แคโรลีน เบอร์ทอซซี
แคโรลีน เบอร์ทอซซี | |
---|---|
เกิด | แคโรลีน รูท เบอร์ทอซซี 10 ตุลาคม ค.ศ. 1966 บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (BS) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (MS, PhD) |
มีชื่อเสียงจาก | เคมีไบโอออร์โทโกนอล |
ญาติ | แอนเดรีย เบอร์ทอซซี (พี่สาว) |
รางวัล | MacArthur Foundation Fellowship (1999) ACS Award in Pure Chemistry (2001) Lemelson-MIT Prize (2010) Heinrich Wieland Prize (2012) Wolf Prize (2022) Welch Award in Chemistry (2022) Nobel Prize in Chemistry (2022) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ เบิร์กลีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | |
ได้รับอิทธิพลจาก | คริสตี คีอิก |
แคโรลีน รูท เบอร์ทอซซี (อังกฤษ: Carolyn Ruth Bertozzi; เกิด 10 ตุลาคม ค.ศ. 1966) เป็นนักเคมีชาวอเมริกันผู้มีผลงานกว้างขวางครอบคลุมทั้งสาขาเคมีและชีววิทยา เธอเป็นผู้บัญญัติวลี "เคมีไบโอออร์โทโกนอล" (bioorthogonal chemistry)[2] สำหรับปฏิกิริยาเคมีที่เข้ากันได้กับระบบในสิ่งมีชีวิต ผลงานที่สำคัญของเธอได้แก่การสังเคราะห์เครื่องมือทางเคมีเพื่อศึกษาน้ำตาลบนเยื่อหุ้มเซลล์และผลกระทบต่อโรคต่าง ๆ รวมทั้งมะเร็ง การอักเสบ และการติดเชื้อไวรัสรวมถึงโควิด-19[3] เธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์แอนน์ ที. และรอเบิร์ต เอ็ม. เบสประจำภาควิชามนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[4] และดำรงตำแหน่ง Investigator ประจำสถาบันการแพทย์ฮาเวิร์ด ฮิวส์ (HHMI)[5] และก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งประธานศูนย์วิจัยโมเลกุลาร์ฟาวน์ดรี ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีประจำห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ เบิร์กลีย์[6] เธอแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเป็นหญิงรักร่วมเพศ และเป็นต้นแบบสำหรับนักศึกษาและเพื่อนร่วมงานในวงการวิทยาศาสตร์[7][8]
เบอร์ทอซซีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 2022 ร่วมกับม็อตเติน พี. เมิลดัลและคาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส "สำหรับการพัฒนาเคมีคลิกและเคมีไบโอออร์โทโกนอล"[9]
การศึกษา
[แก้]แคโรลีน เบอร์ทอซซีสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตด้านเคมีด้วยเกียรตินิยมสูงสุด (summa cum laude) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยมีที่ปรึกษาได้แก่ศาสตราจารย์โจ กราบอฟสกี[10] ขณะที่เธอศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น เธอเล่นคีย์บอร์ดในวง Bored of Education ซึ่งมีทอม โมเรลโลเป็นมือกีตาร์ ผู้ซึ่งต่อมาได้ร่วมก่อตั้งวงเรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน[11][12] หลังจบการศึกษาปริญญาตรี เธอเข้าทำงานที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ร่วมกับคริส ชิดซีย์[13]
เบอร์ทอซซีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ใน ค.ศ. 1993 โดยมีที่ปรึกษาได้แก่มาร์ก เบดนาร์สกี งานวิจัยปริญญาเอกของเธอเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารที่มีโครงสร้างคล้ายโอลิโกแซ็กคาไรด์[14] เธอค้นพบว่าไวรัสสามารถจับกับน้ำตาลในร่างกายได้[15] ซึ่งทำให้เธอสนใจศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยาน้ำตาล (glycobiology) ขณะที่เธอศึกษาอยู่ปีที่สาม เบดนาร์สกีพบว่าเขาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เขาต้องลาพักก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนสายไปศึกษาด้านแพทยศาสตร์ ทำให้เธอและสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มทำงานวิจัยเพียงลำพังโดยไม่มีที่ปรึกษา[16]
อาชีพด้านการวิจัย
[แก้]หลังจากเบอร์ทอซซีจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เธอเข้าทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโกกับสตีเวน โรเซน เธอศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของโอลิโกแซ็กคาไรด์บริเวณเนื้อเยื่อบุผิวซึ่งช่วยให้เซลล์ยึดเกาะบริเวณที่เกิดการอักเสบ[17][18] เธอสามารถดัดแปลงโมเลกุลของโปรตีนและน้ำตาลในเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อให้เซลล์สามารถรับวัสดุจากภายนอกเช่นอวัยวะเทียมได้[19]
เบอร์ทอซซีเข้าเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์และนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ เบิร์กลีย์ใน ค.ศ. 1996 โดยเธอดำรงตำแหน่งเป็นประธานศูนย์วิจัยโมเลกุลาร์ฟาวน์ดรี[17][20] และดำรงตำแหน่งเป็น investigator ที่สถาบันการแพทย์ฮาเวิร์ด ฮิวส์ตั้งแต่ ค.ศ. 2000[6] ใน ค.ศ. 1999 เธอพัฒนาเคมีสาขาใหม่ที่เรียกว่าเคมีไบโอออร์โกโกนอล (bioorthogonal chemistry) และบัญญัติวลีดังกล่าวใน ค.ศ. 2003[21][22][23] เคมีสาขาใหม่นี้ทำให้นักวิจัยสามารถดัดแปลงโมเลกุลในสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่รบกวนกระบวนการทำงานของเซลล์[24] ใน ค.ศ. 2015 เบอร์ทอซซีย้ายไปประจำที่สถาบัน ChEM-H มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[25]
เบอร์ทอซซีศึกษาชีววิทยาน้ำตาลของโรคเรื้อรังเช่นมะเร็ง อาการอักเสบเช่นข้ออักเสบ และโรคติดเชื้อเช่นวัณโรค เธอมีส่วนสำคัญทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจโครงสร้างของโอลิโกแซ็กคาไรด์บนผิวเซลล์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการระบุเซลล์และการสื่อสารระหว่างเซลล์ เบอร์ทอซซีใช้เทคนิคในสาขาเคมีออร์โทโกนอลเพื่อศึกษาไกลโคคาลิกซ์ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่รอบเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งทำให้การวิจัยในสาขาการบำบัดทางชีวภาพ (biotherapeutics) พัฒนาขึ้นอย่างมาก[26] กลุ่มวิจัยของเธอยังพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิจัยด้วย เช่นเครื่องมือทางเคมีสำหรับศึกษาไกลแคนในระบบสิ่งมีชีวิต[6] งานวิจัยของกลุ่มวิจัยเบอร์ทอซซีซึ่งใช้นาโนเทคโนโลยีในการตรวจวัดในระบบทางชีววิทยานำไปสู่การพัฒนาชุดทดสอบวัณโรคในสถานพยาบาลซึ่งให้ผลเร็ว[27][28] ใน ค.ศ. 2017 เธอได้รับเชิญให้บรรยายในเท็ดทอล์กในหัวข้อเรื่อง "What the sugar coating on your cells is trying to tell you"[29]
ธุรกิจสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
[แก้]นอกเหนือจากงานวิชาการแล้ว เบอร์ทอซซียังมีส่วนร่วมกับองค์กรธุรกิจสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีชีวภาพหลายองค์กร ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เบอร์ทอซซีและสตีเวน โรเซนร่วมก่อตั้ง Thios Pharmaceuticals เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ซัลเฟตเอสเทอร์ทางชีวภาพ[30] ต่อมาใน ค.ศ. 2008 เบอร์ทอซซีได้ก่อตั้ง Redwood Bioscience ขึ้นที่เมืองเอเมอรีวิลล์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[31] Redwood Bioscience เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ SMARTag ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการดัดแปลงโครงสร้างโปรตีนเพื่อให้โมเลกุลยาที่มีขนาดเล็กสามารถยึดเกาะได้เพื่อใช้ในการรักษามะเร็ง[15][32] บริษัทดังกล่าวถูก Catalent Pharma Solutions ซื้อกิจการใน ค.ศ. 2014 โดยเบอร์ทอซซียังคงดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีววิทยาของบริษัท[32] นอกจากนี้ใน ค.ศ. 2014 เธอยังร่วมก่อตั้ง Enable Biosciences ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการวินิจฉัยเบาหวานชนิดที่ 1 เอชไอวี และโรคอื่น ๆ ที่บ้าน[21][33]
ธุรกิจสตาร์ตอัปอื่น ๆ ที่เบอร์ทอซซีมีส่วนร่วมก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ได้แก่
- Palleon Pharma (ค.ศ. 2015)[34] – มุ่งเน้นด้านการศึกษาตัวยับยั้งเพื่อนำไปสู่การรักษามะเร็ง[35]
- InterVenn Biosciences (ค.ศ. 2017) – มุ่งเน้นด้านการใช้เทคนิคแมสสเปกโตรเมตรีและปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่[21][36]
- OliLux Biosciences (ค.ศ. 2019) – มุ่งเน้นด้านการพัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อวัณโรค[21][37]
- Lycia Therapeutics (ค.ศ. 2019) – มุ่งเน้นด้านการวิจัย lysosome-targeting chimeras (LYTACs) เพื่อจัดการเซลล์เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและโรคมะเร็ง
เบอร์ทอซซียังเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาของบริษัทยาหลายแห่งรวมทั้งแกล็กโซสมิทไคลน์และอีลี ลิลลี[38] นอกจากนี้ ใน ค.ศ. 2018 เธอได้ก่อตั้งมูลนิธิ Grace Science Foundation เพื่อพัฒนาวิธีการรักษาอาการเอนไซม์ NGLY1 บกพร่องที่ได้ผลดีและราคาไม่สูง[39]
ผลงานตีพิมพ์
[แก้]เบอร์ทอซซีมีผลงานตีพิมพ์ที่สำคัญมากกว่า 600 ฉบับ โดยผลงานสำคัญที่มีผู้อ้างอิงเป็นจำนวนมากที่สุดมีดังนี้
- Sletten, EM; Bertozzi, CR (2009). "Bioorthogonal Chemistry: Fishing for Selectivity in a Sea of Functionality". Angewandte Chemie International Edition in English. 48 (38): 6974–98. doi:10.1002/anie.200900942. PMC 2864149. PMID 19714693.
- Bertozzi, Carolyn R.; Kiessling, Laura L. (2001). "Chemical Glycobiology". Science. 291 (5512): 2357–64. Bibcode:2001Sci...291.2357B. doi:10.1126/science.1059820. PMID 11269316. S2CID 9585674.
- Saxon, Eliana; Bertozzi, Carolyn R. (2000). "Cell Surface Engineering by a Modified Staudinger Reaction". Science. 287 (5460): 2007–10. Bibcode:2000Sci...287.2007S. doi:10.1126/science.287.5460.2007. PMID 10720325. S2CID 19720277.
- Agard, Nicholas J.; Prescher, Jennifer A.; Bertozzi, Carolyn R. (2005). "A Strain-Promoted [3 + 2] Azide−Alkyne Cycloaddition for Covalent Modification of Biomolecules in Living Systems". Journal of the American Chemical Society. 126 (46): 15046–15047. doi:10.1021/ja044996f. PMID 15547999.
- Dube, DH; Bertozzi, CR (2005). "Glycans in cancer and inflammation—potential for therapeutics and diagnostics". Nature Reviews Drug Discovery. 4 (6): 477–88. doi:10.1038/nrd1751. PMID 15931257. S2CID 22525932.
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]แคโรลีน เบอร์ทอซซีเติบโตในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลีในเมืองเล็กซิงตัน รัฐแมสซาชูเซตส์[40] แม่ของเธอคือนอร์มา กลอเรีย เบอร์ทอซซี ส่วนพ่อของเธอคือวิลเลียม เบอร์ทอซซี[41]ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ประจำสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์[42][43][44] เธอมีพี่น้องผู้หญิงอีกสองคน หนึ่งในนั้นได้แก่แอนเดรีย เบอร์ทอซซีซึ่งเป็นอาจารย์คณิตศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส[45]
เบอร์ทอซซีเปิดเผยว่าเป็นหญิงรักร่วมเพศตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980[46]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Prescher, Jennifer Ann (2006). Probing Glycosylation in Living Animals with Bioorthogonal Chemistries (วิทยานิพนธ์ PhD) (ภาษาอังกฤษ). University of California, Berkeley. OCLC 892833679. ProQuest 305348554.
- ↑ "Carolyn R. Bertozzi". HHMI.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ "Carolyn Bertozzi | Department of Chemistry". chemistry.stanford.edu. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
- ↑ Adams, Amy. "Stanford chemist explains excitement of chemistry to students, the public". Stanford News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ "Carolyn Bertozzi honored by GLBT organization". UC Berkeley News. 27 February 2007. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Carolyn Bertozzi". HHMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.
- ↑ Cassell, Heather (February 22, 2007). "Two Bay Area gay scientists honored". Bay Area Reporter. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
- ↑ "NOGLSTP to Honor Bertozzi, Gill, Mauzey, and Bannochie at 2007 Awards Ceremony in February". NOGLSTP. สืบค้นเมื่อ 2019-02-19.
- ↑ https://www.nobelprize.org/prizes/chemistry/2022/press-release/
- ↑ Grabowski, Joseph J.; Bertozzi, Carolyn R.; Jacobsen, John R.; Jain, Ahamindra; Marzluff, Elaine M.; Suh, Annie Y. (1992). "Fluorescence probes in biochemistry: An examination of the non-fluorescent behavior of dansylamide by photoacoustic calorimetry". Analytical Biochemistry. 207 (2): 214–26. doi:10.1016/0003-2697(92)90003-P. PMID 1481973.
- ↑ "Meet Carolyn Bertozzi". NIGMS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-05. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.
- ↑ Houlton, Sarah (Jan 12, 2018). "Carolyn Bertozzi". Chemistry World. สืบค้นเมื่อ Oct 7, 2020.
- ↑ "Carolyn Bertozzi' s Winding Road to an Extraordinary Career – inChemistry". inchemistry.acs.org. สืบค้นเมื่อ 2020-02-17.
- ↑ "Bertozzi: Infectious In Her Enthusiasm". Chemical & Engineering News. 78 (5): 26–35. January 31, 2000.
- ↑ 15.0 15.1 "Carolyn Bertozzi | Lemelson-MIT Program". lemelson.mit.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ Azvolunsky, Anna (May 31, 2016). "Carolyn Bertozzi: Glycan Chemist". The Scientist Magazine. สืบค้นเมื่อ Oct 7, 2020.
- ↑ 17.0 17.1 Davis, T. (16 February 2010). "Profile of Carolyn Bertozzi". Proceedings of the National Academy of Sciences. 107 (7): 2737–2739. Bibcode:2010PNAS..107.2737D. doi:10.1073/pnas.0914469107. PMC 2840349. PMID 20160128.
- ↑ Gardiner, Mary Beth (2005). "The Right Chemistry" (PDF). HHMI Bulletin. Winter 2005: 8–12. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
- ↑ "Carolyn Bertozzi". Chemical Heritage Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2016.
- ↑ "Former Berkeley Lab Scientist Carolyn Bertozzi Wins 2022 Nobel Prize in Chemistry". สืบค้นเมื่อ 7 September 2022.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 "Carolyn Bertozzi's glycorevolution". Chemical & Engineering News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
- ↑ "NIHF Inductee Carolyn Bertozzi Invented Bioorthogonal Chemistry". www.invent.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ Sletten, Ellen M.; Bertozzi, Carolyn R. (2011-09-20). "From Mechanism to Mouse: A Tale of Two Bioorthogonal Reactions". Accounts of Chemical Research. 44 (9): 666–676. doi:10.1021/ar200148z. ISSN 0001-4842. PMC 3184615. PMID 21838330.
- ↑ Sletten, Ellen M.; Bertozzi, Carolyn R. (2009). "Bioorthogonal Chemistry: Fishing for Selectivity in a Sea of Functionality". Angewandte Chemie International Edition in English. 48 (38): 6974–6998. doi:10.1002/anie.200900942. ISSN 1433-7851. PMC 2864149. PMID 19714693.
- ↑ "Carolyn R. Bertozzi". bertozzigroup.stanford.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-06. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
- ↑ Xiao, Han; Woods, Elliot C.; Vukojicic, Petar; Bertozzi, Carolyn R. (2016-08-22). "Precision glycocalyx editing as a strategy for cancer immunotherapy". Proceedings of the National Academy of Sciences (ภาษาอังกฤษ). 113 (37): 10304–10309. Bibcode:2016PNAS..11310304X. doi:10.1073/pnas.1608069113. ISSN 0027-8424. PMC 5027407. PMID 27551071.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlemelson
- ↑ Kamariza, Mireille; Shieh, Peyton; Ealand, Christopher S.; Peters, Julian S.; Chu, Brian; Rodriguez-Rivera, Frances P.; Babu Sait, Mohammed R.; Treuren, William V.; Martinson, Neil; Kalscheuer, Rainer; Kana, Bavesh D. (2018). "Rapid detection of Mycobacterium tuberculosis in sputum with a solvatochromic trehalose probe". Science Translational Medicine. 10 (430): eaam6310. doi:10.1126/scitranslmed.aam6310. ISSN 1946-6242. PMC 5985656. PMID 29491187.
- ↑ Bertozzi, Carolyn. "Carolyn Bertozzi | Speaker | TED". www.ted.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ McCarthy, Alice A. (February 2004). "Thios Pharmaceuticals Targeting Sulfation Pathways" (PDF). Chemistry & Biology. 11 (2): 147–148. doi:10.1016/j.chembiol.2004.02.008. PMID 15123271.
- ↑ McCook, Alison (March 6, 2013). "Women in Biotechnology: Barred from the Boardroom". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
- ↑ 32.0 32.1 "Redwood Bioscience Inc. | IPIRA". ipira.berkeley.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ "Enable Biosciences, Inc. | IPIRA". ipira.berkeley.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
- ↑ "Palleon Pharma – Leadership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-06. สืบค้นเมื่อ 2022-10-10.
- ↑ "Palleon Pharma". MassBio (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
- ↑ "InterVenn Biosciences | AI-Driven Mass Spectrometry". intervenn.bio. สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
- ↑ Dinkele, Ryan; Gessner, Sophia; Koch, Anastasia S.; Morrow, Carl; Gqada, Melitta; Kamariza, Mireille; Bertozzi, Carolyn R.; Smith, Brian; McLoud, Courtney; Kamholz, Andrew; Bryden, Wayne (2019-12-27). "Capture and visualization of live Mycobacterium tuberculosis bacilli from tuberculosis bioaerosols". bioRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2019.12.23.887729. doi:10.1101/2019.12.23.887729. S2CID 213539003.
- ↑ Company, Eli Lilly and. "Lilly Announces that Professor Carolyn Bertozzi has Resigned from its Board of Directors". www.prnewswire.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
- ↑ "Grace Science Foundation". rarediseases.info.nih.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
- ↑ "Italian American Scientist Carolyn Bertozzi Wins the Nobel Prize in Chemistry". 5 October 2022.
- ↑ "NORMA GLORIA BERTOZZI Obituary (2021) Boston Globe". Legacy.com.
- ↑ "MIT Physics Department Faculty". สืบค้นเมื่อ 4 June 2012.
- ↑ Davis, T. (2010-02-16). "Profile of Carolyn Bertozzi". Proceedings of the National Academy of Sciences (ภาษาอังกฤษ). 107 (7): 2737–2739. Bibcode:2010PNAS..107.2737D. doi:10.1073/pnas.0914469107. ISSN 0027-8424. PMC 2840349. PMID 20160128.
- ↑ Mukhopadhyay, Rajendrani (September 1, 2016). "Keeping it Real". ASBMB Today. สืบค้นเมื่อ November 3, 2020.
- ↑ "UCLA Math Department Faculty". สืบค้นเมื่อ 4 June 2012.
- ↑ Navals, Pauline (2022-04-05). ""ONE ON ONE WITH CAROLYN BERTOZZI"". chemical & engineering news (ภาษาอังกฤษ).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bertozzi Research Group Website
- What the sugar coating on your cells is trying to tell you – TED Talk
- แคโรลีน เบอร์ทอซซี ที่ Nobelprize.org
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเคมีชาวอเมริกัน
- นักวิทยาศาสตร์หญิง
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
- ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- ผู้หญิงผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- บุคคลจากบอสตัน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
- ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
- นักวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายทางเพศ
- ชาวอเมริกันที่มีความหลากหลายทางเพศ
- หญิงรักร่วมเพศชาวอเมริกัน