สังฆาทิเสส
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
สังฆาทิเสส คือ ประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก มีทั้งหมด 13 ประการ ดังนี้
- ทำน้ำอสุจิเคลื่อน ยกเว้นฝันเปียก
- แตะต้องสัมผัสกายสตรีด้วยความกำหนัด
- พูดเกี้ยวพาราสีสตรีด้วยวาจาอันชั่วหยาบ
- พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
- ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
- สร้างกุฏิด้วยการขอ
- มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
- ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
- แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
- ทำสงฆ์แตกแยก (สังฆเภท)
- เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
- ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
- ประทุษร้ายตระกูล (ประจบคฤหัสถ์)
คำว่าสังฆาทิเสสแปลว่าอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือเมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ 4 รูปเพื่อขอประพฤติวัตรที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา 6 คืน เมื่อพ้นแล้วจึงขอให้สงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรมสวดอัพภานให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติข้อนี้
ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ปริวาสกรรมเท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาสหนึ่งเดือน แล้วจึงขอประพฤติวัตรมานัตต่อไป
อ้างอิง
[แก้]- เตรสกัณฑ์ มหาวิภังค์(ปฐมภาค) พระวินัยปิฎกเล่มที่ 1