ข้ามไปเนื้อหา

เมดัน

พิกัด: 3°35′N 98°40′E / 3.583°N 98.667°E / 3.583; 98.667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมดัน

Medan
นครเมดัน
Kota Medan
การถอดเสียงภาษาอื่น ๆ
 • อักษรยาวีكوتا ميدان
 • บาตักᯔᯩᯑᯉ᯲
 • จีน棉蘭
 • ทมิฬமேடான்
ตราราชการของเมดัน
ตราอาร์ม
สมญา: 
คำขวัญ: 
Bekerja sama dan sama-sama bekerja
(ทำงานร่วมกันและทุกคนทำงาน)
ที่ตั้งในจังหวัดสุมาตราเหนือ
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบของเมดัน
เมดันตั้งอยู่ในเกาะสุมาตรา
เมดัน
เมดัน
เมดันตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
เมดัน
เมดัน
เมดัน (ประเทศอินโดนีเซีย)
พิกัด: 3°35′N 98°40′E / 3.583°N 98.667°E / 3.583; 98.667
ประเทศอินโดนีเซีย
ภูมิภาคเกาะสุมาตรา
จังหวัดสุมาตราเหนือ
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม ค.ศ. 1590
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีบ็อบบี นาซูตียน
 • รองนายกเทศมนตรีเอาเลีย รัชมัน [id]
 • ประธานสภาเทศมนตรีHasyim Huang Kien Lim (PDI-P)
 • รองประธานสภาเทศมนตรีอิฮ์วัน รีโตงา (Gerindra), ราจุดดิน ซากาลา (Prosperous Justice Party) และ HT Bahrumsyah (National Mandate Party)
พื้นที่
 • นคร265.10 ตร.กม. (102.36 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง478 ตร.กม. (185 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,831.97 ตร.กม. (1,093.43 ตร.ไมล์)
ความสูง2.5–37.5 เมตร (8–123 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน 2020)
 • นคร2,435,252 (อันดับที่ 4) คน
 • ความหนาแน่น9,186 คน/ตร.กม. (23,790 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[3]3,632,000 (อันดับที่ 4) คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง7,598 คน/ตร.กม. (19,680 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[4]4,744,323 (อันดับที่ 5) คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,675 คน/ตร.กม. (4,340 คน/ตร.ไมล์)
ประชากร [5]
 • กลุ่มชาติพันธุ์มลายู
บาตัก
ชวา
มีนังกาเบา
จีน
อาหรับ
อินเดีย
 • ศาสนาอิสลาม 54%
โปรเตสแตนต์ 23%
โรมันคาทอลิก 14%
พุทธ 8.02%
ฮินดู 0.34%
ลัทธิขงจื้อ 0.41%
อื่น ๆ 0.03%
เขตเวลาUTC+7 (เวลาในประเทศอินโดนีเซีย)
รหัสพื้นที่(+62) 61
ป้ายทะเบียนBK
จีดีพีบุคคล[5]2019
 - รวม241.5 ล้านล้านรูปียะฮ์ (อันดับที่ 4)
17.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
56.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี)
 - ต่อหัว105,908 รูปียะฮ์ (อันดับที่ 13)
7,490 ดอลลาร์สหรัฐ
24,620 ดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี)
 - การเติบโตเพิ่มขึ้น 6.0%
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.809 (อันดับที่ 21) – สูงมาก[6]
เว็บไซต์pemkomedan.go.id

เมดัน (อินโดนีเซีย: Medan, ออกเสียง [meˈdan] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย[7] โดยเป็นหนึ่งในสี่เมืองศูนย์กลางหลักของอินโดนีเซียร่วมกับจาการ์ตา ซูราบายา และมากัซซาร์[8][9] จากสำมะโน ค.ศ. 2020 เมดันมีประชากรเฉพาะในเขตเทศบาลนคร 2,435,252 คน[10][11] และในพื้นที่เมืองมากกว่า 3.4 ล้านคน ทำให้เป็นพื้นที่เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ[12]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ตามบันทึกของพ่อค้าชาวโปรตุเกสในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ชื่อเมดันเพี้ยนมาจากคำว่า Maidhan ในภาษาทมิฬ หรือที่เรียกว่า Maidhāṉam (ทมิฬ: மைதானம்) แปลว่าพื้นดิน ซึ่งรับมาจากภาษามลายู หนึ่งในพจนานุกรมกาโร-อินโดนีเซียที่เขียนโดย Darwin Prinst SH ที่ตีพิมพ์ในปี 2545 ระบุว่าเมดันสามารถนิยามได้ว่า "ฟื้นตัว" หรือ "ดีกว่า"

ประวัติศาสตร์

[แก้]
Kesawan in the 1920s
Governor-General Dirk Fock visiting the Great Mosque, 1925

เมดันเริ่มต้นเป็นหมู่บ้านที่เรียกว่า กัมปงเมดัน (หมู่บ้านเมดัน) ก่อตั้งโดย Guru Patimpus ประมาณปี ค.ศ. 1590 พื้นที่ดั้งเดิมของเมดันเป็นพื้นที่บริเวณที่แม่น้ำเดอลี (Deli River) และแม่น้ำบาบูรา (Babura River) มาบรรจบกัน พ่อค้าชาวอาหรับในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 มีการบันทึกว่า ชื่อเมืองเมดันมีที่มาจากมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นชื่อเมืองศักดิ์สิทธิ์ในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมีแหล่งข้อมูลอื่นที่ระบุว่าชื่อของเมดันที่จริงมาจากคำในภาษาฮินดีของอินเดียที่ว่า "Maidan" แปลว่า "พื้นดิน" หรือ "ที่ดิน"

ชนพื้นเมื่องดั้งเดิมของเมดันย้ายถิ่นฐานมาจากคาบสมุทรมลายู ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เมดันอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านแห่งอาเจะฮ์ มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก และในรัชสมัยปีที่สองของสุลต่าน Deli (ระหว่าง 1669-1698) เมดันเกิดมีสงครามขึ้น และมีการสู้รบกับกองทหารม้าจากอาเจะฮ์ จนทำให้เมดันขาดการเหลียวแลจากอาเจะฮ์ ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร จนถึงปี ค.ศ. 1860 มีการเข้ามาของชาวดัตช์ มีการริเริ่มเพาะปลูกยาสูบ จนทำให้เมดันเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ในปี 1918 เมดันได้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของจังหวัดสุมาตราเหนือ

ภูมิประเทศ

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

เมดันมีลักษณะภูมิอากาศป่าฝนเขตร้อนที่ไม่มีฤดูแล้งแท้จริง[13] อุณหภูมิเฉลี่ยในเมืองประมาณ 27 องศาเซลเซียส (81 องศาฟาเรนไฮต์)

ข้อมูลภูมิอากาศของเมดัน (โปโลเนีย), ความสูง: 27 เมตร หรือ 89 ฟุต, ค.ศ. 1977-1994
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35
(95)
36.1
(97)
36.1
(97)
37.2
(99)
36.1
(97)
37.2
(99)
37.2
(99)
37.2
(99)
36.1
(97)
35
(95)
35
(95)
34.4
(93.9)
37.2
(99)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.6
(88.9)
32
(90)
32.7
(90.9)
32.9
(91.2)
33.4
(92.1)
33.3
(91.9)
32.9
(91.2)
33.3
(91.9)
31.9
(89.4)
31.7
(89.1)
31
(88)
30.9
(87.6)
32.3
(90.1)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 25.5
(77.9)
26.12
(79.02)
26.6
(79.9)
27.2
(81)
27.2
(81)
26.9
(80.4)
26.9
(80.4)
26.9
(80.4)
26.6
(79.9)
26.1
(79)
26.1
(79)
25.8
(78.4)
26.49
(79.69)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.2
(72)
22.6
(72.7)
23.2
(73.8)
23.5
(74.3)
23.3
(73.9)
23.6
(74.5)
23.5
(74.3)
22.8
(73)
22.2
(72)
22.6
(72.7)
23
(73)
22.5
(72.5)
22.9
(73.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.3
(64.9)
18.3
(64.9)
18.3
(64.9)
19.4
(66.9)
18.3
(64.9)
17.2
(63)
16.1
(61)
18.3
(64.9)
18.8
(65.8)
17.7
(63.9)
15.5
(59.9)
18.3
(64.9)
15.5
(59.9)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 92
(3.62)
115
(4.53)
97
(3.82)
157
(6.18)
178
(7.01)
141
(5.55)
167
(6.57)
185
(7.28)
263
(10.35)
387
(15.24)
253
(9.96)
228
(8.98)
2,263
(89.09)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 14 19 13 18 22 15 13 17 24 22 20 19 216
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 129.6 141.0 153.1 131.2 134.8 157.9 153.9 143.9 123.1 116.3 104.8 98.1 1,587.7
แหล่งที่มา 1: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[14] และ Worldwide Bioclimatic Classification System (อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันและสถิติ)[15]
แหล่งที่มา 2: WeatherOnline (พระอาทิตย์, 2010–2019)[16]

การเมืองและการปกครอง

[แก้]

รายชื่อนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรี

[แก้]

ต่อไปนี้คือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเมดันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461

ลำดับ

รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเลขงวด รองนายกเทศมนตรี
ยุคอาณานิคมดัตช์
1 Daniël Mackay 1 พฤษภาคม 2461 30 เมษายน 2474 1
2 J.M. Wesselink 1 พฤษภาคม 2474 30 เมษายน 2478 2
3 G. Pitlo 1 พฤษภาคม 2478 30 เมษายน 2481 3
4 Carl Erich Eberhard Kuntze 1 พฤษภาคม 2481 14 กุมภาพันธ์ 2485 4
ยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น
1 Shinichi Hayasaki (早崎 真) 15 กุมภาพันธ์ 2485 16 สิงหาคม 2488 5
ยุคเอกราช
1 Luat Siregar 17 สิงหาคม 2488 10 พฤศจิกายน 2488 6
2 M. Yusuf 10 พฤศจิกายน 2488 31 ตุลาคม 2490 7
3 Djaidin Purba 1 พฤศจิกายน 2490 11 กรกฎาคม 2495 8
4 A.M. Jalaludin 12 กรกฎาคม 2495 1 ธันวาคม 2497 9
5 Muda Siregar 2 ธันวาคม 2497 2 กรกฎาคม 2501 10
6 Madja Purba 3 กรกฎาคม 2501 27 กุมภาพันธ์ 2504 11
7 Basyrah Lubis 28 กุมภาพันธ์ 2504 9 ตุลาคม 2507 12
8 P.R. Telaumbanua 10 ตุลาคม 2507 27 สิงหาคม 2508 13
9 Aminurrasyid 28 สิงหาคม 2508 26 กันยายน 2509 14
10 Sjoerkani 26 กันยายน 2509 2 กรกฎาคม 2517 15
11 A.M. Saleh Arifin 3 กรกฎาคม 2517 31 มีนาคม 1980 16
12 H. Agus Salim Rangkuti 1 เมษายน 1980 31 มีนาคม 2528 17
1 เมษายน 2528 31 มีนาคม 2533 18
13 Bachtiar Djafar 1 เมษายน 2533 31 มีนาคม 2538 19
1 เมษายน 2538 31 มีนาคม 2543 20
14 Abdillah 1 เมษายน 2543 31 มีนาคม 2548 21 Maulana Pohan
1 เมษายน 2548 20 สิงหาคม 2551 22 Ramli
Afifuddin Lubis
(เจ้าหน้าที่)
20 สิงหาคม 2551 22 กรกฎาคม 2552 --
Rahudman Harahap
(ชั่วคราว)
23 กรกฎาคม 2552 15 กุมภาพันธ์ 2553
Syamsul Arifin
(ชั่วคราว)
16 กุมภาพันธ์ 2553 25 กรกฎาคม 2553
15 Rahudman Harahap 26 กรกฎาคม 2553 16 พฤษภาคม 2556 23 Dzulmi Eldin
Dzulmi Eldin 15 พฤษภาคม 2556 17 มิถุนายน 2557
16 18 มิถุนายน 2557 26 กรกฎาคม 2558
Syaiful Bahri Lubis
(ผู้บริหารรายวัน)
27 กรกฎาคม 2558 5 ตุลาคม 2558
Randiman Tarigan
(เจ้าหน้าที่)
5 ตุลาคม 2558 17 กุมภาพันธ์ 2559
(16) Dzulmi Eldin 17 กุมภาพันธ์ 2559 17 ตุลาคม 2562 24
(2015)
Akhyar Nasution
Akhyar Nasution 17 ตุลาคม 2562 11 กุมภาพันธ์ 2564 Plt.
17 11 กุมภาพันธ์ 2564 17 กุมภาพันธ์ 2564
Arief Sudarto Trinugroho
(ชั่วคราว)
23 กันยายน 2563 6 ธันวาคม 2563
Wiriya Alrahman
(ผู้บริหารรายวัน)
17 กุมภาพันธ์ 2564 26 กุมภาพันธ์ 2564
18 Bobby Nasution 26 กุมภาพันธ์ 2564 ปัจจุบัน 25 Aulia Rachman

หน่วยการบริหาร

[แก้]
แผนที่แสดงแขวงทั้ง 21 แขวงของนครเมดัน

พื้นที่นครเมดันแบ่งออกเป็น 21 แขวง (เกอจามาตัน) ได้แก่

  • แขวงเมดันโกตา (Medan Kota)
  • แขวงเมดันโกตาเบอลาวัน (Medan Kota Belawan)
  • แขวงเมดันโจโฮร์ (Medan Johor)
  • แขวงเมดันซุงกัล (Medan Sunggal)
  • แขวงเมดันเซอลายัง (Medan Selayang)
  • แขวงเมดันเดอไน (Medan Denai)
  • แขวงเมดันเดอลี (Medan Deli)
  • แขวงเมดันตะวันตก (Medan Barat)
  • แขวงเมดันตะวันออก (Medan Timur)
  • แขวงเมดันตุนตูงัน (Medan Tuntungan)
  • แขวงเมดันเติมบุง (Medan Tembung)
  • แขวงเมดันบารู (Medan Baru)
  • แขวงเมดันเปอตีซะฮ์ (Medan Petisah)
  • แขวงเมดันเปอร์จูวางัน (Medan Perjuangan)
  • แขวงเมดันโปโลนียา (Medan Polonia)
  • แขวงเมดันมาเรลัน (Medan Marelan)
  • แขวงเมดันไมมุน(Medan Maimun)
  • แขวงเมดันลาบูฮัน (Medan Labuhan)
  • แขวงเมดันอัมปลัซ (Medan Amplas)
  • แขวงเมดันอาเรอา (Medan Area)
  • แขวงเมดันเฮ็ลเฟตียา (Medan Helvetia)

ประชากร

[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ของเมดันเป็นเชื้อสายมลายู ประมาณร้อยละ 95 ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และอื่น ๆ เนื่องด้วยเป็นเมืองใหญ่จึงมีความหนาแน่นของประชากรอย่างมาก

เขตพื้นที่ พื้นที่ (km²) ประชากร (สำรวจปี 2010) ความหนาแน่นของประชากร (/km²)
เมดัน (โกตา) 265.1 2,109,330 7,959
บินไจ (โกตา) 90.2 246,010 2,726
เขตบริหารเดอลีเซอร์ดัง 2,384.62 1,789,243 750.3
รวม 2,739.92 4,144,583 1,512.8

เนื่องจากความเจริญของเมดันและแรงดึงดูดในการประกอบอาชีพ ทำให้มีการอพยพของคนอินโดนีเซียทั้งจากเกาะชวาและในเกาะสุมาตราเองมายังเมดัน รวมถึงชาวจีนและอินเดียด้วย จึงมีความหลากหลายของเชื้อชาติในเมดันอย่างมาก มีการพูดภาษาอย่างหลากหลาย แต่ภาษาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือภาษาอินโดนีเซียและภาษาอังกฤษ ภาษาจีนฮกเกี้ยนมีใช้ในกลุ่มคนจีน

องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในเมดันของปี ค.ศ.1930, 1980, 2000
เชื้อชาติ ค.ศ. 1930 ค.ศ. 1980 ค.ศ. 2000
ชาวชวา 24,89% 29,41% 33,03%
ชาวบาตัก 2,93% 14,11% -- (see Note)
ชาวจีน 35,63% 12,8% 10,65%
ชาวเมดัน 6,12% 11,91% 9,36%
ชาวมีนังกาเบา 7,29% 10,93% 8,6%
ชาวมลายู 7,06% 8,57% 6,59%
ชาวกาโร 0,19% 3,99% 4,10%
ชาวอาเจะฮ์ -- 2,19% 2,78%
ชาวซุนดา 1,58% 1,90% --
อื่นๆ 14,31% 4,13% 3,95%
Source: 1930 and 1980: Usman Pelly, 1983 เก็บถาวร 2012-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; 2000: BPS Sumut[17]

สถานที่สำคัญ

[แก้]
มัสยิดใหญ่ของเมดัน

มีอาคารเก่าแก่จำนวนมากในเมดันที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมของชาวดัตช์เอาไว้ อาคารเหล่านี้รวมถึงศาลากลางจังหวัดเก่า ไปรษณีย์กลาง และอาคาร The Tirtanadi Water Tower ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนครเมดันด้วย

การขนส่งและเดินทาง

[แก้]

ในเมืองเมดันยังคงนิยมการโดยสาร รถสามล้อที่เรียกว่า motorized becaks' อยู่เนื่องด้วยสามารถพบเห็นอยู่ทั่วไป ราคาถูก และสามารถต่อรองราคาได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการขนส่งประเภทอื่น เช่นรถแท็กซี่และมินิบัสที่เรียกว่า sudako

มีทางรถไฟจากเมดันเชื่อมต่อไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วเกาะสุมาตรา และท่าเรือที่มีความสำคัญเพื่อการขนส่งสินค้า สนามบินนานาชาติกูวาลานามู ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเมดัน มีสายการบินทั้งในและต่างประเทศ สามารถเลือกโดยสารได้อย่างมากมาย สายการบินที่เดินทางไปเมดันมีสายการบิน Lion Air, Garuda Indonesia, Air Asia, Malaysia Airlines, Singapore Airlines, SilkAir, Firefly, Merpati, Batavia Air และ Valuair

ระเบียงภาพ

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

เมดันเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Medan Het Parijs van Sumatra, Medan Paris di Sumatra". Teknomuda (ภาษาอินโดนีเซีย). 2017-09-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
  2. "Medan, Sang Parijs van Sumatera". BatakPedia (ภาษาอินโดนีเซีย). 2020-01-07. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
  3. "Demographia World Urban Areas, 16th Annual Edition" (PDF). February 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 June 2020.
  4. "PU-net". perkotaan.bpiw.pu.go.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2020-09-08.
  5. 5.0 5.1 Badan Pusat Statistik Sumatra Utara (2020). Produk Domestik Regional Bruto Kabupaten/kota di Sumatra Utara 2015-2019. Medan: Badan Pusat Statistik.
  6. "Badan Pusat Statistik". bps.go.id. สืบค้นเมื่อ 2021-02-03.
  7. Kumar, Pankaj; Mishra, Binaya Kumar; Avtar, Ram; Chakraborty, Shamik (2021). "Quantifying future water environment using numerical simulations: a scenario-based approach for sustainable groundwater management plan in Medan, Indonesia". Global Groundwater. Elsevier. pp. 585–596. doi:10.1016/b978-0-12-818172-0.00043-8. Medan is the capital city of North Sumatra province.
  8. "26. Z. Irian Jaya". bappenas.go.id (Word DOC) (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
  9. Geografi. ISBN 9789797596194.
  10. "Jumlah Penduduk menurut Jenis Kelamin dan Kabupaten/Kota Sumatra Utara 2011–2016". Badan Pusat Statistik Provinsi Sumatra Utara (ภาษาอินโดนีเซีย). 3 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
  11. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  12. "Demographia World Urban Areas, 14th Annual Edition" (PDF). April 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
  13. "Medan, Indonesia Köppen Climate Classification (Weatherbase)". Weatherbase. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  14. "World Weather Information Service–Medan". World Meteorological Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2015. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
  15. Worldwide Bioclimatic Classification System. "INDONESIA – POLONIA". www.globalbioclimatics.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
  16. "Total Hours of Sunshine – Medan – Climate Robot Indonesia". www.weatheronline.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  17. Indikator Statistik Esensial Provinsi Sumatera Utara 2009, Badan Pusat Statistik Sumatera Utara, January 2009
  18. "Medan Menjalin Hubungan Kota Kembar Keempat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2007. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  19. "City will host Indonesian sister city signing ceremony Thursday" (online magazine, press release). onMilwaukee.com. 28 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2014. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เมดัน
  • คู่มือการท่องเที่ยว เมดัน จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  • Official Government website (ในภาษาอินโดนีเซีย)
  • Medanesia – Medan Forum (ในภาษาอินโดนีเซีย)