ข้ามไปเนื้อหา

ยาโรสลัฟ แฮย์โรฟสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาโรสลัฟ แฮย์โรฟสกี
เกิด20 ธันวาคม ค.ศ. 1890(1890-12-20)
ปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย
เสียชีวิต27 มีนาคม ค.ศ. 1967(1967-03-27) (76 ปี)
ปราก เชโกสโลวาเกีย
สัญชาติเช็ก
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงานกองทัพอากาศเชโกสโลวาเกีย

ยาโรสลัฟ แฮย์โรฟสกี (เช็ก: Jaroslav Heyrovský, ออกเสียง: [ˈjaroslaf ˈɦɛjrofskiː] ( ฟังเสียง); 20 ธันวาคม ค.ศ. 1890 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1967) เป็นนักเคมีและนักประดิษฐ์ชาวเช็ก เกิดที่กรุงปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเช็กเกีย) เป็นบุตรของแลโอโปลต์และคลารา (นามสกุลเดิม ฮาเนิล ฟ็อน เคียร์ชทร็อย)[2] แฮย์โรฟสกีเรียนวิชาเคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชาลส์ ระหว่าง ค.ศ. 1910–1914 แฮย์โรฟสกีเดินทางไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แฮย์โรฟสกีทำงานเป็นนักเคมีและนักรังสีวิทยาในโรงพยาบาลทหาร หลังสงคราม แฮย์โรฟสกีทำงานเป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์โบฮุสลัฟ เบราเนอร์ ที่สถาบันเคมีวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยชาลส์ ต่อมาใน ค.ศ. 1926 แฮย์โรฟสกีดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีฟิสิกส์คนแรกของมหาวิทยาลัยชาลส์[3]

ในปี ค.ศ. 1922 แฮย์โรฟสกีค้นพบกระบวนการโพลาโรกราฟี ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีวัดศักย์ไฟฟ้าทางไฟฟ้าเคมี[4] การค้นพบและการพัฒนากระบวนการนี้ทำให้แฮย์โรฟสกีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 1959[5]

ด้านชีวิตส่วนตัว แฮย์โรฟสกีแต่งงานกับมารี โกราโนวา ใน ค.ศ. 1926 มีบุตรด้วยกัน 2 คน แฮย์โรฟสกีเสียชีวิตใน ค.ศ. 1967 ต่อมาชื่อของเขาได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อของแอ่งดวงจันทร์[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Butler, J. A. V.; Zuman, P. (1967). "Jaroslav Heyrovsky 1890-1967". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 13: 167. doi:10.1098/rsbm.1967.0008.
  2. http://www.steinbauer.biz/familytree/Rodokmeny.htm#_Toc219631234
  3. Jaroslav Heyrovsky - Biographical - Nobelprize.org
  4. Electrochemistry - Institute for Innovative Learning - Mahidol University
  5. The Nobel Prize in Chemistry 1959 - Nobelprize.org
  6. Jaroslav Heyrovsky - NNDB.com

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]