สะพานเหล็ก
สะพานดำรงสถิต | |
---|---|
สะพานดำรงสถิตในปี พ.ศ. 2545 | |
เส้นทาง | ถนนเจริญกรุง |
ข้าม | คลองโอ่งอ่าง |
ที่ตั้ง | แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร |
ชื่อทางการ | สะพานดำรงสถิต |
ชื่ออื่น | สะพานเหล็ก |
ตั้งชื่อตาม | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | อุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล |
ท้ายน้ำ | สะพานภาณุพันธุ์ |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานแบบโค้ง |
วัสดุ | คอนกรีตเสริมเหล็ก |
ทางเดิน | 2 |
ประวัติ | |
สร้างใหม่ | พ.ศ. 2438 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานดำรงสถิต |
ขึ้นเมื่อ | 18 มีนาคม พ.ศ. 2518 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000013 |
ที่ตั้ง | |
สะพานดำรงสถิต หรือสะพานเหล็กบน คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุง บริเวณคลองโอ่งอ่าง บนถนนเจริญกรุง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "สะพานดำรงสถิต"
ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิต" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน โดยทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในฐานะแม่กองจัดสร้าง สิ้นเงินไปทั้งสิ้น 23,200 บาท และในปีพุทธศักราช 2518 ทั้ง 2 สะพานได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ
บริเวณเชิงสะพานเหล็ก และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงคือ คลองถม เคยเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่คับคั่งมาก โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น วิดีโอเกม, โมเดลตุ๊กตา, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ซีดี และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงสื่อลามกอนาจารอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทว่าในช่วงปี พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ของสองข้างทางคลองโอ่งอ่าง จึงมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและร้านค้าทั้งหมด จึงเผยให้เป็นสภาพของตัวสะพานชัดเจน และรวมไปถึงสะพานอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ สะพานภาณุพันธุ์, สะพานหัน และสะพานบพิตรพิมุข รวมถึงสะพานโอสถานนท์ ที่อยู่สุดปลายคลองบริเวณเชิงสะพานพระปกเกล้าฝั่งข้ามไปยังฝั่งธนบุรี ส่วนร้านค้าบางร้านก็ได้ย้ายทำเลขายไปอยู่ห้างเมก้า พลาซ่า ที่อยู่ใกล้ ๆ
ปัจจุบัน เชิงสะพานยังมีซุ้มประตูวชิรสถิต 72 พรรษา ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงอีกด้วย[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- สถานที่ต่างๆ ที่เสนาบดีในสกุลบุนนาคเป็นแม่กองสร้าง เก็บถาวร 2020-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชมรมสายสกุลบุนนาค
- สะพานดำรงสถิตย์ (สะพานเหล็กบน) สะพานทิพยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) เก็บถาวร 2007-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กทม.เริ่มรื้อสะพานเหล็กแล้ว
- เคยเห็นสะพานหันมั้ย
- รู้ยังอยู่ไหนบ้าง! ๑๗ สะพานสวยงามสร้างสมัย ร.๔ ร.๕ ร.๖ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน!!
- ↑ "ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ เปิดซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 'วชิรสถิต-วชิรธำรง' ถ.เจริญกรุง". มติชน. 25 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สะพานดำรงสถิต (The Damrong stitya Bridge) เก็บถาวร 2013-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานเหล็ก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°44′49″N 100°30′14″E / 13.746944°N 100.503889°E
จุดข้ามคลองรอบกรุงในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ อุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล |
สะพานดำรงสถิต |
ท้ายน้ำ สะพานภาณุพันธุ์ |