ข้ามไปเนื้อหา

ศีล 227

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระวินัย 227 ข้อ ของพระ เป็นกฎหมายหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา พระวินัย 227 บทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์[1]

พระวินัย 227[2] ข้อนั้น ไม่ใช่ศีลแต่เรียกว่า พระวินัย ผู้ทำผิดศีลเรียกว่า ล่วงพระวินัย เป็น อาบัติ ระดับชั้นต่าง ๆ ตามความหนักเบา สามารถแบ่งระดับอาบัติออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ในอาบัติระดับเบาจะต้องมีการเผยความผิด อาบัติระดับเบาเช่น ปาจิตตีย์ สามารถแก้ได้โดยกล่าวแสดงความผิดของตนกับพระภิกษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำนึกผิดและเพื่อจะตั้งใจประพฤติตนใหม่ หรือที่เรียกว่า การแสดงอาบัติ, ปลงอาบัติ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกย่อมขาดจากความเป็นพระ และไม่สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้อีก ซึ่งพระวินัย ไม่ใช่ศีล แต่เป็นเสมือนกฎหมายของพระภิกษุ แต่หากจะกล่าวถึงศีลพระนั้น มีเพียง 43 ข้อ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงจะเป็นศีลพระที่แท้จริงตามพุทธบัญญัติ

พระวินัย 227

[แก้]
ชื่ออาบัติ ระดับอาบัติ ตัวอาบัติ วิธีทำคืนอาบัติ
ปาราชิก 4 ครุกาบัติ ปาราชิก ลาสิกขา
สังฆาทิเสส 13[3] ครุกาบัติ สังฆาทิเสส ประพฤติวุฏฐานวิธี
อนิยต 2[4] ครุกาบัติ, ลหุกาบัติ ตามแต่กรณี เป็นได้ทั้งปาราชิก, สังฆาทิเสส และปาจิตตีย์ ตามแต่กรณี ลาสิกขา, ประพฤติวุฏฐานวิธีหรือแสดงอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30[5] ลหุกาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สละวัตถุและแสดงอาบัติ
ปาจิตตีย์ 92[6] ลหุกาบัติ ปาจิตตีย์ แสดงอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ 4[7] ลหุกาบัติ ปาฏิเทสนียะ แสดงอาบัติ
เสขิยวัตร 75[8] ลหุกาบัติ ทุกกฏ แสดงอาบัติ
อธิกรณสมถะ 7[9] - - (วิธีระงับอธิกรณ์)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิกสิกขาบท. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [3]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  4. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ อนิยต สิกขาบทที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [4]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  5. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [5]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  6. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [6]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  7. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [7]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  8. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ เสขิยกัณฑ์. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [8]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52
  9. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ อธิกรณสมถะธรรม. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [9]. เข้าถึงเมื่อ 10-7-52

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]