อำเภอรัตนบุรี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอรัตนบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Rattanaburi |
คำขวัญ: รัตนบุรี เมืองพ่อพระศรีนครเตาท้าวเธอ พระเจ้าใหญ่วัดเหนือ งามเหลือพระโพธิ์ศรีธาตุ ใสสะอาดห้วยแก้ว เพริดแพร้วผ้าไหม ขนมจีนถูกใจ บุญบั้งไฟตระการตา ชาวประชาน้ำใจงาม | |
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอรัตนบุรี | |
พิกัด: 15°19′13″N 103°51′25″E / 15.32028°N 103.85694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุรินทร์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 383.812 ตร.กม. (148.191 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 92,202 คน |
• ความหนาแน่น | 240.23 คน/ตร.กม. (622.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 32130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3207 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอรัตนบุรี ถนนศรีนคร ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
รัตนบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ที่มีประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาลาวมากกว่า เขมร กูย และมีเจ้าเมืองคนแรกคือ พระศรีนครเตาท้าวเธอ (เชียงสีหรือตากะอาม)ซึ่งเป็นชาวกูยและเมืองรัตนบุรียังมีประวัติศาสตร์และประเพณียาวนานกว่า 300 ปี
ประวัติ
[แก้]เมื่อราวปีพ.ศ. 2302 พระยาช้างเผือกได้แตกโรงหนีออกมายังเขตบริเวณพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า "เขมรป่าดง" ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่แถบจังหวัดบุรีรัมย์,สุรินทร์และศรีสะเกษ "เชียงสี" หัวหน้าบ้านกุดหวาย หนึ่งในหัวหน้าคณะชาวส่วยหรือกูย (หัวหน้าคณะชาวส่วย ประกอบด้วย ตาไกรหรือตากะจะ เชียงปุม เชียงไชย เชียงขัน เชียงฆะ เชียงสง และเชียงสี) ได้ช่วยกันจับพระยาช้างเผือกแล้วจึงนำคืนสู่กรุงศรีอยุธยา
ต่อมาราว ปีพ.ศ. 2306 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์สุดท้าย ทรงโปรดเกล้าเลื่อนบรรดาศักดิ์หัวหน้าหมู่บ้านกุดหวาย ซึ่งก็คือเชียงสี พร้อมทั้งยกบ้านกุดหวายขึ้นเป็นเมืองศรีนครเตา (ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองรัตนบุรี) อาณาเขตของเมืองศรีนครเตา เริ่มแรกถูกกำหนดดังนี้ ทิศเหนือ จรดเมืองท่ง(อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) มีแม่น้ำมูลเป็นเขตแดน ทิศใต้ จรดหลักหินภูดิน ชนเขตแดนเมืองประทายสมันต์(สุรินทร์) ทิศตะวันออก จรดลำห้วยทับทัน ทิศตะวันตก จรดดงแสนตอ (ดงขมิ้น) เขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองรัตนบุรี มีความชอบได้ตามเสด็จไปทำสงครามหลายแห่งจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นที่ พระศรีนครเตาท้าวเธอ โปรดเกล้าฯให้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ พระศรีนครเตาท้าวเธอปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข ร่มเย็นมาโดยตลอด และเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ได้ทำให้แก่ชาติบ้านเมือง ชาวอำเภอรัตนบุรี จึงรวมใจสร้างอนุสาวรีย์ของพระศรีนครเตาท้าวเธอ ณ สวนสาธารณะศรีนครเตาท้าวเธอ ถนนศรีนคร อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และจัดให้มีงานสมโภชน์ สักการะทุกๆปี
ลุเข้ามาเมื่อใดมิทราบได้ ในช่วงรัชกาลที่ 1 ได้มีพระราชสาส์นเกี่ยวกับการศึก ผ่านเข้ามายังเมืองศรีนครเตา(ขณะนั้นยังไม่เปลี่ยนชื่อนามเมือง) ในขณะนั้นพระศรีนครเตาไม่อยู่ในเมืองไปทำธุระข้างนอก แต่ภรรยาพระศรีนครเตาเป็นผู้รับหนังสือพระราชสาสน์แทน มีบางกระแสว่าภรรยาเป็นผู้เปิดอ่านเองโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็มีบางกระแสที่ว่า พระศรีนครชัย (บุญจันทร์) อุปราชเมืองรัตนบุรีเป็นผู้เปิดอ่านเองแล้วโยนความผิดให้เจ้าเมือง ส่งผลให้พระศรีนครเตาท้าวเธอโดนอาญาแผ่นดิน ถูกประหารโดยการเอาขวานผ่าอกจนตาย ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2356 ในช่วงเวลาที่ไม่ห่างกันมาก ท้าวโอ๊ะ หลานของเจ้าแก้วมงคลแห่งเมืองท่ง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุวรรณภูมิ ปัจจุบันคือ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้กล่าวโทษเจ้าเมืองสุวรรณภูมิว่า เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ เบียดเบียนข่มเหงประชาชน และบังคับเอาลูกเมียคนอื่น มาเป็นภรรยาของตน ราชสำนักกรุงเทพฯ ได้สอบสวนเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ (ท้าวอ่อน) พบว่ามีความผิดจริง จึงโปรดฯ ให้ถอดออกจากเจ้าเมือง และทรงตั้งให้ท้าวโอ๊ะเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิมีบรรดาศักดิ์เป็น “พระรัตนวงศา” อันเป็นปีเดียวกันที่ฝ่ายเจ้าเมืองศรีนครเตา (คนต่อมา) ได้นำความกราบบังคมทูลโดยมีใบบอกไปยังราชสำนักด้วย จึงโปรดฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองศรีนครเตาเป็น “เมืองรัตนบุรี” และนามเจ้าเมืองจาก “พระศรีนครเตา” เป็น พระศรีนครชัย” ซึ่งหมายถึงชัยชนะ อาจเป็นไปได้ว่า พระศรีนครชัยเป็นเชื้อสายของเจ้าแก้วมงคล คือเป็นลูกหลานของเจ้าแก้วมงคลอีกท่านหนึ่ง เจ้าเมืองรัตนบุรีที่ได้เปลี่ยนนามเป็น “พระศรีนครชัย” มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าแก้วมงคลในชั้นหลาน ชาวลาวในเขตเมืองสุวรรณภูมิจึงได้เข้ามาอยู่ในเขตเมืองรัตนบุรีมากขึ้น สังคมและวัฒนธรรมของชาวเมืองสุวรรณภูมิจึงไหลบ่า เข้าสู่เมืองรัตนบุรีและกลายเป็นเมืองของชาวไทยลาวในที่สุด[1][2][3]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอรัตนบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย (จังหวัดร้อยเอ็ด) และอำเภอราษีไศล (จังหวัดศรีสะเกษ)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอราษีไศล อำเภอบึงบูรพ์ และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ (จังหวัดศรีสะเกษ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองจันทร์ (จังหวัดศรีสะเกษ) อำเภอโนนนารายณ์ และอำเภอสนม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่าตูม
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอรัตนบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 163 หมู่บ้าน.
1. | รัตนบุรี | (Rattanaburi) | 17 หมู่บ้าน | 7. | ไผ่ | (Phai) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||||
2. | ธาตุ | (That) | 14 หมู่บ้าน | 8. | เบิด | (Boet) | 17 หมู่บ้าน | ||||||||||
3. | แก | (Kae) | 15 หมู่บ้าน | 9. | น้ำเขียว | (Nam Khiao) | 13 หมู่บ้าน | ||||||||||
4. | ดอนแรด | (Don Raet) | 16 หมู่บ้าน | 10. | กุดขาคีม | (Kut Kha Khim) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
5. | หนองบัวทอง | (Nong Bua Thong) | 10 หมู่บ้าน | 11. | ยางสว่าง | (Yang Sawang) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
6. | หนองบัวบาน | (Nong Bua Ban) | 15 หมู่บ้าน | 12. | ทับใหญ่ | (Thap Yai) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอรัตนบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลรัตนบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลรัตนบุรีและบางส่วนของตำบลไผ่
- องค์การบริหารส่วนตำบลรัตนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรัตนบุรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลรัตนบุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแรดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวบานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลรัตนบุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเบิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบิดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเขียวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดขาคีม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดขาคีมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสว่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับใหญ่ทั้งตำบล
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ในประวัติศาสตร์
- พระศรีนครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรีคนแรก
- พระภิกษุ
- พระรัตโนภาสวิมล (ชาลี โชติธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางรัตนบุรี,อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พระครูนนทญาณวิสุทธิ์ (สุคม อานนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกบัวราย จังหวัดสุรินทร์,อดีตเจ้าคณะตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป.(เปรียญ) ธรรมยุต อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
- ข้าราชการ,นักการเมือง
- นายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
- นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ พรรคพลังประชาชน
- นายพรเทพ พูนศรีธนากูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
- นายประสงค์ จักรคำ อดีตผู้ตรวจราชการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงวัฒนธรรม
- ศิลปินแห่งชาติ
- สุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน)
- ราชบัณฑิต
- นิพนธ์ ทรายเพชร (นักดาราศาสตร์)
- นักร้อง
- นุช วิลาวัลย์ (นักร้องลูกทุ่งหมอลำ)
สถานศึกษา
[แก้]ประถมศึกษา,มัธยมศึกษา,ขยายโอกาสทางการศึกษา
- โรงเรียนรัตนบุรี
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัตนบุรี
- โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี
- โรงเรียนรัตนวิทยาคม
- โรงเรียนดอนแรดวิทยา
- โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์
- โรงเรียนธาตุศรีนคร
- โรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์
- โรงเรียนแกศึกษาพัฒนา
- โรงเรียนเทศบาลรัตนบุรี
อุดมศึกษา,การวิชาชีพ
- วิทยาลัยเทคนิครัตนบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการรัตนบุรี
- โครงการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยราชภัฏรัตนบุรี" มหาวิทยาลัยชุมชนเพื่อการวิจัยและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
- โครงการจัดตั้ง "วิทยาลัยสงฆ์รัตนบุรี" มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โรงเรียนพระปริยัติธรรม
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมรัตโนภาสวิมลศึกษาวัดกลาง ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
- ศูนย์การศึกษาภาษาบาลี ประจำอำเภอรัตนบุรี วัดบ้านผือ หมู่11 ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
หน่วยงานราชการ
[แก้]- สำนักงานอัยการจังหวัดรัตนบุรี
- สำนักงานขนส่งสุรินทร์ สาขาอำเภอรัตนบุรี
- ศาลจังหวัดรัตนบุรี
- สำนักงานบังคับคดี
- โรงพยาบาลรัตนบุรี
- สำนักงานที่ดินสุรินทร์ สาขาอำเภอรัตนบุรี
- ประมง
- เรือนจำ
- สำนักงานปศุสัตว์
- สำนักงานสรรพากร
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
- สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี
- สถานีตำรวจภูธรดอนแรด
- สักนักงานเกษตรอำเภอรัตนบุรี
- เทศบาลตำบลรัตนบุรี
- ที่ว่าการอำเภอรัตนบุรี
แหล่งท่องเที่ยว
[แก้]- ท่าหาดยาว
- วัดโพธิ์ศรีธาตุ
- อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว
- ป่าดงหินล้ม
- ลอยกระทงวัดสว่างบ้านผือ
- สวนศรีนครเตาท้าวเธอ
- หาดสีหราช
- วัดใต้บูรพาราม
- วัดสระคูบ้านม่วงบุญมี
- ศาลหลักเมืองรัตนบุรี
- หลวงพ่อใหญ่ วัดสว่างลำเพิญ
- หลวงพ่อใหญ่ วันเหนือ
- ล่องแพห้วยทับทัน บ้านแข้ด่อน ตำบลเบิด
- ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอรัตนบุรี (นิทรรศการถาวรเกี่ยวกับอำเภอรัตนบุรี)
เทศกาลการท่องเที่ยว
[แก้]- งานนมัสการพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ วัดโพธิ์ศรีธาตุ
- ประเพณีบุญบั้งไฟประจำปี เมืองรัตนบุรี
- งานไหว้ศาลหลักเมืองรัตนบุรี
- งานรำบวงสรวงพระศรีนครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรี
มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์เทศบาลตำบลรัตนบุรี เก็บถาวร 2009-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวทอง เก็บถาวร 2013-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ เก็บถาวร 2009-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็ปไซต์ตำบลแก
- ↑ "ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(3)". baanjomyut.com. สืบค้นเมื่อ 2023-05-25
- ↑ "เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 3 เมืองรัตนบุรี 2". baanmaha.com. สืบค้นเมื่อ 2023-05-25
- ↑ ประวัติหลวงศรีนครเตา เจ้าเมืองรัตนบุรีคนแรก