ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย

เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำทับศัพท์ จุดประสงค์ของหน้านี้เพื่อเป็นที่รวบรวมคำทับศัพท์ที่มีใช้ในวิกิพีเดีย เพื่อให้การเขียนมีรูปลักษณะเหมือนกัน และเพื่อลดปัญหาในการค้นหาเนื่องจากการสะกดคำของคำทับศัพท์ต่าง ๆ โดยจะรวบรวมการสะกดแบบอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ค้นหาสะกดคำแตกต่างจากแบบที่ตกลงใช้ในบทความ ตัวค้นหาจะสามารถค้นพบคำนั้นจากรายการคำสะกดแบบอื่น ๆ ในหน้านี้

การเขียนคำทับศัพท์ทุกครั้งควรจะตรวจสอบจากรายการในหน้านี้ และถ้าหากยังไม่มีการระบุไว้ กรุณาบันทึกรูปแบบการสะกดไว้ในรายการคำทับศัพท์ หรือยกคำขึ้นเพื่อขอความคิดเห็นจากสมาชิกท่านอื่นในรายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณา ดูเพิ่มเติมที่การเขียนคำทับศัพท์

รูปแบบการเพิ่มคำทับศัพท์ให้พิจารณา:

=== คำทับศัพท์ ===
คำอธิบาย/ความคิดเห็น -- ~~~~ 

;เสนอคำที่เป็นไปได้
# 
# 
# 

รายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย

[แก้]

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย ได้แบ่งตามตัวอักษร ซึ่งหากพบคำทับศัพท์ใดที่ไม่เห็นด้วย หรือต้องการให้พิจารณาใหม่ สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มคำศัพท์ดังกล่าวไปในรายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณาด้านล่าง

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

ประมวลสรุปปัญหาการทับศัพท์ที่พบในปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันได้มีการทับศัพท์ในหลากหลายรูปแบบ แม้ว่าเดิมนั้นวิกิพีเดียไทยได้อ้างอิงการทับศัพท์ตามราชบัณฑิตยสถาน แต่บางคำศัพท์ที่บัญญัตินั้นไม่มีการใช้งาน หลักการขัดกัน หรือเกิดกรณีต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถตกลงเรื่องการทับศัพท์ได้ ซึ่งมีประเด็นหลักๆดังนี้ ที่ทำให้การทับศัพท์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน และยากลำบาก:

  • คำทับศัพท์ที่มีใช้แพร่หลายในรูปแบบเดียวกัน - อาจอยู่ในข้อยกเว้น เช่นโปรแกรม หรือจะยกเครื่องใหม่
  • คำทับศัพท์ที่มีใช้แพร่หลายในหลายรูปแบบ - ทำอย่างไรให้ใช้รูปแบบเดียวกัน คำนิยมสุดอาจไม่ "เหมาะสม/ดี" ที่สุด เช่นปัจจุบันวิกิพีเดียใช้ อัปเดต (กูเกิล: 890) แต่ส่วนใหญ่ใช้ อัพเดท (กูเกิล: 549,000)
  • คำทับศัพท์ชื่อเฉพาะ - เช่นไมโครซอฟท์
  • ความสอดคล้องในรูปแบบการทับศัพท์ - ทำอย่างไรให้ลดข้อยกเว้นมากที่สุด เพื่อผู้เขียนสับสนน้อยลงเช่น แอล เอล เอ็ก เอกซ์ ...
  • สำเนียงทับศัพท์ - จะอ้างอิงสำเนียงไหนเช่นอังกฤษอเมริกัน อังกฤษบริเตน หรือจะแล้วแต่แหล่งที่มาของคำนั้น ๆ
  • การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง - ทำอย่างไรให้ใกล้การออกเสียงมากขึ้น แต่ยังเขียนง่าย อ่านง่าย
  • การทับศัพท์ตรงตามหลักการราชบัณฑิตยสถาน - อาจผันเปลี่ยนไปเพื่อรับข้ออื่นๆมาพิจารณา

อย่าแปลกใจหากเงื่อนไขด้านบนนั้นอาจ ขัดกันเอง ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้การทับศัพท์นั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด

ความคิดเห็น

[แก้]
ผมว่างั้นทำไมเราไม่เอาหลักของราชบัณฑิตมาประยุกต์ เพราะของราชบัณฑิตก็ทำได้ดีมากระดับหนึ่ง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง (ในอดีต) แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีการประชาสัมพันธ์เท่าไร หรือไม่มีการใช้กันตามหน่วยงานราชการก็ตาม แต่ก็รูปแบบนี้ถือว่าดีครับ ถ้าเราเอาหลักมาแล้วมาประยุกต์ เพิ่มเติมตามปัญหาด้านบนนี้น่าจะดีนะครับ --Manop | พูดคุย - 20:30, 21 มกราคม 2007 (UTC)
ผมว่าการทับศัพท์นั้น เอาแบบราชบัณฑิตเป็นตัวตั้ง ทำให้ทำงานง่ายขึ้น จะว่าไปแล้ว วางหลักไม่ยากเท่าไหร่ แต่ปัญหาการยอมรับ ตรงนั้นสำคัญกว่า อย่าง ป หรือ พ อันนี้ จะใช้ตัวไหน ก็ตกลงลำบาก แต่ผมดูแนวโน้มแล้ว ความนิยมจะออกไปใกล้สำเนียงอเมริกันมากขึ้น

การใช้อักษรตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวสะกด ตัวใดเป็นพยัญชนะต้น ทำให้ทับศัพท์ได้ง่าย แต่บางทีอาจจะขัดความรู้สึก คนก็ไม่ยอมใช้กัน ในวิกิ ก็เหมือนสถานที่สาธารณะ ถ้าคนไม่นิยม หรือไม่ยอมรับ ก็มีปัญหาต่อไป อย่างไรก็ตาม ถ้าวางหลักเกณฑ์ให้ละเอียด และพิจารณาแต่ละส่วนกันจริงๆ คงจะเหลือส่วนที่มีปัญหา หรือไม่ลงตัว น้อยลง --ธวัชชัย 02:03, 22 มกราคม 2007 (UTC)

ตอนนี้ราชบัณฑิตฯ กำลังพิจารณาหลักใหม่ เค้าว่าเท่าที่ดูก็โอเชนะ มีเหตุผลมากขึ้นดังที่แกอธิบายไว้หน้าแรก และยึดตามเสียงอ่านสากลเป็นหลัก ส่วนเรื่องที่อาจไม่ถูกใจคนนั้น เพราะคนนึงจะเอาอย่างนี้ แต่อีกคนไม่เอาด้วย แกก็อุตส่าห์เขียนไว้ในคำนำเหมือนกันนะ
—— ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส เอกูนวีสติมสุรทิน, ๐๒:๒๑ นาฬิกา (GMT+7)

รายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณา

[แก้]

ทุกคนยินดีที่จะแสดงความคิดเห็นเพื่อให้การใช้คำทับศัพท์เป็นรูปแบบเดียวกัน และเพิ่มคำศัพท์ที่ต้องการให้พิจารณาได้ด้านล่างนี้ ซึ่งจะได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 2 อาทิตย์หลังจากความคิดเห็นล่าสุด ขณะนี้วันที่ 15 พฤศจิกายน 2024, 03:30 (UTC)

คำนี้ใช้ คัพ หรือ คัป ครับ เห็นนิยมใช้ คัพ กัน แต่ตามหลักราชบัณฑิตฯกำหนดใช้ ป.ปลา --Manop | พูดคุย - 03:32, 12 มกราคม 2007 (UTC)

ความคิดเห็น เสนอแนะ

เกือบทั้งร้อยใช้ คัพ แทน cup ส่วน คัป หรือ คับ จะพบได้มากในภาษาแชตซึ่งใช้แทนคำว่า ครับ เพราะฉะนั้นหากใช้ คัป ก็จะดูเหมือนว่าบทความในวิกิมีความน่าเชื่อถือน้อยลง? --อ็อกตร้า บอนด์ 06:32, 14 มกราคม 2007 (UTC)

ความน่าเชื่อถือ อาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความนิยมนะคับ อย่างเห็นได้ว่าถ้าทุกคนใช้ "คับ" กันหมด เราควรจะใช้ "สวัสดีคับ" ตามเขาหรือเปล่าคับเนี่ย --Manop | พูดคุย - 00:15, 17 มกราคม 2007 (UTC)
คุณอ็อกตรา บอนด์ หมายถึงว่าถ้าใช้คำว่า "คัป" มันจะไปคล้ายภาษาแชทหรือเปล่าครับ? kinkku ananas (talk) 07:30, 17 มกราคม 2007 (UTC)
ถูกต้อง ผมต้องการสื่อเช่นนั้น--อ็อกตร้า บอนด์ 07:37, 17 มกราคม 2007 (UTC)
ขออนุญาตยกเลิกความเห็นเดิมครับ ผมเห็นด้วยว่าใช้ คัป ตามหลักการทับศัพท์ครับ --octahedron80 17:00, 18 กันยายน 2553 (ICT)

Cartography

[แก้]

วิชาที่ว่าด้วยการวาดแผนที่ (ไม่มีศัพท์บัญญัติ)--อ็อกตร้า บอนด์ 03:40, 12 มกราคม 2007 (UTC)

มีคำไทยอะไรที่แปลว่าแผนที่บ้างไหม? เผื่ออาจจะสร้างขึ้นมาเอง--อ็อกตร้า บอนด์ 04:03, 17 มกราคม 2007 (UTC) ความคิดเห็น เสนอแนะ

คำว่า cartography มีอยู่นะครับ cartography [N]  ; การทำแผนที่ อ้างอิงจาก Lexitron Dictionary ครับ แต่ถ้าจะใช้เป็นคำว่า วิชา ผมเสนอให้เติมคำว่า study ต่อท้ายครับ cartography study น่าจะใช้ได้นะครับ--Cl84 17:03, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

ก็ในวิกิอังกฤษเขามีบทความชื่อนี้ไงผมก็เลยไม่รู้จะตั้งชื่อไทยว่าไร en:Cartography --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 14:59, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

มันมีศัพท์ตัวหนึ่งใช้Prefixเหมือนกัน Cartomancy ศาสตร์การดูดวงโดยใช่ไพ่ ซึ่งผมอ่านมันว่า คาร์โตแมนซี่ย์ ในกรณี จะทับศัพท์ไปเลยก็ได้ คาร์โตกราฟฟี่ แต่ดูแหม่งแหม่ง --ThoraninC 07:16, 14 เมษายน 2553 (ICT)

ligature

[แก้]

คำนี้มีเฉพาะของพวกฝรั่ง คือหมายความว่าเป็นอักษรหลายตัวที่เขียนรวมกันเป็นตัวเดียว en:Typographical ligature จะใช้คำว่าอักษรควบก็ไม่ได้ เพราะไปซ้ำกับของไทย จะใช้อะไรดี--อ็อกตร้า บอนด์ 02:05, 23 มกราคม 2007 (UTC)

ความคิดเห็น เสนอแนะ
อักษรรวม, อักษรเชื่อม, อักษรผสม, อักษรผสาน, อักษรสนธิ, ลิกาเชอร์, ลิแกเชอร์, ลิกาเจอร์, ลิแกเจอร์
  1. เลิกพิจารณา อักษรสนธิ เพราะอาจจะทำให้สับสนกับ คำสนธิ--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 06:24, 8 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  2. ตอนนี้ใช้คำว่า อักษรรวม ไปก่อน--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 07:01, 14 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
น่าสนใจครับ แล้วก็ยังมี en:Combining_character อีกอะครับ อักษรรวมมันจะใกล้กับ combining char. หรือเป่ล่า เรื่องพวกนี้ผมเองไม่ทราบเหมือนกัน --Jutiphan | พูดคุย - 07:03, 14 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
combining character มันเป็นอักขระช่วงหนึ่งในยูนิโคด ผมจะแปลว่า อักขระเสริมอักษร ในทำนองเดียวกันกับ diacritics ที่บัญญัติว่า เครื่องหมายเสริมอักษร แต่ ligature เป็นการเขียนอักษรขนาดปกติให้รวมกัน ไม่ใช่มาเสริมกัน และไม่ได้ใช้เฉพาะในคอม--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 11:10, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เข้าใจแล้วครับ ผมเองเจอ combining char ตอนอ่านเกี่ยวกับภาษาไทย เห็นอาจแปลเป็นอักษรรวมได้เลยดึงขึ้นมาพูด --Jutiphan | พูดคุย - 13:06, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

Mesotherapy

[แก้]

อ่านบทความคร่าวๆ ที่ Mesotherapy ผมขอเสนอสามแบบ --อ็อกตร้า บอนด์ 16:39, 19 มกราคม 2007 (UTC)

ความคิดเห็น:

  1. เมโซเทราพี
  2. เมโซเทอราพี
  3. มัชฌิมบำบัด
ความคิดเห็น เสนอแนะ

ลอง search ดูไม่ค่อยพบอะไรเท่าไร ท่าทางเป็นคำคิดขึ้นมาใหม่จริงๆครับ อาจจะทับศัพท์ไปก่อนก็ได้ครับ ผมเองหาไม่เจอที่ฟังเสียงเลยไม่แน่ใจว่าควรเป็นแบบไหนครับ --Jutiphan | พูดคุย - 17:51, 21 มกราคม 2007 (UTC)

ถ้า meso-/μεσο- เป็นพรีฟิกจากภาษากรีก ควรอ่านเมโส (อ้างอิงจาก เมโสโปเตเมีย) เป็นภาษากรีก แปลว่า กลาง ระหว่างกลาง เช่น เมโสโซอิก เป็นต้น (ล) --ผู้ใช้:ธัญกิจ (ซะเมิญอาโปดาจอะปาทูบิก อิซเซ่คาไอวอซเซอร์ ) 09:10, 24 มีนาคม 2007 (UTC)

พรีฟิกซ์ไม่ได้อ่านเหมือนกันทุกคำนะ --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 15:49, 23 มีนาคม 2007 (UTC)
เมโซเทราพี น่าจะถูก --lux2545 | ติดต่อสื่อสาร | ตั้งกระทู้ใหม่ 13:27, 1 มกราคม 2555 (ICT)

Babel

[แก้]

ชื่อหอคอยในคัมภีร์คริสต์ + ชื่อภาพยนตร์ ครับ ไม่รู้ว่าจะทับศัพท์ตามสำเนียงไหนดี สำเนียงอเมริกันเป็น แบเบิล (a จาก อา เป็น แอ) ตอนนี้ที่ใช้อยู่คือ บาเบล ในหน้า วิกิพีเดีย:บาเบล --Manop | พูดคุย - 18:58, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ไม่ว่าจะปางไหนผมก็เคยได้ยินแต่บาเบลมาตลอดนะ--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 19:02, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ท่าจะไม่ได้ดูออสการ์ (2007) เมื่อคืน :) เข้าชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมครับแต่พลาด --Manop | พูดคุย - 19:10, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
หลังจากเปิด Encarta Dictionary ได้เรียนรู้ว่า มีสองคำคือ babel และ Babel (ชื่อเฉพาะ) โดยชื่อเฉพาะออกเสียงไม่เหมือนกับ babel โดย babel จะออกเสียงประมาณ บาเบิล ในขณะนี้ Babel จะออกเสียงประมาณ เบเบิล --Jutiphan | พูดคุย - 20:13, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
แล้วคัมภีร์คริสต์ฉบับภาษาไทยใช้ยังไงครับ (เสิร์ชเจอข่าวนี้ น่าสนใจดีครับ [1]) kinkkuananas 07:45, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ใช้ บาเบล --lux2545 | ติดต่อสื่อสาร | ตั้งกระทู้ใหม่ 13:35, 1 มกราคม 2555 (ICT)

Rogers

[แก้]

Rogers ชื่อคนครับ ว่าจะทับศัพท์แบบไหน เผื่อจะเพิ่มเติมในหน้า วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/คำทับศัพท์ชื่อบุคคล

  1. โรเจอร์
  2. โรเจอส์
  3. โรเจอร์ส์
  4. โรเจอรส์
  5. โรเจิรส์
  6. โรเจอร์ส
  7. โรเจอรส์

--Manop | พูดคุย - 21:06, 14 เมษายน 2007 (UTC)

กระผมว่าควรใช้แบบนี้ "โรเจอร์ส" ใส่ทัณฑฆาตแค่ตัวแรก และคงรูปสระเออเพราะไม่มีตัวสะกด --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 03:02, 4 พฤษภาคม 2007 (UTC)

principal

[แก้]

/ˈprɪnsəpəl/

principal ครับ ใช้ว่าอะไรดีครับ -- Dr.Garden

  1. ปริ้นซิปัล
  2. พรินซิปัล
  3. ปริ้นซิป้อล

ฯลฯ

ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเป็น
  1. พรินซิพอล
  2. พรินซิเพิล

ตามสำเนียงอเมริกันนะครับ แต่ไม่แน่ใจว่าคำนี้สะกดแบบไหนดีสุด --Manop | พูดคุย 14:13, 27 มิถุนายน 2551 (ICT)

ตามแบบไทยแท้ก็ ปรินซิปาล เห็นจะได้ครับ ส่วนตัวเองไม่สนับสนุนการใช้ เพิล ... ผมชอบอังกฤษบริเตนมากกว่า --Piazzadiscussioni 17:10, 19 กรกฎาคม 2551 (ICT)

พรินซิพัล แต่ถ้าใกล้เคียงก็เอา พรินซิเพิล ได้ --octahedron80 21:19, 31 ธันวาคม 2552 (ICT)

ผมอยากทราบว่าคำนี้เอาไปทำอะไรเหรอครับจะได้พิจรณาได้ถูก--ThoraninC 07:12, 14 เมษายน 2553 (ICT)

มันใช้แปลว่า อาจารย์ใหญ่ ผู้รับมอบฉันทะ --lux2545 | ติดต่อสื่อสาร | ตั้งกระทู้ใหม่ 13:29, 1 มกราคม 2555 (ICT)

count, counter

[แก้]
  1. เคาต์
  2. เคานต์
  3. +ไม้โท
  1. เคาเตอร์
  2. เคานเตอร์
  3. เคาเทอร์
  4. เคานเทอร์
  5. +ไม้โท

--ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 02:36, 11 กรกฎาคม 2551 (ICT)

  1. count เคานต์
  2. counter เคาน์เตอร์ --lux2545 | ติดต่อสื่อสาร | ตั้งกระทู้ใหม่ 13:31, 1 มกราคม 2555 (ICT)

Lewisham

[แก้]

/ˈluəʃəm/

  1. ลุยสชัม
  2. หลุยสชัม
  3. เลวิชแฮม

แจงว่าเค้าอ่าน Loui s sham กันจริง ๆ เวลาอ่านเร็ว ๆ --Piazzadiscussioni 17:26, 19 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ลุยเชิม ตามสัทอักษร --octahedron80 21:21, 31 ธันวาคม 2552 (ICT)

command

[แก้]
  1. คอมแมนด์
  2. คอมมานด์

เท่าที่ทราบคือคำนี้สามารถอ่านได้สองแบบ ควรที่จะเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง --Octra Dagostino 07:11, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)

แล้วใช้คำไทยว่า คำสั่ง ไม่ได้หรือครับ ? --ตะโร่งโต้ง 16:34, 13 มีนาคม 2552 (ICT)

กรณีที่ต้องใช้คำทับศัพท์ในชื่อเฉพาะจะแปลว่าคำสั่งได้ไงละครับ เช่นชื่อหนัง ชื่อเกม --octahedron80 21:17, 31 ธันวาคม 2552 (ICT)

EA GAMES ประเทศไทย ได้ให้คำนี้ว่า คอมมานด์ ใน ซีรี่ส์เกมส์ คอมมานด์ แอนด์ คอนเคอร์ และเกมส์อื่นก็ได้ให้คำว่าคอมมานด์เช่นกัน --ThoraninC 07:01, 14 เมษายน 2553 (ICT)

prompt

[แก้]
  1. พรอมปต์
  2. พรอมป์
  3. พรอมต์
  4. +ไม้ไต่คู้

จะได้ใช้ควบคู่กันเป็น command prompt --Octra Dagostino 07:11, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)

พรอมปต์ แต่เซิร์ชแล้ว มีแต่พรอมต์ สรุปไม่ได้ --lux2545 | ติดต่อสื่อสาร | ตั้งกระทู้ใหม่ 13:34, 1 มกราคม 2555 (ICT)

Frankfurt

[แก้]

ผมมีข้อสงสัยว่า หลักในการทับศัพท์ชื่อเมือง และชื่อบุคคล ที่เป็นภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ควรจะยึดการออกเสียงของภาษาใดเป็นหลักดี จึงได้ยกกรณีของ Frankfurt เป็นกรณีศึกษาครับ สำหรับเมือง Frankfurt ในประเทศเยอรมนี นั้น ถูกออกเสียงในภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมันแตกต่างกัน และในเยอรมนีเอง ต่างแคว้นกัน ก็ออกเสียงแตกต่างกัน ดังจะพบว่า ในบทความหน้า แฟรงก์เฟิร์ต ได้ใช้คำที่แตกต่างกัน 3 คำดังนี้

  • แฟรงก์เฟิร์ต สำหรับเมืองที่ตั้งอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
  • ฟรังค์ฟูร์ท สำหรับเมือง Frankfurt ในเยอรมนี ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน ซึ่งในภาษาอังกฤษ ก็ยังคงเรียกชื่อเมืองนี้ว่า แฟรงก์เฟิร์ต
  • ฟรังค์ฟวร์ท สำหรับเมืองเล็ก ๆ ชายแดนตะวันออกของเยอรมนี ที่ใช้ชื่อเดียวกันนี้

ที่สงสัยมาก ก็เนื่องจากการเขียนบทความที่เกี่ยวกับเยอรมนี โดยส่วนใหญ่พบว่าได้แปลมาจากบทความภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีศัพท์หลายคำที่ได้แปลงรูปไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีศัพท์หลายคำ ก็ได้พยายามที่จะคงเสียงแบบเยอรมัน ซึ่งสำเนียงที่ใช้ เท่าที่ผมลองสะกดดู ก็มีความแตกต่างกันบ้างตามสำเนียงของแต่ละแคว้น นอกจากนี้ ยังมีชื่อบุคคล ก็เข้าข่ายในลักษณะเดียวกันเช่นกัน ไม่ทราบว่ามีข้อแนะนำอย่างไรดีครับ ณ ปัจจุบันนี้ ผมก็ใช้วิธีว่า ถ้ามีคนเขียนไว้ก่อนหน้า (ถ้าหาเจอ) ก็จะพยายามใช้ตามของเขาไป แต่หากมีแนวคิดหลาย ๆ แนวช่วยกัน น่าจดีครับ --Zince 22:43, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

group

[แก้]
  1. กรุป
  2. กรุ๊ป

ตามหลักราชบัณฑิต ไม่ควรใช้วรรณยุกต์ แต่คนยังนิยมใช้อย่างหลัง สังเกตได้จากการค้นหาด้วย google "กรุป" ผลการค้นหา 1,350,000 รายการ ส่วน "กรุ๊ป" ผลการค้นหา 11,700,000 รายการ (มากกว่า 10 เท่า) นอกจากนี้ทั้ง "กรุป" และ "กรุ๊ป" ยังเป็นศัพท์บัญญัติ "กรุป" บัญญัติไว้ในหมวดคณิตศาสตร์ เช่น "กรุปพอยด์" (groupoid) ส่วน "กรุ๊ป" บัญญัติไว้ในหมวดคอมพิวเตอร์ เช่น "กรุ๊ปแวร์" (groupware) รวมถึง การจดทะเบียนชื่อบริษัท ใช้ "กรุ๊ป" เช่น "บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด" หรือ "บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด" --Ingfa7599 (คุย) 15:24, 11 เมษายน 2561 (ICT)

  1. เวอร์ซัส
  2. วีเอส
  3. พบ

--Horus (พูดคุย) 18:38, 11 เมษายน 2561 (ICT)

ถ้าเป็นคำทับศัพท์วิสามานยนามให้ใช้ "เวอร์ซัส" --Ingfa7599 (คุย) 20:49, 11 เมษายน 2561 (ICT)

cryptocurrency

[แก้]
  1. สกุลเงินดิจิทัล
  2. เงินคริปโท
ขอเชิญร่วมอภิปรายครับ @Tikmok: ผมใช้คำแรกตามแหล่งข้อมูลอื่น แต่คุณเปลี่ยนมาใช้คำที่สอง --Horus (พูดคุย) 14:50, 13 พฤษภาคม 2561 (ICT)
  • ฮาฮา ขอบคุณที่ชวน แต่ดูเหมือนคนอื่นเขาจะสรุปให้เรียบร้อยแล้ว ในภาษาอังกฤษมีอีกบทความหนึ่งต่างกันคือ digital currency ครับ --Tikmok (คุย) 14:28, 27 พฤษภาคม 2561 (ICT)

season (รายการโทรทัศน์)

[แก้]
  1. ซีซัน
  2. ซีซันที่
  3. ซีซั่น
  4. ซีซั่นที่
  5. ฤดูกาล
  6. ฤดูกาลที่ --Horus (พูดคุย) 21:52, 30 กรกฎาคม 2561 (ICT)

รายการคำศัพท์ที่พิจารณาไปแล้ว

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]