ลิเนียจโอเอส
หน้าโฮมของลิเนียจโอเอสรุ่น 20 | |
ผู้พัฒนา | ชุมชนโอเพนซอร์ซลิเนียจโอเอส |
---|---|
เขียนด้วย | C (หลัก), C++ (คลังซอฟต์แวร์), Java และ คอตลิน (ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้) |
ตระกูล | แอนดรอยด์ (ลินุกซ์) |
สถานะ | ยังดำเนินการอยู่ |
รูปแบบ รหัสต้นฉบับ | โอเพนซอร์ซ [a] |
วันที่เปิดตัว | 22 มกราคม พ.ศ. 2560 |
รุ่นเสถียร | ลิเนียจโอเอส 20 (สืบทอดมาจากแอนดรอยด์ 13) / 31 ธันวาคม 2022[2] |
ภาษาสื่อสาร | |
วิธีการอัปเดต | Over-the-air (OTA), ROM flashing |
ตัวจัดการ แพกเกจ | APK-based |
แพลตฟอร์ม ที่รองรับ | arm, arm64, x86, x86-64 |
ชนิดเคอร์เนล | Monolithic (Linux) |
สัญญาอนุญาต | สัญญาอนุญาตอะแพชี 2[3] และสัญญาอนุญาตอื่นๆ[4] |
เว็บไซต์ | www |
ลิเนียจโอเอส (อังกฤษ: LineageOS) เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ และกล่องรับสัญญาณที่มีรากเป็นแอนดรอยด์ โดยมากเป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สและเสรี เป็นระบบที่แยกสาขา (fork) ออกมาจากไซยาโนเจนมอดในเดือนธันวาคม 2016 เมื่อบริษัทไซยาโนเจนประกาศว่าจะหยุดพัฒนาแล้วยกเลิกโครงสร้างพื้นฐานของโปรเจ็กต์ทั้งหมด ลิเนียจโอเอสได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ธันวาคม 2016 โดยมีรหัสต้นทางทั้งในกิตฮับและกิตแหล็บ[5][6] เพราะบริษัทยังคงถือลิขสิทธิ์ชื่อ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นลิเนียจโอเอส[7] ในเดือนพฤศจิกายน 2023 มีอุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเกิน 1.5 ล้านตัว[8] โดยโทรศัพท์ซัมซุง กาแล็กซี่ เป็นที่นิยมใชักับระบบปฏิบัติการมากที่สุด[9]
ประวัติ
[แก้]ไซยาโนเจนมอด (CyanogenMod มักย่อว่า "CM") เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซยอดนิยมของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่มีรากเป็นแอนดรอยด์[10] ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการสามารถเลือกรายงานว่าตนใช้เฟิร์มแวร์นี้[11] และในเดือนมีนาคม 2015 นิตยสารฟอบส์ก็ระบุว่า มีผู้ใช้ไซยาโนเจนมอดในโทรศัพท์ของตนถึง 50 ล้านคน[10][12]
ในปี 2013 ผู้ก่อตั้งโปรเจ็กต์ Stefanie Jane ได้เงินทุนเพื่อก่อตั้งบริษัทไซยาโนเจน[13][14] แต่กลับไม่สามารถหาผลประโยชน์จากความสำเร็จของโปรเจ็กต์ได้ และในที่สุดปี 2016 เธอก็ได้ลาออก หรือว่าถูกไล่ออก[15][16] บริษัทจึงได้หาประธานบริหารใหม่ แต่ก็ปิดออฟฟิศ เลิกล้มโปรเจ็กต์ แล้วระงับการให้บริการทั้งหมด[17]
เพราะรหัสต้นฉบับเป็นแบบโอเพนซอร์สและเป็นที่นิยม จึงได้แยกสาขาออก (fork) โดยใช้ชื่อใหม่เป็นลิเนียจโอเอส และพยายามทำเป็นโปรเจ็กต์ชุมชน[ต้องการอ้างอิง] ไซยาโนเจนมอดมีลูกเล่นส่วนหนึ่งที่ไม่มีในเฟิร์มแวร์ที่มากับอุปกรณ์มือถือต่างๆ เช่น ธีม/สกิน[18], audio codec แบบแฟลค, รายการ Access Point Name ขนาดใหญ่, Privacy Guard ซึ่งเป็นแอปที่คุมการให้สิทธิโดยเฉพาะๆ แก่แอปต่างๆ, การแชร์เน็ตโดย tethering ผ่านตัวประสานต่างๆ, CPU overclocking, การได้สิทธิเป็นรูต, ปุ่มซอฟต์แวร์หน้าจอ, ค่าตั้งสำหรับแท็บเล็ตรูปแบบต่างๆ, ค่าตั้งหน้าข้อความแจ้งที่เปิดโดยดึงลงมา (เช่น ไวไฟ บลูทูธ) และการปรับระบบให้วิ่งเร็วขึ้น[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาลูกเล่นที่มีในไซยาโนเจนมอด ก็ได้รวมเข้าในระบบแอนดรอยด์ธรรมดาด้วย[ต้องการอ้างอิง] ผู้พัฒนาระบุว่า ระบบไม่มีสปายแวร์หรือ bloatware[19][20]
การพัฒนา
[แก้]เหมือนกับไซยาโนเจนมอด มีผู้พัฒนาจำนวนมากที่พัฒนาลิเนียจโอเอสกับอุปกรณ์โดยเฉพาะๆ โดยใช้ Gerrit ในการทบทวนรหัสต้นฉบับ จริงๆ แล้ว ก่อนจะได้แจกจำหน่ายลิเนียจโอเอสอย่างเป็นทางการ ผู้พัฒนาในกลุ่ม XDA Developers ก็ได้พัฒนาลิเนียจโอเอสรุ่นไม่เป็นทางการหลายรุ่นอยู่แล้ว รุ่นที่แจกจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั้งหมด จะเซ็นด้วยกุญแจส่วนตัว (private key) ของลิเนียจโอเอส[21]
เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2020 สาขารุ่นล่าสุดจะแจกจำหน่ายทุกๆ อาทิตย์ โดยอุปกรณ์บางอย่างอาจได้อัพเดทในวันต่อไป[22]
ประวัติรุ่น
[แก้]รุ่น | สืบทอดจากรุ่น AOSP | แจกจ่ายแรกสุด | แจกจ่ายหลังสุด | สนับสนุนอยู่ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
9.0 | 4.0.4 (Ice Cream Sandwich) |
? | ? | ไม่ | |
10.0 | 4.1.2 (Jelly Bean) |
? | ? | ไม่ | |
11.0 | 4.4.4 (KitKat) |
? | ? | ไม่ | |
12.0 | 5.0 (Lollipop) |
? | ? | ไม่ | |
12.1 | 5.1 (Lollipop) |
? | ? | ไม่ | |
13.0 | 6.0.1 (Marshmallow) |
20 ธันวาคม 2016 as CM 22 มกราคม 2017 as LOS |
11 กุมภาพันธ์ 2018 | ไม่ | [21][23] |
14.1 | 7.1.2 (Nougat) |
9 พฤศจิกายน 2016 as CM 22 มกราคม 2017 as LOS |
24 กุมภาพันธ์ 2019 | ไม่ | [21][24] |
15.1 | 8.1.0 (Oreo) |
26 กุมภาพันธ์ 2018 | 28 กุมภาพันธ์ 2020 | ไม่ | [25][26] |
16.0 | 9.0.0 (Pie) |
1 มีนาคม 2019 | 16 กุมภาพันธ์ 2021 | ไม่ | [27][28] |
17.1 | 10 (Quince Tart) |
1 เมษายน 2020 | 16 กุมภาพันธ์ 2022 | ไม่ | [29][30] |
18.1 | 11 (Red Velvet Cake) |
1 เมษายน 2021 | (รุ่นปัจจุบัน) | สนับสนุน | [31] |
19.1 | 12.1 (Snow Cone) |
26 เมษายน 2022 | (รุ่นปัจจุบัน) | สนับสนุน | [32] |
20 | 13 (Tiramisu) |
31 ธันวาคม 2022 | (รุ่นปัจจุบัน) | สนับสนุน | [2] |
สัญลักษณ์: รุ่นเก่า ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป รุ่นเก่า ยังได้รับการสนับสนุน รุ่นล่าสุด การเปิดตัวในอนาคต |
ลูกเล่น
[แก้]เหมือนกับไซยาโนเจนมอดที่เป็นต้นตอ ลิเนียจโอเอสจะไม่มีซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็นซึ่งผู้ผลิตโทรศัพท์หรือบริษัทโทรศัพท์มักจะติดตั้ง คือไม่มีซอฟต์แวร์ที่จัดว่าเป็น bloatware[33][19]
ชุมชน
[แก้]ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาลิเนียจโอเอสได้โดยหลายวิธี ชุมชนใช้ Gerrit เพื่อทบทวนรหัสต้นฉบับสำหรับทั้งระบบปฏิบัติการและการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน
มีวิกิที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้ง การสนับสนุน การพัฒนา ซึ่งชุมชนช่วยทำได้ผ่าน Gerrit ยังมีแพลตฟอร์มช่วยพัฒนาอื่นๆ อีกเช่น Crowdin เพื่อบริหารเรื่องการแปล, GitLab เพื่อติดตามบั๊ก และหน้าสถิติ เก็บถาวร 2019-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งแสดงจำนวนการติดตั้งสำหรับผู้ใช้ที่ยินยอมให้ทำรายงานทางสถิติ ยังมีกลุ่มพุดคุยด้วย คือ กลุ่มไออาร์ซีที่ Libera.chat (#lineageos) และกลุ่มเรดดิต (r/lineageos)[34]
สมาชิกชุมชนได้ใช้ฟอรัม XDA Developers เริ่มแต่ตั้งต้น แม้การแจกจำหน่ายรุ่นทางการจะไม่สนับสนุนอุปกรณ์หลายชนิด แต่สมาชิกชุมชนก็ได้พัฒนา ROM รุ่นที่ไม่เป็นทางการ ทำให้ใช้ลิเนียจโอเอสกับอุปกรณ์เก่าๆ ได้ รุ่นไม่เป็นทางการเหล่านี้อาจมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ใช้ระบบได้ดีขึ้น แม้รุ่นที่เป็นทางการอาจจะไม่มีซอฟต์แวร์เช่นนั้น แต่ก็อาจมีบั๊กหรือปัญหาความปลอดภัยซึ่งรุ่นที่เป็นทางการไม่มี[ต้องการอ้างอิง]
ในเดือนสิงหาคม 2017 โปรเจ็กต์ได้สำรวจผู้ใช้[35] คือขอความเห็นว่าควรจะปรับปรุงการพัฒนาได้อย่างไร แล้วก็ได้ตีพิมพ์ผลสำรวจนั้น[36] ต่อมาในเดือนตุลาคม ก็ระบุว่าได้ใช้ผลเพื่อปรับปรุงระบบรุ่นต่อมา ในเดือนสิงหาคม 2018 ก็ได้ทำการสำรวจเช่นนั้นอีก[37]
ผลการสำรวจแรกอย่างหนึ่งก็คือ ลิเนียจโอเอสได้เริ่มสร้างบล็อกที่มีชื่อว่า "LineageOS Engineering Blog" ที่ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการสามารถเขียนบทความเรื่องข้อมูลทางเทคนิคขั้นสูงสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของแอนดรอยด์[38]
ลิเนียจโอเอสยังโพสต์รีวิวที่เรียกว่า "regularly irregular review"[39] ในบล็อกเพื่อแจ้งว่ากำลังพัฒนาลูกเล่นอะไร
แอป
[แก้]ลิเนียจโอเอสมาพร้อมกับแอปโอเพนซอร์ซและเสรีดังนี้
- Aperture - แอปกล้อง ซึ่งใช้คลังซอฟต์แวร์ของกูเกิลคือ CameraX เป็นแอปแทนที่แอปกล้องดั้งเดิมคือ Snap และ Camera2 เริ่มตั้งแต่รุ่น 20
- AudioFX - แอปปรับเสียงที่มีค่าตั้งสำเร็จรูปต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การฟัง
- Browser - เว็บบราวเซอร์ที่ใช้ทรัพยากรน้อย (lightweight) และใช้คลังซอฟต์แวร์ของระบบคือ WebView มีเป้าหมายให้ใช้ดีในอุปกรณ์ราคาถูก เป็นซอฟต์แวร์ที่มีอีกชื่อหนึ่งคือ Jelly
- Calculator - เป็นเครื่องคิดเลขแบบบวกลบคูณหาร โดยยังมีฟังก์ชันที่ซับซ้อนกว่าอื่นๆ อีก
- Calendar - ปฏิทินที่แสดงหน้าวัน หน้าสัปดาห์ เดือน ปี หรือระเบียบวาระ (Agenda) โดยสืบมาจาก Etar เริ่มตั้งแต่รุ่น 17.1
- Clock - นาฬิกาโลก นาฬิกานับถอยหลัง นาฬิกาจับเวลา และนาฬิกาปลุก
- Contacts - สมุดที่อยู่เบอร์โทรศัพท์และอีเมล
- Files - เป็นตัวจัดการไฟล์ง่ายๆ ที่สามารถย้าย ก๊อป และเปลี่ยนชื่อไฟล์ในที่เก็บไฟล์ภายในหรือเอสดีการ์ด
- FlipFlap - แอปสำหรับตั้งค่าหรือทำกิจเกี่ยวกับฝาปิดสมาร์ทโฟน โดยใช้ได้กับอุปกรณ์บางอย่างเท่านั้น
- FM Radio - แอปฟังวิทยุเอฟเอ็ม
- Gallery - แอปจัดระเบียบรูปภาพและวิดีโอตามเวลาหรือตามอัลบัมเพื่อให้ดูได้ง่ายๆ
- Messaging - แอปรับส่งข้อความเอ็มเอ็มเอส/เอสเอ็มเอส
- Music - แอปเล่นเพลงง่ายๆ โดยมีอีกชื่อหนึ่งว่า Eleven
- Phone - แอปโทรศัพท์ มีปุ่มเบอร์โทรลัด การหาเบอร์โทรศัพท์ และตัวบล็อกเบอร์โทร์
- Recorder - แอปอัดเสียง โดยก่อนรุ่น 18.1 ก็ยังสามารถอัดคลิปจอได้ด้วย
- SeedVault - แอปสำรองข้อมูลอุปกรณ์ที่เข้ารหัสลับและไม่อาศัยคลาวด์ของกูเกิล
- Trebuchet - ตัวเปิดแอป (launcher) ที่สามารถแต่งค่าต่างๆ ได้
แม้จะไม่ได้ตั้งมากับลิเนียจโอเอสเพราะปัญหาทางกฎหมาย[40] ผู้ใช้ก็ยังสามารถแฟลชแอปกูเกิลต่างๆ รวมทั้ง กูเกิล เพลย์ ด้วยไฟล์ชนิดซิป ซึ่งจะเรียกว่า gapps เมื่อกำลังติดตั้งลิเนียจโอเอส
การใช้ลิเนียจโอเอสหรือ custom ROM อื่นๆ ปกติจะมีผลข้างเคียงต่อเอพีไอที่แอปกูเกิลใช้คือ SafetyNet API[41] เพราะผู้พัฒนาแอปสามารถเลือกค่าในคอนโซลผู้พัฒนาเพื่อซ่อนแอปของตนในกูเกิลเพลย์ถ้าระบบไม่ผ่านการทดสอบของ SafetyNet หรือแอปอาจเช็คสถานะของ SafetyNet แล้วไม่ให้ใช้ลูกเล่นบางอย่าง ตัวอย่างก็คือ Netflix ซึ่งไม่ให้ใช้ในทั้งกูเกิลเพลย์ และกูเกิลเพย์ เพราะเช็คสถานะของ SafetyNet ทุกครั้งที่ใช้ ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเยี่ยงนี้จะมีแอปให้เลือกใช้น้อยกว่า ถึงกระนั้น ผู้ใช้ก็ยังสามารถติดตั้ง Magisk และมอดูลอื่นๆ เพื่อปิดบังสถานะของบูตโหลดเดอร์ แล้วติดตั้งแอปต่างๆ ได้เช่น Netflix[42]
การปรับความชอบส่วนตัว
[แก้]ลิเนียจโอเอสมีลูกเล่นหลายอย่างที่แอนดรอยด์ (Android Open Source Project, AOSP) อาจไม่มี รวมทั้ง
- การปรับปุ่มกดหน้าจอ - การตั้งตำแหน่งปุ่มกดหน้าจอ หรือการเพิ่มปุ่มกดหน้าจอแม้กับอุปกรณ์ที่มีปุ่มที่ตัวเครื่อง[43]
- ปุ่มตั้งค่าเร็วพิเศษ เช่น ค่า "Caffeine" เพื่อป้องกันอุปกรณ์ไม่ให้นอนหลับ, การเปิดปิดข้อความแจ้ง, "Ambient Display" และ "ADB over network"
- LiveDisplay - การปรับสี (temperature) หน้าจอตามเวลา
- การปรับหน้าจอล็อก ซึ่งสามารถตั้งค่าต่างๆ หลายอย่าง รวมทั้งการตั้งภาพ ภาพวิ่งแสดงเสียงดนตรี และการเคาะจอสองครั้งให้เครื่องนอนหลับ
- System Profiles - การเปิดหรือปิดค่าตั้งสามัญโดยขึ้นอยู่กับโปรไฟล์ที่เลือก (เช่น โปรไฟล์บ้าน หรือโปรไฟล์ที่ทำงาน) โปรไฟล์สามารถเปิดใช้ได้ด้วยมือหรือโดยตัวจุดชนวน (trigger) เช่น เมื่อต่อกับไวไฟระบบใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะ หรือต่อกับอุปกรณ์บลูทูธ หรือการเลือกแท็ก NFC อันหนึ่ง
- Custom pattern sizes - นอกจากจะใช้แป้นลากนิ้วเพื่อปลดล็อกขนาด 3x3 ของแอนดรอยด์ ยังสามารถตั้งให้เป็นขนาด 4x4, 5x5 หรือ 6x6 ได้อีกด้วย
ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
[แก้]- PIN scramble - สำหรับผู้ใช้ที่ล็อกอุปกรณ์ด้วยรหัส PIN ปุ่มกดเลขสามารถตั้งให้เปลี่ยนตำแหน่งโดยสุ่มในแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้คนอื่นแอบดูได้ง่ายๆ ว่าใช้รหัสอะไร
- Privacy guard - ให้ผู้ใช้กำหนดอย่างละเอียดว่า จะให้สิทธิอะไรแก่แอปแต่ละอย่าง สำหรับสิทธิบางอย่าง อาจจะกำหนดได้ด้วยว่า ให้ขอสิทธิแต่ละครั้งที่ต้องใช้ โดยยังสามารถดูได้ด้วยว่าแอปขอสิทธิหนึ่งๆ บ่อยครั้งแค่ไหน แต่ลูกเล่นนี้ก็ได้เอาออกในรุ่น 17.1 โดยเปลี่ยนไปใช้ "permission controller" ที่เป็นลูกเล่นแฝงของ AOSP
- Protected Apps - สามารถล็อกแอปต่างๆ อีกขั้นหนึ่งนอกเหนือจากการปลดล็อกอุปกรณ์ โดยจะทำงานร่วมกับ Trebuchet คือ ไอคอนของแอปที่ป้องกันจะไม่ปรากฏในตัวเปิดแอปโดยจะมีโฟล์เดอร์ของตนต่างหากๆ เป็น "secure folders" เพื่อให้สามารถเข้าถึงแอปที่ป้องกัน
- สามารถตั้งเบอร์โทรบางเบอร์ให้ไม่ปรากฏในประวัติการโทรเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว[44]
- Trust - เป็นแอปศูนย์กลางในการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และช่วยป้องกันความเป็นส่วนตัว[45]
ลูกเล่นสำหรับผู้พัฒนาและผู้ชำนาญ
[แก้]- LineageSDK - เป็นชุดเอพีไอสำหรับผู้พัฒนาแอป เพื่อให้แอปสามารถใช้ลูกเล่นโดยเฉพาะๆ ของระบบปฏิบัติการเช่น System Profiles, Styles และ Weather[46]
- Lineage Recovery - แอปกู้ระบบที่สืบมาจาก AOSP
- (เลือกได้) Root - ให้แอปทำงานโดยมีสิทธิระดับรูตได้ โดยต้องแฟลชที่ recovery ด้วยตัวเพิ่มรูตของลินเนียจโอเอส (ซึ่งใช้ได้จนถึงรุ่น 16.0[47]) หรือตัวเพิ่มรูตของ Magisk หรือ SuperSU
- แอปอัดเสียงโทรศัพท์ โดยจะไม่มีในทุกประเทศเพราะขึ้นอยู่กับกฎหมาย
แอป Trust
[แก้]แอป Trust เริ่มมีให้ใช้ตั้งแต่รุ่น 15.1 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018[48] ในอุปกรณ์ที่สนับสนุน จะพบได้ใน Settings ใต้ตัวเลือก Security and Privacy โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้ "สามารถตรวจดูสถานะความปลอดภัย และดูคำอธิบายว่า ควรจะทำอย่างไรอุปกรณ์จึงจะปลอดภัย และข้อมูลจึงจะไม่เสียความเป็นส่วนตัว"
อนึ่ง เมื่อทำอะไรกับอุปกรณ์ก็ดี ไอคอน trust ก็จะปรากฏเพื่อให้เห็นว่า สิ่งที่กำลังทำนั้นปลอดภัย
อุปกรณ์ที่สนับสนุน
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน 2023 มีอุปกรณ์ที่ติดตั้งลิเนียจโอเอสเกิน 1.5 ล้านตัว[8] รุ่น 20.0 สนับสนุนอุปกรณ์เกิน 160 ตัว, รุ่น 19.1 เกิน 10 ตัว และรุ่น 18.1 เกิน 50 ตัว[49]
ข้อวิจารณ์
[แก้]วันเมษาหน้าโง่ปี 2018
[แก้]โปรเจ็กต์ถูกวิจารณ์เพราะการหลอกเล่นวันเมษาหน้าโง่ในปี 2018[50] คือในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนปี 2018 โปรเจ็กต์ได้อัพเดทระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่พร้อมกับการการหลอกเล่นที่เรียกว่า "LOSGenuine" ซึ่งแสดงข้อความแจ้งผู้ใช้ว่า ซอฟต์แวร์อาจเป็นของปลอม โดยผู้ใช้จะไม่สามารถระงับข้อความดังกล่าวได้จนกว่าจะทำรายคำสั่งนี้ใน root shell
setprop persist.lineage.nofool true
เมื่อแตะข้อความแจ้ง ก็จะอ้างว่า อุปกรณ์นี้ไม่มีการรับรอง และจะต้องขุดเหรียญ "LOSCoins" ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลและจริงๆ ก็ไม่สามารถใช้ทำอะไรได้ รุ่นที่มีปัญหานี้ยังมีแอป "Wallet" ซึ่งแสดงยอดเงิน LOSCoins ที่มี[50] ผู้ใช้จำนวนมากจึงเข้าใจผิดว่า นี่เป็นมัลแวร์จริงๆ และคนอื่นๆ ก็คิดว่า เป็นการเล่นวันเมษาน่าโง่ที่ไม่ดี สำหรับบางคน เป็นการถูกหลอกที่เกิดขึ้นช้าโดยไม่ทันเทศกาล เพราะไม่ได้รับอัพเดทที่ว่าหลายวันต่อจากวันเมษาน่าโง่ ทำให้ไม่ชัดเจนว่าเป็นการหลอกเล่น ต่อมาวันที่ 10 เมษายน ผู้นำโปรเจ็กต์ที่ใช้ชื่อ ciwrl จึงได้โพสต์ข้อความอย่างเป็นทางการ เพื่อขอโทษการเล่นหลอกลวงนั้น[51][52]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Free Software Foundation's Licensing and Compliance Lab (บ.ก.). "Explaining Why We Don't Endorse Other Systems". GNU. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-24. สืบค้นเมื่อ 2022-07-25.
- ↑ 2.0 2.1 LineageOS. "Gerrit". review.lineageos.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-03. สืบค้นเมื่อ 2022-08-24.
- ↑ "android_vendor_lineage_LICENSE". LineageOS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
- ↑ "Other licenses can be viewed per repo on GitHub under NOTICE/LICENSE files". LineageOS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
- ↑ Gallagher, Sean (2016-12-27). "Cyanogen Inc. shuts down CyanogenMod in Christmas bloodbath". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-08-12.
- ↑ "LineageOS". GitLab.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ Levy, Nat (2016-12-26). "Open-source Lineage project rises from Cyanogen's ashes as Android maker abruptly shuts down services". GeekWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2016-12-26.
- ↑ 8.0 8.1 Schoon, Ben (2023-11-20). "LineageOS is currently installed on 1.5 million Android devices". 9to5Google. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-21. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
- ↑ "LineageOS Statistics". LineageOS Statistics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-09. สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.
- ↑ 10.0 10.1 Helft, Miguel. "Meet Cyanogen, The Startup That Wants To Steal Android From Google". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-16. สืบค้นเมื่อ 2015-04-16.
- ↑ Soyars, Chris (2011-03-21). "CM Stats explanation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-27.
- ↑ @CyanogenMod (2012-01-12). "CyanogenMod just passed 1 million active users" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 2016-12-26 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Lineage Android Distribution". LineageOS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-25. สืบค้นเมื่อ 2016-12-25.
- ↑ Reed, Brad (2013-09-18). "With $7 million in funding, Cyanogen aims to take on Windows Phone". Boy Genius Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 2016-12-26.
- ↑ Tal, Lior (2016-11-30). "Update on Cyanogen". Cyanogen Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-27. สืบค้นเมื่อ 2017-01-24.
- ↑
Ruddock, David (2016-11-28). "Cyanogen Inc. will shutter Seattle office by end of year, more layoffs happening, Jane could be out". Android Police. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-04. สืบค้นเมื่อ 2017-01-24.
Kondik was removed from the company's board, allegedly
- ↑ @CyanogenMod (2016-12-25). "UPDATE: As of this morning we have lost DNS and Gerrit is now offline — with little doubt as a reaction to our blog post yesterday. Goodbye" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 2016-12-26 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Themes Support". CyanogenMod. 2011-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-30.
- ↑ 19.0 19.1 "Cyanogenmod promises to never include apps like Carrier IQ". Computer-Howto. 2011-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06.
- ↑ "Video: CyanogenMod founder Steve Kondik talks Android". UnleashThePhones.com. 2012-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ 2013-01-27.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 OS, Lineage. "Update & Build Prep". Lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2017-01-21.
- ↑ "[TMP] hudson: Move all versions to weeklies". GitHub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
- ↑ "Deprecate 13.0: Let the rumors start flying". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
- ↑ "Prepare for 16.0". review.lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-27.
- ↑ LineageOS. "Changelog 16 - Smart Styles, Treble is trouble and Omfg Oreo". www.lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2018-02-25.
- ↑ "RIP Oreo". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
- ↑ LineageOS. "Changelog 22 - Pushing Pie, Bracing Builds and Careful Calculator". lineageos.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-27.
- ↑ "Drop 16.0". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
- ↑ LineageOS. "Changelog 24". lineageos.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Drop 17.1". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
- ↑ LineageOS. "Changelog 25". lineageos.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ LineageOS. "Changelog 26 - Tailored Twelve, Audacious Automotive, Neat Networking, Devoted Developers". lineageos.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-06. สืบค้นเมื่อ 2022-12-31.
- ↑ Chauhan, Siddharth (2017-02-07). "How to: Install Lineage OS on your smartphone". In.pcmag.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-25. สืบค้นเมื่อ 2017-10-20.
As far as user interface goes, Lineage OS presents a clean and bloatware free stock Vanilla Android experience but still has some tricks up its sleeve.
- ↑ "LineageOS: Community". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
- ↑ LineageOS. "Summer Survey". Lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-18. สืบค้นเมื่อ 2017-10-25.
- ↑ LineageOS. "Summer Survey - Results". Lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-01. สืบค้นเมื่อ 2017-10-25.
- ↑ jrizzoli (2018-11-05). "Summer Survey 2 - Attack of the feedbacks". LineageOS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-02. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
- ↑ "Engineering Blog". lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Blog". lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Google hits Android ROM modder with a cease-and-desist letter". Engadget. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2017-10-25.
- ↑ SafetyNet API "SafetyNet: What it is, and how it affects you". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-30.
- ↑ "XDA: How to pass SafetyNet on Android after rooting or installing a custom ROM". 2022-01-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-19. สืบค้นเมื่อ 2022-08-01.
- ↑ Conway, Adam. "LineageOS 19 Hands-On: This is what you get with the official builds".
- ↑ LineageOS. "Changelog 10 - Sensitive numbers and our CVE Tracker". lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-17.
- ↑ Wilde, Damien (2023-03-21). "Lineage OS 20 review: A new lease of life for your old device".
- ↑ LineageOS. "Introducing the LineageSDK". lineageos.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-27.
- ↑ "LineageOS is dropping its own superuser implementation, making Magisk the de facto solution". XDA Developers. 2019-12-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-12-24.
- ↑ LineageOS. "Trust me, I'm an engineer". lineageos.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
- ↑ "hudson/lineage-build-targets at master · LineageOS/hudson". GitHub. 2016-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.
- ↑ 50.0 50.1 "Don't freak out: LineageOS has a very bad and very late April Fools' joke in latest builds". Android Police (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-04-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-09-22.
- ↑ LineageOS. "An April Apology". lineageos.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-09-22.
- ↑ "LineageOS apologizes for late and 'bad taste' April Fools' joke". Android Police (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-04-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-09-22.