อำเภอนางรอง
อำเภอนางรอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nang Rong |
โรงพยาบาลนางรอง | |
คำขวัญ: เมืองโบราณนานเนา มะพร้าวเผาน้ำตาลหวาน ศาลหลักเมืองศักดิ์สิทธิ์ เศรษฐกิจก้าวหน้า ขาหมูรสดี มีภาษานางรอง | |
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอนางรอง | |
พิกัด: 14°37′42″N 102°47′36″E / 14.62833°N 102.79333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 769.8 ตร.กม. (297.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 113,743 คน |
• ความหนาแน่น | 147.76 คน/ตร.กม. (382.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 31110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3104 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอนางรอง ถนนสืบสหการ ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
นางรอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอำเภอที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจังหวัดรองจาก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ศาลจังหวัด เทศบาลเมือง และเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดบุรีรัมย์ตอนล่าง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอนางรองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชำนิและอำเภอเมืองบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอประโคนชัยและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอละหานทรายและอำเภอปะคำ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโนนสุวรรณและอำเภอหนองกี่
ประวัติศาสตร์
[แก้]สมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนางรองหรือแคว้นพนมโรงเป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ขอมได้ปกครองดินแดงส่วนนี้เป็นเวลานาน ได้พบซากเมืองโบราณที่แสดงว่าขอมมีอำนาจแถบนี้เป็นระยะ ๆ จากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ เทวรูปต่าง ๆ และหม้อน้ำดินเผาโบราณแบบขอม เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงแล้ว มอญก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดชนชาติใหม่ขึ้นคือ ขอม มอญ เป็น เข-มอญ หรือเขมร ซึ่งก็คือขอมนั่นเองแต่มีเชื้อผสมระหว่างมอญกับขอม[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเมื่อมอญเสื่อมอำนาจลง ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ต่อไป การแผ่อาณาเขตของไทยในดินแดนแถบนี้ จะเห็นได้ว่ามาจาก 2 ทางคือ ทางนครราชสีมาและทางหลวงพระบาง แต่ไม่มีหลักฐานว่ามาครั้งใด สันนิษฐานว่าไทยคงจะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ในสมัยกรุงสุโขทัยหรือกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หลักฐานพอจะอ้างอิงได้คือ พระพุทธรูปโบราณที่ขุดพบ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี เมื่อไทยได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนนี้ จึงตั้งศูนย์กลางปกครองที่เมืองนางรอง มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาโดยตลอด สมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนแถบเมืองนางรอง เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็นหัวเมืองชั้นเอก
หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แล้ว คนไทยผู้มีอำนาจต่างก็ตั้งตนเป็นก๊กเป็นเหล่า ปกครองตนเองเพื่อจะกอบกู้เอกราช ครั้งแรกเจ้าเมืองนางรองได้เข้าร่วมกับก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ต่อมาพระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทำการปราบก๊กต่าง ๆ จนสำเร็จ และได้ยกกองทัพมาปราบก๊กเจ้าเมืองพิมายจนได้รับชัยชนะ เจ้าเมืองนางรองเห็นว่าก๊กเจ้าเมืองพิมายพ่ายแพ้แล้ว จึงได้แยกตัวออกไปร่วมกับเจ้าเมืองจำปาศักดิ์
หลังจากพระเจ้าตากสินได้ปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ จนราบคาบแล้ว จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ.2319 เจ้าเมืองนางรองได้คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรีมาปราบ พระยานางรองถูกเจ้าเมืองนครราชสีมาจับตัวได้ และถูกประหารชีวิตที่ต้นโพธิ์ [ต้นโพธิ์ดังกล่าวอยู่หน้าสนามโรงเรียนนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์) ในปัจจุบัน] เมืองนางรองจึงได้ไปขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา
เมื่อพระยานางรองถูกประหารชีวิตแล้ว ทางเมืองหลวงได้ตั้งนายปิ่นและนายมา บุตรพระยานางรองเป็นเจ้าเมืองนางรองปกครองต่อมาจนถึงพระวิเศษสงคราม (กฤษณ์ บุญญกฤษณ์) ลูกหลานของนายปิ่นได้เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมื่อพระวิเศษสงครามสิ้นอายุแล้วพระนางรองภักดี (สุดใจ บุญญกฤษณ์) ซึ่งเป็นบุตรได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาพระนางรองภักดีถูกจับในข้อหาฆ่าพ่อตา (หลวงอุดมพนาเวช ต้นตระกูลอุดมพงษ์) ทางเมืองนครราชสีมาจึงได้แต่งตั้งหลวงยกบัตร (ต้นตระกูลสุรัสวดี) มาเป็นผู้รั้งเมืองแทน ท่านผู้นี้ได้สร้างที่ทำการและที่พักขึ้น ณ ท้องสนามชุมพลบริเวณโรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร) ในปัจจุบัน เป็นอันว่าเมืองนางรองสมัยมีเจ้าเมืองปกครองก็สิ้นสุดลงเพียงนี้
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ จัดระบบการปกครองใหม่เป็น กระทรวง มณฑล ได้รวมเมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองรัตนบุรี เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "บริเวณนางรอง" มีพระนครภักดี (ทองดี) รักษาการแทนเจ้าเมืองนางรอง ต่อมาอาณาเขตของเมืองนางรองเปลี่ยนแปลงไปคือ เมืองรัตนบุรีไปขึ้นกับสุรินทร์ เมืองพิมายไปขึ้นกับนครราชสีมา แล้วจึงตั้งเมืองแป๊ะขึ้นเป็นจังหวัดเรียกว่า "จังหวัดบุรีรัมย์" เมืองนางรองจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์
ความเป็นมาของชื่ออำเภอ
[แก้]เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีประวัติยาวนาน และปรากฏชื่อเมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นชื่ออำเภอจึงสันนิษฐานว่ามีที่มาอย่างไร โดยมีผู้สันนิษฐานไว้ 3 นัย
- อาศัยนามจากพนมรุ้ง ซึ่งเลือนมาจากภาษาเขมรว่า "พนมโรง" แปลว่า เขาชัน หรือเขาร่อง เป็นเมืองใหญ่อยู่ใกล้เขาพนมรุ้ง จึงเรียกเมืองโรง ต่อมาเปลี่ยนเป็นนางรอง
- ได้นามจากวัดโบราณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงเมือง ชื่อวัดร้อง จึงได้ชื่อว่าเมืองร้องแล้วเปลี่ยนมาเป็นนางรอง หรือผู้สร้างวัดเป็นหญิงชื่อโรง เรียนนางโรง แล้วเปลี่ยนมาเป็นนางรอง
- ได้ชื่อมาจากนิทานในโบราณคดี เรื่อง นางอรพิม กล่าวว่า นางอรพิมนั่งร้องไห้จึงได้นามว่านางร้อง แล้วเพี้ยนเป็นนางรอง
สภาพอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของอำเภอนางรอง (พ.ศ. 2534–2563) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 37.8 (100) |
40.4 (104.7) |
41.4 (106.5) |
41.8 (107.2) |
40.7 (105.3) |
39.3 (102.7) |
38.6 (101.5) |
36.8 (98.2) |
37.2 (99) |
37.2 (99) |
36.4 (97.5) |
36.0 (96.8) |
41.8 (107.2) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.5 (88.7) |
33.8 (92.8) |
35.9 (96.6) |
36.5 (97.7) |
35.2 (95.4) |
34.5 (94.1) |
33.7 (92.7) |
33.2 (91.8) |
32.3 (90.1) |
31.2 (88.2) |
30.9 (87.6) |
30.2 (86.4) |
33.24 (91.84) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 24.2 (75.6) |
26.3 (79.3) |
28.7 (83.7) |
29.5 (85.1) |
29.0 (84.2) |
28.7 (83.7) |
28.2 (82.8) |
27.9 (82.2) |
27.3 (81.1) |
26.6 (79.9) |
25.4 (77.7) |
23.8 (74.8) |
27.13 (80.84) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 18.1 (64.6) |
19.9 (67.8) |
22.8 (73) |
24.2 (75.6) |
24.7 (76.5) |
24.8 (76.6) |
24.4 (75.9) |
24.3 (75.7) |
24.0 (75.2) |
23.1 (73.6) |
20.8 (69.4) |
18.4 (65.1) |
22.46 (72.43) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 9.4 (48.9) |
10.7 (51.3) |
11.6 (52.9) |
18.8 (65.8) |
19.8 (67.6) |
21.6 (70.9) |
21.2 (70.2) |
21.1 (70) |
20.0 (68) |
16.3 (61.3) |
12.2 (54) |
7.8 (46) |
7.8 (46) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 4.8 (0.189) |
17.8 (0.701) |
45.2 (1.78) |
87.3 (3.437) |
172.3 (6.783) |
127.4 (5.016) |
154.4 (6.079) |
192.7 (7.587) |
255.2 (10.047) |
135.4 (5.331) |
31.2 (1.228) |
3.8 (0.15) |
1,227.5 (48.327) |
ความชื้นร้อยละ | 69.4 | 66.0 | 66.3 | 70.2 | 77.3 | 77.3 | 78.5 | 80.0 | 84.3 | 82.7 | 76.2 | 71.6 | 75.0 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 0.6 | 1.8 | 3.6 | 6.6 | 11.9 | 11.1 | 12.8 | 13.7 | 15.2 | 9.3 | 2.7 | 0.7 | 90.0 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 279.0 | 245.8 | 275.9 | 240.0 | 195.3 | 153.0 | 158.1 | 117.8 | 144.0 | 198.4 | 255.0 | 260.4 | 2,522.7 |
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[1] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Office of Water Management and Hydrology, Royal Irrigation Department (sun 1981–2010)[2](extremes)[3] |
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอนางรองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 188 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | นางรอง | (Nang Rong) | 14 หมู่บ้าน | 9. | บ้านสิงห์ | (Ban Sing) | 14 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
2. | สะเดา | (Sadao) | 17 หมู่บ้าน | 10. | ลำไทรโยง | (Lam Sai Yong) | 14 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
3. | ชุมแสง | (Chum Saeng) | 14 หมู่บ้าน | 11. | ทรัพย์พระยา | (Sap Phraya) | 13 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
4. | หนองโบสถ์ | (Nong Bot) | 14 หมู่บ้าน | 12. | หนองยายพิมพ์ | (Nong Yai Phim) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
5. | หนองกง | (Nong Kong) | 11 หมู่บ้าน | 13. | หัวถนน | (Hua Thanon) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
6. | ถนนหัก | (Thanon Hak) | 13 หมู่บ้าน | 14. | ทุ่งแสงทอง | (Thung Saeng Thong) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
7. | หนองไทร | (Nong Sai) | 14 หมู่บ้าน | 15. | หนองโสน | (Nong Sano) | 12 หมู่บ้าน | |||||||||||||||
8. | ก้านเหลือง | (Kan Lueang) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอนางรองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองนางรอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนางรองและตำบลถนนหัก
- เทศบาลตำบลทุ่งแสงทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งแสงทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนางรอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางรอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองนางรอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโบสถ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนหัก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองนางรอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลก้านเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก้านเหลืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทรโยงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์พระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรัพย์พระยาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโสนทั้งตำบล
ศูนย์ราชการ
[แก้]- ที่ว่าการอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ ตำบลนางรอง
- สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ ตำบลนางรอง
- เขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 8 อำเภอ
- 1. อำเภอนางรอง
- 2. อำเภอหนองกี่
- 3. อำเภอละหานทราย
- 4. อำเภอโนนดินแดง
- 5. อำเภอชำนิ
- 6. อำเภอโนนสุวรรณ
- 7. อำเภอปะคำ
- 8. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- เขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 8 อำเภอ
- ศาลจังหวัดนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 950 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- เขตอำนาจศาลครอบคลุม 10 อำเภอ
- 1. อำเภอนางรอง
- 2. อำเภอบ้านกรวด
- 3. อำเภอหนองกี่
- 4. อำเภอปะคำ
- 5. อำเภอละหานทราย
- 6. อำเภอหนองหงส์
- 7. อำเภอชำนิ
- 8. อำเภอโนนสุวรรณ
- 9. อำเภอโนนดินแดง
- 10. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- เขตอำนาจศาลครอบคลุม 10 อำเภอ
- สำนักงานอัยการจังหวัดนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 88 หมู่ที่ 12 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- สำนักงานบังคับคดีจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 52 หมู่ 4 ถนนโชคชัย-เดชอุดม
- สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ตั้งอยู่ที่ อาคารพาณิชย์เลขที่ 147/21
ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- สำนักงานเทศบาลเมืองนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 906 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 110 ถนนสืบสหการ
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 33 ซอยมิตรอารีย์ ถนนสังขกาจประชานุสรณ์ ตำบลนางรอง
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอนางรองสาขาย่อย ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ
- สำนักงานกิ่งกาชาดอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนสืบสหการ
- กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 215 ตั้งอยู่ชุมชนวัดสวนป่ารักษ์น้ำ
รัฐวิสาหกิจ
[แก้]- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอนางรอง สาขาที่ 171 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 9 ถนนศรีกัลยา ตำบลนางรอง
- สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 59 ถนนศรีกัลยา ตำบลนางรอง
- สำนักงานขนส่งอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 68 ถนนเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี ตำบลนางรอง
- ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ 385 หมู่ 5 ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลนางรอง
- ศูนย์บริการลูกค้าทีโอทีอำเภอนางรอง ตั้งอยู่ที่ ถนนประจันตเขต ตำบลนางรอง
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร
- ธนาคารออมสิน
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนฝ่ายประถม(ในตัวเมืองและใกล้ตัวเมืองนางรอง)
- โรงเรียนอนุบาลนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์)
- โรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร)
- โรงเรียนบ้านหนองรีมิตรภาพที่ 225
- โรงเรียนบ้านโคกหลวงพ่อ (พินิจศิลป์ประชานุกูล)
- โรงเรียนถนนหัก(เพียรประจงวิทยา)
- โรงเรียนบ้านหนองเสม็ด
- โรงเรียบ้านแพงพวย(สังฆคุรุราฎร์บำรุง)
- โรงเรียนชุมชนบ้านกระเดื่อง(โศภนประชานุกูล)
- โรงเรียนบ้านตลาดเเย้
- โรงเรียนบ้านสวายสอ
- โรงเรียนฝ่ายมัธยม
- โรงเรียนนางรอง (โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ)
- โรงเรียนนางรองพิทยาคม (โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอแห่งที่ 2)
- โรงเรียนสิงหวิทยาคม
- โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
- โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์
- โรงเรียนทุ่งแสงทองพิทยาคม
- โรงเรียนเหลืองพนาวิทยาคม
- โรงเรียนเอกชน
- โรงเรียนมารีพิทักษ์
- โรงเรียนอนุบาลกมลลักษณ์
- โรงเรียนตุลยาธร
- โรงเรียนฝ่ายประถม-มัธยม
- โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล ๑)
- โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๑
- วิทยาลัย
- วิทยาลัยเทคนิคนางรอง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบุรีรัมย์บริหารธุรกิจ
การสาธารณสุข
[แก้]- โรงพยาบาลนางรอง
- โรงพยาบาลเรืองโรจน์ การแพทย์ (เอกชน)
สถานที่สำคัญ
[แก้]- ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนางรอง
- ศาลเจ้าเมืองนางรอง
- ศาลเจ้าพ่อสระหญ้าม้า
- ศาลเจ้าสมาคมพุทธธรรมสงเคราะห์ พ่งไล้ยี่จับชาเชียวเกาะ
- ศาลเจ้าพ่อถนนหัก
- ศาลเจ้าพ่อพญาดำดิน(หลักหิน)
- ศาลเจ้าพ่อหลวงกลาง(ชุมชนจะบวก)
- ศาลตาปู่บ้านมะขามโพรง
- ศาลตาปู่บ้านสะบ้า
- ศาลตาปู่บ้านผักหวาน
- อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม)
- อนุสาวรีย์ท้าวปาจิต-นางอรพิม(อนุสรณ์สถานแห่งความรัก)
- วัดกลางนางรอง
- วัดป่าเรไร
- วัดขุนก้อง
- วัดร่องมันเทศ
- วัดสวนป่ารักษ์น้ำ(ธุดงคสถาน)
- วัดหัวสะพาน
- วัดโพธาราม
- วัดสายน้ำไหล
- วัดจอมปราสาท
- วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ นางรอง(โบสถ์คริสนิกายโรมันคาทอลิก)
สวนสาธารณะและที่พักผ่อน
[แก้]- สวนสาธารณะหนองตาหมู่
- สวนสาธารณะหนองมน
- สวนสาธารณะอ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม
- สวนสาธารณะอ่างเก็บน้ำหนองทะลอก
- สวนสุขภาพหน้ากาชาดนางรอง
- สวนสาธารณะอ่างเก็บน้ำสระท่าลาว
- ห้องสมุดอำเภอนางรอง
- สนามกีฬากลางอำเภอนางรอง
การขนส่ง
[แก้]- สายกรุงเทพ-บุรีรัมย์ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) มาลงที่สถานีขนส่งอำเภอนางรอง มีบริการทั้งกิจการทัวร์, บริษัทขนส่ง จำกัด
- สายที่ทางไกลผ่านนางรอง เป็นรถกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-สุรินทร์, กรุงเทพฯ-พนมรุ้ง และกรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ ,นคราชสีมา-อุบลฯ แวะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่อำเภอนารอง มีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 , 2 และ VIP
- สายไประยอง
- ระยอง-พัทยา-อรัญประเทศ-นางรอง-สุรินทร์
- ระยอง-พัทยา-อรัญประเทศ-นางรอง-บุรีรัมย์-สตึก
- ระยอง-พัทยา-บุรีรัมย์-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร
- สายไปจังหวัดใกล้เคียง
- บุรีรัมย์-นครราชสีมา (สาย 273)
- นครราชสีมา-สุรินทร์ (สาย 274)
- บุรีรัมย์-สระแก้ว
- บุรีรัมย์-จันทบุรี (สาย522)
- สายไปต่างอำเภอ
- บุรีรัมย์-นางรอง
- นางรอง-ตาพระยา (สระแก้ว)
- นางรอง-ชุมพวง (นครราชสีมา)
- นางรอง-ละหานทราย
- บุรีรัมย์-นครราชสีมา (รถตู้)
- รถโดยสารในตัวเมือง
- สองแถวสายพนมรุ้ง ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งและตลาดสดเทศบาล
- รถแท็กซี่มิเตอร์ จุดให้บริการที่ บขส
- รถยนต์รับจ้าง(เหมาระยะทาง) จุดให้บริการที่ บขส
- มอเตอร์ไซด์วินรับจ้าง จุดให้บริการ ที่ บขส/คิวรถเล็ก/ธนาคารกสิกรไทย
- สายรถโดยสารสายไปต่างอำเภอ
- สายปะคำ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งและคิวรถเล็ก (รถสองแถว)
- สายลำปลายมาศ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "World Meteorological Organization Climate Normals for 1991–2020". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 12 October 2023.
- ↑ "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF) (ภาษาThai). Office of Water Management and Hydrology, Royal Irrigation Department. p. 66. สืบค้นเมื่อ 2 August 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Climatological Data for the Period 1981–2010". Thai Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ 4 August 2016.
- ผศ.ดร.สรเชต วรคามวิชัย และคณะ. บุรีรัมย์ ภูมิหลังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที.เค.พริ้นติ้ง จำกัด, 2555.