ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์)
หมวดหมู่ การทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
โครงการย่อย ภาษาญี่ปุ่น
หน้าย่อย การถอดเสียงภาษาอังกฤษอเมริกัน
การทับศัพท์เป็นภาษาไทยจากสัทอักษรสากล
การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง
เกร็ดการเขียนคำทับศัพท์เป็นภาษาไทย
คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย
คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย/พิจารณาไปแล้ว
การทับศัพท์ภาษาโปแลนด์
การทับศัพท์ภาษาเปอร์เซีย
การทับศัพท์ภาษายูเครน
การทับศัพท์ภาษาเบลารุส
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

คำทับศัพท์ คือคำที่ถ่ายเสียงและ/หรือถ่ายรูปมาจากรูปคำในภาษาอื่น และนำมาเขียนในรูปแบบของภาษาไทย เพื่อให้คนที่ใช้ภาษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้อง หรืออย่างน้อยใกล้เคียงกับภาษาเดิม ในวิกิพีเดียภาษาไทยใช้การทับศัพท์แบบถอดเสียงเป็นหลัก

โครงการนี้มีเป้าหมายให้ คำทับศัพท์จะต้อง เป็นคำที่ ทุกคนที่ใช้ภาษาไทย สามารถออกเสียงคำได้ใกล้เคียงและง่ายต่อการใช้ภาษา และคนที่ศึกษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้องตามเสียงต้นฉบับ และเมื่อวางรูปแบบได้เหมาะสม จะช่วยหลีกเลี่ยงสงครามการแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นไม่จบ

รายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย

[แก้]

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย ได้แบ่งตามตัวอักษร ซึ่งหากพบคำทับศัพท์ใดที่ไม่เห็นด้วย หรือต้องการให้พิจารณาใหม่ สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มคำศัพท์ดังกล่าวไปในรายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณาด้านล่าง

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

แนวคิด

[แก้]
  1. จะทำอย่างไรให้คนอ่านทั่วไป ที่มีพื้นฐานเพียงภาษาไทย ออกเสียงได้ใกล้เคียง
  2. จะทำอย่างไรให้คนเขียนทั่วไป พอจะทับศัพท์ได้ ในคำที่ยังไม่มีบทความในวิกิพีเดียไทย เพราะหลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ราชบัณฑิตยสถานเดิม) ก็ค่อนข้างช่วยสำหรับคำที่ไม่ได้นิยมอยู่แล้ว
  3. จะทำอย่างไรให้กลุ่มผู้เขียนที่รู้ภาษานั้น สามารถมีหลักในการสะกด แทนที่จะใช้ความนิยมส่วนบุคคล เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่จบ
  4. ในฐานะสารานุกรม จะทำอย่างไรให้ระบบที่จะใช้กันเป็นที่ยอมรับทางวิชาการ ระบบของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาถึงจะไม่มีการใช้มาก แต่ก็มาจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในการใช้ภาษาไทย

ปัญหาปัจจุบัน

[แก้]
  • สงครามการแก้ไข เนื่องจากการต้องการสะกดชื่อไม่เหมือนกัน
  • มีบทความซ้ำกันเกิดขึ้น ในการสะกดชื่อที่ต่างกัน

ในปัจจุบัน บทความในวิกิพีเดียไทยส่วนใหญ่ใช้หลักการทับศัพท์ตามระบบของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีปัญหาจากที่ผ่านมาหลายอย่างที่มีการแจ้งจากผู้เขียนและผู้ใช้งาน เช่น

  • "ไม่แสดงถึงเสียงของภาษาที่แท้จริง เช่น เสียง [k] สะกดลงท้ายด้วย ก แทนที่ ค ในภาษาอังกฤษ"[# 1]
  • "ไม่ได้รับความนิยมที่ปรากฏในสื่ออื่น ตัวอย่างเช่น ชื่อนักฟุตบอล นักร้อง"
  • "ไม่มีการใช้งาน เช่น ชื่อเมือง ชื่อบุคคล ในภาษาญี่ปุ่น"[# 2]

คำถามปัจจุบัน

[แก้]

การยึดหลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

[แก้]

ตัวอย่างคำที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาใช้ไม่เหมือนกัน เช่น ชื่อดินแดน Martinique ภาคผนวกท้ายหนังสือ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2555) ทับศัพท์ว่า "มาร์ตีนิก" ในขณะที่ ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2565) ทับศัพท์ว่า "มาร์ตีนีก"

ความนิยม และใช้เซนส์

[แก้]

การทับศัพท์มักจะได้คำตอบว่าใช้เพราะว่านิยม หรือบางคนก็ว่าใช้เซนส์เอา ซึ่งสองอย่างนี้ควรจะมีสิ่งที่เป็นรูปธรรมในการอ้างอิง

ทับศัพท์ตามภาษาเดิม หรือตามภาษาอังกฤษ

[แก้]

หลายบทความมีปัญหาของคำที่มาทับศัพท์ว่าจะใช้เสียงอ่านของภาษาเดิม หรือเสียงอ่านของภาษาอังกฤษเป็นหลัก

การอ่าน

[แก้]

คำทับศัพท์จากภาษาอื่นที่แสดงด้วยอักษรไทยจะแสดงเสียงคำอ่านใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด อาจมีการใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับอักษรบางตัวเพื่อให้ยังคงในรูปของคำไทยที่สามารถอ่านได้ง่าย โดยจะแตกต่างกับคำไทยที่อักษรที่มีทัณฑฆาตกำกับอยู่จะไม่ออกเสียง นอกจากนี้เสียงอักษรที่ไม่มีในภาษาไทย เช่น [ð] และ [θ] (แทนด้วยอักษร th ในภาษาอังกฤษ) หรือ [v] จะเขียนแทนด้วยอักษรไทยที่มีเสียงใกล้เคียงแทน หรือเสียง [r] และ [l] ในภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงกับภาษาไทย จะเขียนแทนด้วย และ ที่มีเสียงใกล้เคียงแทน เช่น อีเมล (อ่านคล้าย [อี-เมว] ไม่ใช่ [อี-เมน])

สำหรับคำที่ใช้ในไทยมานานจะเขียนเป็นคำไทย และตามด้วยวงเล็บของคำอ่านตามหลัง เช่น เกอิชา (เกฉะ) สำหรับในภาษาญี่ปุ่นจะมีโรมาจิกำกับ เช่นเดียวกับภาษาจีนจะมีพินอินกำกับ

การเขียน

[แก้]

การเขียนคำทับศัพท์ในวิกิพีเดียภาษาไทยจะใช้การถอดเสียงเป็นหลัก โดยหลักการในหลายภาษาจะใช้ตามที่ปรากฏไว้ตามระบบของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้แก่ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส พม่า มลายู เยอรมัน รัสเซีย เวียดนาม สเปน อังกฤษ อาหรับ อิตาลี อินโดนีเซีย และฮินดี

ข้อควรระวัง

[แก้]
  • ภาษาที่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาเวียดนาม จะแตกต่างกับภาษาที่มีทำนองเสียงเปลี่ยนตามรูปประโยคเช่นในภาษาอังกฤษ
  • ภาษาที่มีเสียงสั้นยาวคู่กัน เช่น ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น จะแตกต่างกับภาษาอื่น ๆ ที่จะไม่มีเสียงยาวคู่กันทุกเสียง
  • คำบางคำเมื่ออ่านโดยผู้ใช้ภาษาอื่น อาจเพี้ยนจากต้นฉบับได้ เช่น "สาเก" (คนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักมักจะอ่านเพี้ยนเป็น "สากี")
  • สำหรับคำที่ใช้ในไทยมานานจะเขียนเป็นคำไทย และตามด้วยวงเล็บของคำอ่านหรือสัทอักษร เช่น Harvard เขียนว่า "ฮาร์วาร์ด (ฮาร์เวิร์ด)" เป็นต้น แต่ถ้ามีการเพี้ยนจากต้นฉบับมากให้ใช้เสียงต้นฉบับเป็นหลัก เช่น Michelangelo ทับศัพท์ว่า "มีเกลันเจโล" เป็นต้น
  • การแยกพยางค์ของแต่ละภาษาแตกต่างกัน ควรระวังโดยอ้างอิงภาษาต้นฉบับ เช่น haze ในภาษาอังกฤษอ่านว่า "เฮซ" หมายถึง หมอกควัน ในขณะที่ haze ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า "ฮะเซะ"; หรือ rain ในภาษาอังกฤษอ่านว่า "เรน" ส่วน rain ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า "ระอิน" เป็นต้น

หลักการทับศัพท์

[แก้]
  1. ทับศัพท์โดยใช้เสียงอ่านของคำเป็นหลัก
  2. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิม พอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย
  3. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับล่าสุดคือฉบับ พ.ศ. 2554) ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น shirt ทับศัพท์ว่า "เชิ้ต"; consul ทับศัพท์ว่า "กงสุล" เป็นต้น
  4. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Louis ทับศัพท์ว่า "หลุยส์"; Cologne ทับศัพท์ว่า "โคโลญ" เป็นต้น

การทับศัพท์ชื่อ

[แก้]

หลักการทับศัพท์ชื่อ เรียงตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ยึดราชบัณฑิตเป็นหลัก ถ้าได้มีการบัญญัติไว้
  2. ถ้าราชบัณฑิตไม่ได้บัญญัติไว้ ให้ใช้คำที่คุ้นเคย ถ้าคำนั้นไม่ผิดจากคำเดิม
  3. ถ้าไม่มีคำที่คุ้น ให้ถอดเสียงอ่านจากภาษาเดิม โดยอาศัยหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
  4. ถ้าไม่มีหลักออกเสียงเดิม ให้ว่าไปตามเสียง โดยอาศัยอักขรวิธีของไทย
  5. ถ้าอ่านภาษาเดิมไม่ออก ให้อ่านจากภาษาอังกฤษหรือภาษาไหนก็ได้ที่ใกล้เคียง หรือให้คงอักษรเดิมไว้ก่อน

ตัวอย่าง

[แก้]
  • ตัวอย่างคำที่ใช้ภาษาเดิมแทนที่คำนิยมคือ Michelangelo ในภาษาอิตาลีอ่านว่า "มีเกลันเจโล" แต่มักจะอ่านเพี้ยนเป็น "ไมเคิล แองเจโล" เป็นต้น

ตัวอย่างคำ

ศัพท์ (ภาษา) ราชฯ (1) คำนิยม (2) เสียงเดิม (3, 4) เสียงอังกฤษ (5) คำในวิกิตอนนี้
Roma (อิตาลี) / Rome (อังกฤษ) โรมา, โรม[1] โรม โรมา โรม โรม
Torino (อิตาลี) / Turin (อังกฤษ) ตอรีโน, ตูริน[1] ตูริน โตรีโน ทิวริน/เทียวริน ตูริน
Nürnberg (เยอรมัน) / Nuremberg (อังกฤษ) - นูเรมเบิร์ก เนือร์นแบร์ค นิวเริมเบิร์ก/เนียวเริมเบิร์ก เนือร์นแบร์ค
Michelangelo (อิตาลี) - ไมเคิล แองเจโล มีเกลันเจโล ไมเคอแลนเจอโล มีเกลันเจโล
Vincent Willem van Gogh (ดัตช์) - วินเซ้นต์ แวน โก๊ะ ฟินเซนต์ ฟัน โคค วินเซนต์ แวน กอฟ/กอก/กอค/โก ฟินเซนต์ ฟัน โคค
Serie A (อิตาลี) - ซีรีส์ เอ (ไม้เอก) แซรีเย อา เซียรี เอ เซเรียอา
弁当 / bentō (ญี่ปุ่น) - เบนโตะ เบ็นโต เบนโต เบ็นโต
ラーメン / rāmen (ญี่ปุ่น) - ราเมน ราเม็ง ราเมิน ราเม็ง
北海道 / Hokkaidō (ญี่ปุ่น) ฮกไกโด[2] ฮอกไกโด ฮกไกโด ฮอไคโด/ฮาไคโด/โฮไคโด ฮกไกโด
San Francisco (อังกฤษ) แซนแฟรนซิสโก[3] ซานฟรานซิสโก แซนแฟรนซิสโก ซานฟรานซิสโก
Indiana (อังกฤษ) อินดีแอนา[1] อินเดียน่า อินดีแอนา อินดีแอนา
Illinois (อังกฤษ) อิลลินอย[1] อิลลินอยส์ อิลลินอย/อิลเลอนอย อิลลินอย
gasohol (อังกฤษ) แกโซฮอล[1] แก๊สโซฮอล์ แกเซอฮอล/แกเซอฮาล แก๊สโซฮอล์
Chevrolet (อังกฤษ) - เชฟโรเลต เชฟเรอเล เชฟโรเลต
David Beckham (อังกฤษ) - เดวิด เบ็คแฮม เดวิด เบกเคิม/เบกคัม เดวิด เบคแคม
Rockefeller (อังกฤษ) - ร็อกกี้เฟลเลอร์ ร็อกเกอเฟลเลอร์ ?
rock (อังกฤษ) ร็อก ร็อค ร็อก/ร็อค ร็อก

การสะกดคำทับศัพท์

[แก้]

การสะกดคำทับศัพท์เน้นตามเสียงอ่านของคำไม่เน้นตามตัวอักษร เช่น

  • Sioux [suː] ทับศัพท์ว่า "ซู" (ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา)
  • foie gras [fwɑ gʁɑ] ทับศัพท์ว่า "ฟัวกรา"

ยกเว้น

  1. คำยืมจากภาษาอื่นที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทย ให้ถือว่าคำนั้นเป็นคำไทยและเขียนตามรูปในพจนานุกรม ถึงแม้จะเพี้ยนจากเสียงอ่านในภาษาเดิมบ้างก็ตาม เช่น
  2. ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง รวมถึงคำที่มีส่วนประกอบของชื่อนี้ในส่วนของคำ ให้ทับศัพท์ตาม ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ถึงแม้ว่าบางคำจะทับศัพท์ผิดจากเสียงอ่านในภาษาเดิมหรือไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเองก็ตาม เช่น
  3. ชื่อถ้าเป็นชื่อเฉพาะของชื่อบริษัท ชื่อหนังสือ ให้เขียนตามต้นฉบับที่จดทะเบียน ถึงแม้ว่าบางคำจะทับศัพท์ผิดจากคำอ่านก็ตาม
    • Chevrolet [เชฟเรอเล] เขียน "เชฟโรเลต" ตามชื่อบริษัทที่จดทะเบียน

คำที่นิยมใช้

[แก้]
  1. คำศัพท์บางคำ ถ้ามีการนิยมใช้มากกว่าศัพท์ที่ปรากฏในศัพท์บัญญัติ ให้ใช้คำนิยมแทน เช่น
  2. สำหรับคำที่นิยมใช้แต่ผิดไปจากเดิม ให้ใช้คำที่ถูกต้อง เช่น
    • Michelangelo ให้ใช้ "มีเกลันเจโล" (ชื่ออ่านตามภาษาอิตาลี) แทนที่ "ไมเคิล แองเจลโล" ที่ใช้กันจนนิยม
    • 弁当 / bentō ให้ใช้ "เบ็นโต" แทนที่ "เบ็นโตะ" ที่นิยมใช้กัน
  3. สำหรับคำที่นิยมใช้และมีใช้กันมานาน และมีปรากฏในเอกสารสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ให้ใช้คำเดิม ถึงแม้ว่าจะอ่านผิดไปจากเสียงเดิม โดยในบทความนั้นให้เขียนคำอ่านในภาษาต้นทางกำกับไว้ เช่น

การใช้วรรณยุกต์

[แก้]

การทับศัพท์จะไม่ใช้วรรณยุกต์ นอกเหนือจากว่าการไม่ใส่วรรณยุกต์ทำให้คำอ่านสับสน เช่น coma ใช้ "โคม่า" แทนที่ "โคมา" เป็นต้น

ยกเว้นภาษาในกลุ่มภาษาไท เช่น ไทย ลาว ผู้ไท (ภูไท) ไทใหญ่ และภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ในไทย, ภาษาจีนและภาษาถิ่นของจีน, ภาษาเวียดนาม และบางภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ใช้วรรณยุกต์หรือการเน้นระดับเสียงตามเสียงอ่าน

การเว้นวรรค

[แก้]

คำศัพท์ในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ มักเขียนแยกกันทุกคำ ในขณะที่คำไทยเขียนติดกันและเว้นวรรคเมื่อจบประโยคหรือเพื่อให้อ่านได้สะดวกขึ้น ในการทับศัพท์ถ้าเป็นคำเดียวให้เขียนติดกันหมด เช่น

ยกเว้นคำที่แสดงถึงชื่อบริษัทและชื่อสินค้า ให้เขียนเว้นวรรคเพื่อแสดงถึงชื่อผลิตภัณฑ์นั้น เช่น

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อย่างไรก็ตาม เสียง /k/ ในภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์อาจออกเสียงแบบพ่นลมมาก (พอเทียบได้กับ ค) หรือออกเสียงแบบพ่นลมน้อยหรือไม่พ่นลม (พอเทียบได้กับ ก) ก็ได้
  2. แต่ก็ไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป ในบางครั้งตัวสะกดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์อาจตรงกับตัวสะกดตามความนิยมก็ได้ เช่น ยามาโตะ, อิบารากิ, เก็น โฮชิโนะ เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล เล่ม 1 (อักษร A-L) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2549.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล เล่ม 2 (อักษร M-Z) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2550.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]