จิน โหย่วจือ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จิน โหย่วจือ | |
---|---|
อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เริ่น | |
เจ้าชายจีน เจ้าชายแห่งแมนจู | |
ประสูติ | 21 กันยายน ค.ศ. 1918 ตำหนักฉุนจิ้นอ๋อง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐจีน |
สิ้นพระชนม์ | 10 เมษายน ค.ศ. 2015 กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (96 ปี) |
พระชายา | จิน หยู่ติง จาง เหมายิง |
พระบุตร | จิน หยู่จาง จิน หยู่ควาน จิน หยู่หลาน จิน หยู่คุน จิน หยู่เฉิง |
ราชวงศ์ | ชิง |
พระบิดา | ฉุนจิ้นอ๋องไจ้เฟิง |
พระมารดา | พระชายาเติ้งเจีย |
จิน โหย่วจือ (จีน: 金友之; พินอิน: Jīn Yǒuzhī; 17 สิงหาคม พ.ศ. 2461 — 10 เมษายน พ.ศ. 2558) หรือ ผู่เริ่น เป็นบุตรคนที่ 4 ของไจ้เฟิง และเป็นน้องชายต่างมารดาของจักรพรรดิผู่อี๋ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนและแมนจูกัว
จิน โหย่วจือ เกิดที่ พระราชวังของเจ้าชายชุนที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2461 มีนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เริ่น (จีนตัวย่อ: 爱新觉罗 溥任; จีนตัวเต็ม: 愛新覺羅 溥任; พินอิน: Àixīnjuéluó Pǔrèn) มีพี่น้องต่างมารดาที่สำคัญในประวัติศาสตร์จีนอยู่ 2 คน คือ อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ (จักรพรรดิผู่อี๋) และอ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ย จินได้รับการศึกษาศิลปะที่สืบทอดมา และได้ตั้งโรงเรียนประถมที่พระราชวังของเจ้าชายชุนที่ 2ในปี พ.ศ. 2490 ด้วยการสนับสนุนของพ่อเขา เขาเป็นผู้อำนวยการขณะที่พี่สาวเป็นครูสอนหนังสือ ภายหลัง โรงเรียนถูกบริจาคให้กับรัฐบาลและเขาทำงานไปเรื่อยๆจนเกษียนในปี พ.ศ. 2532 หลังจากเกษียนเขาเขียนและแก้ไขหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงและวรรณกรรม
เขาเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของแมนจูกัวตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2537 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558) ต่อมานาย จิน หยี จ้างลูกชายคนโตของเขาจึงได้รับช่วงในฐานะผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของแมนจูกัวเป็นคนล่าสุดในปัจจุบัน
วงศ์ตระกูล
[แก้]8. พระปัยกา (ทวด) : สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง | ||||||||||||||||
4. พระอัยกา: เจ้าชายชุนที่ 1 | ||||||||||||||||
9. พระปัยยิกา (ทวด) : พระสนมหลิน | ||||||||||||||||
2. พระราชบิดา: เจ้าชายชุนที่ 2 | ||||||||||||||||
5. พระอัยยิกา: นางหลิงหิยา | ||||||||||||||||
1. ผู่เริ่น | ||||||||||||||||
6. พระอัยกา: ยงลู่ | ||||||||||||||||
3. พระราชมารดา: โยวหลัน | ||||||||||||||||