โยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
โยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน | |
---|---|
中国人民解放军军乐团 | |
โยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนรวมตัวกัน ณ มหาศาลาประชาชน โดยมีวงดนตรีพิธีการปกติประจำอยู่ทางซ้าย วงเดินแถวแห่งชาติอยู่ทางขวา และแตรวงรัฐพิธีอยู่ตรงกลาง | |
ประจำการ | 1952–ปัจจุบัน |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ขึ้นต่อ | พรรคคอมมิวนิสต์จีน |
เหล่า | กองทัพจีน |
รูปแบบ | โยธวาทิต |
กำลังรบ | 400+ |
ขึ้นกับ | กรมงานการเมือง คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง |
กองบัญชาการ | หอดนตรีกองทัพปลดแอกประชาชน เขตไห่เตี้ยน ปักกิ่ง ประเทศจีน |
สมญา | The PLA Band |
เพลงหน่วย | เพลงสรรเสริญกองทัพปลดปล่อยประชาชน |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้อำนวยการฝ่ายดนตรี | พันเอก จาง ไห่เฟิง[1] |
หัวหน้าวงและหัวหน้าคฑากรวง | หลิว ซินปั๋ว |
เครื่องหมายสังกัด | |
ป้ายไหล่ |
โยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (จีน: 中国人民解放军军乐团) เป็นหน่วยดนตรีทหารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ในพิธีการของรัฐที่จัดโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปี วงนี้ได้ทำหน้าที่เสมือนเป็นสาขาดนตรีของกองทัพปลดปล่อยประชาชน นักดนตรีมีหน้าที่บรรเลงบทเพลงพิธีการต้อนรับประมุขแห่งรัฐและรัฐบาลต่างประเทศที่มาเยือน รวมถึงการแสดงในงานสำคัญระดับชาติ เช่น วันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน และวันกองทัพปลดปล่อยประชาชน[2] ผู้บังคับวงคนปัจจุบันคือพันเอก จาง ไห่เฟิง ซึ่งเข้าร่วมวงตั้งแต่ ค.ศ. 1988[3]
ประวัติ
[แก้]ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1949 โยธวาทิตจีนตอนเหนือได้ก่อตั้งขึ้น ณ แขวงเป่ย์ยฺเหวียน ภายใต้การดูแลของภูมิภาคทหารจีนตอนเหนือ โดยมีสมาชิก 200 นาย ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ในพิธีก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โยธวาทิตได้ปรากฏตัวครั้งแรกต่อหน้าผู้ชมจำนวนมาก ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยได้บรรเลงเพลงชาติ (มาร์ชทหารอาสา) และดนตรีประกอบในการสวนสนามทหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา วงนี้ได้เข้าร่วมการแสดงในทุกขขบวนแห่วันชาติและกิจกรรมสำคัญระดับชาติ โดยเริ่มแรกในฐานะกองบัญชาการโยธวาทิตกองทหารรักษาการณ์ปักกิ่ง (ตั้งแต่ค.ศ. 1952) ต่อมาเป็นโยธวาทิตภูมิภาคทหารปักกิ่ง และปัจจุบันคือโยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน มันเป็นส่วนสำคัญของกองทหารรักษาการณ์ปักกิ่งและกองบัญชาการกองทัพปลดปล่อยประชาชน แต่ก็ยังแสดงในงานต่าง ๆ ทั่วประเทศจีนและต่างประเทศ
ใน ค.ศ. 1959 เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โยธวาทิตร่วม (ซึ่งมีโยธวาทิตกลางเป็นหนึ่งในนั้น) ประกอบด้วยนักดนตรี 1,000 นาย สวมเครื่องแบบสีเขียวมะกอก ได้เปิดพิธีด้วยบทเพลงตงฟางหง ซึ่งกำหนดเวลาให้ตรงกับช่วงที่ประธานเหมา เจ๋อตง และนายกรัฐมนตรีนีกีตา ครุชชอฟ แห่งสหภาพโซเวียต เดินทางมาถึงยังปะรำพิธีในเวลา 09:45 น. ณ ค.ศ. 2012 โยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้เข้าร่วมการสวนสนามฉลองวันชาติต่อเนื่องมาแล้ว 14 ครั้งนับแต่การก่อตั้งประเทศ และยังได้เข้าร่วมการสวนสนามชัยจีน ค.ศ. 2015 โดยเป็นส่วนหนึ่งของสหโยธวาทิตขนาดใหญ่กว่า 1,000 นายซึ่งเป็นแนวคิดที่เหมาริเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1950[4] วงนี้ยังได้รับเกียรติให้แสดงในงานสังคมสำคัญ เช่น เอเชียนเกมส์ ค.ศ. 1990, โอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 2008, พิธีเปิดประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ, เซี่ยงไฮ้เวิล์ดเอ็กซ์โป รวมถึงงานต้อนรับประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลต่าง ๆ[5][6] ในคริสต์ทศวรรษ 2000 วงนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่หอดนตรีกองทัพปลดปล่อยประชาชน ถนนฉางจื้อ เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง[7] ในวันที่ 30 พฤษภาคม และ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 14 ปีการคืนฮ่องกงกลับสู่แผ่นดินใหญ่ วงนี้ได้จัดการแสดงครั้งแรก ณ สนามกีฬาควีนเอลิซาเบธ ร่วมกับวงดนตรีตำรวจฮ่องกงและได้จัดคอนเสิร์ตวงซิมโฟนีขนาดใหญ่ ณ ที่นั้น[8] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 โยธวาทิตกองทัพสหรัฐได้เข้าร่วมการแสดงกับโยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในการเดินทางเยือนจีนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ โดยมีชื่อการแสดงว่า มิตรภาพและความร่วมมือผ่านบทเพลง นี่เป็นการติดตามผลหลังจากที่วงนี้ได้เดินทางไปเยือนสหรัฐในปีก่อนหน้าเพื่อร่วมแสดงกับ TUSAB ณ สหประชาชาติ[9] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 วงนี้ได้มีการปรับโครงสร้างใหม่โดยขึ้นตรงต่อกรมงานการเมือง คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ แทนที่จะขึ้นตรงต่อกรมการเมืองกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชน[10][11]
วงนี้คือเรือธงและเป็นวงดนตรีที่มีสถานะสูงสุดในบรรดาวงดนตรีทั้งมวลของกองทัพปลดปล่อยประชาชน และเป็นแกนหลักของโยธวาทิตในหน่วยงานและเหล่าทัพต่าง ๆ ภายใต้กองทัพปลดปล่อยประชาชน โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของกรมการงานการเมือง คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง[12]
วงเดินแถวแห่งชาติ
[แก้]วงเดินแถวแห่งชาติกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA National Marching Band) เป็นหน่วยโยธวาทิตที่มีสมาชิก 61 คน สังกัดโยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชน มันมีความคล้ายคลึงกันมากในลักษณะและเครื่องดนตรีกับกองพลกลองและแตรนาวิกโยธินสหรัฐ (United States Marine Drum and Bugle Corps) แต่เป็นวงดนตรีแบบคณะทหารที่มีการใช้เครื่องเป่าไม้ด้วย ผู้บังคับวงและคฑากรของวงคือหลิว ซินปั๋ว วงนี้ยังจัดหามือกลองสนามและแตรวงรัฐพิธีในระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการ พิธีการระดับชาติ และขบวนแห่สำคัญในเมืองหลวง
วงนี้ได้เดินทางไปทัวร์และแสดงดนตรีในหลายประเทศ อาทิ
- รัสเซีย
- คาซัคสถาน
- เกาหลีเหนือ
- เวียดนาม
- ฝรั่งเศส
- เยอรมนี
- สหราชอาณาจักร
- สหรัฐอเมริกา
- ฟินแลนด์
- ออสเตรเลีย
เครื่องแบบ
[แก้]ไทป์ 07 ที่เป็นเครื่องแบบหลักของกองทัพปลดปล่อยประชาชนนั้นเป็นเครื่องแบบอย่างเป็นทางการของวง การออกแบบเครื่องแบบชุดแรกที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับวงเกิดขึ้นพร้อมกับเครื่องแบบไทป์ 87 ซึ่งวงได้รับอินทรธนูเพิ่มเข้ามานอกเหนือจากสิ่งอื่น[13] ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 วงได้เปิดตัวเครื่องแบบสำหรับวงเดินแถวแห่งชาติชุดใหม่ต่อหน้าประธานาธิบดีอิสลอม แกรีมัฟ แห่งอุซเบกิสถานซึ่งกำลังเยือนประเทศ การกระทำดังกล่าวได้รับการชื่นชมจากผู้สังเกตการณ์[14] เครื่องแบบชุดใหม่ประกอบด้วย กางเกงขายาวสีขาว หมวกทรงแหลมสีขาว และเสื้อคลุมคอปิดสีแดง ชุดเครื่องแบบยังมีรูปแบบสีน้ำเงินซึ่งนำไปเปรียบเทียบกับนาวิกโยธินสหรัฐและราชนาวิกโยธิน[15]
คลังเพลง
[แก้]- มาร์ชทหารอาสา (เพลงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน) (义勇军进行曲)
- เพลงสรรเสริญกองทัพปลดปล่อยประชาชน (中国人民解放军进行曲)
- มาร์ชตรวจพลกองทัพปลดปล่อยประชาชน (检阅进行曲)
- มาร์ชสวนสนามกองทัพปลดปล่อยประชาชน (分列式进行曲)
- มาร์ชต้อนรับ (欢迎进行曲)
- ตงฟางหง (東方紅)
- บทกวีสรรเสริญมาตุภูมิ (歌唱祖國)
- เพลงมหาวิทยาลัยการทหารและการเมืองต่อต้านญี่ปุ่น (抗日军政大学校歌)
- ฉันรักท้องฟ้าสีครามของมาตุภูมิ (我爱祖国的蓝天)
- เพลงโศก
- เพลงดอกไม้
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 ยฺหวี ไห่ ผู้บังคับวงโยธวาทิตกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในขณะนั้น ได้ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์หฺวาชางเป้า โดยกล่าวว่าการบรรเลงเพลงชาติในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานแต่งงานและงานศพนั้นถือเป็นการ "ดูหมิ่น" และเสนอให้รัฐบาลกลางออกกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับการใช้เพลงชาติ[16]
รายชื่อผู้บังคับวง
[แก้]- ผู้บังคับวง
- หลัว ล่าง (罗浪) (กรกฎาคม 1952-1957)
- หวัง เจี้ยนจง (王建中) (มีนาคม 1958–พฤษภาคม 1967)
- ฉือ เหล่ย์ (石磊) (มกราคม 1970-มิถุนายน 1981)
- หม่า กั๋วผิง (马国平) (มิถุนายน 1981-ตุลาคม 1985)
- หลิว ยฺวี่เป่า (刘玉宝) (ตุลาคม 1985-มิถุนายน 1988)
- ลฺหวี ฉู่จง (吕蜀中) (มิถุนายน 1988-กรกฎาคม 1994)
- ฉี จิ่งเฉฺวียน (齐景全) (กรกฎาคม 1994-มีนาคม 2003)
- ยฺหวี ไห่ (于海) (มีนาคม 2003-มิถุนายน 2011)
- โจว รุ่ย (邹锐) (มิถุนายน 2011-2018)
- จาง ไห่เฟิง (张海峰) (2018-2020)
- หฺวาง เยี่ยนฮุย (黃豔輝) (ปลายปี 2020–ปัจจุบัน)
- ผู้ตรวจการการเมือง
- ไป๋ เซินหลิน (白森林) (กรกฎาคม 1952—พฤศจิกายน 1956)
- จู เหวย์หลิว (朱为流) (พฤศจิกายน 1956—กรกฎาคม 1960)
- หร่าน กวางจ้าว (冉光照) (กรกฎาคม 1960—มกราคม 1970)
- จู เย่าหฺวา (朱耀华) (มกราคม 1970—พฤษภาคม 1975)
- เถียน เสฺวียเฉิง (田学诚) (พฤษภาคม 1975—มีนาคม 1983)
- หยิ่น เจิ้งอี้ (尹正义) (มีนาคม 1983—ตุลาคม 1985)
- หลิว ฉี่หลิน (刘启林) (ตุลาคม 1985—มิถุนายน 1988)
- เฉิน เจิ้นเอี๋ยน (陈振炎) (มิถุนายน 1988—สิงหาคม 1990)
- หลิว ฉุนเจิน (刘存珍) (สิงหาคม 1990—กันยายน 1993)
- เจียว กวงกั๋ว (焦光国) (กันยายน 1993—มีนาคม 1995)
- เปียน ชื่อฝ่า (边士法) (มีนาคม 1995—สิงหาคม 2000)
- จาง เฉียง (张强)(สิงหาคม 2000—กรกฎาคม 2003)
- หลี หย่งหลง (李永龙) (กรกฎาคม 2003— ธันวาคม 2008)
- หม่า ลี่ (马力) (ธันวาคม 2008—มีนาคม 2014)
- หวัง เจิงเฉียง (王增强) (มีนาคม 2014–ไม่ทราบ)
- จาง จื้ออู่ (张志武) (ไม่ทราบ–ปัจจุบัน)
สหดุริยางค์
[แก้]สหดุริยางค์ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน เป็นวงดุริยางค์ทหารที่จัดตั้งขึ้นชั่วคราวโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ประกอบด้วยวงโยธวาทิตจากทุกเหล่าทัพและมณฑลทหารทั่วประเทศจีน มีสมาชิกประมาณ 1,500 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรเลงเพลงประกอบในพิธีสวนสนามทางทหารและพลเรือนเนื่องในวันชาติจีน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง นับตั้งแต่ปี 1949 หรือวัตถุประสงค์อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
การจัดตั้งสหดุริยางค์ครั้งล่าสุดคือเมื่อปี 2021 ในวาระพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "国内新闻_新闻中心_新浪网".
- ↑ "Оркестр и рота почетного караула Народно-освободительной армии Китая". 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
- ↑ "Chinese music scholars visit Mason | Fourth Estate". 31 October 2014.
- ↑ "联合军乐团奏响最强音!一气呵成演奏4小时56首乐曲,他们是如何做到的?_首页武汉_新闻中心_长江网_cjn.cn". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-13. สืบค้นเมื่อ 2019-10-13.
- ↑ "PLA band member plays at opening". 5 March 2012.
- ↑ "页面没有找到". news.mod.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2017-12-16.
- ↑ 解放军军乐厅,中国网,2009-03-19
- ↑ The 14th anniversary of the return Hong Kong to China.
- ↑ "The U.S. Army Concert Band".
- ↑ "Оркестр и рота почетного караула Народно-освободительной армии". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-08-08.
- ↑ Оркестр и рота почетного караула Народно-освободительной армии Китая на Восьмом Международном военно-музыкальном фестивале «Спасская башня». Фото.
- ↑ Kraus, Richard Curt (2 April 2004). The Party and the Arty in China: The New Politics of Culture. ISBN 9781417503568.
- ↑ Lai, Benjamin (14 July 2016). The Dragon's Teeth: The Chinese People's Liberation Army - Its History, Traditions, and Air Sea and Land Capability in the 21st Century. ISBN 9781612003894.
- ↑ "Guard of Honor of PLA shows up in new uniform (2) - People's Daily Online".
- ↑ "解放軍儀仗隊換裝 紅白軍樂隊被惡嘲 - 萬維讀者網".
- ↑ "'Blasphemy!' PLA band leader calls for tougher laws to protect the Chinese national anthem". 12 March 2015.