ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระศรีไชยเชษฐ (นักองค์สงวน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สมเด็จพระศรีไชยเชษฐ)
สมเด็จพระศรีไชยเชษฐ
ជ័យជេដ្ឋា ទី៥
พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา
ครองราชย์ค.ศ. 1749–1755
ก่อนหน้าพระสัตถาที่ 2
ถัดไปพระรามาธิบดี (นักองค์ทอง)
ประสูติค.ศ. 1709
สวรรคตค.ศ. 1755
พระราชบุตรสมเด็จพระอุไทยราชา (นักองค์โสร์)[1]
สมเด็จพระรามราชา (นักองค์นนท์[2]
นักองค์ชี[2]
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
พระราชบิดาธรรมราชาที่ 3
ศาสนาพุทธ

สมเด็จพระศรีไชยเชษฐ พระนามเดิม นักองค์สงวน เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชารัชกาลที่ 102

พระองค์ประสูติเมื่อราว พ.ศ. 2252 ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศรีธรรมราชาธิราช ซึ่งหลังจากพระบิดาหนีมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมพระบิดาใน พ.ศ. 2256 พระองค์ยังอยู่ในกัมพูชา ทรงมีบทบาทสำคัญในการร่วมมือกับพระอุไทยราชา (นักองค์โสร์) ในการต่อสู้กับนักพระสัตถาใน พ.ศ. 2280 จนในที่สุดพระราชบิดาได้ขึ้นครองราชย์อีกครั้งหนึ่ง พระองค์นั้นมีพระราชโอรสสองพระองค์ คือนักองค์โนน (ต่อมาคือสมเด็จพระรามราชาธิราช) และนักองค์ชี

หลังจากกองทัพเวียดนามยกมาตีกัมพูชาใน พ.ศ. 2291 และได้รบชนะเวียดนามแล้ว ทางกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้งในนักองค์สงวนขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระศรีไชยเชษฐ์ และได้ตั้งให้ออกญาสวรรคโลก (อูฐ) ผู้มีบทบาทสำคัญในการรบกับเวียดนามขึ้นเป็นเจ้าฟ้าทะละหะ (อูฐ) แต่ใน พ.ศ. 2292 พระองค์เกิดพิพาทกับเจ้าฟ้าทะละหะ (อูฐ) เจ้าฟ้าทะละหะ (อูฐ) จึงหนีไปกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้น ในรัชกาลของพระองค์ก็เกิดกบฏขึ้นหลายครั้ง ตั้งแต่ กบฏเจ้าฟ้าทะละหะ (เอก) ที่ต้องการยกนักองค์ตน หลานปู่ของนักองค์ทองขึ้นเป็นกษัตริย์ กบฏศิลป์สัวะซ์ที่อ้างว่าเป็นพระอนุชาของนักพระสัตถา ผู้ที่เวียดนามเคยสนับสนุนให้เป็นกษัตริย์มาก่อน แต่ก็สามารถปราบกบฏลงได้โดยความช่วยเหลือของนักองค์ทอง พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2298 พระชนม์ได้ 46 พรรษา นักองค์ทองได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อมา

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 118
  2. 2.0 2.1 ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 121
บรรณานุกรม
  • เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563. 336 หน้า. ISBN 978-616-514-668-5