ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้

พิกัด: 0°52′S 131°15′E / 0.867°S 131.250°E / -0.867; 131.250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้

Provinsi Papua Barat Daya (อินโดนีเซีย)
จากบนลงล่าง, จากซ้ายไปขวา:
พืดหินปะการังที่หมู่เกาะราจาอัมปัต, เมืองโซรง, หุบเขาเกอบาร์, เกาะวายัก ถ่ายจากเขาปินดีโต
ธงของจังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้
ธง
ตราราชการของจังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้
ตราอาร์ม
ที่ตั้งจังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้ในประเทศอินโดนีเซีย
ที่ตั้งจังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้ในประเทศอินโดนีเซีย
พิกัด (โซรง): 0°52′S 131°15′E / 0.867°S 131.250°E / -0.867; 131.250
ประเทศ อินโดนีเซีย
ก่อตั้งพ.ศ. 2565
เมืองหลักโซรง
การปกครอง
 • รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการมูฮัมมัด มูซาอัด
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด39,167 ตร.กม. (15,122 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ประมาณการกลาง พ.ศ. 2564)[2]
 • ทั้งหมด603,054 คน
 • ความหนาแน่น15 คน/ตร.กม. (40 คน/ตร.ไมล์)
ประชากรศาสตร์
 • ศาสนา[1]คริสต์ 61.65%
- โปรเตสแตนต์ 54,05%
- คาทอลิก 7.16%
อิสลาม 38.14%
ฮินดู 0.1%
พุทธ 0.1%
 • ภาษาอินโดนีเซีย (ทางการ)
โกโกดา, ซูวาโบ, มลายูปาปัว, เมยะฮ์, ไวเกอโอ, อาบุน, อายามารู, อึมปูร์, Ma'ya, Moi, Samate, Tehit
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลาอินโดนีเซียตะวันออก)
รหัส ISO 3166ID-PB
เว็บไซต์papuabaratdayaprov.go.id

ปาปัวตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ปาปูวาบารัตดายา (อินโดนีเซีย: Papua Barat Daya) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียและเป็นส่วนหนึ่งของนิวกินีตะวันตก[3] แม้จะได้รับการตั้งชื่อว่า "ตะวันตกเฉียงใต้" แต่ก็เป็นชื่อเรียกที่ผิด เนื่องจากในความเป็นจริงนั้น จังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ปลายด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะนิวกินี พื้นที่ที่ขึ้นกับจังหวัดนี้ได้แก่พื้นที่โซรงใหญ่ (Sorong Raya) ซึ่งประกอบด้วยนครโซรง อำเภอโซรง อำเภอโซรงใต้ อำเภอไมบรัต อำเภอตัมเบราว์ และอำเภอราจาอัมปัต[4][5][6] ร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งจังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[7] และกระทรวงมหาดไทยอินโดนีเซียทำพิธีเปิดจังหวัดอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน[8]

จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่ปลายด้านตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรโดเบอไรหรือคาบสมุทรหัวนก ปลายด้านตะวันตกสุดของจังหวัดเป็นที่ตั้งของพื้นที่คุ้มครองทางทะเลระดับภูมิภาคอำเภอราจาอัมปัตซึ่งเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกในด้านความสวยงามและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลตั้งแต่พืดหินปะการัง เต่ายักษ์ ปลากระเบนราหู ไปจนถึงปลาฉลามวาฬ หมู่เกาะราจาอัมปัตประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ อย่างเกาะบาตันตา เกาะมีโซอล เกาะซาลาวาตี และเกาะไวเกอโอเป็นต้น[9][10] ในจังหวัดนี้ยังมีระบบนิเวศอื่นอีกมาก เช่น ป่าฝนเขตร้อนและภูเขาที่ยังคงสภาพดั้งเดิม เป็นต้น อำเภอตัมเบราว์ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่รู้จักกันดีสำหรับการดูนกได้ประกาศให้ท้องที่ของตนเป็นเขตอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ[11][12] เมืองหลักของปาปัวตะวันตกเฉียงใต้คือโซรงซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้ผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ และเป็นศูนย์รวมการเดินทางเข้าสู่นิวกินีตะวันตกด้วยท่าเรือและท่าอากาศยานที่ครบครัน ทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดเมืองหนึ่งในนิวกินีตะวันตก[13]

หน่วยการบริหาร

[แก้]

พื้นที่จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้แบ่งออกเป็น 5 อำเภอ (kabupaten) และ 1 นคร (kota)

อำเภอ
นคร

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Visualisasi Data Kependudukan – Kementerian Dalam Negeri 2022" (visual). www.dukcapil.kemendagri.go.id. สืบค้นเมื่อ 31 July 2022.
  2. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2022.
  3. "DPR Sahkan RUU Pembentukan Papua Barat Daya". kompas.id (ภาษาอินโดนีเซีย). 17 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-17.
  4. Ruhmana, Uma (1 September 2022). "Tim Percepatan Pemekaran Tegaskan Cakupan Wilayah dan Letak Ibukota Calon Provinsi Papua Barat Daya". jagaindonesia.com.
  5. "Pemekaran Wilayah Papua & Papua Barat". cnnindonesia.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  6. "Gubernur Papua Barat Dorong Pemekaran Papua Barat Daya". republika.co.id. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  7. Farisa, Fitria Chusna, บ.ก. (17 November 2022). "Sah! Indonesia Kini Punya 38 Provinsi, Ini Daftarnya". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Kompas Cyber Media. สืบค้นเมื่อ 2022-11-17.
  8. Cabinet Secretariat of the Republic of Indonesia, บ.ก. (9 December 2022). "Home Minister Inaugurates New Province in Papua". KOMPAS.com (ภาษาอังกฤษ). Jakarta: Cabinet Secretariat of the Republic of Indonesia. สืบค้นเมื่อ 2023-02-19.
  9. "Kawasan Konservasi Perairan di Raja Ampat". kkprajaampat.com. BLUD UPTD Pengelolaan Kawasan Konservasi Perairan di Raja Ampat. สืบค้นเมื่อ 2022-11-17.
  10. Majid, Abdul (1 May 2021). "Raja Ampat, Surga Penyelam dari Timur Indonesia". detik.com. สืบค้นเมื่อ 2022-11-17.
  11. "Kaya Akan Keindahan Alam, Tambrauw Perlu Kedepankan Konservasi". Kementerian Pariwisata dan Ekonomi Kreatif. 23 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-17. สืบค้นเมื่อ 2023-02-19.
  12. Nugroho, Hari; Awal, Riyanto; Wantoro, Sigit; Yessi, Santika; Irham, Muhammad (2020). Ekspedisi Tambrauw: Sepotong Surga di Tanah Papua. LIPI Press. ISBN 978-602-496-059-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-17. สืบค้นเมื่อ 2023-02-19.
  13. Nauly, Yacob (27 February 2021). "Usia 21 Tahun, Kota Sorong Termaju Di Tanah Papua". suarakarya.id.