเนลล์ดักลาส
(โบอิง)
F-15 Eagle 1976 ยุค 4 F-15E, F-15J
F/A-18 Hornet 1983 ยุค 4 F/A-18E/F Super Hornet
F-4 Phantom II 1960 ยุค 3
ล็อกฮีด มาร์ติน F-22 2005 ยุค 5
F-35 2012 ยุค 5
นอร์ทอเมริกัน F-86 1949 ยุค 1
นอร์ธรอป F-5 1962 ยุค 3

อยู่ในการพัฒนา

[แก้]

ยกเลิกการพัฒนา

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ลี, อาเธอร์ กูลด์, ไร้ร่มชูชีพ ลอนดอน: แจร์โรลด์ส, 1968 ไอเอสบีเอ็น 0090865901
  2. ดาร์ลิง, เดวิด, "Lippisch Ente", สารานุกรมวิทยาศาสตร์ทางอินเทอร์เน็ต – เครื่องบินทดลอง, Accessed 5 ตุลาคม 2551
  3. "เม-163 คอเม็ท", Planes of Fame Air Museum, Accessed 5 ตุลาคม 2551
  4. มันสัน, เคนเนธ, เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2, นิวยอร์ก ซิตี้: หนังสือขุนนาง, 2526, หน้า 159, ไอเอสบีเอ็น 0907408370
  5. แฟนทอมหายไปไหน? ราล์ฟ เวทเทอร์แฮน, นิตยสารแอร์ แอนด์ สเปซ, 1 มกราคม 2552