ข้ามไปเนื้อหา

หมู่เกาะบันดา

พิกัด: 4°35′S 129°55′E / 4.583°S 129.917°E / -4.583; 129.917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะบันดา
เกาะบันดาเบอซาร์มองจากป้อมเบ็ลจีกา
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด4°35′S 129°55′E / 4.583°S 129.917°E / -4.583; 129.917
กลุ่มเกาะหมู่เกาะมาลูกู
เกาะทั้งหมด11 เกาะ (มีผู้อยู่อาศัย 7 เกาะ)
เกาะหลักบันดาร์เบอซาร์, เนอีรา, บันดาอาปี, เกาะฮัตตา, เกาะอัย, เกาะรุน
พื้นที่172 ตารางกิโลเมตร (66 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด641 ม. (2103 ฟุต)[1]
จุดสูงสุดกูนุงอาปี
การปกครอง
จังหวัดมาลูกู
ประชากรศาสตร์
ประชากร20,924 (2020)
ความหนาแน่น121.65/กม.2 (315.07/ตารางไมล์)
ที่ตั้งของหมู่เกาะบันดาอยู่ตรงกลางของหมู่เกาะมาลูกู
แผนที่หมู่เกาะบันดา

หมู่เกาะบันดา (อินโดนีเซีย: Kepulauan Banda) เป็นกลุ่มเกาะภูเขาไฟสิบเกาะเล็กในทะเลบันดาที่ตั้งอยู่ราว 140 กิโลเมตรทางตอนใต้ของเกาะเซรัมและราว 2,000 กิโลเมตรทางของเกาะชวา และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะโมลุกกะของอินโดนีเซีย เมืองหลักและศูนย์บริหารของหมู่เกาะอยู่ที่บันดาไนราที่ตั้งอยู่บนเกาะชื่อเดียวกัน หมู่เกาะบันดาผุดขึ้นจากมหาสมุทรที่ลึกราว 4–6 กิโลเมตรและมีเนื้อที่ราว 180 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 18,544 คนตามสำมะโน ค.ศ. 2010[2] และ 20,924 คนตามสำมะโน ค.ศ. 2020[3] บันดาเป็นแหล่งผลิตผลิตผลจากต้นจันทน์เทศแหล่งเดียวในโลกมาจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจะมีชื่อเสียงในการเป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศแล้วก็ยังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำตื้นและนักดำนำลึกด้วย

อ่านเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "G. Banda Api". Badan Geologi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
  2. Biro Pusat Statistik, Jakarta, 2011.
  3. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]