ข้ามไปเนื้อหา

เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์
ชนิดอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้
แหล่งกำเนิด สหรัฐอเมริกา
บทบาท
ประจำการพ.ศ. 2499-ปัจจุบัน (เอไอเอ็ม-9บี)
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตแนมโม
เรย์เธียน
ฟอร์ด แอโรสเปซ
โลรัล คอร์เปอเรชั่น
มูลค่าต่อหน่วย85,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลจำเพาะ
มวล91 กิโลกรัม
ความยาว2.85 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง127 ม.ม.
ความยาวระหว่างปลายปีก630 ม.ม.
กลไกการจุดชนวน
พลังแม่เหล็ก (แบบเก่า)
อินฟราเรดปฏิบัติ (เอไอเอ็ม-9แอลเป็นต้นไป)

เครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง
พิสัยปฏิบัติการ
1-35.4 กิโลเมตร
ความเร็วสูงสุดมัค 2.5
ระบบนำวิถี
อินฟราเรด
ฐานยิง
อากาศยานและเฮลิคอปเตอร์

เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ (อังกฤษ: AIM-9 Sidewinder) เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ติดตามความร้อน ซึ่งใช้กับเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบอื่นและการพัฒนายังคงอยู่ในประจำการในกองทัพอากาศต่างๆ หลังจากผ่านไปห้าทศวรรษ นักบินนาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทู (Fox Two) ซึ่งหมายถึงขีปนาวุธติดตามความร้อน

ไซด์ไวน์เดอร์เป็นขีปนาวุธที่ใช้กว้างขวางที่สุดในฝั่งตะวันตก ด้วยการผลิตมากกว่า 110,000 ลูกสำหรับสหรัฐและอีก 27 ประเทศ ซึ่งอาจมีเพียง 1 % เท่านั้นที่ใช้ในการรบ มันถูกผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดยบางชาติรวมทั้งสวีเดน เอไอเอ็ม-9 เป็นหนึ่งในอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศที่เก่าแก่ที่สุด ถูกที่สุด และประสบความสำเร็จที่สุด ด้วยคะแนนสังหารถึง 270 จากทั่วโลก[1]

มันถูกออกแบบมาเพื่อทำการพัฒนาได้โดยง่าย[2] กล่าวกันว่าเป้าหมายของการออกแบบสำหรับไซด์ไวน์เดอร์ดั้งเดิมนั้นคือสร้างขีปนาวุธที่ไว้ใจได้และมีประสิทธิภาพ กองทัพเรือสหรัฐได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของการใช้มันในปีพ.ศ. 2545

ไซด์ไวน์เดอร์ (sidewinder) มาจากชื่อของงูหางกระดิ่ง ซึ่งใช้อินฟราเรดในการหาความร้อนจากตัวเหยื่อ

หลักฟิสิกส์ในการใช้อินฟราเรด

[แก้]

ในทศวรรษที่ 1920 มีการค้นพบว่าการเผยสารประกอบตัวนำกำมะถันให้กับอินฟราเรดจะลดการต้านทานไฟฟ้าของการผสมสาร สิ่งนี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า"โฟโตคอนดักทิวิตี้" (อังกฤษ: photoconductivity) สิ่งนี้ยังสามารถเปล่งแสงได้โดยคลื่นความยาวของแสง[3] สิ่งดังกล่าวสามารถวัดขนาดผลในปัจจุบันและจากนั้นก็ส่งต่อผลดังกล่าวเพื่อเกิดการกระทำ—ในกรณีนี้ หัวที่หาเป้าจะส่งผลให้ขีปนาวุธเพื่อบินตรงไปที่แหล่งความร้อน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังส่วนใหญ่พยายามที่จะสร้างระบบมองกลางคืนโดยใช้เครื่องตรวจจับตัวนำกำมะถันและจอมองเพิ่มความเข้มข้น ส่วนใหญ่สำหรับการตรวจจับเครื่องบินในระยะไกล แต่ก็ไม่มีการพิสูจน์ใดๆ ที่พบว่าประสบผลสำเร็จและมีเพียงระบบสแปนเนอร์ (Spanner) ของเยอรมันเท่านั้นที่เข้าสู่การผลิต สแปนเนอร์ใช้ท่อมองขนาดยาวฉายผ่านจอของเครื่องบินเพื่อให้นักบินมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าได้อย่างชัดเจนแต่มันก็มีพิสัยที่จำกัด โครงการทั้งหมดนี้จบลงด้วยการใช้เรดาร์ทางอากาศ

เครื่องตรวจจับอินฟราเรดถูกใช้อย่างกว้างขวางบนฐานภาคพื้นดิน สิ่งเหล่านี้ยังรวมทั้งทุกสิ่งจากระบบมองเห็นสำหรับรถถังและแม้แต่พลซุ่มยิง เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ในตอนกลางคืน อย่างไรก็ตามเยอรมนียังได้ทำการทดลองระบบนำวิถีขีปนาวุธอัตโนมัติโดยตั้งใจที่จะนำไปหาความร้อนจากเครื่องยนต์เครื่องบิน มันใช้เครื่องตรวจจับเพียงเครื่องเดียวตรงกล้องมองขนาดเล็ก พร้อมกังหันสี่ตำแหน่งระหว่างเครื่องตรวจจับและกล้องโทรทรรศน์ กล้งอโทรทรรศน์จะส่งผลให้สัญญาณตกลงบนเครื่องตรวจจับเพื่อเพิ่มและลดโดยขึ้นอยู่กับว่าสัญญาณถูกกั้นจากกังหันมากแค่ไหน จากนั้นสัญญาณนี้จะถูกใช้เป็นเสมือนนักบินอัตโนมัติ โดยจากนั้นจะเริ่มหันไปที่แกนของกล้องโทรทรรศน์ ขีปนาวุธถูกนำวิถีไปที่เป้าหมายโดยใช้สิ่งที่เรียกว่าการไล่ตาม (pure pursuit) การพัฒนาไม่สิ้นสุดจนกระทั่งสงครามจบลง

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]
  • ประเภท AIR TO AIR MISSILE
  • ผู้ผลิต LOCKHEED MARTIN USA.
  • ปีผลิต 1956
  • ระยะยิง 10-18 MILE (depending on altitude)
  • ความเร็ว SUPERSONIC MACH 2.5
  • ดินขับ SOLID STATE
  • หัวรบ 20.8-25 LBS. BLAST FRAGMENTATION
  • ระบบนำวิถี INFRARED HOMIMG SYSTEM

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Raytheon AIM-9 Sidewinder". www.designation-systems.net. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  2. "Air Weapons: Beyond Sidewinder". www.strategypage.com. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  3. Encyclopedia Britannica