สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีนูร์ อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: الحسين نور; เดิม: ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี (อังกฤษ: Lisa Najeeb Halaby; พระราชสมภพ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นพระมเหสีหม้ายในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ทรงเป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สี่และพระบรมราชินีในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2521 จนถึงปีพ.ศ. 2542
สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีนูร์ในปีพ.ศ. 2553 | |||||
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน | |||||
ดำรงพระยศ | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (20 ปี 237 วัน) | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีอาลียา | ||||
ถัดไป | สมเด็จพระราชินีรานยา | ||||
พระราชสมภพ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 กรุงวอชิงตัน ดี.ซี., ประเทศสหรัฐอเมริกา ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี | ||||
พระราชสวามี | สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน | ||||
พระราชบุตร | เจ้าชายฮัมซา เจ้าชายฮาชิม เจ้าหญิงอิมาน เจ้าหญิงไรยา | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส) | ||||
พระราชบิดา | นายนาจีบ ฮัลลาบี | ||||
พระราชมารดา | นางดอริส คาร์ลควิสต์ | ||||
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
พระราชวงศ์จอร์แดน |
---|
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน
|
สมเด็จพระราชินีนูร์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยการริเริ่มประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน การศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน[1] ทรงเป็นองค์ประธานในขบวนการสหวิทยาลัยโลก ทั้งยังทรงเป็นผู้นำที่ร่วมก่อตั้งองค์กร Global Zero ที่เรียกร้องการขจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดไปจากโลก ทรงเป็นกรรมการสถาบันแอสเพนและผู้อพยพสากล[1] รวมไปถึงมูลนิธินูร์อัลฮุซัยน์ ที่ทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของสตรีจอร์แดน[2]
พระราชประวัติ
[แก้]พระชนพ์ชีพช่วงต้นและพื้นฐานครอบครัว
[แก้]สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวชาวซีเรีย อเมริกัน มีพระนามเดิมว่า ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี[3] เป็นธิดาของนายนาจีบ ฮัลลาบีกับนางดอริส คาร์ลควิสต์ ภรรยาชาวอเมริกันสวีเดน แต่ตัวพระองค์เองทรงเชื่อว่ามีเชื้อสาย อังกฤษ-สกอตแลนด์หรือ ไอริช พระชนกของพระองค์เป็นนักบินทดสอบของกองทัพเรือสหรัฐ ผู้บริหารสายการบินและข้าราชการ เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในการบริหารทรูแมน ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอหน์ เอฟ. เคนเนดี้ ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารการบินแห่งชาติ นอกจากนี้ นายนาจีบ ฮัลลาบียังมีอาชีพภาคเอกชนโดยทำหน้าที่เป็นผู้บริหารของสายการบินแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 จนถึงปีพ.ศ. 2515
ครอบครัวฮัลลาบีมีบุตร – ธิดาทั้งหมดสามคน ได้แก่
ลิซ่า บุตรสาวคนโต (ต่อมาคือสมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน)
คริสเตียน บุตรชายคนกลาง
อเล็กซ์ซ่า บุตรสาวคนเล็ก
พระชนกและพระชนนีได้หย่าร้างกันในปีพ.ศ. 2520[4]
นายนาจีบ อีเลียส ฮัลลาบี พระอัยกาของสมเด็จพระราชินีนูร์ เป็นผู้อพยพชาวเลบานอน ซีเรียที่อพยพมาจากประเทศเลบานอน[5][6] เขาเป็นนายหน้าซื้อขายปิโตรเลียมตามบันทึกการสำรวจสำมะโนประชากรปีพ.ศ. 2463[7]
พ่อค้านามว่า สแตนเลย์ มาร์คัส จำได้ว่าในช่วงกลางทศวรรษปีพ.ศ. 2463 นายฮัลลาบีได้เปิดร้านชื่อว่าฮัลลาบีแกลเลอรี่ ร้านขายพรมและของตกแต่งภายในที่ Neiman Marcus ในแดลลัส เท็กซัส และได้ดำเนินกิจการร่วมกันกับลอร่า วิลกินส์ ภรรยาชาวเท็กซัสของเขา
นายนาจีบ อีเลียส ฮัลลาบีเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นานและที่ดินของเขาไม่สามารถดำเนินธุรกิจใหม่ได้[8]
การศึกษา
[แก้]พระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนในนิวยอร์กและแคลิฟอร์เนีย ก่อนทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาวิหารแห่งชาติจากเกรดสี่ถึงเกรดแปด ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียน Chapin ในนครนิวยอร์กเป็นเวลาสองปี[9] จากนั้นทรงสำเร็จการศึกษาจาก คองคอร์ด อะคาเดมี่ โรงเรียนมัธยมในคองคอร์ด แมสซาชูเซตส์ ต่อมาทรงเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันด้วยชั้นปีแรกในสหศึกษาและได้รับปริญญาตรีด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองในปีพ.ศ. 2517[10]
การทำงาน
[แก้]หลังจากที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน พระองค์ได้ทรงย้ายไปที่ออสเตรเลียและทรงทำงานให้กับบริษัทที่เชี่ยวชาญในการวางแผนผังเมืองใหม่ด้วยความสนใจเป็นอย่างมากในตะวันออกกลาง หลังจากผ่านไปหนึ่งปี ในปีพ.ศ. 2518 พระองค์ทรงยอมรับข้อเสนองานจาก เวลีน เดวีส์ บริษัทสถาปัตยกรรมและการวางแผนของอังกฤษ ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบแบบจำลองเมืองหลวงในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เมื่อมีการเพิ่มความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้บริษัทต้องย้ายถิ่นฐานไปยังสหราชอาณาจักร พระองค์จึงทรงเดินทางไปยังโลกอาหรับและตัดสินใจสมัครเรียนวารสารศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในขณะที่ทรงทำงานวิจัยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบินชั่วคราวในอัมมาน พระองค์ได้ทรงออกจากอาหรับแอร์ และทรงรับงานกับอาลียาแอร์ไลน์ เพื่อเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก[11]
สมเด็จพระราชินี
[แก้]อภิเษกสมรส
[แก้]พระองค์ทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ในขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดียังทรงโทมนัสต่อการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีอาลียา พระอัครมเหสีของพระองค์จากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งตก เมื่อปีพ.ศ. 2520 มิตรภาพระหว่างพระองค์และพระราชสวามีได้เริ่มพัฒนามากยิ่งขึ้นและทรงหมั้นในปีพ.ศ. 2521[11]
ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ กรุงอัมมาน และทรงได้รับการสถาปนาให้ขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน[12]
พระองค์ได้เข้ารีตศาสนาอิสลามตามพระราชสวามีก่อนอภิเษกสมรส ทรงเปลี่ยนพระนามจากเดิม ลิซ่า ฮัลลาบี เป็นพระนาม นูร์ อัลฮุซัยน์ (แสงสว่างของฮุซัยน์) พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเป็นพระราชพิธีแบบดั้งเดิมของชาวมุสลิม การเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและการอภิเษกสมรสกับกษัตริย์แห่งจอร์แดนของพระองค์ได้รับการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางในสื่อตะวันตก หลายคนคิดว่าพระองค์จะทรงถูกมองว่าเป็นคนแปลกหน้าในประเทศเพราะพระองค์ทรงเป็นคนอเมริกันเชื้อสายยุโรปส่วนใหญ่ที่ถูกเลี้ยงดูในศาสนาคริสต์ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยพระอัยกาเชื้อสายซีเรียของพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงได้รับการพิจารณาจากประชากรส่วนใหญ่ว่าเป็นชาวอาหรับที่ได้เดินทางกลับบ้านมากกว่าชาวต่างชาติ ในไม่นานพระองค์ทรงมีอำนาจและอิทธิพลจากการใช้บทบาทของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ และการศึกษาของพระองค์ในการวางผังเมืองสำหรับการปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางการกุศลและการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศเช่นเดียวกับการเสริมสร้างศักยภาพของสตรีในชีวิตทางเศรษฐกิจของจอร์แดน[13]
พระราชสันตติวงศ์
[แก้]สมเด็จพระราชินีนูร์และสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน มีพระราชบุตรและพระราชธิดาสี่พระองค์
เจ้าชายฮัมซา (ประสูติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2523 ณ กรุงอัมมาน) ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2547 มีพระธิดาห้าพระองค์และพระโอรสหนึ่งพระองค์
เจ้าชายฮาชิม (ประสูติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ณ กรุงอัมมาน) มีพระธิดาสามพระองค์และพระโอรสสองพระองค์
เจ้าหญิงอิมาน (ประสูติเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2526 ณ กรุงอัมมาน) มีพระโอรสหนึ่งพระองค์
เจ้าหญิงไรยา (ประสูติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ณ กรุงอัมมาน)
สมเด็จพระราชินีนูร์ ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน
[แก้]หลังการสวรรคตของพระราชสวามี
[แก้]สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ด้วยพระโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง พระราชโอรสพระองค์แรกของพระองค์กับเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ อดีตพระราชชายา เจ้าชายอับดุลลอฮ์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดนเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน และได้ทรงสถาปนาเจ้าชายฮัมซาขึ้นเป็นพระรัชทายาท ทว่าในปีพ.ศ. 2547 เจ้าชายฮัมซาทรงถูกถอดพระราชอิสริยยศโดยมิได้ทรงคาดคิด[14][15][16] เนื่องด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 มีพระราชประสงค์ที่จะทรงสถาปนาเจ้าชายฮุซัยน์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระองค์ขึ้นแทน ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[15]
ช่วงปลายพระชนม์ชีพ
[แก้]สมเด็จพระราชินีนูร์มิเพียงประทับในประเทศจอร์แดนเพียงเท่านั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับพัก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และสหราชอาณาจักร ตามแต่พระราชประสงค์ พระองค์ยังคงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในนามขององค์กรระหว่างประเทศ[17] ทรงรับสั่งได้ทั้งภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ สมเด็จพระราชินียังทรงโปรดการเล่นสกี สกีน้ำ เทนนิส การทรงเรือใบ การทรงม้า การทรงพระอักษร การทำสวนและการฉายพระรูป[18]
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]• ลิซ่า นาจีบ ฮัลลาบี (23 สิงหาคม พ.ศ. 2494 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2521)
• เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (15 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)
• เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีนูร์ ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน
[แก้]- จอร์แดน: Knight Grand Cordon with Collar of the Order of al-Hussein bin Ali[19][20][21][22]
- จอร์แดน: Knight of the Order of Military Glory[23][24]
- จอร์แดน: Knight Grand Cordon of the Supreme Order of the Renaissance, Special Class[21][23]
- จอร์แดน: Knight Grand Cordon of the Order of the Star of Jordan[23]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ออสเตรีย: Grand Star of the Order of Honour for Services to the Republic of Austria[21][25]
- บรูไน: Dame Grand Cross of the Order of the Royal Family of Brunei, Special Class[21]
- เดนมาร์ก: Knight of the Order of the Elephant[21][26]
- อียิปต์: Grand Cross of the Order of the Virtues, Special Class[21]
- ฝรั่งเศส: Grand Cross of the Order of the Legion of Honour[23]
- อิตาลี: Grand Cross of the Order of Merit of the Italian Republic[21][23][27]
- ลักเซมเบิร์ก: Dame Grand Cross of the Order of the Gold Lion of the House of Nassau
- สเปน: Dame Grand Cross of the Order of Charles III[28]
- สเปน: Dame Grand Cross of the Order of Isabella the Catholic[29][30]
- สวีเดน: Member of the Royal Order of the Seraphim[21]
- สหราชอาณาจักร: Dame Grand Cross of the Order of Saint John[21][23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ราชินีนูร์แห่งจอร์แดน
- ↑ รายการจอโลก BIOGRAPHY เสนอเรื่องราวของพระราชินีแห่งจอร์แดนพระราชินีนูร์ (QUEEN NOOR)
- ↑ https://www.biography.com/royalty/queen-noor-of-jordan
- ↑ Schudel, Matt (30 December 2015). "Doris C. Halaby, mother of Queen Noor of Jordan, dies at 97". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- ↑ Halaby, Najeeb E. (1978). "Crosswinds: an airman's memoir". Doubleday. p. 3.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Najeeb E. Halaby, Former Airline Executive, Dies at 87". NYTimes.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Stout, David (3 July 2003). "Najeeb E. Halaby, Former Airline Executive, Dies at 87". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.
- ↑ Stanley Marcus. Minding the Store: A Memoir, 1974, pg. 39.
- ↑ "Portrait of a Princess to Be: Lisa Halaby's Friends Tell of Her Life Before Hussein". People.com. 5 June 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-14. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ Lucia Raatma, Queen Noor: American-Born Queen of Jordan, 2006.
- ↑ 11.0 11.1 "Queen Noor of Jordan Biography". biography.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2011. สืบค้นเมื่อ 20 January 2010.
- ↑ S.wren, Christopher. "Hussein Marries American And Proclaims Her Queen" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-06-14.
- ↑ "Middle East | Battle of the wives". BBC News. 9 February 1999. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Jordan crown prince loses title". BBC News. 29 November 2004. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.
- ↑ 15.0 15.1 reuters.com: "Jordan's king names son, 15, as crown prince" เก็บถาวร 2016-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 3 July 2009
- ↑ "Analyzing King Abdullah's Change in the Line of Succession - The Washington Institute for Near East Policy". Washingtoninstitute.org. 29 November 2004. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Arab News". Arab News. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Her Majesty Queen Noor of Jordan". Kinghussein.gov.jo. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Photographic image" (JPG). S-media-cache-ak0.pinimg.com. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Photographic image" (JPG). 66.media.tumblr.com. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 21.7 21.8 "Jordan3". Royalark.net. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Photographic image". Kinghusseinfoundation.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 "Here she wears the medal of the order". Coloreddiamond.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-02. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Photographic image". Theroyalforums.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ "Reply to a parliamentary question about the Decoration of Honour" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). p. 520. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
- ↑ "Photographic image". Media.gettyimages.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ Italian Presidency Website, S.M. Noor Regina di Giordania เก็บถาวร 28 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 May 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 November 2013. สืบค้นเมื่อ 9 June 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Photographic image" (JPG). S-media-cache-ak0.pinimg.com. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- King Hussein Foundation website
- Noor Al Hussein Foundation website
- Global Zero Campaign
- Transcript of a speech given at The Kennedy Center For The Performing Arts in 1996 เก็บถาวร 2021-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 2002 commencement speech - Mount Holyoke College เก็บถาวร 2011-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.nndb.com/people/138/000025063/
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อาลียา บาฮาอัดดีน โทคัน | สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (ค.ศ. 1978 - 1999) |
รานยา อัลยัสซิน | ||
เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์แห่งเวลส์ | ประธานสหวิทยาลัยโลก (ค.ศ. 1995 - ปัจจุบัน) |
ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน |
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของสมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชวงศ์ฮัชไมต์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ
- ชาวอเมริกันเชื้อสายสกอตแลนด์
- ราชินีแห่งจอร์แดน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายสวีเดน
- บุคคลจากศาสนาคริสต์ที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม
- ชาวอเมริกันเชื้อสายซีเรีย
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเลบานอน
- ชาวจอร์แดนเชื้อสายอังกฤษ
- ชาวจอร์แดนเชื้อสายสกอตแลนด์
- ชาวจอร์แดนเชื้อสายสวีเดน
- ชาวจอร์แดนเชื้อสายซีเรีย
- ชาวจอร์แดนเชื้อสายเลบานอน
- ชาวจอร์แดนเชื้อสายอเมริกัน
- สมเด็จพระราชินี
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์