ข้ามไปเนื้อหา

เวลาในประเทศอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวลาในประเทศอินโดนีเซีย
แผนที่เขตเวลาของประเทศอินโดนีเซีย
เวลาปัจจุบันทั่วอินโดนีเซีย
เวลาอินโดนีเซียตะวันตก
(UTC+7)
9:01 pm, 14 มกราคม 2025 [รีเฟรช]
เวลาอินโดนีเซียกลาง
(UTC+8)
10:01 pm, 14 มกราคม 2025 [รีเฟรช]
เวลาอินโดนีเซียตะวันออก
(UTC+9)
11:01 pm, 14 มกราคม 2025 [รีเฟรช]

หมู่เกาะอินโดนีเซียในทางภูมิศาสตร์กินขอบเขตถึง 4 เขตเวลา ตั้งแต่ UTC+06:00 ในจังหวัดอาเจะฮ์ถึง UTC+09:00 ในจังหวัดปาปัว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินโดนีเซียยอมรับเพียง 3 เขตเวลาในดินแดนของตน ดังนี้:

  • เวลาอินโดนีเซียตะวันตก (WIB) — เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 7 ชั่วโมง (UTC+07:00);
  • เวลาอินโดนีเซียกลาง (WITA) — เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 8 ชั่วโมง (UTC+08:00);
  • เวลาอินโดนีเซียตะวันออก (WIT) — เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 9 ชั่วโมง (UTC+09:00)

ขอบเขตของเขตเวลาตะวันตกกับกลางเป็นเส้นทางระหว่างเกาะชวากับเกาะบาหลีผ่านชายแดนจังหวัดบนเกาะกาลีมันตันตะวันตกกับกลาง ส่วนขอบเขตเวลากลางกับตะวันออกเป็นเส้นทางจากปลายตะวันออกของเกาะติมอร์ถึงปลายตะวันออกของเกาะซูลาเวซี

การใช้งานในปัจจุบัน

[แก้]

อินโดนีเซียแบ่งออกเป็น 3 เขตเวลา ดังนี้:

ชื่อ
เขต
เวลา
ชื่อใน
ภาษาอินโดนีเซีย
เวลาปัจจุบัน
และ
อักษรย่อ
ออฟเซต
เวลาสากลเชิงพิกัด
ออฟเซต
WIB
ครอบคลุมพื้นที่ ประชากร[1]
เวลาอินโดนีเซียตะวันตก Waktu Indonesia Barat 21:01, 14 มกราคม 2025 WIB [รีเฟรช] UTC+07:00 WIB+/-0h เกาะสุมาตรา (จังหวัดอาเจะฮ์, จังหวัดเบิงกูลู, จังหวัดจัมบี, จังหวัดลัมปุง, จังหวัดสุมาตราเหนือ, จังหวัดรีเยา, จังหวัดสุมาตราใต้ และจังหวัดสุมาตราตะวันตก), หมู่เกาะรีเยา, หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง, เกาะชวา (จังหวัดบันเติน, จาการ์ตา, จังหวัดชวาตะวันตก, จังหวัดชวากลาง, เขตพิเศษยกยาการ์ตา และจังหวัดชวาตะวันตก), จังหวัดกาลีมันตันตะวันตกและจังหวัดกาลีมันตันกลาง 218,212,832
เวลาอินโดนีเซียกลาง Waktu Indonesia Tengah 22:01, 14 มกราคม 2025 WITA [รีเฟรช] UTC+08:00 WIB+1h จังหวัดกาลีมันตันใต้, จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก, จังหวัดกาลีมันตันเหนือ, นูซันตารา, เกาะซูลาเวซี (จังหวัดซูลาเวซีเหนือ, โก-รนตาโล จังหวัดซูลาเวซีกลาง, จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก, จังหวัดซูลาเวซีใต้ และจังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้), เกาะบาหลี, จังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก และจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก 43,401,450
เวลาอินโดนีเซียตะวันออก Waktu Indonesia Timur 23:01, 14 มกราคม 2025 WIT [รีเฟรช] UTC+09:00 WIB+2h จังหวัดมาลูกู, จังหวัดมาลูกูเหนือ, จังหวัดปาปัวกลาง, จังหวัดปาปัวที่สูง, จังหวัดปาปัวใต้, จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้, จังหวัดปาปัวตะวันตก และจังหวัดปาปัว 8,569,635

เขตเวลาเหล่านี้ใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1988[2]

เขตเวลาในอดีต

[แก้]

ช่วงแรก

[แก้]

ระเบียบเวลาเริ่มใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1908 ตามคำขอของบริษัทรถไฟดัตช์ Staatsspoorwegen ที่เกาะชวาในสมัยหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ เวลาในจังหวัดชวากลางช้ากว่าบาตาเวีย เมืองหลวงที่ใช้เวลา GMT +7 ถึง 12 นาที ระเบียบนี้มีผลในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1908 ใช้เฉพาะบนเกาะชวาและเกาะมาดูรา ส่วนเวลาบนหมู่เกาะอื่นยังไม่ได้รับการจัดระเบียบ[3][4]

สิบปีต่อมาในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 มีการจัดตั้งเวลาที่ปาดัง เกาะสุมาตรา ให้เร็วกว่าจังหวัดชวากลาง 39 นาที ในขณะที่เวลาในปาเล็มบังตั้งให้เร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช 8 ชั่วโมง 20 นาที จากนั้น ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1924 เวลาในสถานที่เหล่านี้มีการจัดระเบียบไว้ ดังนี้:[3][4]

สถานที่ เวลา
จังหวัดชวากลาง GMT +7:20
Tapanoeli Residency ชวากลาง -45 นาที
ปาดัง ชวากลาง -7 นาที
เกาะบาหลีและเกาะลมบก ชวากลาง +22 นาที
มากัซซาร์ ชวากลาง +38 นาที

เขตเวลามาตรฐาน

[แก้]

ใน ค.ศ. 1932 รัฐบาลอาณานิคมดัตช์ได้แบ่งอาณานิคมทั้งหมดออกเป็น 6 เขตเวลา โดยห่างกัน 30 นาที ผ่าน Governments Besluit ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ซึ่งตีพิมพ์ใน Staatsblad หมายเลข 412 แบ่งได้ดังนี้::

เขตเวลา ในภาษาดัตช์ ออฟเซต
เวลาสากลเชิงพิกัด
สถานที่
เวลาสุมาตราเหนือ Nord-Sumatra tijd UTC+06:30 อาเจะฮ์, ปาดัง และเมดัน
เวลาสุมาตราใต้ Zuid-Sumatra tijd UTC+07:00 จังหวัดเบิงกูลู, ปาเล็มบัง และจังหวัดลัมปุง
เวลาชวา Java tijd UTC+07:30 เกาะชวา, เกาะบาหลี, เกาะมาดูรา และกาลีมันตัน
เวลาเซเลบีส Celebes tijd UTC+08:00 เกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะซุนดาน้อย
เวลาโมลุกกะ Molukken tijd UTC+08:30 เตอร์นาเต, นัมเลอา, เกาะอัมบน และหมู่เกาะบันดา
เวลานิวกินี Nieuw-Guinea tijd UTC+09:00 อีเรียนตะวันตก ใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 ถึง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1944[5]
เวลาดัตช์นิวกินี Nederlandse Nieuw-Guinea tijd UTC+09:30 อีเรียนตะวันตก ในเวลานั้นมีชื่อว่านิวกินีของเนเธอร์แลนด์ ใช้ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1944 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1963[6]

ในช่วงการยึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ของญี่ปุ่นในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1942 ถึง 24 กันยายน ค.ศ. 1945 อินโดนีเซียฝั่งตะวันตกและกลางใช้เวลามาตรฐานญี่ปุ่น (JST) (UTC+09:00) เพื่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติการทางทหารของญี่ปุ่นในอินโดนีเซีย[7][4]

เขตเวลาหลังเอกราช

[แก้]
เขตเวลาที่มีผลใช้งานใน ค.ศ. 1932-1942 และ ค.ศ. 1950-1963

เมื่อดัตช์กลับมาปกครองใน ค.ศ. 1945 ทางรัฐบาลจึงกำหนดเขตเวลา 3 แห่งใหม่ (GMT +6, +7 และ +8) โดยเพิ่มเขตเวลา GMT +9 สำหรับนิวกินีของเนเธอร์แลนด์ หลังเนเธอร์แลนด์ให้การยอมรับความเป็นอธิปไตยของอินโดนีเซีย ข้อบังคับของประธานาธิบดีมีผลบังคับใช้อีกครั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1950 โดยแบ่งประเทศออกเป็น 6 เขตเวลาที่ห่างกันครึ่งชั่วโมง จากนั้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1964 คำสั่งประธานาธิบดีอีกฉบับมีผลบังคับใช้ โดยกำหนดให้ระบบปัจจุบันมี 3 เขตเวลา การเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายเกิดในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1988 เมื่อเกาะบาหลีถูกย้ายเขตเวลาจากเขตเวลาอินโดนีเซียตะวันตกไปยังเขตเวลาอินโดนีเซียกลาง และจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกกับกลางย้ายจากเวลาอินโดนีเซียกลางไปยังเวลาอินโดนีเซียตะวันตก[2][3]

ข้อเสนอเขตเวลาเดียว

[แก้]

ณ วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2012 ฮัตตา ราจาซา รัฐมนตรีประสานงานเศรษฐกิจ กล่าวว่า: "จากการวิจัยพบว่า ด้วยเขตเวลาเดียวทำให้ประเทศสามารถลดค่าใช้จ่ายได้หลายล้านล้านรูปียะฮ์"[8] สองเดือนต่อมา เดอะจาการ์ตาโพสต์ รายงานว่าอาจจะเริ่มมีการใช้งานเขตเวลาเดียวด้วย UTC+08:00 ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2012[9] อย่างไรก็ตาม จาการ์ตาโกลบรายงานในเดือนสิงหาคมว่าแผนนี้ถูกหยุดไว้ชั่วคราว[10] คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจอินโดนีเซีย (KP3EI) อ้างว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนในการสื่อสารและวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลง ทำให้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2013 จากนั้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกล่าวว่าแนวคิดนี้ถูกล้มเลิกไปหลังจากพลาดวันที่เป้าหมายไปสองวัน: 17 สิงหาคม (วันประกาศเอกราช) และ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2012 (วันซุมปะฮ์เปอมูดา)[11] ต่อมาในปีนั้น ฮัตตาอ้างว่าแผนนี้ไม่ได้ถูกละทิ้ง แม้ว่าจะไม่มีกำหนดเส้นตายสำหรับการดำเนินการก็ตาม[12]

ฐานข้อมูลเขตเวลาองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต

[แก้]

ฐานข้อมูลเขตเวลาองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ตในไฟล์ zone.tab สำหรับอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็น 4 เขต[13]

  • เอเชีย/จาการ์ตา
  • เอเชีย/ปนเตียนัก
  • เอเชีย/มากัซซาร์
  • เอเชีย/จายาปูรา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Statistics Indonesia 2020.
  2. 2.0 2.1 BAPPENAS 1987, p. 2.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hendaru Tri Hanggoro 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 vivi.co.id 2023.
  5. tiamanddate.com nd.
  6. "Time Zone in Jayapura, Papua, Indonesia". timeanddate.com. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
  7. Post et al. 2023, pp. 50, 614.
  8. Jakarta Post 2012a.
  9. Jakarta Post 2012b.
  10. Tito Summa Siahaan 2012.
  11. Iwan Kurniawan & Raden Jihad Akbar 2013.
  12. Okzone 2013.
  13. IANA 2023.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]