สมถะ
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
สมถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้
- จิตตสมถะ - ความสงบระงับจากอกุศลนิวรณ์แห่งจิต (สมถกรรมฐาน)
- อธิกรณสมถะ - วิธีการสงบระงับอธิกรณ์การทะเลาะมีเรื่องมีราวกันในหมู่สงฆ์ มี 7 อย่าง เรียก สัตตาธิกรณสมถะ
- สัพพสังขารสมถะ ความสงบระงับสังขารทั้งปวง หมายถึง พระนิพพาน[1]
สมถกรรมฐาน
[แก้]สมถกรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานอันเป็นอุบายสงบใจ ซึ่งคู่กับวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นอุบายเรืองปัญญา
สมถกรรมฐาน คือ วิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสมาธิ คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน คือ วิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสติ
สมถกรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานที่ทำให้บรรลุอุปจารสมาธิขึ้นไป มีอยู่ 40 อย่าง[2] คือ
- กสิณ 10
- อสุภ 10
- อนุสสติ 10
- อัปปมัญญาหรือพรหมวิหาร 4
- อรูปฌาน 4
- จตุธาตุววัฏฐาน
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา[3]
รายละเอียด
[แก้]- พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นอารมณ์ให้สำเร็จอุปจารสมาธิ (หมายถึงทำได้สูงสุดที่อุปจารสมาธิ)
- อสุภ 10 และกายคตาสติ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จปฐมฌาน
- เมตตา กรุณา มุทิตา เป็นอารมณ์ให้สำเร็จตติยฌาน
- อุเบกขา ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ เตโชกสิณ โลหิตกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ และอานาปานสติ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จจตุตถฌาน
- อากาสกสิณ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ อากาสานัญจายตนะ, วิญญาณัญจายตนะ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ วิญญาณัญจายตนะ, อากิญจัญญายตนะ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ อากิญจัญญายตนะ, เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
- กสิณ 10 และอัปปมัญญา 4 ควรขยายอารมณ์กรรมฐาน
- อรูปกรรมฐาน ก้าวล่วง รูป, เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก้าวล่วง เวทนาและสัญญา
- กสิณ 10 เป็นปัจจัยแห่งอภิญญา 5 และกรรมฐานที่เหลือไม่เป็นปัจจัยแห่งอภิญญา 5
- เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่เป็นเหตุแห่งวิปัสสนา
- กสิณ 10 อสุภ 10 กายคตาสติ และอานาปานสติ มีนิมิตเป็นอารมณ์กรรมฐาน
- วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา มีสภาวธรรมเป็นอารมณ์กรรมฐาน
- อัปปมัญญา 4 อากาสานัญจายตนะและอากิญจัญญายตนะ เป็นอารมณ์ที่พูดไม่ถูก ไม่มีทั้งนิมิตและสภาวธรรมเป็นอารมณ์กรรมฐาน
- อสุภ 10 ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ เตโชกสิณ โลหิตกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ กำหนดนิมิตโดยการเห็น
- อานาปานสติ กำหนดนิมิตโดยการถูกกระทบ
- วาโยกสิณ กำหนดนิมิตโดยการเห็นและการถูกกระทบ
- พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา เมตตา กรุณา มุทิตา กำหนดนิมิตโดยการฟังหรือคิดพิจารณา
- กายคตาสติ กำหนดนิมิตโดยการเห็นและการฟังหรือคิดพิจารณา
- อุเบกขาเป็นบาทฐานต่อจากตติยฌานของผู้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา, อากาสกสิณเป็นบาทฐานต่อจากปฐมฌานของผู้เจริญกสิณทั้ง 9 (เว้นอากาสกสิณ) อรูปกรรมฐานเป็นบาทฐานต่อจากจตุตถฌานของผู้เจริญอากาสกสิณ, อรูปกรรมฐานบทต่ำกว่าย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อรูปกรรมฐานบทที่สูงกว่าโดยลำดับ คือ อากาสกสิณย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อากาสานัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อากิญจัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ, อุเบกขา อากาสกสิณ อรูปกรรมฐาน ผู้ใหม่ไม่พึงปฏิบัติก่อนเพราะเป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้ง
- อสุภ 10 กายคตาสติ อานาปานสติ จตุธาตุววัฏฐาน เป็นทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพราะมีรูปนามเป็นอารมณ์
- กสิณ 10 อัปปมัญญา 4 อรูปฌาน 4 พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จัดเป็นสมถกรรมฐานอย่างเดียว เพราะไม่มีรูปนามเป็นอารมณ์
ขีดขั้นความสำเร็จของกรรมฐานแต่ละประเภท
[แก้]กสิณ 10 | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิ | ปฐมฌาน | ทุติยฌาน | ตติยฌาน | จตุตถฌาน | ||
อสุภะ 10 | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิ | ปฐมฌาน | |||||
อนุสติ 8ข้อแรก | อุปจารสมาธิ | |||||||
กายคตาสติ | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิ | ปฐมฌาน | |||||
อานาปานสติ | ปฏิภาคนิมิต | อุปจารสมาธิ | ปฐมฌาน | ทุติยฌาน | ตติยฌาน | จตุตถฌาน | ||
อัปปมัญญา 3ข้อแรก | อุปจารสมาธิ | ปฐมฌาน | ทุติยฌาน | ตติยฌาน | ||||
อุเบกขาพรหมวิหาร | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | ||||||
อาหาเรปฏิกูลสัญญา | อุปจารสมาธิ | |||||||
จตุธาตุววัฏฐาน | อุปจารสมาธิ | |||||||
อากาสานัญจายตนะ | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | อากาสานัญจายตนะ | |||||
วิญญาณัญจายตนะ | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | วิญญาณัญจายตนะ | |||||
อากิญจัญญายตนะ | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | อากิญจัญจายตนฌาน | |||||
เนวสัญญานาสัญญายตนะ | อุปจารสมาธิ | จตุตถฌาน | เนวสัญญานาสัญญายตนะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.palungjit.com/tripitaka/search.php?kword=%CD%C7%D4%CA%D2%CB%D2%C3%D0[ลิงก์เสีย]
- ↑ คัมภีร์วิสุทธิมรรค
- ↑ คัมภีร์วิมุตติมรรค