ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์/ทำเนียบนักเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้ารวมบทความเกี่ยวกับนักเขียน/นักแปล สำหรับนำขึ้นแสดงในหัวข้อ ประกายวรรณกรรม ในสถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์

รายการบทความนักเขียน/นักแปลแนะนำ

[แก้]

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หรือชื่อเต็ม จอห์น โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (John Ronald Reuel Tolkien นามปากกาว่า J. R. R. Tolkien ) (3 มกราคม พ.ศ. 24352 กันยายน พ.ศ. 2516) เป็นกวี นักประพันธ์ นักภาษาศาสตร์ และศาสตราจารย์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์นิยายแฟนตาซีระดับคลาสสิค เรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งราชอาณาจักรบริเตน ระดับ Commander จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2515 โทลคีนได้รับขนานนามว่า บิดาแห่งวรรณกรรมแฟนตาซีระดับสูงยุคใหม่ (father of the modern high fantasy genre) ผลงานของโทลคีนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่งานแฟนตาซียุคหลังรวมถึงศิลปะแขนงอื่นที่เกี่ยวข้องมากมาย ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) นิตยสารไทมส์จัดอันดับโทลคีนอยู่ในลำดับที่ 6 ใน 50 อันดับแรกของ "นักประพันธ์ชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ยุคหลังปี 1945"...อ่านเพิ่มเติม


แสดงแล้ว

[แก้]

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365-16 ตุลาคม พ.ศ. 2434) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง...อ่านเพิ่มเติม


บียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สัน (Bjørnstjerne Martinus Bjørnson) (8 ธันวาคม พ.ศ. 2375 - 26 เมษายน พ.ศ. 2453) ชาวนอรเวย์ เป็นทั้งกวี นักเขียนบทละคร นวนิยาย นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ ผู้กำกับการแสดงละคร และบุคคลที่มีชื่อเสียงโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นของนอร์เวย์ โดยเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในสี่ของผู้ยิ่งใหญ่แห่งวรรณกรรมนอร์เวย์ยุคนั้น อีกสามคนคือ เฮนริก อิบเซน (Henrik Ibsen) อเล็กซานเดอร์ คีลแลนด์ (Alexander Kielland) และโยนัส ไล (Jonas Lie) บทกวีของเขาชื่อ Ja, vi elsker dette landet (ใช่แล้ว เรารักแผ่นดินนี้ชั่วนิรันดร์) ยังถูกนำไปแต่งเป็นเพลงชาติของนอร์เวย์ด้วย บียอร์สันได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903)...อ่านเพิ่มเติม


หลี่ ไป๋ (จีน: 李白; พินอิน: Lǐ Bái / Lǐ Bó; อังกฤษ: Li Po) (ค.ศ. 701-762) เป็นกวีจีนที่ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ถัง ได้รับการย่องย่องในฐานะ กวีอมตะ (Poet Immortal) ในประวัติศาสตร์งานประพันธ์ของจีน และยังคงมีบทกวีกว่า 1,100 ชิ้นที่ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ บทกวีของหลีไป๋ได้รับอิทธิพลจากจินตภาพของเต๋า และการนิยมชมชอบการดื่มสุรา เช่นเดียวกับ ตู้ฝู่ หลีไป๋ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการท่องเที่ยว เขาเริ่มเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วจีนเมื่ออายุ 25 ปี แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนรักอิสระ ไม่เหมือนสุภาพบุรุษในลัทธิขงจื้อทั่วไป ด้วยบุคคลิกนี้ทำให้เขาเป็นที่เลื่อมใสจากทั้งขุนนางและคนทั่วไป กระทั่งได้รับการแนะนำถึงจักรพรรรดิถังสวนจง ในราวปี ค.ศ. 742 เขาได้เข้าสู่สำนักปราชญ์ซึ่งขึ้นตรงกับจักรพรรรดิ แต่หลีไป๋เป็นกวีในราชสำนักได้ไม่ถึง 2 ปีก็ถูกไล่ออกโดยเหตุอันไม่ควร หลังจากนั้นหลีไป๋ก็เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจีนโดยมิได้ตั้งรกรากที่ไหนอีกเลยตลอดชั่วชีวิต

หลี่ไป๋ได้เขียนมากกว่า 1,000 บทกวี และมีชื่อเสียงที่สุดในบทกวีแบบ (yue fu, 乐府) ซึ่งมีความชัดเจนและมหัศจรรย์ งานของเขาได้รับแนวคิดของเต๋า ส่งเสริมและปรับปรุงแนวคิดของเต๋า หนึ่งในบทกวีที่มีชื่อเสียงของหลี่ไป๋ ดื่มเดียวดายใต้เงาจันทร์ (จีน: 月下獨酌; พินอิน: Yuè Xià Dú Zhuó; อังกฤษ: Drinking Alone under the Moon) แสดงออกถึงจิตวิญญาณของธรรมชาติ ...อ่านเพิ่มเติม


รพินทรนาถ ฐากูร (เบงกาลี: রবীন্দ্রনাথ ঠাকুর, Robindronath Ţhakur) (7 พฤษภาคม 2404 - 7 สิงหาคม 2484) มีสมัญญานามว่า "คุรุเทพ" เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวีภาษาเบงกาลี ผลงานของท่านนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากบทร้อยกรองกับบทละครซึ่งมีอยู่กว่าหนึ่งหมื่นห้าพันบรรทัด ยังมีวรรณกรรมประเภท นวนิยาย เรื่องสั้น อัตชีวประวัติ บทวิจารณ์ และบทความ นานาชนิด ปี พ.ศ. 2455 รพินทรนาถได้แปลบทกวีนิพนธ์ที่เขียนอุทิศให้แก่ภรรยาและบุตร 3 ใน 5 คนที่เสียชีวิตไปเป็นภาษาอังกฤษ แล้วรวบรวมนำมาพิมพ์เป็นเล่มให้ชื่อว่า คีตาญชลี อีก 1 ปีถัดมาขณะที่อายุได้ 52 ปี ราชบัณฑิตยสถานแห่งสวีเดนได้ประกาศจากกรุงสตอกโฮล์ม ว่าผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมประจำปี 2456 คือ รพินทรนาถ ฐากูร จากบทประพันธ์ 'คีตาญชลี' ท่านเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้...อ่านเพิ่มเติม


วินทร์ เลียววาริณ เกิดปี พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดิมชื่อ สมวินทร์ เลี้ยววาริณ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตัวเป็น วินทร์ เป็นนักเขียนที่ได้รับ รางวัลซีไรต์ ถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน) และเมื่อปี พ.ศ. 2542 (สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) โดยก่อนหน้าที่จะมาเป็นนักเขียน เขาทำงานด้านออกแบบมาก่อน คือเป็นสถาปนิก นักตกแต่งภายใน นักออกแบบกราฟิก และนักโฆษณา วินทร์เขียนเรื่องสั้นและบทความลงนิตยสารด้วย เช่น ใน มติชนสุดสัปดาห์ และยังมีผลงานเขียน ร่วมกับนักเขียนรุ่นใหม่อย่าง ปราบดา หยุ่น ในชื่อชุด ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (ดัดแปลงจากชื่อหนังสือที่ได้รับความนิยมของทั้งคู่ คือ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของวินทร์ และ ความน่าจะเป็น ของปราบดา) โดยเขียนลงเป็นตอนๆ ลงในนิตยสาร open ในลักษณะการโต้ตอบอีเมลกัน และได้รวมเล่มเป็นหนังสือแล้วสองเล่ม...อ่านเพิ่มเติม


โยโคมิโซะ เซชิ (ญี่ปุ่น: 横溝正史โรมาจิYokomizo Seishi) เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 - วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นเป็นนักเขียนนิยายแนวสืบสวนสอบสวน ผู้ประพันธุ์คินดะอิจิยอดนักสืบ นิยายที่ได้รับการตอบรับจากนักอ่านเป็นอย่างดีในประเทศญี่ปุ่น โยโคมิโซะเริ่มเขียนผลงานทางด้านวรรณกรรมชิ้นแรกคือ โอะโซะโระชิคุ เอพริลฟูล หรือในชื่อไทยว่า เอพริลอันน่าสะพรึงกลัว ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้นโยโคมิโซะมีอายุเพียงสิบเก้าปี พร้อมกับประพันธุ์นิยายแนวสืบสวนสอบสวนมาโดยตลอด ควบคุ่ไปกับการเป็นบรรณาธิการให้แก่นิตยสารที่ตีพิมพ์ผลงานของเขา จนอายุสามสิบปีจึงลาออกจากการเป็นบรรณาธิการ เพื่อผันตัวเองไปเป็นนักเขียนอาชีพในปี พ.ศ. 2512...อ่านเพิ่มเติม