องอาจ สาตรพันธุ์
องอาจ สาตรพันธุ์ | |
---|---|
เกิด | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า |
|
รางวัล | “The York Price” จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล[1] “สถาปนิกดีเด่น” จากสมาคมสถาปนิกสยาม[1] ศิลปินแห่งชาติ ปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย |
ผลงานสำคัญ |
|
องอาจ สาตรพันธุ์ (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487) เป็นสถาปนิกชาวไทย และศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เป็นสถาปนิกที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัยในประเทศไทย ที่มีความสามารถในการสืบทอดและประยุกต์ใช้ศิลปะแบบดั้งเดิมผสมผสานกับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน และแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เขาได้รับรางวัลมากมายจากหลาย ๆ สถาบันทางด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
งานออกแบบขององอาจในช่วงแรก มักจะเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เน้นใช้วัสดุจำพวก คอนกรีต มีรูปแบบโมเดิร์นเต็มตัว ซึ่งล้วนได้รับอิทธิพลมาจากเลอกอร์บูซีเย เช่น อาคารโรงเรียนปานะพันธ์วิทยา ที่มีการนำแนวคิดหลักลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการของเลอกอร์บูซีเยมาใช้อย่างชัดเจน[2] ปัจจุบันอาคารแห่งนี้ได้ถูกทุบทิ้งไปแล้ว เขายังออกแบบงานในรูปแบบ สถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือย หรือที่เรียกว่า Brutalism เช่น อาคารเรียนฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[3] ด้านงานอออกแบบอาคารสูง เขาเป็นผู้ออกแบบ ตึกช้าง ซึ่งเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในตึกระฟ้าที่มีเอกลักษณ์ที่สุดในโลก 20 อันดับ[4]
งานในช่วงหลัง องอาจได้เปลี่ยนแนวทางการออกแบบไปสู่งานสถาปัตยกรรมที่เน้นกลิ่นอายของความเป็นท้องถิ่นไทย ไม่ว่าจะเป็น โรงแรมราชมรรคา โรงแรมแทมมารินวิลเลจ จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำรูปแบบล้านนามาใช้ในงานออกแบบอย่างเต็มตัว เขายังเป็นกรรมการตัดสินผลงานดีเด่นทางสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม อีกด้วย
ประวัติ
[แก้]องอาจ สาตรพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 4 คน บิดาชื่อนายอัญ สาตรพันธุ์ มารดาชื่อนางลำเจียก สาตรพันธุ์ สมรสกับนางรุจิรัตน์ วิจิตรานนท์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา จากนั้นจึงได้ไปศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ในระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยคอร์เนล และระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเยล[5] ภายหลังจบการศึกษาองอาจได้ทำงานกับบริษัท Glen Paulsen & Associates Architects, Bloomfield Hills, รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จนต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ก่อตั้งสำนักงาน ”องอาจสถาปนิก” ขึ้นที่ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร
ผลงาน
[แก้]- อาคารโรงเรียนปานะพันธ์วิทยา
- ตึกช้าง
- โรงแรมแทมมารินวิลเลจ
- อาคารเรียนฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- โรงแรมราชมรรคา
-
Panabhandhu School
-
Sammakorn sales office
-
Elephant Building
-
Toshiba Headquater
-
Icon III Condiminium
-
Ong-ard Architects Atelier
-
Tamarind Village
-
Rachamankha Hotel
-
Private Residence Bangkok
-
Maerim Residence Chiang Mai
-
Private Residence Chiang Mai
-
Physics Building, Kasetsart University
ด้านสังคม
[แก้]- กรรมการตัดสินผลงานดีเด่นทางสถาปัตยกรรม ของ สมาคมสถาปนิกสยาม
รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ
[แก้]- รางวัล The Baird Prize จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
- รางวัลสถาปนิกดีเด่น จากสมาคมสถาปนิสยาม และรางวัลส่งเสริมเชียงใหม่งามจากสถาปนิกล้านนา 52
- พ.ศ. 2503 ได้รับรางวัล “The York Price” จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
- พ.ศ. 2505 ได้รับรางวัล “The Baird Prize” จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
- พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัลผลงาน “สถาปัตยกรรมดีเด่น” จาก Henkel Thai Factory
- ได้รับรางวัลผลงาน “สถาปัตยกรรมดีเด่น” โดยการออกแบบบ้าน ดร.กร - ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม
- พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัล “สถาปนิกดีเด่น” ในวาระครบรอบ 60 ปี จากสมาคมสถาปนิกสยาม
- พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัล “ส่งเสริมเชียงใหม่งาม” โดยการออกแบบโรงแรมแทมมารินวิลเลจ จากสถาปนิกล้านนา 45
- พ.ศ. 2552 ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ศิลปินแห่งชาติ 2552[ลิงก์เสีย], กรมส่งเสริมวัฒนธรรม .สืบค้นเมื่อ 12/07/2559
- ↑ pareparaepare, pareparaepare-pareparaepare.blogspot.com .วันที่ 14 ก.ย. 2553
- ↑ นายองอาจ สาตรพันธุ์[ลิงก์เสีย], culture.go.th .สืบค้นเมื่อ 12/07/2559
- ↑ ตึกช้างเจ๋ง! ซิวที่ 4 ใน 20 สิ่งก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์ของโลก เก็บถาวร 2012-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน M Thai
- ↑ ณ เวลานี้ในอดีต: บ้านกับลานภายใน, TCDC .สืบค้นเมื่อ 12/07/2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ หน้า ๑๔๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ong-ard Architects
- Rachamankha
- The struggle to save classic Thai architecture, The New York Times
- Farewell to PB, Art4D[ลิงก์เสีย]
- House 2000- Silence of the Past, Art4D เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Presence of the Past: Open Courtyard Houses, Thailand Creative & Design Center เก็บถาวร 2016-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Differences, Originality and Assimilation: Building Nine at Panabhandhu School-Harvard University ,Non Arkaraprasertkul& Reilly Paul Pabitaille
- A Tradition of Serenity: The Tropical Houses of Ong-ard Satrabhandhu[ลิงก์เสีย]