คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล
เพิ่มหัวข้อปรับปรุงกระบวนการเสนอชื่อผู้ดูแลระบบ
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
เนื่องจากมีผู้ใช้หน้าใหม่หลายคนเมื่อเพิ่งเข้ามาใช้วิกิพีเดีย ยังไม่มีความเข้าใจวิกิืพีเดียอย่างดีพอก็อยากจะสมัครเป็นผู้ดูแลระบบแล้ว จะให้เป็นก็ไม่ได้ จะไม่ให้เป็นก็เสียกำลังใจกันอีก เพื่อป้องปรามปัญหาที่เกิดขึ้น ขอเสนอให้ปรับปรุงเงื่อนไขการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลใน 3 ประเด็น โดยผมได้ทำตัวเลือก มาให้แล้ว โปรดอภิปราย/ลงคะแนนได้ตามความเหมาะสม --taweethaも 20:52, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- หมายเหตุ
ผู้ดูแลในที่นี้หมายถึง ผู้ดูแลธรรมดา รวมถึงผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง และแนวทางนี้อาจถูกใช้สำหรับตำแหน่งอื่นๆ ที่คล้ายกันที่มาจากการเลือกตั้งในวิกิพีเดียไทยในอนาคตด้วย
- อภิปราย
- ผมคิดว่า 1,000 การแก้ไข/6 เดือนเป็นเวลาทีเหมาะสมที่สุด โดยจะได้เฉลี่ยนว่าผู้ใช้แก้ไขอย่างน้อยวันละ 5-6 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ไม่นานเกินไป และไม่เร็วเกินไป นอกจากนี้หากไม่ผ่านการเสนอชื่อในครั้งก่อนก็ควรรอเวลาเท่ากับสมาชิกสมัครใหม่ --taweethaも 20:52, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ผมขอเสนอเพิ่มตรงที่ว่า ในการแก้ไขหนึ่งพันครั้งนี้ ควรมีการพิจารณาการแก้ไขตามเนมสเปซด้วย เพราะผู้ใช้หลายคนก็ถนัดแก้ไขแต่หน้าผู้ใช้ หน้าพูดคุย แต่ไม่ได้ลงมาอภิปรายเพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้ขาดความเข้าใจในชุมชนและ/หรือระบบ แต่ผู้ใช้ที่เน้นอภิปรายนโยบายกับการแก้ไขแต่ไม่แก้ไขเอง ก็จะไม่อาจทราบว่าแท้จริงแล้ววิกิพีเดียมีไว้เผยแพร่ความรู้ แม้การอภิปรายนโยบายจะกระทำได้และยินดีให้ร่วมอภิปรายก็ตาม --∫G′(∞)dx 21:02, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ประเด็นที่สำคัญคือต้องดูว่าแก้ไขอะไรอย่างไร ดูเฉพาะเนมสเปซอย่างเดียวไม่ได้ครับ เมื่อก่อนเคยมีคนลงทุนเขียนโปรแกรมมา แก้ลบแก้ลบแก้ลบ หน้าเดิมซ้ำๆให้ได้จำนวนถึงขั้น หรือดูตัวอย่างผมก็ได้ ชอบแก้ไขเล็กน้อยแต่เซฟบ่อย กลายเป็นนิสัยไปแล้ว--octahedron80 21:14, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ แต่ตรงนี้คิดว่าเกินความสามารถ ถ้าจะนับเนมสเปซหและดูการแก้ไขอย่างละเอียด จะต้องใช้เครื่องมืออื่นเพิ่มเติม ซึ่งผมคิดว่าอาจจะซับซ้อนเกินไป เราอาจใช้วิธีัการอื่นในการปราบปราม ในที่สุดแล้วเราก็ใช้ชาววิกิพีเดียไทยในการลงคะแนนอยู่ดีครับ --taweethaも 21:30, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ผมใช้วิธีสุ่มตรวจในประวัติครับ ดูตรงที่แก้ไขหน้าเดิมมากๆว่าแก้อะไร แน่นอนว่าดูทั้งหมดก็คงเสียเวลา --octahedron80 21:33, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เข้าใจครับ แต่จะเขียนเป็น subjective criteria อย่างไรครับ --taweethaも 21:45, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เรื่องเครื่องมือ เครื่องมือนับ ของ X! และ YAEC ก็น่าจะช่วยพิจารณาได้ครับ โดยอาจทำเป็น Embed link ไปในส่วนของ Header เสนอชื่อผู้ดูแลน่ะครับ --∫G′(∞)dx 22:33, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ดีครับ แต่อาจให้ capture ผลมาเลย เพราะว่ามันใช้เวลารันนานเหมือนกัน (และบางทีก็ล่ม) จึงอาจบอกว่าให้เลือกเครื่องมือมาสักอย่าง รันให้ได้ผลแล้วเอาผลมาแสดงประกอบการเสนอชื่อ --taweethaも 22:43, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เรื่องเครื่องมือ เครื่องมือนับ ของ X! และ YAEC ก็น่าจะช่วยพิจารณาได้ครับ โดยอาจทำเป็น Embed link ไปในส่วนของ Header เสนอชื่อผู้ดูแลน่ะครับ --∫G′(∞)dx 22:33, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เข้าใจครับ แต่จะเขียนเป็น subjective criteria อย่างไรครับ --taweethaも 21:45, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ผมใช้วิธีสุ่มตรวจในประวัติครับ ดูตรงที่แก้ไขหน้าเดิมมากๆว่าแก้อะไร แน่นอนว่าดูทั้งหมดก็คงเสียเวลา --octahedron80 21:33, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ขอเสนอดังนี้ : (1) ไอพีหรือผู้ใช้ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์การเสนอชื่อผู้ดูแลระบบไม่มีสิทธิ์เสนอชื่อผู้อื่นด้วย, (2) หากไม่เป็นไปตามนี้ ให้ลบหน้าเสนอชื่อออกไปทันทีโดยไม่ต้องเก็บประวัติ, (3) ถ้าเสนอซ้ำซาก หลังได้รับการเตือนแล้ว อาจได้รับโทษบล็อก, (4) ควรมีส่วนแสดงวิสัยทัศน์ คือ ให้ผู้เสนอชื่อหรือผู้ถูกเสนอชื่อกล่าวอะไรเล็กน้อย ก่อนจะมีคำถามตามมา ครับ --Horus | พูดคุย 21:04, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย แต่ขอให้เขียนสั้นๆ ว่า ผู้มีสิทธิ์เสนอชื่อผู้ดูแลระบบ ต้องผ่านเงื่อนไขเช่นเดียวกับผู้ดูแลระบบ (จะเสนอตนเองก็ได้ หากเสนอผู้อื่นต้องได้รับความยินยอมจากผู้นั้นมีหลักฐานในวิกิพีเดียไทยก่อน) --taweethaも 21:22, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย ผมทำเช่นนั้นอยู่แล้ว แต่เขียนให้ชัดก็ดีว่า หากไม่ตรงกับเงื่อนไขให้ถือว่า โมฆะ (นั่นคือเสมือว่าไม่มีการเสนอครั้งนั้น - กรณีคนดีถูกแกล้งเสนอ - การเป็นโฆษะไม่ตัดสิทธิ์คนดีผู้นั้นจะเสนอตนเอง) --taweethaも 21:22, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย แต่ไม่ต้องเขียน ทำผิดกฎหลายครั้ง ถือว่าก่อกวนอยู่แล้ว --taweethaも 21:22, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย ควรแสดงความคิดเห็น วิสัยทัศน์ วิเคราะห์ SWOT หรือทำอะไรที่แสดงความสามารถสักหน่อย (เลือกเอาเองไม่ต้องบังคับ และไม่ต้องให้คนอื่นมาลองเชิง - ผู้ดูแลไม่ใช่สัพพัญญู ไม่รู้ หรือไม่เข้าใจบ้าง ย่อมไม่แปลก แต่เราอยากเห็นจุดแข็งและการที่จุดแข็งนั้นจะช่วยเติมเต็มวิกิพีเดียไทย) --taweethaも 21:28, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น คำถาม SWOT ยังดูไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่เท่าไหร่ครับ ออกแนวมุมมองต่อวิกิพีเดียมากกว่า ผมว่าน่าจะร่างคำถามทั่วไป (เน้นการทำงานและวิสัยทัศน์) ขึ้นมาบ้างเพื่อดูเชิงผู้ตอบก่อน แล้วค่อยถามคำถามเฉพาะเพิ่มอีกที --Horus | พูดคุย 21:42, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ร่างเป็นคำถามมาตรฐานสัก 5-10 ข้อให้เลือกตอบอย่างน้อย 50-70% ดีไหมครับ ไม่อยากบังคับ และอยากให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือได้ทักษะที่เรายังไม่เคยมีมาก่อน --taweethaも 21:48, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น ลองใช้ WP:RFACHEAT ดูสักข้อสองข้อไหมครับ ที่เหลือเราก็แต่งขึ้นเองโดยใช้สภาพและความเป็นจริงใน WP เป็นหลัก --∫G′(∞)dx 23:08, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ดีครับ เป็นประโยชน์มาก [1] คำถามในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษบ่งบอกถึงความเป็นวิกิพีเดียที่พัฒนาแล้ว อิ่มตัวแล้ว อยากได้แอดมินที่เข้าใจในนโยบายที่มีอยู่และประสานงานกับคนที่มีอยู่ได้ดี [2] คำถามที่ผมอยากเพิ่มสำหรับวิกิพีเดียไทยจะเป็นคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาอาสาสมัคร พัฒนาบทความ และพัฒนานโยบาย เพราะสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน [3] นอกจากนี้น่าจะเน้นและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกับปัญหาปลายปิดและปัญหาปลายเปิด คำถามปลายเปิดแสดงความคิด ส่วนคำถามที่มีผิดถูก (เช่น ถามเกี่ยวกับ code/script/bot/abuse filter ข้อกฎหมายใน พ.ร.บ. คอมฯ ที่เกี่ยวกับวิกิพีเดีย วรรณกรรมคลาสสิกในภาษาไทย วิธีการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต สารเคมี ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และเทหะวัตถุ ฯลฯ) แสดงความสามารถหรือทักษะเฉพาะด้าน (ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีทุกด้าน แต่ควรมีในด้านที่กล่าวอ้าง เช่น อ้างว่าเป็นผู้รู้ในสาขา x ก็ต้องบอกได้ว่าจะจัดการกับบทความในสาขา x อย่างไร มีอะไรที่ต้องดำเนินการก่อนหลัง และใช้ความรู้ในสาขา x ในทางที่เป็นประโยชน์กับวิกิพีเดียไทยได้) ทั้งนี้ผมคิดว่าผู้ถูกเสนอย่อมมีสิทธิไม่ตอบหรือตอบว่าไม่รู้ ก็ได้ เพราะการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลไม่ใช่การสอบ --taweethaも 10:23, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น คำถาม SWOT ยังดูไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่เท่าไหร่ครับ ออกแนวมุมมองต่อวิกิพีเดียมากกว่า ผมว่าน่าจะร่างคำถามทั่วไป (เน้นการทำงานและวิสัยทัศน์) ขึ้นมาบ้างเพื่อดูเชิงผู้ตอบก่อน แล้วค่อยถามคำถามเฉพาะเพิ่มอีกที --Horus | พูดคุย 21:42, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย แต่เรื่องการแสดงวิสัยทัศน์อาจจะไม่ค่อยได้ผลซักเท่าไหร่ เพราะบางคนอาจจะพูดเก่ง เขียนเก่ง คิดเก่ง แต่ในความเป็นจริงอาจจะทำไม่ได้ตามที่พูดไว้ หรือตามที่คิดไว้ก็ได้ แต่ในทางกลับกันมันก็ยังดีกว่าที่เราจะไม่ให้ผู้ถูกเสนอชื่อ แสดงความเป็นตัวตนออกมาเลย ผมอยากเสนอให้ผู้ถูกเสนอชื่อ แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแล และแสดงความเห็นเกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือที่เรามีอยู่ ก็น่าจะดี เพราะอย่างน้อยคนที่จะเป็นผู้ดูแล ก็น่าจะได้รู้จักความเป็นผู้ดูแล และรู้จักเครื่องไม่เครื่องมือที่จะต้องใช้ ต้องทำ --Pongsak ksm 19:35, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- งั้นร่างคำถามเลยนะครับ: (1) เมื่อได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลระบบแล้ว คุณตั้งใจจะมีส่วนใดด้านใดบ้าง, (2) คุณคิดว่าผลงานที่ดีที่สุดในวิกิพีเดียของคุณคืออะไร เพราะเหตุใด, (3) คุณเคยมีข้อพิพาทกับผู้ใช้คนอื่นในอดีตซึ่งทำให้คุณเครียดหรือไม่ คุณมีวิธีรับมืออย่างไร และคุณคิดว่าจะรับมืออย่างไรในอนาคต, (4) คุณคิดว่าการบล็อกผู้ใช้กับการล็อกบทความมีวัตถุประสงค์อย่างไร [คำถามปลายปิด] --Horus | พูดคุย 20:51, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- สิ่งที่ควรจะเพิ่มคือ การแจ้งให้ผู้ที่จะถูกเสนอชื่อรับทราบก่อนว่าอยากเป็นหรือไม่ ถ้าตอบรับแล้วจึงค่อยเสนอ (ยกเว้นตัวเองจะเสนอชื่อ) จะได้ไม่ต้องถอนตัวหรือตามลบทีหลัง ในอดีตไม่มีการเทียบเชิญก่อน หรือเสนอก่อนแล้วค่อยบอก เจ้าตัวก็ไม่ได้แอกทีฟ ไม่รู้เรื่องเลยว่าได้รับการเสนอชื่อ หรือเสนอไปแต่ก็ไม่อยากเป็น--octahedron80 21:25, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย ผมล็อกหน้าเสนอชื่อไว้จนกว่าเจ้าตัวจะตอบรับ แต่ถ้าเขียนนโยบายอย่างนี้ทำให้ง่ายกว่าคือ ลบเลยหากไม่มีหลักฐานว่าตอบรับแล้ว --taweethaも 21:28, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ถ้าการเสนอชื่อแล้วไม่ผ่าน แล้วนำข้อเสนอไปปรับปรุง แล้วเสนอใหม่ อาจจะพิจารณาเปิดการเสนอชื่อ --Nakaret 21:37, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น เปิดโอกาสให้เสนอซ้ำอยู่แล้ว โปรดลงความเห็นด้านล่างเรื่องเงื่อนเวลาในการเสนอซ้ำ --taweethaも 21:40, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- การเสนอชื่อสำหรับผู้ใช้ใหม่ จะถูกลบทันที เพราะโมฆะ และจะตักเตือนผู้ใช้ --Nakaret 21:37, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น ซ้ำ โปรด ดูข้อ 2 --taweethaも 21:40, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- การเสนอชื่อตัวเองเป็นผู้ดูแล น่าจะให้มีการแสดงผลงานที่โดดเด่นของผู้ใช้คนนั้นด้วย เช่น ผลงานการตรวจสอบบทความ การแก้ไขปรับปรุงบทความ การเขียนบทความใหม่ การอภิปราย หรืออาจจะรวมไปถึงการสร้างบทความคุณภาพด้วย ผมคิดว่าผู้ดูแล คงจะไม่ใช่แค่แก้ไขบทความ อภิปรายในชุมชน หรือการทำอะไรเพียงบางอย่างเท่านั้น สรุปง่ายๆ คือ ผลงานต้องรอบด้าน ทำได้ทำเป็นทุกอย่าง --Pongsak ksm 19:47, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- การเสนอชื่อตัวเองซ้ำ ในกรณีไม่ผ่าน ผมคิดว่าน่าจะมีระยะเวลาในการรอมากกว่าเดิมนะครับ เพราะว่าการเสนอชื่อตัวเองนั้น ต้องมั่นใจในตัวเองว่าถึงพร้อมแล้ว ถ้าหากเสนอตัวเอง แต่ไม่ผ่านการพิจารณา ก็ควรจะต้องรออีกนานกว่าเดิม เป็นลักษณะกึ่งบังคับว่า "ถ้าคุณยังไม่พร้อม ก็อย่าเพิ่งเสนอตัว" --Pongsak ksm 19:47, 17 กันยายน 2554 (ICT)
จำนวนการแก้ไขขั้นต่ำ (ตั้งแต่เริ่มใช้วิกิพีเดีย)
[แก้]- 500 (แบบเดิม)
- 1,000
- เห็นด้วย --taweethaも 20:52, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --∫G′(∞)dx 21:02, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --octahedron80 21:09, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย คงให้พิสูจน์ฝีมือการเขียนบ้าง --Nakaret 21:11, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --N.M. | พูดคุย 21:25, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 14:10, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Pongsak ksm 19:35, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย กำลังดี --แฟนท่าเรือ : เกรียนที่หน้าตาไม่ดีแห่งไร้สาระนุกรม : พูดคุยกับควายตัวนี้ได้ที่นี่ 01:03, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --^^" ผู้ใช้:Wittaya.kitka 10:46, 2 ตุลาคม 2554 (ICT)
- 2,000
- เห็นด้วย หนึ่งพัน น้อยไปนะครับ.....อย่างน้อยควรจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ระบบ และทำความคุ้นเคยกับผู้ใช้คนอื่นๆ ด้วย --Azoma | พูดคุย 09:57, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Saeng Petchchai 12:10, 23 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย -- สนับสนุนสองพัน ไม่มากไม่น้อยกำลังดี -pastman 14:55, 6 ตุลาคม 2554 (ICT)
- 5,000
- เห็นด้วย --B20180 23:31, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น เอาขนาดนั้นเชียวเหรอครับ ว่าแต่ว่าก่อนคุณเป็นแอดมินเนี้ยคุณถึงยังหล่ะ--แฟนท่าเรือ : เกรียนที่หน้าตาไม่ดีแห่งไร้สาระนุกรม : พูดคุยกับควายตัวนี้ได้ที่นี่ 01:03, 22 กันยายน 2554 (ICT)
ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกวิกิพีเดียขั้นต่ำ
[แก้]- 3 เดือน (แบบเดิม)
- 6 เดือน
- เห็นด้วย --taweethaも 20:52, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --∫G′(∞)dx 21:02, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Nakaret 21:11, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Pongsak ksm 19:35, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย กำลังดี --แฟนท่าเรือ : เกรียนที่หน้าตาไม่ดีแห่งไร้สาระนุกรม : พูดคุยกับควายตัวนี้ได้ที่นี่ 01:03, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --^^" ผู้ใช้:Wittaya.kitka 10:46, 2 ตุลาคม 2554 (ICT)
- 9 เดือน
- เห็นด้วย --octahedron80 21:06, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- 12 เดือน (1 ปี)
- เห็นด้วย การสร้างชื่อเสียงและการทำความเข้าใจสังคมวิกิพีเดียต้องใช้เวลานานครับ --Horus | พูดคุย 21:04, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย เหตุผลเช่นเดียวกับคุณ Horus และคิดว่าการเป็นผู้ดูแลจะต้องใช้เวลาและพร้อมที่จะรับมือมือกับการทำงานของผู้ดูแลครับ รวมถึงต้องมีความต่อเนื่องแน่นอน --N.M. | พูดคุย 21:28, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --B20180 23:33, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน --Aristitleism 01:45, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น แต่จะคำนวณยังไงครับ? 1 เดือน = กี่วัน และ 1 ปี = กี่วัน, ที่ผมถาม เพราะมีตัวอย่าง เช่น ในทางกฎหมาย (ไทย) จำคุก 1 เดือน = 30 วัน และ 1 ปี = นับตามปฏิทิน แล้วแต่ปีนั้จะ 365 หรือ 366, ถ้ากฎหมายให้ลงโทษเป็นเดือน ก็ห้ามเขียนเป็นปี, เพราะถ้ากำหนด 12 เดือนแล้ว นักโทษจะต้องอยู่ในคุก 360 วัน, แต่ถ้าเขียนเป็น 1 ปี เขาจะอยู่มากไป 5 หรือ 6 วัน (แต่นักข่าวชอบบอกว่า "ศาลลงโทษจำคุก 12 เดือน หรือเท่ากับ 1 ปีนั่นเองค่ะ"), หรือว่า เราแค่กำหนดไว้เท่านั้น จะหย่อนหรือเกินไปหน่อยหนึ่ง ก็ไม่เป็นสำคัญครับ, หรือว่า ระบบมันคำนวณให้อยู่แล้ว (เอ๊ะ ผมก็สงสัยมากจริงนะ) --Aristitleism 02:11, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- จะคิดลึกทำไม เอาแค่ปีบวกหนึ่งก็พอแล้ว คุณจะนั่งนับ 360 วันหรือครับ :) --octahedron80 02:29, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าคนเกิดวันที่ 17 ก.ย. 54 จะมีอายุครบ 1 ปีบริบูรณ์ วันที่ 16 ก.ย. 55 ตามหลักกฎหมายไทยครับ ถ้าคิดกันแบบนี้ก็อาจสับสนวุ่นวายกันได้
- เนื่องจากในวิกิพีเดียเรามีเวลาบันทึกไว้ และเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ ขอให้ใช้เดือนปฏิทินครับ หนึ่งเดือนจึงไม่ใช่ 30 วัน แต่นับบวกเดือนเข้าไป เช่น 02:29, 17 กันยายน 2554 (ICT) ครบ 3 เดือน เมื่อ 02:29, 17 ธันวาคม 2554 (ICT) และครบ 12 เดือนเมื่อ 02:29, 17 กันยายน 2555 (ICT) (คล้ายกับวิธีการคิดดอกเบี้ยรายเดือนของสหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งจ่ายทุกๆ วันที่เท่านั้นเท่านี้ของเดือน ไม่เลื่อนตามจำนวนวันในเดือนที่ผ่านมา) --taweethaも 10:30, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- จะคิดลึกทำไม เอาแค่ปีบวกหนึ่งก็พอแล้ว คุณจะนั่งนับ 360 วันหรือครับ :) --octahedron80 02:29, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- ความเห็น แต่จะคำนวณยังไงครับ? 1 เดือน = กี่วัน และ 1 ปี = กี่วัน, ที่ผมถาม เพราะมีตัวอย่าง เช่น ในทางกฎหมาย (ไทย) จำคุก 1 เดือน = 30 วัน และ 1 ปี = นับตามปฏิทิน แล้วแต่ปีนั้จะ 365 หรือ 366, ถ้ากฎหมายให้ลงโทษเป็นเดือน ก็ห้ามเขียนเป็นปี, เพราะถ้ากำหนด 12 เดือนแล้ว นักโทษจะต้องอยู่ในคุก 360 วัน, แต่ถ้าเขียนเป็น 1 ปี เขาจะอยู่มากไป 5 หรือ 6 วัน (แต่นักข่าวชอบบอกว่า "ศาลลงโทษจำคุก 12 เดือน หรือเท่ากับ 1 ปีนั่นเองค่ะ"), หรือว่า เราแค่กำหนดไว้เท่านั้น จะหย่อนหรือเกินไปหน่อยหนึ่ง ก็ไม่เป็นสำคัญครับ, หรือว่า ระบบมันคำนวณให้อยู่แล้ว (เอ๊ะ ผมก็สงสัยมากจริงนะ) --Aristitleism 02:11, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 14:12, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย ไม่มาก ไม่น้อย ดูพอดีพองาม--Azoma | พูดคุย 09:57, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Saeng Petchchai 12:11, 23 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --pastman 14:57, 6 ตุลาคม 2554 (ICT)
ระยะเวลาในการรอเพื่อเสนอชื่อใหม่ (กรณีไม่ผ่าน)
[แก้]- ไม่มี (แบบเดิม)
- เห็นด้วย --Nakaret 20:56, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย หากไม่มีกำหนดเลยก็ไม่ดีครับ เพื่อไม่ให้เกิดการเสนอถี่เกินไป --octahedron80 21:17, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 12:39, 28 กันยายน 2554 (ICT)
- เท่ากับระยะเวลาในการเป็นสมาชิกขั้นต่ำ
- เห็นด้วย --taweethaも 20:52, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --∫G′(∞)dx 21:02, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --N.M. | พูดคุย 21:30, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Pongsak ksm 19:35, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --^^" ผู้ใช้:Wittaya.kitka 10:48, 2 ตุลาคม 2554 (ICT)
- มี แต่น้อยกว่าระยะเวลาในการเป็นสมาชิกขั้นต่ำ
- เห็นด้วย ผมไม่เห็นด้วยถ้าจะเอาเวลาให้เท่ากับข้อข้างบนครับ แต่ระยะเวลาพิจารณาใหม่ อาจลดลงเป็นสามเดือนก็ได้ เพราะว่าประสบการณ์ก็มีมากแล้ว --octahedron80 21:08, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Aristitleism 01:46, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 14:13, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย สามเดือนพอ แบบคุณออกตา--แฟนท่าเรือ : เกรียนที่หน้าตาไม่ดีแห่งไร้สาระนุกรม : พูดคุยกับควายตัวนี้ได้ที่นี่ 01:03, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 09:57, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย เห็นด้วยที่สามเดือนครับ--Saeng Petchchai 12:13, 23 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วย ว่าครึ่งหนึ่งของระยะเวลาในการเป็นสมาชิกขั้นต่ำครับ --DoLKuNG 11:57, 2 ตุลาคม 2554 (ICT)
- มี แต่มากกว่าระยะเวลาในการเป็นสมาชิกขั้นต่ำ
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
ปรับปรุงชื่อผู้ดูแลระบบ
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
ด้วยเหตุผลข้างต้น บางครั้งการใช้ชื่อว่าผู้ดูแลระบบดูสูงส่งและมีอำนาจมากเกินไป อาจมีชื่ออื่นที่เหมาะสมในการรับใช้ชุมชนวิกิพีเดียมากกว่านี้ ขอให้เสนอกันมาและอภิปราย -- ชื่อนี้ใช้กับวิกิพีเดียไทยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับโครงการอื่นในภาษาไทย และไม่ส่งผลกระทบต่อซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ - (แต่ถ้าจะคัดลอกไปใช้ก็ไม่อาจสงวนสิทธิ์ได้) --taweethaも 20:56, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- อภิปราย
- แนวคิดจากวิกิพีเดียเวียดนาม - เวียดนามไม่ใช่คำว่าผู้ดูแล ไม่ใช้คำที่ดูหรูหราสำหรับแอดมิน เพราะในสังคมเอเชียที่มีลำดับชั้นทางสังคมสูง ชื่อที่หรูหราจะสร้างช่องว่างระหว่างอาสาสมัครทั่วไปและแอดมิน ชื่อแอดมินทำให้อาสาสมัครเข้าใจเอาเองว่าแอดมินถูกเสมอ/เป็นตัวแทนของมูลนิธิฯ หรือรับเงินเดือนจากมูลนิธิฯ และทำให้หลายคนอยากเป็นแอดมินกันเสียเหลือเกิน เพียงเพราะว่าอยากได้ชื่อตำแหน่งเท่านั้น คำที่เวียดนามใช้ อาจจะเทียบได้ประมาณว่า janitor ครับ --taweethaも 10:46, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เสนอชื่อ
- เสนอคำว่า "บรรณาธิการ" ครับ (ส่วนผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งถ้าจะเปลี่ยนด้วยก็ใช้ บรรณาธิการบริหาร) แม้มันจะกระเดียดไปทางหนังสือหน่อยก็ตาม แต่ยังนึกคำที่เหมาะสมไม่ออกในขณะนี้ ส่วนที่ว่า User เป็นกลุ่มแล้วเรียก Editor ผมเสนอให้ใช้ว่า "กลุ่มผู้เขียน/กลุ่มนักเขียน" แทนครับ --∫G′(∞)dx 23:08, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- [1] ไม่แน่ใจว่าจะขัดกับข้อความที่เราเขียนว่า "วิกิพีเดียไม่มีบรรณาธิการ" / ไม่มีการตรวจพิจารณา (เซ็นเซอร์) หรือเปล่าครับ [2] ก็ยังฟังดู prestigious อยู่นะครับ อยากให้ humble กว่านี้ครับ --taweethaも 23:20, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- เสนอ "นักการ" สำหรับ Admins และ "นักเขียน" สำหรับ contributors (นักการ: a general factotum, an office boy, a dispatch carrier) --Tinuviel | พูดคุย 23:16, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ดีครับ ผมเห็นด้วยในเบื้องต้น แล้วผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งจะเป็น นักการอะไรครับ นักการอาวุโส นักการสิทธิแต่งตั้ง หรือนักการบริหาร (อาจสับสนได้) ป.ล. อาจมีชื่ออื่นที่น่าสนใจอีก รอลงคะแนนทีเดียวนะครับ --taweethaも 23:20, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ได้ยินคำนี้แล้วนึกถึง "นักการภารโรง" ไม่เห็นด้วยครับ --octahedron80 02:35, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เพื่อให้ฟังดูอ่อนลง กระผมใคร่เสนอให้เปลี่ยนคำ "ผู้ดูแล" เป็น "ผู้แลดู" และฉะนั้น "ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง" เป็น "ผู้ชำเลือง" ขอรับ (เอ๊ะ รู้สึกจะไม่ควรตลกที่นี่นะ) - - ล้อเล่นน่ะครับ ผมมีความเห็นดังนี้ครับ
- โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เห็นว่าชื่อ "ผู้ดูแล" และชื่อเดิมอื่น ๆ มีปัญหานะครับ
- สำหรับชื่อ "นักการ" ผมเห็นว่า ความหมายของคำ ("น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร; พนักงานชั้นผู้น้อยตํ่ากว่าเสมียน ทําหน้าที่เดินหนังสือ ฯลฯ") อาจทำให้คนเข้าใจผิดเรื่องหน้าที่ได้ครับ เพราะปรกติ คนเราอ่านแล้วก็มักเข้าใจตามคำ และน้อยรายจะไปติดตามเพิ่มเติมว่า ที่จริงแล้ว คำนั้นมีความหมายที่ต้องการในวิกิพีเดียแค่ไหน (มีตัวอย่างเช่น ใน พระราชบัญญัติสัตว์น้ำฯ คำว่า "สัตว์น้ำ" รวมถึง สาหร่าย ปะการัง ฯลฯ ด้วย, เป็นคำใช้เฉพาะในพระราชบัญญัตินี้ ขณะที่ปรกติ สาหร่ายอะไรพวกนั้นไม่ใช่สัตว์, ก็มีหลาย ๆ คนไม่ชอบอ่านตอนต้น ๆ (บทวิเคราะห์ศัพท์) แล้วออกทีวีไปอธิบายมั่ว ๆ ครับ)
- ผมเห็นว่า คำว่า "ผู้ดูแล" ก็ฟังดูกลาง ๆ ดี และนึกคำที่เหมาะสมกว่านี้ไม่ออกครับ, "ผู้รักษาเว็บ" ? - - ผมนึกถึงสมัยแรก ๆ กฎหมายไทยเรียก "receiver" ว่า "เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์" ต่อมา สภาว่า ทรัพย์ไม่ได้ป่วย ไปรักษาทำไม เลยให้เปลี่ยนเป็น "...พิทักษ์ทรัพย์" (คำ "รักษาทรัพย์" ยังมีให้เห็นบ้างในกฎหมายเก่า ๆ ที่ใช้อยู่), แต่อันที่จริง คำว่า "รักษา" ก็มีหลายความหมายนะ ("ก. ระวัง..., ดูแล..., ป้องกัน..., สงวนไว้; เยียวยา...")
- "นักเขียน" ผมเห็นว่า คำว่า "นัก" ๆ มักใช้สำหรับคนที่ทำกริยานั้นสม่ำเสมอหรือจนเป็นอาชีพ เช่น นักเรียน นักแสดง นักศึกษา นักร้อง ฯลฯ, ประกอบกับ "นักเขียน" คนอาจเข้าใจว่า บทความในวิกิฯ เป็นเรื่องแต่งหรือเปล่าครับ (เหมือนกับเวลาบอกว่า "บทความในวิกิฯ นั้น นักเขียนเราได้เขียนขึ้นโดย..."), และ คนอาจสงสัยว่า ต้องเขียนนานเท่าไร จึงจะชื่อว่าสม่ำเสมอหรือจนเป็นอาชีพ ชนิดที่เรียกว่า "นัก" เขียนได้ ทำนองนั้นครับ
- เคยเห็นมีคนเสนอให้ใช้ "นักพัฒนา" สำหรับ "contributor", จะเป็นคุณ Tinuviel หรือเปล่า และรายละเอียดเป็นไง ผมก็จำไม่ค่อยได้แล้วครับ, ทราบแต่ว่า เป็นข้อแนะนำจากการประชุม เพื่อจูงใจให้คนช่วยพัฒนามากขึ้น
- ไม่เห็นด้วย "นักพัฒนา" จะไปพ้องกับ developer ซึ่งเป็นผู้ใช้ข้ามโครงการอีกกลุ่มหนึ่ง มาแก้ไขซอฟต์แวร์มีเดียวิกิโดยเฉพาะ --octahedron80 02:39, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- อ๋อ ตอนนั้นเราเสนอว่า contributor เป็น "ผู้พัฒนาบทความ" ค่ะ แต่ก็รู้สึกจะยาวไป --Tinuviel | พูดคุย 10:21, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- สรุป อย่างเดิมครับ ส่วนตัวแล้ว ผมไม่เห็นว่าชื่อเดิมจะมีปัญหาสักเท่าไรนะครับ
- --Aristitleism 01:17, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เวลาคนทะเลาะกันแล้วเราทำอะไรไม่ได้ ก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้แลดูเหมือนกัน :-) ป.ล. ผมเขียนความจำเป็นในการเปลี่ยนชื่อเพิ่มเติมด้านบนครับ แต่ถ้าหากหาชื่อที่ทุกคนยอมรับไม่ได้ก็คงไม่ได้เปลี่ยน แต่อยากทราบในเบื้องต้นว่าเห็นด้วยในหลักการและเหตุผลการเปลี่ยนชื่อหรือเปล่าครับ การหาชื่อใหม่อาจใช้เวลาเป็นเดือน แต่มันน่าจะเริ่มจากการที่เรามีความเห็นพ้องกันว่าควรหาชื่อใหม่ที่ดีกว่า --taweethaも 11:07, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เสนอ 1) "ผู้ดูแลระบบ" เป็น "ผู้ดูแล" ตัดคำว่าระบบออกไป 2) "ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง" เป็น "ผู้แต่งตั้ง" 3) "ผู้ใช้" เป็น "ผู้เขียน" หรือ "ผู้ใช้" ตามเดิม --B20180 23:30, 16 กันยายน 2554 (ICT)
- ตอนนี้คิดได้สามคำคือ "ผู้ดูแลธรรมดา,ผู้ดูแลทั่วไป,ผู้ดูแลพื้นฐาน" ส่วนระดับอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเขาล้วนมีสิทธิจัดการเสมือนผู้ดูแลธรรมดา สำหรับคำ "ผู้ดูแล" นั้นจะใช้เรียกรวมๆทุกระดับ --octahedron80 02:32, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เรื่อง editor/contributor เดี๋ยวเปิดอีกหน้าให้อภิปรายกันต่อจากนี้ดีกว่าครับ - ผมมีอีกชื่อคือ "อาสาสมัคร" ไม่แน่ใจว่าจะเหมาะสมหรือไม่ --taweethaも 10:35, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เท่าที่ทราบ คำไทยทุกคำก็แปลมาจากภาษาอังกฤษตรงตัวดีแล้ว หากเปลี่ยนจะทำให้ความหมายเพี้ยนไป --Horus | พูดคุย 18:15, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นด้วยว่าคำแปลปัจจุบันถูกต้องตรงตัวที่สุด แต่บริบทของสังคมไม่เหมือนกัน จึงเป็นเหตุให้มีการเสนอเปลี่ยนชื่อตรงนี้ครับ --taweethaも 20:00, 17 กันยายน 2554 (ICT)
- ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง - ที่ปรึกษา --Azoma | พูดคุย 10:02, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ไม่สื่อถึงหน้าที่ บุโรมีสิทธิจัดการกลุ่มผู้ใช้เพิ่มขึ้นจากแอดมิน ไม่ได้เป็นที่ปรึกษาโดยเฉพาะ --octahedron80 14:53, 22 กันยายน 2554 (ICT)
- เห็นว่าใช้แบบเดิมดีอยู่แล้ว ถึงจะเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ การที่ผู้ใช้อื่นมาทะเลาะและดูเหมือนตัวเองเป็นผู้ดูแลมีความเหนือกว่า คงไม่ใช่เหตุผลที่ดีที่จะเปลี่ยน เพราะหากถึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อใหม่ ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้อีก จะเปลี่ยนชื่ออีกหรือไม่ ตัวผมเองคิดว่า มันก็เป็นแค่ชื่อ มันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมผู้ดูแลตะหาก เขาถึงเหมารวมกันไปหมด--Sry85 12:14, 1 ตุลาคม 2554 (ICT)
- เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 12:23, 1 ตุลาคม 2554 (ICT)
- เห็นด้วย
- ถ้ามองดูที่คำว่า admin นะครับ ตำแหน่ง แอดมิน สำหรับงานออฟฟิตเนี่ย มันก็คือ "เบ๊ทั่วไป" ดี ๆ นี่เอง
- ส่วนคำว่า "ผู้ดูแล" ผมว่ามันก็ไม่ได้สื่อให้เห็นถึงอำนาจอะไรเลยซักนิด (ถ้าใช้คำว่า "ผู้ปกครอง" หรือ "ผู้คุม" ก็ว่าไปอย่าง) ยามเอง ก็เรียกได้ว่า ผู้ดูแลสถานที่ แต่ผมไม่เห็นจะมีคนกลัวยามสักคน
- บริบทของสังคม ใช่ครับ มีส่วน เพราะมีทั้งคนที่เกรงผม เพราะผมเป็นผู้ดูแลไร้สาระนุกรม และคนที่เอาชื่อผมไปอ้าง เพราะผมเป็นผู้ดูแลไร้สาระนุกรม ก็มี (ผมยังงงเลย ชื่อผมเนี่ยนะ) แต่ผมเชื่อว่า มันอยู่ที่การปฎิบัติตัวของผู้ดูแล มากกว่า
- ยกตัวอย่าง รุ่นพี่ผมที่ตอนนี้เป็น นาวาอากาศโทแล้ว เขาก้เล่าให้ฟังว่า ตอนที่เข้ามาประจำการที่ฝูงบินใหม่ ๆ เป็นเรืออากาศตรีหนุ่ม แกก็มีพวกจ่า ๆ แก่ ๆ (บางคนเป็นพ่อได้) เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา (แน่นอนว่า ถ้าจ่า ๆ มาซ่ากับผู้หมวดหนุ่มแบบไร้สาระ ก็อาจจะโดนเตะเข้าโค้งดอน (คุกทหารอากาศ) ได้ ข้อหาขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา) ซึ่งแรก ๆ จ่าก้ไม่กล้าเสนอหน้ามากเพราะไม่รู้จักกัน แต่เพราะพี่เค้าถูกสอนมา จึงเข้าหาจ่า ๆ พูดคุยด้วย สอบถามและรับฟังความคิดเห็นของจ่า จนในที่สุด พวกจ่า ๆ ก็เริ่มเชื่อใจ กล้าแสดงความคิดเห็น สุดท้าย การประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชามันก็เกิดขึ้นเอง
- ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเพราะว่า ในกองทัพ โดยวัฒนธรรมนั้น ลำดับชั้นมันมีอย่างชัดเจน และทุกกองทัพของทุกชาติมีเรื่องนี้หมด แต่การปฎิบัติตัวที่ดีของผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจโดยตำแหน่ง มันทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เชื่อใจ และให้ความร่วมมือได้ แล้วผู้ดูแลวิกิพีเดีย ที่จริงจริงแล้ว เป็นใครก็ไม่รู้ ถึงจะแบนผู้ใช้คนอื่นได้ แต่ก็ไม่ทำให้ใครขาดใจตายสักคน แล้วผู้ดูแลวิกิพีเดีย ไม่มีความสามารถที่จะทำให้ผู้ใช้คนอื่น (ส่วนใหญ่ที่ไม่เกรียนก่อกวน)รู้สึกว่าผู้ดูแลวิกิพีเดียคือผู้ที่วางใจ ขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือได้เหรอครับ
- ถ้าท่านผู้ดูแลวิกิพีเดีย (แน่นอนว่า รวมผู้ดูแลไร้สาระนุกรมด้วย) ท่านใดที่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ผมก็ขออนุญาตวิจารณ์ว่า คุณสอบตกกันแล้วหล่ะครับ ลองเอากลับไปพิจารณาตัวเองดูนะครับ
- ยกตัวอย่าง รุ่นพี่ผมที่ตอนนี้เป็น นาวาอากาศโทแล้ว เขาก้เล่าให้ฟังว่า ตอนที่เข้ามาประจำการที่ฝูงบินใหม่ ๆ เป็นเรืออากาศตรีหนุ่ม แกก็มีพวกจ่า ๆ แก่ ๆ (บางคนเป็นพ่อได้) เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา (แน่นอนว่า ถ้าจ่า ๆ มาซ่ากับผู้หมวดหนุ่มแบบไร้สาระ ก็อาจจะโดนเตะเข้าโค้งดอน (คุกทหารอากาศ) ได้ ข้อหาขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา) ซึ่งแรก ๆ จ่าก้ไม่กล้าเสนอหน้ามากเพราะไม่รู้จักกัน แต่เพราะพี่เค้าถูกสอนมา จึงเข้าหาจ่า ๆ พูดคุยด้วย สอบถามและรับฟังความคิดเห็นของจ่า จนในที่สุด พวกจ่า ๆ ก็เริ่มเชื่อใจ กล้าแสดงความคิดเห็น สุดท้าย การประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชามันก็เกิดขึ้นเอง
- แต่ถ้าอยากเปลี่ยนชื่อกันนัก ลองพิจารณาคำว่า "ผู้ให้บริการ" ดูไหมหล่ะครับ หุหุหุ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 01:15, 5 ตุลาคม 2554 (ICT)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่