ข้ามไปเนื้อหา

เดอะ เมสเซจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะ เมสเซจ
กำกับมุสตาฟา อักกาด
เขียนบท
  • เอช. เอ. แอล. เคร็ก
  • เอ.บี. เญาดัต อัล-ซาฮ์ดาร์
  • เตาฟิก อัล-ฮากิม
  • เอ.บี. เราะฮ์มาน อัล-ชากาวี
  • โมฮัมหมัด อะลี มาเฮอร์
บทภาพยนตร์เอช. เอ. แอล. เคร็ก
สร้างจากมูฮัมมัด
อำนวยการสร้าง
  • มุสตาฟา อักกาด
  • แฮโรลด์ บัค
  • โมฮัมเหม็ด ซานูซี
นักแสดงนำ
ผู้บรรยายริชาร์ด จอห์นสัน
กำกับภาพ
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบมอริส ฌาร์
บริษัทผู้สร้าง
Filmco International Productions Inc.
ผู้จัดจำหน่ายTarik Film Distributors
วันฉาย
  • 30 ตุลาคม ค.ศ. 1976 (1976-10-30) (London)
  • 9 มีนาคม ค.ศ. 1977 (1977-03-09) (New York)
ความยาว
  • อังกฤษ:
  • 178 นาที
  • อาหรับ:
  • 207 นาที[1]
ประเทศ
  • เลบานอน
  • อียิปต์
  • ลิเบีย
  • คูเวท
  • โมร็อคโค
  • สหราชอาณาจักร
ภาษา
  • อาหรับ
  • อังกฤษ
ทุนสร้าง$10 ล้าน
ทำเงิน$15 ล้าน

เดอะ เมสเซจ (อังกฤษ: The Message อาหรับ: الرسالة Ar-Risālah; รู้จักกันในชื่อ มูฮัมมัด ศาสดาแห่งอิสลาม) เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสดามุฮัมมัด กำกับโดยมุสตาฟา อักกาด โดยเผยแพร่รุ่นภาษาอาหรับในปี 1976 และรุ่นภาษาอังกฤษในปี 1977

ภาพยนตร์เรื่องนั้ถูกคัดเลือกรางวัลออสการ์ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ของงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 50 กำกับโดยมอริส ฌาร์ แต่เสียรางวัลให้กับสตาร์ วอร์ส (กำกับโดย จอห์น วิลเลียมส์)

บทแสดง

[แก้]
ฉบับภาษาอังกฤษ
ฉบับภาษาอาหรับ

การพรรณนาถึงมูฮัมมัด

[แก้]

เนื่องจากมีความเชื่อของมุสลิมที่มีต่อการพรรณนาถึงมูฮัมมัด จึงไม่แสดงใบหน้าและเสียงของท่าน เนื่องจากเป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงมีคำแนะนำก่อนที่จะฉายภาพยนตร์ว่า:

ผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เกียรติประเพณีของชาวมุสลิมซึ่งถือว่าการเปิดเผยตัวตนของท่านศาสดาเป็นสิ่งที่ต้องห้ามทั้งทางจิตวิญญาณและข้อความของท่าน ดังนั้น ภาพของมุฮัมมัดจึงไม่ถูกแสดง (หรือได้ยิน)

กฎนี้ได้รวมถึงภรรยาของมูฮัมมัด, ฟาฏิมะฮ์, ลูกเขย, และเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (อะบูบักร์, อุมัร, อุสมาน และอะลี).จึงทำให้เหลือแค่ฮัมซะฮ์ (แอนโทนี ควินน์) ลุงของมูฮัมหมัด และซัยด์ (เดเมียน โทมัส) ลูกบุตรบุญธรรมของท่านเป็นตัวประกอบ ในระหว่างสงครามบะดัร และสงครามอุฮุด ฮัมซะฮ์เป็นคนคุมกองทัพ ถึงแม้ว่าผู้คุมจริงนั้นคือมูฮัมมัดก็ตาม

เมื่อไรก็ตามที่ถึงบทของมูฮัมมัด จะมีการเล่นออร์แกนให้มีเสียงเบา ในขณะที่คำพูดของท่าน จะมีคนอื่นมาพูดแทนเช่น ฮัมซะฮ์ ซัยด์ หรือบิลาล และในขณะที่ในภาพยนตร์ได้เรียกท่านนั้น จะมีการเคลื่อนกล้องไปตามทางเหมือนกับว่ากล้องนั้นคือมูฮัมมัด

สิ่งที่พรรณนาถึงมูฮัมมัด หรือครอบครัวของท่านได้มากที่สุดคือ ซุลฟิการ์ ดาบสองแฉกของอะลีในฉากต่อสู้, ไม้เท้าในฉากที่กะอ์บะฮ์ และมะดีนะฮ์ และก็อสวะฮ์อูฐของมูฮัมหมัด

การตอบรับ

[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม ปี1976 ห้าวันหลังจากมีการฉายภาพยนตร์ในเวสต์เอนด์ออฟลอนดอน มีการโทรไปยังอักกาดให้เปลี่ยนชื่อจาก โมฮัมเหม็ด เมสเซนเจอร์ออฟก้อด ให้เป็น เดอะ เมสเซจ ภายใต้วงเงิน £50,000 ปอนด์[2]

ดิลีส์ โพเวลล์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์จากซันเดย์ทาม ได้บอกว่า "ดูเหมือนภาพยนตร์แบบตะวันตก … ตรงข้ามกับความคิดของชาวคริสต์ยุคแรก"[3]

มูนา วัซเซฟได้รับรางวัลในการเล่นบทเป็นฮินด์ในรุ่นภาษาอาหรับ[4]

รางวัล

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในปี 1977 สาขาดนตรียอดเยี่ยม[5]

ดนตรี

[แก้]

เสียงดนตรีประกอบเรื่อง เดอะ เมสเซจ กำกับโดยมอริส ฌาร์ และเล่นดนตรีโดยลอนดอนซิมโฟนีออร์เคสตรา

แทร็คในช่วงที่เผยแพร่ครั้งแรก

ฝั่งที่หนึ่ง

  1. The Message (03:01)
  2. Hegira (04:24)
  3. Building the First Mosque (02:51)
  4. The Sura (03:34)
  5. Presence of Mohammad (02:13)
  6. Entry to Mecca (03:15)

ฝั่งที่สอง

  1. The Declaration (02:38)
  2. The First Martyrs (02:27)
  3. Fight (04:12)
  4. Spread of Islam (03:16)
  5. Broken Idols (04:00)
  6. The Faith of Islam (02:37)
แทร์คในช่วงที่เผยแพร่บนซีดี
  1. The Message (03:09)
  2. Hegira (04:39)
  3. Building the First Mosque (02:33)
  4. The Sura (03:32)
  5. Presence of Mohammad (02:11)
  6. Entry to Mecca (03:14)
  7. The Declaration (02:39)
  8. The First Martyrs (02:26)
  9. Fight (04:11)
  10. The Spread of Islam (03:35)
  11. Broken Idols (03:40)
  12. The Faith of Islam (02:33)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "THE MESSAGE [ARABIC VERSION] (A)". British Board of Film Classification. 20 August 1976. สืบค้นเมื่อ 28 January 2016.
  2. "Muhammad film title changed after threats." The Times (London, 27 July 1976), 4.
  3. Dilys Powell, "In pursuit of the Prophet", Sunday Times (London, 1 August 1976), p. 29.
  4. Samir Twair and Pat Twair, "Syrian stars receive first Al-Ataa awards", The Middle East (1 December 1999).
  5. "1977 Oscars - 50th Annual Academy Awards Oscar Winners and Nominees". Popculturemadness.com. 1978-04-03. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.

เว็บที่เชื่อมโยง

[แก้]