ข้ามไปเนื้อหา

อาร์เธอร์ ฮาร์เดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์ อาร์เธอร์ ฮาร์เดน
เกิด12 ตุลาคม ค.ศ. 1865(1865-10-12)
แมนเชสเตอร์ แลงคาเชอร์
อังกฤษ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต17 มิถุนายน ค.ศ. 1940(1940-06-17) (74 ปี)
บอร์นเอ็นด์ บักกิงแฮมเชอร์
อังกฤษ สหราชอาณาจักร
สัญชาติอังกฤษ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
มหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน
มีชื่อเสียงจากเคมีด้านเซลล์ยีสต์
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี
(ค.ศ. 1929)
เหรียญเดวี (ค.ศ. 1935)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี
สถาบันที่ทำงานสถาบันลิสเตอร์
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกออทโท ฟิชเชอร์

เซอร์ อาร์เธอร์ ฮาร์เดน (อังกฤษ: Arthur Harden; 12 ตุลาคม ค.ศ. 186517 มิถุนายน ค.ศ. 1940) เป็นนักชีวเคมีชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองแมนเชสเตอร์ เป็นบุตรของอัลเบิร์ต ไทแอส ฮาร์เดนและเอลิซา มาคาลิสเตอร์[1] ฮาร์เดนเรียนที่วิทยาลัยเทตเทนฮอล, วิทยาลัยโอเวนส์และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1886 ฮาร์เดนได้รับทุนการศึกษาดาลตันและได้ร่วมงานกับออทโท ฟิชเชอร์ที่มหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นเขากลับมาเป็นอาจารย์สอนที่แมนเชสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1897 ฮาร์เดนทำงานเป็นนักเคมีที่สถาบันลิสเตอร์และดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาชีวเคมีของสถาบันในอีก 10 ปีต่อมา ฮาร์เดนดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งเกษียณในปี ค.ศ. 1930[2]

ขณะทำงานที่เมืองแมนเชสเตอร์ ฮาร์เดนศึกษาปฏิกิริยาของแสงในสารผสมคาร์บอนไดออกไซด์และคลอรีน เมื่อย้ายมาทำงานที่สถาบันลิสเตอร์ ฮาร์เดนหันมาศึกษาปฏิกิริยาทางเคมีในแบคทีเรียและการหมักแอลกอฮอล์ รวมถึงศึกษาการแตกตัวของกลูโคสและเซลล์ยีสต์ ผลงานนี้ทำให้ฮาร์เดนและนักชีวเคมีชาวเยอรมัน ฮันส์ ฟอน ออยเลอร์-เชลปินได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1929[3]

ด้านชีวิตส่วนตัว ฮาร์เดนแต่งงานกับจอร์จินา ซิดนีย์ บริดจ์ในปี ค.ศ. 1900 ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน ฮาร์เดนเสียชีวิตที่เมืองบอร์นเอ็นด์ในปี ค.ศ. 1940[4]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]