ข้ามไปเนื้อหา

บีจีสเตเดียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลีโอสเตเดียม)
บีจี สเตเดียม
แผนที่
ที่ตั้งตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
พิกัด14°00′02″N 100°40′45″E / 14.000649°N 100.679028°E / 14.000649; 100.679028
เจ้าของบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ผู้ดำเนินการบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ความจุ15,114 ที่นั่ง
พื้นผิวหญ้า
ป้ายแสดงคะแนนมี
เปิดใช้สนาม7 มีนาคม พ.ศ. 2553
การใช้งาน
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน)
ราชประชา (พ.ศ. 2563–2565)

บีจี สเตเดียม เป็นสนามฟุตบอลหญ้าจริง ขนาด 68 x 105 เมตร สร้างขึ้นติดกับ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) บนถนนรังสิต-นครนายก ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สำหรับใช้ในการแข่งขันฟุตบอลเกมเหย้าของสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในไทยลีก และเคยใช้จัดการแข่งขันระดับนานาชาติของทีมชาติไทยในบางโอกาส รวมถึงฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญของประเทศไทย

สนามนี้มีความจุทั้งหมด 15,114 ที่นั่งหลังจากก่อสร้างอัฒจันทร์ครบ 4 ด้าน พร้อมเก้าอี้สนามกีฬามาตรฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในระดับ A

ประวัติ

[แก้]

สนามแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า ลีโอ สเตเดียม ตามชื่อผู้สนับสนุนหลักซึ่งอยู่ในเครือเดียวกับบางกอกกล๊าส มีความจุเริ่มต้นทั้งหมด 10,114 ที่นั่ง และมีอัฒจันทร์ 3 ด้าน โดยเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553 เดิมสนามแห่งนี้เป็นสนามหญ้าเทียมทั้งหมด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 จึงได้เปลี่ยนเป็นหญ้าจริงแทน

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ได้เปลี่ยนชื่อสนามเหย้าจาก ลีโอ สเตเดียม เป็น บีจี สเตเดียม โดยได้รับการอนุมัติจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และบริษัท ไทยลีก จำกัด[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ทางสโมสรได้ปรับปรุงสนามโดยเพิ่มอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันออกที่ว่างไว้ ซึ่งสามารถรองรับผู้ชมได้อีกประมาณ 5,000 ที่นั่ง[2] และเปิดใช้งานครั้งแรกในการแข่งขันไทยลีก ฤดูกาล 2566–67 ที่บีจี ปทุม ยูไนเต็ด พบกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 ทำให้ปัจจุบัน สนามบีจี สเตเดียม มีอัฒจันทร์ครบ 4 ด้าน รองรับความจุผู้ชมได้อยู่ที่ประมาณ 15,114 ที่นั่ง[3]

การแข่งขันระดับทีมชาติ

[แก้]
วันที่ ทีม 1 ผล ทีม 2 รายการ
10 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ธงชาติไทย ไทย 1–1 Flag of the Republic of the Congo สาธารณรัฐคองโก เกมกระชับมิตร[4]
27 มีนาคม พ.ศ. 2565 ธงชาติไทย ไทย 1–0 ธงชาติซูรินาม ซูรินาม เกมกระชับมิตร[5]
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ธงชาติไทย ไทย 1–2 ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน เกมกระชับมิตร[6]
15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ธงชาติไทย ไทย 2–1 ธงชาติลาว ลาว ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 2023 รอบแรก
18 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ธงชาติไทย ไทย 3–0 ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย
21 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ธงชาติไทย ไทย 1–0 ธงชาติเยเมน เยเมน
25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ธงชาติไทย ไทย 1–4 ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 2023 รอบก่อนรองชนะเลิศ

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บีจี ปทุม ยูไนเต็ด เปลี่ยนชื่อสนามเหย้าเป็น บีจี สเตเดี้ยม
  2. ครบ 4 ด้าน! บีจี ปทุม สร้างอัฒจันทร์เพิ่มอาจทันเลกสองซีซั่นใหม่
  3. "อัฒจรรย์ ใหม่ บีจี ปทุมฯ เสร็จเรียบร้อยประเดิมรับมือบุรีรัมย์วันที่ 3 เม.ย.นี้". สยามกีฬารายวัน. สยามสปอร์ตซินดิเคท. 15 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ธีรศิลป์คัมแบ็ค! นิชิโนะประกาศ 23 แข้งช้างศึกอุ่นคองโก, ดวลยูเออี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27.
  5. ทีมชาติไทย อุ่นเครื่องฟีฟ่าเดย์ ดวล เนปาล-ซูรินาม พร้อมแจงเงื่อนไขสุดสำคัญ
  6. ฟุตบอลอุ่นเครื่องตามปฏิทิน ฟีฟ่าเดย์ ทีมชาติไทย พ่าย บาห์เรน 1-2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]