ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน
เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน
เกิดพ.ศ. 2423
ถึงแก่กรรม1 มีนาคม พ.ศ. 2501 (78 ปี)
ชายาเจ้าบุญโสม ณ น่าน
พระบุตร7 คน
ราชสกุลณ น่าน
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
เจ้าบิดาเจ้ามหาพรหมสุรธาดา
เจ้ามารดาเจ้าศรีโสภา

รองอำมาตย์ตรี เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตรนครน่าน มีนามเดิมว่า เจ้าหมอกฟ้า ณ น่าน เป็นราชโอรสองค์ที่ 8 ในเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 (องค์สุดท้าย)กับ แม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา (ชายาที่ 1)

ประวัติ[แก้]

เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตร เมืองนครน่าน มีนามเดิมว่า เจ้าหมอกฟ้า ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 9 เหนือ พ.ศ. 2423 ณ บ้านหัวข่วง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นราชโอรสในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ประสูติแต่แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมเจ้ามารดา 7 องค์ ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 15 ปี เจ้าบิดาได้มอบให้เป็นศิษย์แห่งพระภิกษุอินต๊ะสอน เจ้าอาวาสวัดหัวเวียงใต้ เพื่อให้ศึกษาข้อปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดหัวเวียงใต้ ถึงปี พ.ศ. 2440 จึงได้ลาสิกขาบทเพื่อออกช่วยราชการฉลองเจ้าบิดา ต่อมาเมื่ออายุได้ 25 ปี จึงได้วิวาหมงคลเสกสมรสกับเจ้าบุญโสม ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าบุญทะวงศ์ และเจ้าบุญนำ เมืองไชย

โอรส/ธิดา[แก้]

เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตร เมืองนครน่าน มีโอรสธิดากับเจ้าบุญโสม รวม 7 ท่าน เป็นโอรส 2 ท่าน ธิดา 5 ท่าน มีรายนาม ดังนี้

  1. เจ้าบัวมัน ณ น่าน
  2. เจ้าจุมปี ณ น่าน
  3. เจ้าโคมทอง ณ น่าน เสกสมรสกับเจ้าประดิษฐ์ ณ น่าน (โอรส เจ้าน้อยพรมกับเจ้าดาวเรือง ณ.น่าน) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองน่าน มีธิดา 2 ท่าน ดังนี้
    1. เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน ผู้ดูแลคุ้มเจ้าราชบุตร
    2. เจ้าวาสนา ณ น่าน[1]

ถึงแก่อสัญกรรม[แก้]

เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตร เมืองนครน่าน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501 สิริรวมอายุได้ 78 ปี

พระยศ[แก้]

 เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตรนครเมืองน่าน ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ ต่างๆ ดังนี้

  • 22 มีนาคม พ.ศ. 2456 - รองอำมาตย์โท [2]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2458 - เจ้าประพันธพงษ์ เมืองนครน่าน [3]
  • พ.ศ. 2468 - เจ้าราชบุตร เมืองนครน่าน

กรณียกิจ[แก้]

กรณียกิจ ด้านต่างๆ

  • เมื่อเจ้าราชบุตรยังดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดเหตุจราจลขึ้นในเมืองนครแพร่ ทางราชการจัดให้เป็นหัวหน้ากองตรวจรักษาชายเขตแดนเมืองนครน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ได้รับราชการเป็นรองเสนาวังจังหวัดน่าน กระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ถึงปี พ.ศ. 2459 เจ้าราชบุตร ได้เป็นหัวหน้าควบคุมคนหาบคานและสัตว์พาหนะไปรับเงินของรัฐบาลที่คลังจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ มาไว้ที่คลังจังหวัดน่าน
  • เมื่อปี พ.ศ. 2476 อำมาตย์โท เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน) เจ้าราชวงศ์เมืองนครน่าน กับเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตรเมืองนครน่าน พร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลาน และราษฎรชาวเมืองนครน่าน ได้ก่อกู่บรรจุพระอัฐิอุทิศพระกุศลถวายเจ้าผู้ครองนครน่าน 3 พระองค์ ได้แก่ องค์ที่ 1 เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 (พระอัยกา) องค์ที่ 2 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 (พระปิตุลา) องค์ที่ 3 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 (พระบิดา) เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2476 ณ ทิศตะวันออก วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ด้านถวายความจงรักภักดี

ด้านบ้านเมือง

  • เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2474 อำมาตย์โท เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน) เจ้าราชวงศ์นครน่าน กับรองอำมาตย์ตรี เจ้าราชบุตร(น้อยหมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตรนครน่าน ทำหนังสือกราบทูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพายัพว่า เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัยที่ตึกหอคำ เมืองนครน่าน ด้วยป่วยเป็นไข้ประกอบโรคชรา .....มีข้อความสำคัญตอนหนึ่งว่า "ตึกหอคำซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าผู้ครองนครนี้ จะได้มอบให้เป็นที่อยู่ของเจ้าผู้ครองนครซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันข้างหน้าหรือถ้าไม่มีเจ้าผู้ครองนครต่อไป ขอถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
  • เมื่อปี พ.ศ. 2451 ด้วยได้รับใบบอก เค้าสนามหลวงนครน่านว่า เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน โอรส นายพันโท เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน ได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัว 300 บาท สร้างสพานข้ามเหมืองที่ถนนสาย ประตูริม 1 สพาน โดยกว้าง 2 วา 3 ศอก ยาว 4 วา เป็นการแล้วเสร็จได้เปิดให้มหาชนสัญจรไป มาแล้ว แลขอพระราชทานถวายพระราชกุศล
     กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศล สาธารณประโยชน์นี้ด้วยแล้ว

 แจ้งความมา ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ตีนแมวเหิม-งัด“คุ้มเจ้าราชบุตร/หมอกฟ้า ณ น่าน”ฉกงาช้างโบราณกลางดึก[ลิงก์เสีย]
  2. พระราชทานยศ
  3. ตั้งและเลื่อนยศบรรดาศักดิ์ เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๔๕๗ เล่ม ๓๑ หน้า ๒๔๒๐
  4. จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469
  5. "แห่พระสุพรรณบัตรและจุดเทียนชัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  6. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (เรื่อง นายน้อยหมอกบุตรเจ้าอุปราชนครน่าน ได้บริจาคทรัพย์สร้างสะพานข้ามเหมืองที่ถนนสายประตูริม ๑ สะพาน)
  7. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2015-02-22.
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าราชบุตรหมอกฟ้า ณ น่าน
ก่อนหน้า เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) ถัดไป
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา
เจ้าผู้ครองนครน่าน
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครน่าน
(พ.ศ. 2474 — พ.ศ. 2501)
เจ้าโคมทอง ณ น่าน