กาย
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
กายในทางเถรวาท
[แก้]กาย กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม เช่น สัตวกาย (มวลสัตว์) พลกาย (กองกำลังทหาร) รถกาย (กองทหารรถ) ธรรมกาย (ที่รวมหรือที่ชุมนุมแห่งธรรม)
- ที่รวมแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือชุมนุมแห่งรูปธรรม คือ ร่างกาย บางทีเรียกเต็มว่า รูปกาย
- ประชุมแห่งนามธรรม หรือกองแห่งเจตสิก เช่น ในคำว่า “กายปัสสัทธิ” (ความสงบเย็นแห่งกองเจตสิก) บางทีเรียกเต็มว่า นามกาย (แต่ในบางกรณี นามกาย หมายถึงนามขันธ์หมดทั้ง ๔ คือ ทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ทั้งจิต และเจตสิก); นอกจากความหมายพื้นฐาน ๒ อย่างนี้แล้ว ยังมีความหมายปลีกย่อย และความหมายเฉพาะ ตามข้อความแวดล้อมอีกหลายอย่าง เช่น ในคำว่า “กายสัมผัส” (สัมผัสทางกาย) หมายถึงกายอินทรีย์ที่รับรู้โผฏฐัพพะคือสิ่งต้องกาย, ในคำว่า “กายทุจริต” (ทุจริตด้วยกาย) หมายถึงกายทวารที่ใช้ทำกรรมคือเคลื่อนไหวแสดงออกและทำการต่างๆ, ในคำว่า “กายสุข”(สุขทางกาย) หมายถึงทางทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งคู่กับเจโตสุขหรือสุขทางใจ, ในคำว่า “กายภาวนา” (การพัฒนากาย) หมายถึงอินทรียสังวรคือ ความรู้จักปฏิบัติให้ได้ผลดีในการใช้ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ดังนี้ เป็นต้น
กาย มี ๓ อย่าง คือ
- สรีรกาย กายที่เกิดจากอุตุนิยาม ( รูปธาตุ )คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้แก่ กายของมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน
- ทิพยกาย กายที่เกิดจากกรรมนิยาม ( นามธาตุ )คือ กิเลส กรรม วิบาก ได้แก่ กายของโอปะปาติกะทั้งหลาย เช่น พรหม เทพ วิญญาณ อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
- นามกาย หรือ กายที่เกิดจากธรรมนิยาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ[1]
"กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน มหาภูต รูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิตร และท่านกล่าวว่า กายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ"
อ้างอิง
[แก้]- คณะสงฆ์จีนนิกาย.พระพุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ : ธนาคารกรุงเทพพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ,2531.
- ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548
- เสฐียร พันธรังษี.พุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ : สุขภาพใจ,2543.
- เสถียร โพธินันทะ.ปรัชญามหายาน.กรุงเทพ ฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2541.
- อภิชัย โพธิประสิทธิศาสตร์.พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพ ฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2539.
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ . พิมพ์ครั้งที่ 11,2551
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๓]