ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไน

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อับดุล มาตีน
เจ้าชายอับดุล มาตีน เมื่อ พ.ศ. 2567
ประสูติ10 สิงหาคม พ.ศ. 2534 (33 ปี)
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ประเทศบรูไน
พระชายาอานีชา รซนะฮ์ บินตี อาดัม (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน)
ราชวงศ์บลกียะฮ์
พระบิดาสุลต่านฮัสซานัล บลกียะฮ์
พระมารดามาเรียม อับดุล อาซิซ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ บรูไน
แผนก/สังกัดFlag of the กองทัพอากาศบรูไน กองทัพอากาศบรูไน
ประจำการ2553–ปัจจุบัน
ชั้นยศ พันตรี

เจ้าชายอับดุล มาตีน (มลายู: Pengiran Muda Abdul Mateen; ประสูติ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2534) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล บลกียะฮ์ ประสูติแต่มาเรียม อับดุล อาซิซ อดีตพระมเหสี[1] และเป็นพระอนุชาร่วมพระชนนีในเจ้าชายอับดุล อาซิม

พระประวัติ

เจ้าชายอับดุล มาตีน เป็นพระราชบุตรลำดับที่สิบในสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล บลกียะฮ์ ประสูติแต่มาเรียม อับดุล อาซิซ อดีตพระมเหสี พระองค์มีเชื้อสายญี่ปุ่นและอังกฤษมาแต่พระชนนี[2][3] (บางแห่งว่าเป็นชาวสกอต)[4] ส่วนพระนามมาตีนนั้น มีความหมายว่า "มั่นคง" เมื่อรวมกับคำว่าอับดุลจะมีความหมายว่า "บ่าวของผู้ไม่มีวันอ่อนล้า"[5]

พระองค์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ปาดูกาเซอรีเบอกาวันซุลตัน (Paduka Seri Begawan Sultan Science College) และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนนานาชาติเจอรูดง (Jerudong International School) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทรงเข้าร่วมหลักสูตรกองทัพบกโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์[6] และทรงสำเร็จการศึกษาในเดือนเมษายนปีถัดมา โดยมีพระชนกเสด็จเข้าร่วมพิธีสำเร็จการศึกษาด้วย ถือเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่รับพระยศทางทหาร[7] ทรงสำเร็จศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการเมืองระหว่างประเทศ ณ วิทยาลัยคิงส์ (King’s College)[1] และทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาการระหว่างประเทศ วิทยาลัยบูรพาคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน[8]

ชีวิตส่วนพระองค์

เจ้าชายอับดุล มาตีน กล่าวว่าพระองค์ใช้ชีวิตเช่นปกติชน โปรดที่จะแต่งพระองค์อย่างเรียบง่าย หากจะแต่งกายอย่างเป็นทางการก็เมื่อออกงานเท่านั้น[9] โปรดฟังแนวเพลงป็อป ทรงตีกลองและเล่นกีตาร์ได้[8] พระองค์โปรดเสวยอาหารไทยรสจัด[8] โดยเฉพาะลาบ[9] ปัจจุบันพระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักนูรุลอิซซะฮ์ ในหมู่บ้านเจอรูดง แขวงเซิงกูรง เขตบรูไน-มัวรา[10]

พระองค์ทรงคบหากับอานีชา อีซา-คาเลบิก (Anisha Isa-Kalebic) หรืออานีชา รซนะฮ์ บินตี อาดัม (Anisha Rosnah binti Adam) หญิงลูกเสี้ยวโครเอเชีย สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบาธ และเป็นหลานสาวของเปฮิน ดาโต ฮาจี อีซา (Pehin Dato Haji Isa) ที่ปรึกษาองค์สุลต่าน และผู้ร่วมก่อตั้งสายการบินรอยัลบรูไน[11][12] พระราชพิธีเสกสมรสถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2567[13][14][15]

พระกรณียกิจ

กีฬา

พระองค์สนพระทัยด้านการกีฬาเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นนักฟุตบอลของทีมเอเอ็มกันเนอส์เอฟซี (AM Gunners FC) และประทานเงินอุปถัมภ์ด้วย[16] ทรงมีเดวิด เบคแคม เป็นนักฟุตบอลที่ชื่นชอบ และเป็นแฟนของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[8] นอกจากนี้พระองค์ชื่นชอบกีฬาเอกซ์ตรีม[17] และกำลังฝึกศิลปะการต่อสู้แบบผสมโดยเฉพาะมวยไทย[8]

เจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไน
เหรียญรางวัล
โปโล
ตัวแทนของ ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน
ซีเกมส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กัวลาลัมเปอร์ 2017 ประเภททีมชาย

เจ้าชายอับดุล มาตีนทรงเล่นกีฬาโปโลร่วมกับสมาชิกพระราชวงศ์ด้วย[1] พระองค์เข้าแข่งขันกีฬาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ในรายการออลเอเชียคัพ 2016 (All Asia Cup 2016) ที่จัดขึ้นในประเทศไทย[9] และในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน ทรงเข้าร่วมโปโลการกุศลริชาร์ดมิลล์โปโลแชริตี 2016 ณ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อระดมทุนเข้ามูลนิธิผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นเด็ก ร่วมกับริชาร์ด มิลล์ ยี่ห้อนาฬิกาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยทีมของพระองค์รับรางวัลรองชนะเลิศซึ่งพ่ายทีมของพระราชบิดาเพียงหนึ่งคะแนน[18]

พ.ศ. 2560 พระองค์ทรงเข้าร่วมแข่งขันโปโลประเภททีมในซีเกมส์ 2017[19] เช่นเดียวกับเจ้าหญิงอาเซมะฮ์ นีมาตุล พระเชษฐภคินีร่วมพระชนกชนนีที่ลงแข่งขันกีฬาโปโลเช่นกัน[20][21]

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2534 — ปัจจุบัน : เจ้าชายอับดุล มาตีน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏแห่งบรูไน[22]

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "The world's most eligible Muslim royals 2014: charming princes" (ภาษาอังกฤษ). Aguila. 14 กันยายน 2556. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "The world's largest divorce settlement" (ภาษาอังกฤษ). Scotsman. 4 กุมภาพันธ์ 2003. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2012.[ลิงก์เสีย]
  3. "Sultan of Brunei's ex-wife and the £2m con" (ภาษาอังกฤษ). The Telegraph. 24 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2012.
  4. "Sultan of Brunei has divorced his third wife - but remains married to the first" (ภาษาอังกฤษ). Dailymail. 16 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2012.
  5. "ทราบหรือยังว่าพระนามเต็มของ "เจ้าชายสุดแซบแห่งบรูไน" คืออะไร?". MGR Online. 25 กุมภาพันธ์ 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "HRH 'Abdul Mateen goes to Sandhurst" (ภาษาอังกฤษ). ฺThe Brunei Times. 11 พฤษภาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "A proud moment at Sandhurst" (ภาษาอังกฤษ). The Brunei Times. 12 เมษายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 พอล สุจริตกุล (เขียน), นิชานาถ พรหมสวัสดิ์ (แปล) (28 มีนาคม 2559). "ความในใจของเจ้าชาย Abdul Mateen หลังโดนถล่มไอจี". GQ Magazine. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 "เจ้าชายอับดุล มาทีน แห่งราชวงศ์บรูไน เจ้าชายที่ฮอตที่สุดในโลกวินาทีนี้". GQ Magazine. 23 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Ambassador Maeda's audience with His Royal Highness Prince 'Abdul Mateen". Embassy of Japan in Brunei Darussalam. 2022-06-16. สืบค้นเมื่อ 2023-10-09.
  11. "Siapa Anisha Pacar Pangeran Brunei? Terbongkar Asal-usul & Pesona Calon Menantu Sultan Bolkiah" (ภาษามาเลย์). Tribune Style. 12 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "รู้จัก "อนิชา อิซา-คาเลบิก" แฟนสาวของ "เจ้าชายมาตีน" สุดฮอตแห่งบรูไน". ผู้จัดการออนไลน์. 27 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. Hashem, Hadeel. "Royal Wedding of the Decade: Brunei's Prince 'Abdul Mateen Bolkiah to Marry Anisha Rosnah in 2024". bnnbreajing.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-11. สืบค้นเมื่อ 8 January 2024.
  14. Wong, Benjamin. "What We Know About Prince Mateen Of Brunei's Wedding This Year". lifestyleasia. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
  15. Zheng, Zhangxin. "Brunei prince Abdul Mateen, 32, to get married in Jan. 2024". สืบค้นเมื่อ 8 October 2023.
  16. "Prince Abdul Mateen presents charity cheques". Sultanate. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "เจ้าชายอับดุล มาทีน ขวัญใจสาวไทยคนใหม่ "ทรงพระแซ่บ"". MGR Online. 27 กุมภาพันธ์ 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-29. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "คิงบรูไนทรงให้ครอบครัว "ศรีวัฒนประภา" ร่วมแข่งโปโลการกุศล". MGR Online. 22 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  19. "สาวกรี๊ด ! "เจ้าชายมาทีน" แห่งบรูไน ทรงร่วมแข่งโปโลซีเกมส์". MGR Online. 23 สิงหาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-24. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "สุดฮอต เจ้าชายบรูไน พระโอรสองค์สุลต่านแข่งโปโลซีเกมส์ สาวแทบเหยียบกันขอเซลฟี่". ข่าวสด. 23 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "พระบรมวงศานุวงศ์ ไทย - บรูไน แสดงพระปรีชาสามารถด้านกีฬาใน ซีเกมส์ ครั้งที่ 29". Hello! Thailand. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  22. Royal Ark, Brunei genealogy details p.13

แหล่งข้อมูลอื่น