ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
สายสะพาย ดวงตราและดารา
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเดียว
วันสถาปนาพ.ศ. 2236
ประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก
ผู้สมควรได้รับพระบรมวงศานุวงศ์และประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่มีความสัมพันธไมตรีต่อประเทศเดนมาร์ก
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
ประธานสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก
สถิติการมอบ
รายแรกสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
รายล่าสุดเจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร
หมายเหตุ
แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง (เดนมาร์ก: Elefantordenen) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศเดนมาร์ก ชั้นสูงสุดของประเทศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้สถาปนาขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่สถาปนาเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2236 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก[1] และบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศใน พ.ศ. 2392 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะพระราชทานให้สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์และประมุขรัฐของต่างประเทศเท่านั้น[2]

ประวัติ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชิ้นนี้ เริ่มต้นจาก สมาคมทางศาสนาของเดนมาร์กที่มีชื่อว่า "สมาคมแม่พระแห่งพระเจ้า" ซึ่งมีสมาชิกประมาณห้าสิบคนจากชนชั้นสูงของเดนมาร์ก ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าคริสเตียนที่ 1 ในช่วงศตวรรษที่ 15 ตราของสมาคมเป็นรูปพระแม่มารีย์อุ้มพระบุตรอยู่ภายในพระจันทร์เสี้ยวและล้อมรอบด้วยรัศมีของดวงอาทิตย์ ซึ่งห้อยลงมาจากสายสร้อยที่มีห่วงเป็นรูปช้าง คล้ายกับสายสร้อยของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งตรานี้อาจได้รับแรงบันดาลใจจากตราประจำตำแหน่งของบาทหลวงประจำสมาคมซึ่งเป็นรูปช้างอย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จึงถูกจัดทำขึ้นใหม่ในรูปแบบปัจจุบันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1693 โดยพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 โดยมีเพียงหนึ่งชั้นและมีอัศวินชั้นสูงเพียง 30 คน รวมถึงประมุขแห่งรัฐ (เช่น พระมหากษัตริย์) และพระราชโอรสของพระองค์ ข้อบังคับของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จึงได้รับการแก้ไขในปี ค.ศ. 1958 โดยมีพระราชกฤษฎีกาออกมา เพื่อให้ทั้งชายและหญิงสามารถได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้เช่นเดียวกัน

ส่วนการออกแบบรูปช้างและปราสาทนั้นมีที่มาจาก "เฮาดา" ซึ่งเป็นเกี้ยวหรือคานหามที่ติดตั้งอยู่บนหลังช้าง เกี้ยวชนิดนี้ใช้กันมากในอนุทวีปอินเดีย ชาวเดนมาร์กจึงนำเอาการออกแบบนี้มาใช้ในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา เนื่องจากพวกเขาเคยปกครองบางส่วนของอินเดียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเล็ก ๆ ของพวกเขา แต่เมื่อเวลาผ่านไป เฮาดาหรือคานหามอินเดีย อาจไม่คุ้นเคยสำหรับคนเดนมาร์กจึงได้ถูกแทนที่ด้วยปราสาทของยุโรปที่ชาวเดนมาร์กคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ยังคงมีควานช้างชาวอินเดียอยู่บนตราจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
  • สายสร้อย : ทำด้วยทองคำ ประกอบด้วยรูปช้างและหอคอยสลับกันไปมา ผ้าคลุมบนตัวช้างมีตัวอักษร "D" ซึ่งย่อมาจาก "Dania" อันเป็นภาษาละตินจากยุคกลางที่หมายถึง เดนมาร์ก โดยมักจะสวมในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือพิธีการสำคัญของประเทศอย่างพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
    สายสร้อยประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
  • ดวงตรา : เป็นรูปช้างที่ทำด้วยทองคำขาว ตัวเรือนสีฟ้า มีความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ด้านหลังรูปช้างซ้อนด้วยรูปหอนาฬิกาที่ทำด้วยอิฐเคลือบสีชมพู ล้อมรอบด้วยเพชรขนาดเล็กที่ผ่านการเจียระไน และมีรูปควาญช้างสวมชุดหลากสีนั่งอยู่บนหลังช้างและถือไม้เท้าทองคำ โดยดวงตราจะห้อยกับสายสร้อยหรือสายสะพาย[3]
    ดวงตราประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
  • ดารา : มีลักษณะเป็นดาวสีเงินแปดแฉก ตรงกลางเป็นพื้นสีแดง ประดับด้วยไม้กางเขนสีขาว โดยประดับอยู่ที่หน้าอกด้านซ้าย
  • สายสะพาย : เป็นผ้าไหมมัวร์สีฟ้าอ่อน สำหรับบุรุษกว้าง 10 เซนติเมตร สหรับสตรีกว้าง 6 เซนติเมตร ใช้สะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

องค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา

[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กพระองค์ปัจจุบัน เป็นองค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา

อนึ่ง สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 ทรงเป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1972 ในฐานะพระบรมวงศานุวงศ์ในพระมหากษัตริย์

สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก ประธานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา

สมาชิกปัจจุบันแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา เรียงตามวันที่ได้รับการถวาย/พระราชทาน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rosenborg Slot – Objects[ลิงก์เสีย]
  2. "The Royal Orders of Chivalry". The Danish Monarchy. 14 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
  3. In an article entitled "Has anyone seen our elephant?" The 1 July 2004 issue of the Copenhagen Post reported that the original mold for the elephant badge had been stolen from the court jeweler, Georg Jensen.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 4.28 4.29 4.30 4.31 4.32 4.33 4.34 4.35 4.36 4.37 4.38 4.39 4.40 4.41 4.42 4.43 4.44 4.45 4.46 4.47 4.48 4.49 Official List of Knights of the Order of the Elephant เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษาเดนมาร์ก) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "borger" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  5. Kongehuset