สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์
สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ใน พ.ศ. 2567 | |||||
สุลต่านบรูไน | |||||
ครองราชย์ | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 – ปัจจุบัน (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | ||||
ราชาภิเษก | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511 | ||||
ก่อนหน้า | สุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 | ||||
ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง | เจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์ | ||||
นายกรัฐมนตรีบรูไน คนที่ 1 | |||||
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |||||
รอง | เจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์ | ||||
ก่อนหน้า | สถาปนาตำเเหน่ง | ||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |||||
เริ่มดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |||||
ก่อนหน้า | โมฮาเม็ด โบลเกียห์ | ||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |||||
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |||||
ก่อนหน้า | เจฟรี โบลเกียห์ | ||||
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2527 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2529 (1 ปี 353 วัน | |||||
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง | ||||
ถัดไป | เจฟรี โบลเกียห์ | ||||
พระราชสมภพ | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 อิซตานาดารุสสลาม บรูไนทาวน์ บรูไนในอารักขาของอังกฤษ (ปัจจุบันคือประเทศบรูไน) ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดีน วัดเดาละฮ์ | ||||
คู่อภิเษก |
| ||||
พระราชบุตร | 12 พระองค์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โบลเกียห์ | ||||
พระราชบิดา | สุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 | ||||
พระราชมารดา | เปองีรันอานักดามิต | ||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี | ||||
Alma mater | โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สหราชอาณาจักร | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระราชวงศ์แห่งบรูไน |
---|
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน สมเด็จพระราชินีแห่งบรูไน |
พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น
ตัวเอียงคืออดีตพระบรมวงศานุวงศ์
|
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดีน วัดเดาละห์ ทรงเป็นสุลต่านองค์ที่ 29 แห่งบรูไน และยังทรงเป็นสุลต่านบรูไนพระองค์แรกที่ทรงพระอิสริยยศเป็นยังดีเปอร์ตวน (สมเด็จพระราชาธิบดี) พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีดามิดแห่งบรูไน เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ และได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อปี พ.ศ. 2504 พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ทรงเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
สุลต่านได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ณ พ.ศ. 2566 กล่าวกันว่าพระองค์มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก[2]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]สุลต่านเสด็จพระราชสมภพในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่อิซตานาดารุสสลาม บรูไนทาวน์ (ปัจจุบันคือบันดาร์เซอรีเบอกาวัน) ในฐานะ เปองีรันมูดา (เจ้าชาย) ฮัสซานัล โบลเกียห์ พระองค์เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาใน Victoria Institution ที่กัวลาลัมเปอร์ หลังจากนั้นจึงศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สหราชอาณาจักร โดยจบการศึกษาใน พ.ศ. 2510[3]
พระราชกรณียกิจ
[แก้]- ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นมกฎราชกุมารแห่งบูรไนดารุสซาลาม เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2504
- เป็นพระประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้นำทางศาสนาอิสลามแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 – ปัจจุบัน
- ทรงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
พระมเหสี
[แก้]ทรงอภิเษกสมรสกับพระมเหสี 3 พระองค์ ได้แก่
- สมเด็จพระราชินีรายาอิสตรี เป็งงีรัน อานะก์ ฮัจญะห์ สเลฮา (Her Majesty Raja Isteri Pengiran Anak Hajah Saleha of Brunei Darussalam) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2489 ณ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 กับสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์ (ขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร) ทรงศึกษาด้านภาษามลายู ภาษาอังกฤษ และการศาสนา ณ พระราชวังดารุลฮานา (Istana Darul Hana) จากนั้นทรงศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมสตรีรายาอิสตรี (Raja Isteri) ณ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน มีพระราชโอรส 2 พระองค์ พระราชธิดา 4 พระองค์
- พระมเหสีเป็งงีรัน อิสตรี ฮัจญะห์ มาเรียม อดีตพนักงานต้อนรับสายการบินรอยัลบรูไนแอร์ไลน์ มีเชื้อสาย อังกฤษและญี่ปุ่น มีพระราชโอรส 2 พระองค์ พระธิดา 2 พระองค์ (ทรงหย่าเมื่อปี 2546)
- อัซรีนาซ มาซาร์ ฮาคิม อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ประเทศมาเลเซีย มีพระราชโอรส 1 พระองค์ พระราชธิดา 1 พระองค์ (ทรงหย่าเมื่อปี 2553)
พระราชทรัพย์
[แก้]ทรงได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก [4] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 พระองค์ได้พระราชทานเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมี ดาโต๊ะ ดาพูกา ฮัจญี คามิส บิน ฮัจญี ทามิน เป็นตัวแทนมอบผ่านทาง ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 [5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.) (ประเทศไทย)[6]
- เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ India Times
- ↑ "World's second-longest reigning monarch, Sultan Hassanal Bolkiah, marks golden jubilee in style". Times Now. 5 October 2017. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
- ↑ Leifer, Michael (13 May 2013). Dictionary of the Modern Politics of Southeast Asia. Routledge. p. 76. ISBN 9781135129453.
- ↑ "พระมหากษัตริย์แห่งบรูไน โดย NationChannel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-11.
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ. ปีที่ 25 ฉบับที่ 8444. วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554. หน้า 16
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน ๗ ราย เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๑๘๙ ง, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑. หน้า ๘๔๗๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 | สุลต่านแห่งบรูไน (5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในราชสมบัติ |