ข้ามไปเนื้อหา

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Pharmaceutical Sciences Establishment Project, Kasetsart University
ชื่อย่อภ. / PS
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณบดีสมหวัง ขันตยานุวงศ์
ประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้ง
ที่อยู่
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
สี  สีเขียวมะกอก

โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Pharmaceutical Sciences Establishment Project, Kasetsart University) เป็นโครงการจัดตั้งส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ภายใต้โครงการอุทยานการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2565 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 อนุมัติจัดตั้งโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1] บนพื้นที่ส่วนกลางบางเขน ตามที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์) ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ (รองศาสตราจาร์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์) นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม กล่าวคือ โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะแรกเป็นการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระยะที่สองเป็นการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ (รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ รองศาสตราจารย์ พลเอก นพ. ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ รักษาการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และนางสุชีรา จรรยามั่น ผู้อำนวยการกองบริหารยุทธศาสตร์) เข้านำเสนอข้อมูลต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ และคณะ ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และที่ประชุม ครม. ลงมติอนุมัติโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ระยะแรก พ.ศ. 2567-2572) จำนวน 8,863,934,300 บาท อันประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[2] โดยเป็นงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง และบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในระยะที่สองตั้งแต่ พ.ศ. 2572 เป็นต้นไป จะเป็นในส่วนของคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ และที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ได้มีมติอนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท ของโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามการดำเนินงานวิธีการทางงบประมาณแผ่นดิน

พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2567[3] และประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เพิ่มเติม ครั้งที่ 1) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2567 [4]

พ.ศ. 2568 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 10 มกราคม 2568[5] และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 กองกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เผยแพร่ ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ในระบบหนังสือเวียน[6]

หลักสูตร

[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรประกาศนียบัตร/ฝึกอบรมระยะสั้น ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2569 [7]

  • สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหกรรม (เปิดรับนิสิตรุ่นแรก ปีการศึกษา พ.ศ. 2569)
  • สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม (เปิดรับนิสิตรุ่นแรก ปีการศึกษา พ.ศ. 2569)

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภ.ด.)

  • หลักสูตรในอนาคต

ความร่วมมือทางวิชาการ

[แก้]
  • คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเป็นสถาบันพี่เลี้ยงให้กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเบื้องต้น ส่วนการทำความร่วมมือทางวิชาการในระดับมหาวิทยาลัย - มหาวิทยาลัยจะได้มีขึ้นต่อไป[8]
สถาบัน องค์กร ความร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันพี่เลี้ยง สังกัด ที่ตั้ง
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65, สำนักงานสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, 2565. เรียกดูเมื่อวันที่ 2022-12-15
  2. ฐานเศรษฐกิจ-ธุรกิจ ประจำวันที่ 24 มกราคม 2566 ครม.จัดเต็มทิ้งทวนงบกว่า 3 แสนล้านบาท หลังสารพัดหน่วยงานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปี 2567 รวมทั้งขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีโครงการใหญ่วงเงินเกินพันล้านบาทเข้ามาขอความเห็นชอบ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566
  3. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2567 https://eoffice.ku.ac.th/kuoffice/gen02/B30QyE.pdf
  4. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เพิ่มเติม ครั้งที่ 1) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2567 https://eoffice.ku.ac.th/kuoffice/gen05/tJpRWh.pdf
  5. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 10 มกราคม 2568 https://eoffice.ku.ac.th/kuoffice/gen05/bZuXPu.pdf
  6. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 https://eoffice.ku.ac.th/kuoffice/gen05/afKgei.pdf
  7. [คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://kasetsart-university.blogspot.com/2025/01/blog-post.html]
  8. https://kasetsart-university.blogspot.com/2025/02/blog-post.html ความร่วมมือทางวิชาการ เช้าถึงเมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]