ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลชำราก

พิกัด: 12°11′53.9″N 102°39′42.0″E / 12.198306°N 102.661667°E / 12.198306; 102.661667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลชำราก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Chamrak
ป่าชายเลนชำราก มีพื้นที่กว่า 11,967.08 ไร่ (19.15 ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่มากเป็นอันดับต้น ๆ ของพื้นที่อ่าวตราด
ป่าชายเลนชำราก มีพื้นที่กว่า 11,967.08 ไร่ (19.15 ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่มากเป็นอันดับต้น ๆ ของพื้นที่อ่าวตราด
ประเทศไทย
จังหวัดตราด
อำเภอเมืองตราด
พื้นที่
 • ทั้งหมด65.01 ตร.กม. (25.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด2,700 คน
 • ความหนาแน่น41.53 คน/ตร.กม. (107.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 23000
รหัสภูมิศาสตร์230113
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชำราก เป็นตำบลในอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในพื้นที่เป็นเทศบาลตำบลชำราก เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรบ้านท่าเลื่อน

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลชำราก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

เทศบาลตำบลชำราก
ทต.ชำรากตั้งอยู่ในจังหวัดตราด
ทต.ชำราก
ทต.ชำราก
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลชำราก
พิกัด: 12°11′53.9″N 102°39′42.0″E / 12.198306°N 102.661667°E / 12.198306; 102.661667
ประเทศ ไทย
จังหวัดตราด
อำเภอเมืองตราด
พื้นที่
 • ทั้งหมด65.01 ตร.กม. (25.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด2,700 คน
 • ความหนาแน่น41.53 คน/ตร.กม. (107.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05230105
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 126 หมู่ 4 ตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
เว็บไซต์www.chamraktrat.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

ตำบลชำรากในอดีต ตรงบริเวณริมคลองชำรากจะเป็นที่ราบลุ่ม แม้ในฤดูแล้งก็จะยังคงความชุ่มชื้นอยู่ ซึ่งบริเวณนี้จะมีต้นไทรใหญ่ขึ้นเรียงรายอยู่ประมาณ 2–3ต้น คนที่สัญจรไปมาเมื่อผ่านบริเวณนี้มักจะหยุดพักใช้เป็นที่พักพิง เพื่อคลายความเมื่อยล้าจากการเดินทางมา พอหายเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วก็จะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ประสงค์ และพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นพื้นที่อำนวยประโยชน์ให้กับชาวบ้านในละแวกนี้ที่จะต้องการเพราะพันธุ์กล้าไม้แล้วนำไปปลูกยังบริเวณบ้าน ก็มักจะหาพันธุ์ไม้ เช่น กิ่งส้มตอน มะพร้าว หมาก นำมาปลูกเพื่อให้พันธุ์ไม้นั้นเจริญงอกงาม จนกระทั่งสามารถจะนำไปปลูกได้

จากการที่พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ลุ่มชุ่มชื้น สามารถนำพันธุ์ไม้มาปักชำ แล้วทำให้รากพืชพันธุ์งอกเจริญเติมโตได้เร็ว จึงมีคนตั้งชื่อพื้นที่หมู่บ้านบริเวณนี้ว่า ชำราก[3]

ปี พ.ศ. 2490 ขุนสนิทประชาราษฎร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้แยกพื้นที่หมู่ 6 บ้านท่าเลื่อน และหมู่ 7,8 บ้านตะกาง ของตำบลชำราก รวม 3 หมู่บ้าน ไปตั้งเป็น ตำบลตะกาง[4]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลชำรากแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านหินดาษ
  • หมู่ที่ 2 บ้านนาเกลือ
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองรี
  • หมู่ที่ 4 บ้านชำราก
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาง

  หลังจากที่ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาล ยังได้มีการจัดตั้งชุมชนขึ้น 10 ชุมชน[5] ภายในพื้นที่ ได้แก่

  • 1. ชุมชนบ้านท่าเลื่อน
  • 2. ชุมชนบ้านคอเขาหนองยาง
  • 3. ชุมชนบ้านคลองหลอด
  • 4. ชุมชนบ้านชำราก
  • 5. ชุมชนบ้านปลายนา
  • 6. ชุมชนบ้านหินดาษ
  • 7. ชุมชนบ้านเกาะเกตุหนองตีนเขา
  • 8. ชุมชนบ้านนาเกลือ
  • 9. ชุมชนบ้านปู่เม้าหนองรี
  • 10. ชุมชนบ้านแตงหนองกลม

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลชำรากเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลชำราก ในปี พ.ศ. 2517[6] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลชำรากมี 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 65.01 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,712 คน และ 656 ครัวเรือน[7] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลชำรากอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชำราก[8]

ปี พ.ศ. 2550 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลชำรากมี 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 65.01 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,609 คน และ 942 ครัวเรือน[9] มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมาตั้งแต่ 6.62 ล้านบาท รายจ่ายประจำ 1.47 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88 : 12 เมื่อหักรายจ่ายประจำแล้วมีเงินเหลือประมาณ 5.88 ล้านบาท จึงเห็นได้ว่ามีรายได้เพียงพอที่จะใช้ในการพัฒนาและดำเนินกิจการให้บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และพอควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลตำบลที่ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด[10] สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชำรากจะครบวาระในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และประสงค์จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลชำรากตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 38 ง): 1–35. วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542
  3. ประวัติตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด - เทศบาลตำบลชำราก สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  5. "ประกาศเทศบาลตำบลชำราก เรื่อง การจัดตั้งชุมชนในเขตเทศบาลตำบลชำราก" (PDF). เทศบาลตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด: 1–4. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  7. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  9. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (เขตตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  10. "รายงานการประชุม คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2 ครั้งที่ 15/2551 วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักกฎหมาย สป. ชั้น 6 อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย". กระทรวงมหาดไทย. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นเทศบาลตำบลชำราก". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 125: 1. วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม ปีเดียวกัน