ข้ามไปเนื้อหา

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Fisheries,
Kasetsart University
สถาปนา2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
(81 ปี 135 วัน)
คณบดีผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ
ที่อยู่
วิทยาเขตบางเขน
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
วิทยาเขตกำแพงแสน
1 หมู่ 6 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
วารสารKasetsart University Fisheries Research Bulletin
เพลงประมง
สี███ สีน้ำทะเล [1]
มาสคอต
ปลากระโทงแทง
เว็บไซต์www.fish.ku.ac.th

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาการประมง และทรัพยากรทางน้ำแห่งแรกของประเทศไทย เน้นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้ง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ บริหารศาสตร์ พัฒนศาสตร์ นิติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ปัจจุบัน เปิดสอนในสาขา การจัดการประมง ชีววิทยาประมง ผลิตภัณฑ์ประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และวิทยาศาสตร์การประมง ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญาเอก คณะประมงผ่านการประเมินด้วยคะแนนสูงสุด(5/5)ระดับดีมาก โดยสกว. 2553[2]

Fisheries ชื่อคณะประมง (Faculty of Fisheries) ในภาคภาษาอังกฤษ นั้นแปลว่า การรวม (Faculty) ของสหวิชาประมงต่างๆ (Fishery)

ประวัติ[แก้]

กำเนิดและพัฒนา[แก้]

  • 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะประมงได้รับการสถาปณาพร้อมมหาวิทยาลัยในวันที่ในนามคณะการประมง จุดประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตเข้ารับราชการในกรมประมงและหน่วยงานราชการอื่นๆ แรกตั้งประกอบด้วย 4 ภาควิชา[3]คือ การจัดการประมง ชีววิทยาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ประมง (จากเดิมชื่อแผนกวิชาประมง ชีววิทยา เพาะเลี้ยง และ ผลิตภัณฑ์ ) ทำการสอนในหลักสูตร การประมงบัณฑิต(กม.บ.) ระดับ อนุปริญญา 3 ปี และปริญญาตรี 5 ปี[4]
  • พ.ศ. 2511 เพื่อขยายการวิจัยให้ครอบคลุมวิชาการประมงมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล[5]
  • พ.ศ. 2554 ได้มีการเปิดสอนหลักสูตร คณะประมง วิทยาเขตกำแพงแสน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ขึ้น
  • พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรฉบับปรับปรุงพ.ศ.2565 โดยได้มีการเพิ่มภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมประมงเข้ามา

อาคาร สถานที่[แก้]

  • คณะประมงได้มีการย้ายที่ทำการหลายครั้ง โดยมี "ตึกพลเทพ" เป็นอาคารแรกของคณะตามชื่อเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบันเป็นอาคารของกรมประมงซึ่งติดกับพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ กรุงเทพฯ)
  • พ.ศ. 2522 คณะย้ายที่ทำการจากบริเวณถนนพหลโยธิน มาบริเวณใจกลางมหาวิทยาลัยเส้นถนนชูชาติกำภู ประกอบด้วย สโมสรนิสิต อาคารภาควิชาชีววิทยาประมง อาคารภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง เป็นต้น
  • พ.ศ. 2533 คณะได้สร้างอาคารเพิ่มเติม ในบริเวณทิศเหนือของมหาวิทยาลัย เช่น อาคารภาควิชาการจัดการประมง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล โรงงานต้นแบบแปรรูปสัตว์น้ำ โรงงานต้นแบบอาหารสัตว์น้ำ สโมสรนิสิตคณะประมงเป็นต้น
  • พ.ศ. 2548 ได้ย้ายที่ทำการทั้งหมดมารวมกันที่บริเวณทิศเหนือของมหาวิทยาลัย โดยมีอาคารเอกคือ "อาคารบุญ อินทรัมพรรย์" พร้อมอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษบุญ อินทรัมพรรย์ คณบดีผู้วางรากฐานคณะ และโอนที่ตั้งสโมสรนิสิตคณะประมงเดิมเป็นที่ตั้งอาคารของบัณฑิตวิทยาลัย อาคารชีววิทยาประมงและผลิตภัณฑ์ประมงเดิมเป็นอาคารใหม่ของคณะมนุษยศาสตร์

ทำเนียบคณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง

1. ศาสตราจารย์พิเศษ บุญ อินทรัมพรรย์ พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2505
2. ศาสตราจารย์ โชติ สุวัตถิ พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2509
3. ศาสตราจารย์ จินดา เทียมเมธ พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2513
4. ศาสตราจารย์ เมฆ บุญพราหมณ์ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2526
5. ศาสตราจารย์ ดร.วิทย์ ธารชลานุกิจ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2534
6. ศาสตราจารย์ สุภาพ มงคลประสิทธิ์ พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ยนต์ มุสิก พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2550
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2558 (ครั้งที่ 1)
9. รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน (ครั้งที่ 2)

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

ภาควิชา[แก้]

ปัจจุบันคณะประมง (Faculty of Fisheries) ประกอบด้วย 6 ภาควิชา

ภาควิชาการจัดการประมง [Department of Fishery Management][แก้]

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นด้านการบริหารจัดการ การวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนิติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม (Remote Sensing), การจัดการความขัดแย้ง, การจัดการแหล่งน้ำ เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Aquatic Resources and Environment)
  • นโยบายและการบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำ (Fisheries Policy and Administration)
  • เศรษฐศาสตร์การประมง (Fishery Economics)
  • ธุรกิจการประมง (Fishery Businiss)
  • การประมงชุมชน (Fishery Society)
  • สารสนเทศเพื่อการจัดการประมง(Fisheries Information Technology)

ภาควิชาชีววิทยาประมง [Department of Fishery Biology][แก้]

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีบทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต, ระบบนิเวศวิทยา และสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA), ไวรัสวิทยา, มีนวิทยา เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ (Aquatic biodiversity)
  • นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Aquatic Ecology and Environments)
  • สรีรวิทยาสัตว์น้ำและพิษวิทยา (Aquatic Animal Physiology and Toxicology)
  • สุขภาพสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Health)
  • ชีวประวัติสัตว์น้ำและพลศาสตร์การประมง (Life History of Aquatic Animal and Fishery Dynamics)

ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ [Department of Aquaculture][แก้]

ภาควิชาที่มุ่งเน้นด้านการปรับปรุงพัฒนาพันธุกรรม และการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น ระบบการเพาะเลี้ยงแบบหนาแน่น, วิทยาภูมิคุ้มกัน, การวิเคราะห์คุณภาพน้ำและอาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น

ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง [Department of Fishery Products][แก้]

ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่มีจัดการสอนและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร[6][3][7][8][9]ในระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมการแปรรูป มาตรฐานและการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริหารโรงงานอุตสาหกรรม เช่น วิศวกรรมการแช่เยือกแข็ง, โลจิสติกส์, การวิเคราะห์และออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • เคมีและชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ (Seafood Chemistry and Biochemistry)
  • จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพทางผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products Biotechnology)
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Post-harvest Technology)

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล [Department of Marine Science][แก้]

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยี ของการจับสัตว์น้ำในทะเล เช่น ธรณีวิทยาและปิโตรเลียม, การเดินเรือ, แพลงก์ตอนวิทยา (Planktology) เป็นต้น

ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชา

  • นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ (Ecology and Biodiversity)
  • สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (Environment and Oceanography)
  • เทคโนโลยีประมงทะเล (Marine Fisheries and Maritime)
  • เทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล (Marine Biotechnology)

ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมประมง [Department of Technology and Fishery Innovation][แก้]

เป็นภาควิชาที่มุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายด้านของการประมงเข้าไว้ด้วยกัน โดยจะเน้นการเรียนรู้ผ่าน การสร้างโครงงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, การจัดการประมง, ผลิตภัณฑ์ประมง และวิทยาศาสตร์ทางน้ำ เป็นต้น

หลักสูตร[แก้]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาประมง
    • วิชาเอกการจัดการประมง
    • วิชาเอกชีววิทยาประมง
    • วิชาเอกผลิตภัณฑ์ประมง
    • วิชาเอกเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
    • วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทางทะเล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการประมง
  • สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงและเทคโนโลยี (นานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการประมง
  • สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงและเทคโนโลยี (นานาชาติ)

การขยายโอกาสการศึกษา[แก้]

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการเปิดรับนิสิต ณ วิทยาเขตกำแพงแสน [10] ในปีการศึกษา 2554 เป็นรุ่นแรก จำนวน 50 คน ดำเนินการโดยสถานีวิจัยประมงกำแพงแสน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาตามประกาศของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาเขตกำแพงแสนคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

พื้นที่คณะ[แก้]

ส่วนกลาง[แก้]

เรือวิจัย เกษตรศาสตร์2

ตั้งอยู่ทิศเหนือของวิทยาเขตบางเขน

  • อาคารบุญอินทรัมพรรย์ เป็นที่ทำการ ภาควิชาชีววิทยาประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง สำนักงานคณบดี สำนักงานเลขานุการคณะฯ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และห้องสมุดสุรีย์วิมลโลหการ
  • อาคารเมฆบุญพราหมณ์ เป็นที่ทำการ ภาควิชาการจัดการประมง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • อาคารโชติสุวัตถิ เป็นที่ทำการ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมง
  • อาคารวลัยลักษณ์
  • อาคารสุภาพมงคลประสิทธิ์ เป็นที่ทำการ ห้องปฏิบัติการวิชาพื้นฐาน
  • อาคารทัสนีย์สรสุชาติ เป็นที่ทำการ โรงงานต้นแบบแปรรูปสัตว์น้ำ
  • โรงงานต้นแบบอาหารสัตว์น้ำ
  • อาคารวิทย์ธารชลานุกิจ เป็นที่ทำการ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ

ส่วนภูมิภาค[แก้]

สถานีวิจัย ทำการวิจัย บริการวิชาการ และฝึกงานสำหรับนิสิตของคณะและนักศึกษาของจากสถาบันอื่น

เรือวิจัย

ความสัมพันธ์กับองค์กรนอกมหาวิทยาลัย[แก้]

คณะประมง ความสัมพันธ์และหรือ MoU กับองค์กรต่างๆดังต่อไปนี้

ในประเทศ[แก้]

หน่วยงาน[แก้]

สถาบันการศึกษา[แก้]

ต่างประเทศ[แก้]

นานาชาติ[แก้]

  • Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC)
  • Network of Aquaculture in Asia-Pacific (NACA)

เอเชียบูรพา[แก้]

  • Japan International Research Center for Agricultural Sciences (JIRCAS)
  • Tokyo University of Marine Science and Technology, Japan
  • Faculty of Fisheries, Kagoshima University, Japan
  • Faculty of Fisheries Sciences, Graduate School of Fisheries Sciences, Hokkaido University, Japan
  • Faculty of Agriculture, Graduate School of Bioresource and Bioenvironmental Sciences, School of Agriculture,Kyushu University, Japan
  • The College of Environmental and Marine Science and Technology, Pukyong National University, South Korea
  • South China Agriculture University, China
  • The College of Fisheries and Life Science, Shanghai Ocean University, China

เอเชียอาคเนย์[แก้]

  • Faculty of Fisheries and Marine Sciences Diponegoro University, Semarang, Indonesia
  • Faculty of Fisheries and Marine Science, Haluoleo University, Anduonohu Kendari, Indonesia
  • Faculty of Agrotechnology and Food Science, Universiti Malaysia Terengganu, Malaysia
  • College of Aquaculture and Fisheries, Can Tho University, Vietnam

โอเชียเนีย[แก้]

  • University of the Sunshine Coast, Australia

อเมริกา[แก้]

  • Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuaria (EMBRAPA), Brazil

ชีวิตและกิจกรรมในคณะ[แก้]

กิจกรรมชิงธงมีนกร หนึ่งในกิจกรรมรับน้อง
  • ชื่อเรียกเหล่านิสิตคณะ : มีนกร เป็นชื่อที่ใช้เรียกนิสิตของคณะประมง
  • เพลงคณะ

พวกเราคณะประมง คณะประมง คณะประมง ทุกคนจำนงค์ เจาะจงศึกษาตั้งใจ เพิ่มพูนสัตว์น้ำมีปลา ปูหอยนานาอาหารเมืองไทย วิธีการใด หมายใจมุ่งส่งเสริมพลัน ตรวจตราวารี มีปลามีปู คุ้มครองจ้องรู้คอยดูแลมัน หมายมุ่งสงวนชีวัน ศึกษาเลือกสรรค์ พูนพันธ์ทวี พวกเราคณะประมง เรานี้ดำรงคงสามัคคี วิชาเรามี พร้อมพลี เพื่อชาติสมบูรณ์

  • สัตว์สัญลักษณ์คณะ : ปลากระโทงแทง เป็นปลาที่รวดเร็วที่สุดในโลก และมีลักษณะสง่างาม เปรียบเสมือนนิสิตคณะประมง ได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ เข็ม(หรือ"ติ้ง") หัวเข็มขัด เสื้อ ของนิสิต
  • เข็มคณะ : ด้านหน้าเป็นรูปปลากระโทงแทง อีกด้านโยงด้วยโซ่สมอ มี 3 สี คือ เงิน ทอง และน้ำทะเล

ตัวอย่างสัญลักษณ์มีนกร(ไม่เป็นทางการ)

  • หัวเข็มขัดมีนกร : ทำด้วยวัสดุโลหะขัดมีสีเข้มคล้ายหัวเข็มขัดนิสิตของมหาวิทยาลัย สลักรูปปลากระโทงแทงและอักษร"มีนกร"
  • เสื้อคณะ : มักทำด้วยผ้าหนาและแน่น สีน้ำเงินเข้ม ด้านหลังปักลายปลากระโทงแทงและ/หรือลายสมอ
ไฟล์:นิสิตคณะประมง.jpg
ชีวิตนิสิตคณะประมง

ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆที่นิสิตชั้นปีนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ

  • ปี 1 กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมติวหนังสือ กิจกรรมบายเนียร์
  • ปี 2 กิจกรรมออกค่ายประมงอาสาพัฒนาชนบท
  • ปี 3 กิจกรรมออกร้านนิสิตประมงซีฟู้ดในงานสัปดาห์เกษตรแห่งชาติ
  • ปี 4 บริหารกิจกรรมของนิสิตคณะประมงโดยภาพรวมและจัดกิจกรรมต่างๆสำหรับนิสิตปี1

อนาคตหลังจบการศึกษา การทำงานของบัณฑิต[แก้]

บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะประมงกว่า2000คน (2535)[13] สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของหน่วยงานราชการ โครงการในพระราชดำริ สถาบันการศึกษา-วิจัย และอุตสาหกรรมต่างๆ และศึกษาต่อ ทั้งด้านประมง และด้านอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหาร การสาธารณสุขแพทย์ เภสัชกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร โลจิสติกส์ ฯลฯ

การจัดการประมง[แก้]

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและจัดการทรัพยากรชีวภาพ เช่น ประมงจังหวัด ผู้จัดการเขตของบ. เศรษฐกร นักส่งเสริมการาลงทุน นักการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ฯลฯ
  • หน่วยงาน: กรมประมง, ด่านตรวจสัตว์น้ำ, กรมพัฒนาที่ดิน, CP, ธกส., สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ฯลฯ
  • ศึกษาต่อ: MBA

ชีววิทยาประมง/วิทยาศาสตร์การประมง[แก้]

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเทคโนโลชีวภาพ เช่น นักไวรัสวิทยา นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, บ.Siam Oceanworld, บมจ.Thailux enterprise, บ.Fashion Food, กรมประมง ฯลฯ

เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ[แก้]

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสายพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์และพืชน้ำ เช่น ผู้จัดการฟาร์ม ผู้จัดการโรงงานอาหารสัตว์ นักโภชนาการสัตว์น้ำ สัตวบาล ฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, บ.Asian Feed mills, บ.king power, บ.Aquabizmagazine,บมจ.ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ , กรมประมง, เจ้าของกิจการ ฯลฯ

ผลิตภัณฑ์ประมง[แก้]

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมงและอาหารทะเล เช่น นักวิทยาศาสตร์การอาหาร ผู้จัดการโรงงานอาหาร-ยา นักจุลชีววิทยา นักวิจัยและพัฒนา วางแผนการผลิต sale engineerฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, บมจ.Thai Union(TUF), UFP, บ.ทวีวงษ์อุตสาหกรรมอาหาร, บ.Royal Foods, บ.Sunsweet, บ.Greater Pharma, Hershey Company(USA), สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร(FoSTAT),สถาบันอาหาร, สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง(TFFA), อย., กรมประมง, มกอช, การบินไทย, ธกส. ฯลฯ
  • ศึกษาต่อ: วิทยาศาสตร์การอาหาร, โภชนาการ, วิศวกรรมอุตสาหการ, MBA ฯลฯ

วิทยาศาสตร์ทางทะเล[แก้]

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะล เช่น นักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ฯลฯ
  • หน่วยงาน: CP, กรมประมง, Siam Ocean World, บ.Sheico, สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเล ฯลฯ
  • ศึกษาต่อ: ธรณีวิทยา ฯลฯ

บุคคลสำคัญ[แก้]

นิยาย ภาพยนตร์ และ สารคดี[แก้]

คณะประมงเป็นเนื้อหาในสารคดี และฟิกชั่นในนิยาย ภาพยนตร์ เช่น บุญชู , Final Score 365วันตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ , ดอกบัวขาว

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  2. "การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-19.
  3. 3.0 3.1 "ทศวรรษแรกของมหาวิทยาลัย". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  4. "พรบ.ม.เกษตร๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-03-12.
  5. "ประวัติความเป็นมา". ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  6. 6.0 6.1 "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัสนี สรสุชาติ". หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-21. สืบค้นเมื่อ 2010-07-03.
  7. "ทศวรรษที่สามของมหาวิทยาลัย". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-13. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  8. "ประวัติภาควิชา". ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-07. สืบค้นเมื่อ 2010-03-07.
  9. "ประวัติ". ภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-03-07.
  10. http://www.fish.ku.ac.th/pdf/Fisheries%20KPS.pdf
  11. "กำธรเชื่อบ่ายมีคำตอบคอนเทนเนอร์ แสมสาร". บริษัท สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. จำกัด. สืบค้นเมื่อ February 17, 2011.[ลิงก์เสีย]
  12. "ประมง". สุนทราภรณ์ บ้านคนรักสุนทราภรณ์.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-03. สืบค้นเมื่อ 2011-07-11.
  14. "ศ.ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา...กับข้อคิดการสนทนาที่กินใจ". MAC EDUCATION.

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวเนื่อง[แก้]