ข้ามไปเนื้อหา

เหยา อี้หลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฯพณฯ
เหยา อี้หลิน
姚依林
ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐ คนที่ 4 และ 6
ดำรงตำแหน่ง
มิถุนายน ค.ศ. 1987 – ธันวาคม ค.ศ. 1989
หัวหน้ารัฐบาลจ้าว จื่อหยาง
หลี่ เผิง
ก่อนหน้าซ่ง ผิง
ถัดไปโจว เจียหฺวา
ดำรงตำแหน่ง
สิงหาคม ค.ศ. 1980 – มิถุนายน ค.ศ. 1983
หัวหน้ารัฐบาลจ้าว จื่อหยาง
ก่อนหน้ายฺหวี ชิวหลี่
ถัดไปซ่ง ผิง
รองนายกรัฐมนตรีจีน คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
25 มีนาคม ค.ศ. 1988 – 5 มีนาคม ค.ศ. 1993
หัวหน้ารัฐบาลหลี่ เผิง
ก่อนหน้าว่าน หลี่
ถัดไปจู หรงจี
ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1978 – ค.ศ. 1982
ผู้นำฮฺว่า กั๋วเฟิง
หู เย่าปัง
ก่อนหน้าวัง ตงซิง
ถัดไปหู ฉีลี่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
ดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม ค.ศ. 1978 – ตุลาคม ค.ศ. 1978
หัวหน้ารัฐบาลฮฺว่า กั๋วเฟิง
ก่อนหน้าหวัง เหล่ย์ [zh]
ถัดไปจิน หมิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วิลเลียม ยิว ฮักกวง

6 กันยายน ค.ศ. 1917(1917-09-06)
บริติชฮ่องกง
เสียชีวิต11 ธันวาคม ค.ศ. 1994(1994-12-11) (77 ปี)
ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1935–1994)
คู่สมรสโจว ปิน
หง โช่วจื้อ
บุตรเหยา หมิงรุ่ย[1]
เหยา หมิงชาน
เหยา หมิงตวน
เหยา หมิงเหว่ย์
ญาติหวัง ฉีชาน (ลูกเขย)
เมิ่ง สฺเวหนง (ลูกเขย)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิงหฺวา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ จีน
สังกัด กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ประจำการ1935–1949
ผ่านศึกสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามกลางเมืองจีน

เหยา อี้หลิน (จีน: 姚依林; พินอิน: Yáo Yīlín; 6 กันยายน ค.ศ. 1917 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1994) เป็นนักการเมืองและทหารชาวจีนผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1979 ถึง 1988 และรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ตั้งแต่ ค.ศ. 1988 ถึง 1993[2]

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ

[แก้]

เขาเกิดที่ฮ่องกงใน ค.ศ. 1917 และใช้ชีวิตช่วงวัยเด็กที่เมืองกุ้ยฉี อานฮุย เหยาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1935 ระหว่างขบวนการ 9 ธันวาคม เหยาเป็นเลขาธิการของกลุ่มศึกษาพรรคการเมืองปักกิ่ง ระหว่างสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เขารับตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานการเงินของพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของคอมมิวนิสต์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาอันยาวนานของการเป็นผู้นำในตำแหน่งทางการเงิน ใน ค.ศ. 1979 เหยาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของคณะมนตรีรัฐกิจ ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 13 ใน ค.ศ. 1987 เหยาได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมธิสามัญปรัจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนและต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่ 1

บทบาทในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989

[แก้]

ระหว่างการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 เหยาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีจีนคนที่ 1 และรับผิดชอบด้านการวางแผนและบริหารเศรษฐกิจ[3] เหยาเกี่ยวข้องกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมของพรรคที่ปฏิเสธว่านักศึกษาเป็นผู้รักชาติและสนับสนุนให้ปราบปรามการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ทั้งเหยาและหลี่ เผิงต่างก็สามารถต่อต้านจ้าว จื่อหยางได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้แน่ใจว่าอิทธิพลของฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะครอบงำการตัดสินใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[4]

การมีส่วนร่วมกับบทบรรณาธิการ 26 เมษายน

[แก้]

บทบรรณาธิการ 26 เมษายนที่ตีพิมพ์ใน เหรินหมินรื่อเป้า ทำให้กลุ่มนักศึกษาโกรธเคืองและส่งผลให้จำนวนผู้คนในจัตุรัสเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก รายงานอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระบุว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้มีเจตนารักชาติและนักศึกษาถูกนำโดยกลุ่มเล็ก ๆ ของผู้สมรู้ร่วมคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์เพื่อก่อให้เกิด "ความวุ่นวาย" ความเห็นของเติ้ง เสี่ยวผิงถูกนำไปลงในบทบรรณาธิการเพื่อช่วยสนับสนุนและเพื่อให้แน่ใจว่าชาวจีนจะยอมรับมุมมองของพรรคเกี่ยวกับการประท้วงดังกล่าวอย่างเชื่อฟัง[3]: 336  อย่างไรก็ตาม มีฝ่ายที่ขัดแย้งกันสองฝ่ายเกิดขึ้นในพรรค ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนให้คงบทบรรณาธิการไว้เช่นเดิม อีกฝ่ายหนึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงบทบรรณาธิการเพื่อเอาใจนักศึกษา เหยาปฏิเสธข้อเสนอของจ้าวที่จะรับผิดเรื่องการเปลี่ยนความเห็นของพรรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพราะประชาชนจะเริ่มสงสัยในความสามัคคีของพรรค[3]: 238  เหยาเสนอให้ลดการปรองดองกับนักศึกษาลลง ตรงกันข้าม เขาต้องการป้องกันไม่ให้ผู้นำทางการเมืองอื่น ๆ สนับสนุนการประท้วง บังคับให้นักศึกษายุติการคว่ำบาตร และรักษาวินัยแรงงานในอุตสาหกรรมและพาณิชย์เพื่อให้การผลิตดำเนินต่อไปได้ [3]: 239  เหยาและหลี่ เผิงเป็นผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยเห็นด้วยกับมุมมองของเติ้งต่อการประท้วง เติ้งได้รับเกียรติและความเคารพเป็นอย่างมากในประเทศจีนเนื่องจากเขาเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์มาเป็นเวลานานและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตผู้นำที่โด่งดังของจีนอย่างเหมา เจ๋อตง[5] เหยาค่อย ๆ ถอนการสนับสนุนจากกลุ่มปฏิรูปของจ้าว จื่อหยางด้วยการทำให้ผู้สนับสนุนของเขาเชื่อว่าจ้าวเข้าข้างนักศึกษาเกินไปเกี่ยวกับการชี้แจงบทบรรณาธิการ เหยาโจมตีจ้าวเพราะเขาตำหนิพรรคที่ปล่อยให้การทุจริตดำเนินไปโดยไม่มีการตรวจสอบและทำให้ประชาธิปไตยและกฎหมายในจีนแย่ลง[3]: 245  จ้าวพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากเมื่อเหยาและนักอนุรักษ์นิยมคนอื่น ๆ ทำงานร่วมกันและค้านการตัดสินใจที่เขาทำร่วมกับนักปฏิรูปคนอื่น ๆ เช่น เฉิน อีจือและเป้า ถง[6]

เหตุผลการออกกฎอัยการศึก

[แก้]

เหยาและหลี่ เผิงคือสองบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 4 มิถุนายนมากที่สุด ความจำเป็นในการมีกฎอัยการศึกเกิดขึ้นจากความกลัวว่านักศึกษาที่หลั่งไหลเข้ามาในจัตุรัสอย่างต่อเนื่องนั้นถูกบังคับโดยกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างลับ ๆ บรรดาผู้นำพรรคต่างหวั่นเกรงว่าอำนาจเหล่านี้กำลังบังคับให้นักศึกษาและผู้ประท้วงหลั่งไหลเข้ามาในจัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำหน้าที่เพียงขัดขวางไม่ให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนปกครองประชาชนจีน[3]: 147  กลุ่มอนุรักษ์นิยมมองว่ากฎอัยการศึกเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะสามารถปราบปรามผู้ประท้วงในอนาคตได้อย่างรุนแรงและป้องกันไม่ให้พวกเขาพยายามเข้าถึงจัตุรัสดังกล่าว ตามที่โทนี ไซช์กล่าว เหยาเป็นผู้สนับสนุนกฎอัยการศึกอย่างแข็งขันมากเพราะเขาเห็นว่ามันเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะยุติการประท้วงและฟื้นฟูการดำเนินงานตามปกติของปักกิ่ง[7] ในระหว่างหารือกับผู้นำพรรคคนอื่น ๆ เหยากล่าวว่า "ธรรมชาติของขบวนการนักศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากการแสดงออกถึงความเศร้าโศกตามธรรมชาติและกลายมาเป็นความวุ่นวายทางสังคม"[3]: 96  เขาสนับสนุนให้องค์กรนักศึกษาที่ได้รับการรับรองโดยไม่ได้เป็นทางการทั้งหมดถูกพิจารณาว่าผิดกฎหมายเพราะเขาเกรงว่าองค์กรเหล่านี้จะทำให้เกิดความวุ่นวายนอกปักกิ่งและทั่วทั้งประเทศ นอกจากนี้ เหยายังเป็นสมาชิกเพียงคนเดียวในคณะกรรมาธิการสามัญฯ ที่ปฏิเสธการเจรจากับนักศึกษาเพราะเขาเชื่อว่ากลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดเล็ก ๆ อยู่เบื้องหลังองค์กรนักศึกษาเหล่านี้และการเจรจากับพวกเขาจะยิ่งเสริมสร้างความสามารถของพวกเขาในการโค่นล้มพรรคคอมมิวนิสต์จีน[3] ในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ โจว จุง-ยาน กล่าวถึงเหตุที่หลี่ เผิงและเหยา อี้หลินสนับสนุนกฎอัยการศึกเนื่องจากกฎดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มหัวรุนแรงสามารถกุมอำนาจที่ตนเคยมีในประเทศได้[8]

เสียชีวิต

[แก้]

เหยาเสียชีวิตด้วยอาการป่วยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1994 ขณะมีอายุได้ 77 ปี

ครอบครัว

[แก้]

เหยาและหง โช่วจื้อ ภรรยา มีบุตรด้วยกันสี่คน ได้แก่ เหยา หมิงรุ่ย (หญิง), เหมา หมิงชาน (หญิง), เหยา หมิงตวน (หญิง) และเหยา หมิงเหว่ย์ (ชาย) สามีของเหยา หมิงชานคือหวัง ฉีชาน อดีตรองประธานาธิบดีจีน สามีของเหยา หมิงตวนคือเมิ่ง สฺเวหนง อดีตผู้ว่าการมณฑลชานซีและอดีตนายกเทศมนตรีปักกิ่ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "姚明瑞同志逝世消息".
  2. Wolfgang Bartke (1 January 1997). Who was Who in the People's Republic of China. Walter de Gruyter. pp. 578–. ISBN 978-3-11-096823-1.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Zhang Liang. Tiananmen Papers. Public Affairs, 2002. p. 639. ISBN 978-0-349-11469-9
  4. George H. W. Bush Library. "White House Situation Room Files, Tiananmen Square Crisis File, China – Part 1 Of 5 Tianamen Square Crisis" Tiananmen Square and U.S.-China relations, 1989–1993, May–June 1989. p 76. Retrieved November 12, 2010, from Archives Unbound.
  5. Ming Pao. "Balance of Power" Daily Report, June 1989. p 5. Retrieved November 18, 2010, from Foreign Broadcast Information Service Daily Reports: http://docs.newsbank.com/s/HistArchive/fbisdoc/FBISX/11EF37C662B613F0/10367B8A6237537E
  6. Cheng Ming. "CPC Split" Daily Report, June 1989. p 28. Retrieved November 18, 2010, from Foreign Broadcast Information Service Daily Reports: http://docs.newsbank.com/s/HistArchive/fbisdoc/FBISX/11EECBE2EDFEB820/10367B8A6237537E
  7. Saich, Tony. "The Rise and Fall of the Beijing People's Movement." Contemporary China Center, Australian National University, no. 9, July 1990. p 201. Retrieved November 23, 2010, from JSTOR.
  8. Chow Chung-Yan. "Zhao Ziyang alleges Li Peng 1989 scheming; Late leader's explosive memoirs out" South China Morning Post, May 2009. p 1. Retrieved November 18, 2010, from LexisNexis.
  9. 裴毅然 (2015-01-16). 紅色生活史: 革命歲月那些事(1921-1949) (in Chinese). 時報文化出版企業. ISBN 9789865729226.
ก่อนหน้า เหยา อี้หลิน ถัดไป
วาระในพรรคการเมือง
สมัยก่อนหน้า
วัง ตงซิง
ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
ค.ศ. 1978–1982
สมัยต่อมา
หู ฉีลี่
เจ้าหน้าที่รัฐบาล
สมัยก่อนหน้า
หวัง เหล่ย์ [zh]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
ค.ศ. 1978
สมัยต่อมา
จิน หมิง
สมัยก่อนหน้า
ยฺหวี ชิวหลี่
ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐ
ค.ศ. 1980–1983
สมัยต่อมา
ซ่ง ผิง
สมัยก่อนหน้า
ซ่ง ผิง
ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐ
ค.ศ. 1987–1989
สมัยต่อมา
โจว เจียหฺวา
สมัยก่อนหน้า
ว่าน หลี่
รองนายกรัฐมนตรีจีน คนที่ 1
ค.ศ. 1988–1993
สมัยต่อมา
จู หรงจี
Order of precedence
สมัยก่อนหน้า
หู ฉีลี่
อันดับที่ 5 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คณะกรรมาธิการสามัญปะจำกรมการเมือง ชุดที่ 13

ค.ศ. 1987–1989
สมัยต่อมา
ไม่มี
สมัยก่อนหน้า
เฉียว ฉือ
อันดับที่ 4 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คณะกรรมาธิการสามัญปะจำกรมการเมือง ชุดที่ 13

ค.ศ. 1989–1992
สมัยต่อมา
ซ่ง ผิง