ข้ามไปเนื้อหา

ลูนาร์ ไอ-ฮับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมดูลที่อยู่อาศัยนานาชาติ
(International Habitation Module)
ภาพเรนเดอร์ของโมดูลที่อยู่อาศัยนานาชาติ (I-Hab) ของสถานีลูนาร์เกตเวย์
ประเภทภารกิจโมดูลที่อยู่อาศัยและควบคุมคำสั่ง
เว็บไซต์Gateway: International Habitat
ข้อมูลยานอวกาศ
ยานอวกาศไอ-ฮับ
ผู้ผลิตทาลีส อาเลเนีย สเปซ
มวลขณะส่งยาน10,000 kg (22,000 lb)[1]
ขนาด5.4 m (18 ft) (เส้นผ่านศูนย์กลาง), 10 m3 (350 cu ft) (พื้นที่ใช้สอย)[1]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นค.ศ. 2028 (ตามแผน)[2]
จรวดนำส่งSLS
ฐานส่งศูนย์อวกาศเคนเนดี, LC-39B
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงวงโคจรฮาโลใกล้สี่เหลี่ยมผืนผ้า
← HALO
ESPIRIT →
 

ลูนาร์ ไอ-ฮับ (อังกฤษ: Lunar I-Hab;[3] หรือที่รู้จักก่อนหน้านี้ว่า International Habitation Module, International Habitat หรือ I-HAB) ได้รับการออกแบบให้เป็นโมดูลที่อยู่อาศัยของสถานีลูนาร์เกตเวย์ ซึ่งสร้างโดยองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA[4][5] โดยโมดูลนี้มีมวลส่งขึ้นสูงสุดที่ 10,000 kg (22,000 lb) และมีปริมาตรใช้สอย 10 m3 (350 cu ft) (รวมปริมาตรกดอากาศทั้งหมด 36 m3 (1,300 cu ft))[1]

ประวัติความเป็นมา

[แก้]

การพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับโมดูลไอ-ฮับ เริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 โดยกลุ่มบริษัทที่นำโดยแอร์บัส และ ทาลีส อาเลเนีย สเปซ กลุ่มบริษัทแอร์บัสได้ทำงานร่วมกับอีซาเพื่อพัฒนาแนวคิดการออกแบบเบื้องต้น[6]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2018 ทั้งแอร์บัสและทาลีส อาเลเนียได้รับสัญญาแยกกันสำหรับการศึกษาเฟส A/B ที่ดำเนินควบคู่กัน[6][7][8] โดยเฟส A มุ่งเน้นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และเฟส Phase B เน้นการกำหนดคำอธิบายเบื้องต้นสำหรับโมดูล[6]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 อีซาได้ดำเนินการตรวจสอบข้อกำหนดเบื้องต้นและกลุ่มบริษัทได้จัดการประชุมออกแบบของตนเองในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 กระบวนการนี้นำไปสู่การพัฒนาระบบข้อกำหนดที่เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ซึ่งสร้างขึ้นจากข้อกำหนดของนาซาสำหรับลูนาร์เกตเวย์[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Artemis IV". European Space Agency. สืบค้นเมื่อ 2023-08-26.
  2. Foust, Jeff (13 March 2023). "NASA planning to spend up to $1 billion on space station deorbit module". SpaceNews. สืบค้นเมื่อ 13 March 2023.
  3. "Gateway: Lunar I-Hab". www.esa.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-26.
  4. Foust, Jeff (December 2019). "Funding Europe's space ambitions". The Space Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2023-08-26.
  5. "Lunar Gateway - Satellite Missions". eoPortal Directory. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Labidi, M.; Vienna, Liquifer Systems Group (21–25 October 2019). "Interior Configuration Concepts for the Gateway IHAB". Proceedings of the 70th International Astronautical Congress, Washington DC, USA.
  7. "A first step to make a dream – the exploration of the Moon comes true". Thales Group. 4 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  8. "Forward to the Moon: Airbus wins ESA studies for future human base in lunar orbit". Airbus. 28 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.