ข้ามไปเนื้อหา

เวลามาตรฐานกรีนิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวลามาตรฐานกรีนิช
เขตเวลา
ออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัด
GMTUTC±00:00
เวลาปัจจุบัน
13:38, 21 มกราคม 2025 GMT [รีเฟรช]
การใช้เวลาออมแสง
มีการใช้เวลาออมแสงทั่วทั้งเขตเวลานี้
เวลาในทวีปยุโรป:
ฟ้าอ่อน เวลายุโรปตะวันตก / เวลามาตรฐานกรีนิช (UTC)
สีฟ้า เวลายุโรปตะวันตก / เวลามาตรฐานกรีนิช (UTC)
เวลาออมแสงยุโรปตะวันตก / เวลาออมแสงบริติช / เวลามาตรฐานไอร์แลนด์ (UTC+1)
สีแดง เวลายุโรปกลาง (UTC+1)
เวลาออมแสงยุโรปกลาง (UTC+2)
สีเหลือง เวลายุโรปตะวันออก / เวลาคาลินินกราด (UTC+2)
สีกากี เวลายุโรปตะวันออก (UTC+2)
เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก (UTC+3)
เขียวอ่อน เวลามอสโก / เวลาตุรกี (UTC+3)
เทอร์ควอยซ์ เวลาอาร์มีเนีย / เวลาอาเซอร์ไบจาน / เวลาจอร์เจีย (UTC+4)
 สีอ่อน: ใช้เวลามาตรฐานทั้งปี
 สีเข้ม: สังเกตเวลาฤดูร้อน
เวลาในทวีปแอฟริกา:
ฟ้าอ่อน เวลากาบูเวร์ดี[a] (UTC−1)
สีฟ้า เวลามาตรฐานกรีนิช (UTC)
สีแดง (UTC+1)
สีกากี (UTC+2)
สีเขียว เวลาแอฟริกาตะวันออก (UTC+3)
เทอร์ควอยซ์ (UTC+4)
a หมู่เกาะของประเทศกาบูเวร์ดี ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแผ่นดินใหญ่แอฟริกา
b ประเทศมอริเชียสและเซเชลส์ อยู่ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาดากัสการ์ตามลำดับ

เวลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช หรือ เวลา ณ ปฐมเมริเดียน (อังกฤษ: Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นเวลามาตรฐานที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง

เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช

ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต่ ค.ศ. 1925 ทำให้ในประวัติศาสตร์มีวิธีการนับชั่วโมงของจีเอ็มทีด้วยกันสองแบบ ส่วนยูทีและยูทีซีนั้นไม่มีความกำกวมตรงนี้ เนื่องจากทั้งสองมาตรฐานนับเที่ยงคืนเป็นเวลาศูนย์นาฬิกามาโดยตลอด

ดูเพิ่ม

[แก้]