ข้ามไปเนื้อหา

กุศลและอกุศล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อกุศล)

กุศล หมายถึง บุญ ความดี ความฉลาด[1][2]

ในทสุตตรสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่ารากเหง้าของกุศลมี 3 อย่าง คือ ความไม่โลภ ความไม่คิดประทุษร้าย และความไม่หลง[3]

อกุศล (น นิบาต/อ- อุปสรรค (ไม่) + กุสล) หมายถึง บาป, ความชั่วร้าย,[4] ไม่เป็นมงคล,[5] ไม่ฉลาด, กรรมชั่ว ตรงกันข้ามกับ กุศล ซึ่งแปลว่า ความดี

ในสัมมาทิฏฐิสูตร พระสารีบุตรอธิบายว่า อกุศล คือ

  1. ปาณาติบาต หมายถึง การทำชีวิตให้ตกล่วง
  2. อทินนาทาน หมายถึง การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์
  3. กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง ความประพฤติผิดในกาม
  4. มุสาวาท หมายถึง คำโกหก
  5. ปิสุณาวาจา หมายถึง คำส่อเสียด
  6. ผรุสวาจา หมายถึง คำหยาบ
  7. สัมผัปปลาปะ หมายถึง คำพูดเพ้อเจ้อ
  8. อภิชฌา หมายถึง การเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
  9. พยาบาท หมายถึง การคิดร้ายผู้อื่น
  10. มิจฉาทิฐิ หมายถึง ความเห็นผิด

รากเหง้าแห่งอกุศลข้างต้นเรียกว่า อกุศลมูล ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ

พระสารีบุตรอธิบายสรุปว่า เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอกุศลและรากเหง้าแห่งอกุศลอย่างนี้ รู้ชัดกุศลและรากเหง้าแห่งกุศลอย่างนี้ เมื่อนั้น ย่อมละอนุสัยคือราคะ บรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะ ถอนอนุสัยคือทิฐิและมานะที่ว่า เป็นเรา โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น แล้วเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้เอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้[6]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. กุศล, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 138
  3. ทสุตตรสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
  4. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
  5. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  6. สัมมาทิฏฐิสูตร, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
บรรณานุกรม
  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
  • พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
  • ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4