ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาฮังการี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฮังการี
magyar nyelv
ออกเสียง[ˈmɒɟɒr ˈɲɛlv]
ประเทศที่มีการพูดประเทศฮังการีและพื้นที่ทางตะวันออกของออสเตรีย, โครเอเชีย, โรมาเนีย, ภาคเหนือของเซอร์เบีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, ภาคตะวันตกของยูเครน
ชาติพันธุ์ชาวฮังการี
จำนวนผู้พูด13 ล้านคน  (2003–2014)[1]
ตระกูลภาษา
ยูรัล
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ (ในวอยวอดีนา)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบสถาบันวิจัยภาษาศาสตร์แห่งบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์ฮังการี (สถาบันภาษาศาสตร์ของฮังการี)
รหัสภาษา
ISO 639-1hu
ISO 639-2hun
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
hun – ฮังการีใหม่
ohu – ฮังการีเก่า
นักภาษาศาสตร์ohu ฮังการีเก่า
Linguasphere41-BAA-a
บริเวณที่ภาษาฮังการีเป็นภาษาหลัก (น้ำเงินเข้ม) หรือเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย (น้ำเงินอ่อน) อ้างอิงจากสำมะโนประชากรล่าสุดและซีไอเอเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก 2014[6]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาฮังการี

ภาษาฮังการี (ฮังการี: Magyar nyelv, [ˈmɒɟɒr ˈɲɛlv]) เป็นภาษาตระกูลยูรัลซึ่งมีผู้พูดในประเทศฮังการีและในประเทศเพื่อนบ้าน มีผู้พูดภาษาฮังการีประมาณ 14.7 ล้านคน จำนวน 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศฮังการี ในประเทศฮังการีและในประเทศสโลวาเกีย แถบตะวันตกของประเทศยูเครน ประเทศสโลวีเนียตอนเหนือ อาณาเขตตะวันตกและตอนกลางของประเทศโรมาเนีย (ทรานซิลเวเนีย) ประเทศเซอร์เบียตอนเหนือในเขตวอยวอดีนา และประเทศโครเอเชียตอนเหนือในเขตวอยวอดีนา เนื่องจากการถูกแยกประเทศราชอาณาจักรฮังการี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปีค.ศ. 1920 โดยสนธิสัญญาทริอานอง ทำให้มีชาวฮังการีจำนวนมากถูกตัดขาดจากกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองในดินแดนที่จักรวรรดิออสเตรียฮังการีเคยตั้งอยู่ ภาษาฮังการียังใช้พูดโดยกลุ่มชาวฮังการีพลัดถิ่นทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ (ในสหรัฐ) ภาษาฮังการีจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาฟินโนอุกริค ร่วมกับภาษาอื่นๆเช่น ภาษาฟินแลนด์ และภาษาเอสโตเนีย เป็นต้น ภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาฮังการีมากที่สุดคือ ภาษาแมนซี และภาษาคฮานตีในประเทศรัสเซียตอนกลาง (ไซบีเรีย)

การจำแนก

[แก้]

ภาษาฮังการีเป็นภาษาในตระกูลภาษายูรัล (Uralic language family) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1670 มีการสังเกตเห็นถึงความเชื่อมโยงของภาษาฮังการีและภาษาอื่น ๆ ในตระกูลยูราลิก และได้มีการบัญญัติตระกูลภาษายูรัล ปี ค.ศ.1717 ซึ่งต่อมาได้แบ่งย่อยลงมาได้เป็นกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริก (Finno-Ugric languages) โดยภาษาฮังกาเรียนจัดอยู่ในกลุ่มสาขาภาษายูกริก ร่วมกันภาษาแมนซีและภาษาคานซีในไซบีเรีย แต่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการภาษาศาสตร์อย่างกว้างขวาง

ชุดตัวอักษรฮังการี

[แก้]

ชุดตัวอักษรฮังการี (ฮังการี: magyar ábécé) เป็นส่วนขยายของชุดอักษรละตินที่ใช้ในการเขียนภาษาฮังการี ตัวอักษรฮังการีมีพื้นฐานมาจากอักษรละตินโดยมีตัวอักษรที่หลากหลายเพิ่มเข้ามา เพื่อแทนเสียงพยัญชนะและสระที่ไม่มีในภาษาละติน

ชุดตัวอักษรภาษาฮังการีโดยพื้นฐานมีตัวอักษรทั้งหมด 40 ตัว แต่แบบขยาย มีอยู่ 44 ตัว โดยเพิ่มตัวอักษร Q, W, X และ Y ซึ่งพบได้เฉพาะในคำยืมจากภาษาอื่นและในตัวสะกดวิสามานยนามแบบดั้งเดิม

ตัวอักษร 44 ตัว ในชุดตัวอักษรฮังการีแบบขยายมีดังนี้

ตัวพิมพ์ใหญ่
A Á B C Cs D Dz Dzs E É F G Gy H I Í J K L Ly M N Ny O Ó Ö Ő P Q R S Sz T Ty U Ú Ü Ű V W X Y Z Zs
ตัวพิมพ์เล็ก
a á b c cs d dz dzs e é f g gy h i í j k l ly m n ny o ó ö ő p q r s sz t ty u ú ü ű v w x y z zs

คำอธิบาย

[แก้]

สัญลักษณ์อักษรแต่ละตัวในกล่องด้านบนนับเป็นตัวอักษรเฉพาะในภาษาฮังการี โดยแยกสระเสียงสั้นและเสียงยาว (คล้ายภาษาไทย) เช่น ตัวอักษร o และ ó หรือ ö และ ő นับเป็นคนละตัวอักษร มีตำแหน่งของตัวเองในการเรียงลำดับ ไม่นับว่าเป็นสระเดียวกัน

แม้ว่าสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวจะนับเป็นอักษรคนละตัวในในอักษรฮังการี แต่สำหรับพยัญชนะ แม้ว่าจะมีเสียงยาว (หรือมีการซ้ำเสียงต่อเนื่อง) ก็ยังนับเป็นอักษรตัวเดียวกัน

ในภาษาฮังการี การแสดงว่าพยัญชนะนั้นมีเสียงยาว จะทำได้โดยการเขียนอักษรเดียวกันซ้ำสองตัวแทนการใส่เครื่องหมายไว้ด้านบน เช่น tt, gg, zz (ette [ˈɛɛ] 'เขากิน'; gg [fyɡː] 'มันห้อยอยู่'; azzal [ˈɒɒl] 'กับอันนั้น') อย่างไรก็ดี ในภาษาฮังการี จะมีการใช้อักษรพยัญชนะละติน 2 หรือ 3 ตัวมาผสมกันเพื่อแสดงเสียงเสียงเดียว สำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษาละติน (คล้ายกับภาษาโปแลนด์) ภาษาฮังการีมีอักษรประสม 9 ตัว คือ cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs

ในการเขียนอักษรพยัญชนะประสม (ประกอบด้วย cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs) ให้แสดงเสียงยาวนั้น ตามหลักการเขียนของภาษาฮังการี จะตัดอักษรด้านหลังตัวพยัญชนะประสมตัวแรกให้เหลือแต่เพียงอักษรละตินตัวแรก แล้วเอามาเขียนติดกับตัวมันเอง เช่น sz + szssz (asszony [ˈɒoɲ] 'ผู้หญิง'); ty + tytty (hattyú [ˈhɒuː] 'หงส์'); dzs + dzsddzs (briddzsel [ˈbrid͡ʒːɛl] 'ด้วยไพ่โปกเกอร์') ยกเว้นเฉพาะคำยาวที่เกิดจากคำสั้น ๆ ประสมกัน เช่น jegygyűrű [ˈjɛɟːyːryː] 'แหวนหมั้น' (jegy [ˈjɛɟ] + gyűrű ɟyːryː]) ไม่มีการตัดอักษรออกให้กลายเป็น jeggyűrű

การออกเสียง

[แก้]

ตารางต่อไปนี้คือการออกเสียงอักษรฮังการีตามหลักภาษาฮังการีมาตรฐาน

อักษร ชื่อเรียก หน่วยเสียง เสียงที่ใกล้เคียงในภาษาไทย ตัวอย่างเสียงที่ใกล้เคียงในภาษาอื่น หมายเหตุ
A a /ɒ/ เอาะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาไทย: ก๊ก, ล็อ

ภาษาอังกฤษ (แบบบริติช): cot

Á á /aː/ อา ภาษาไทย: าง, ข้

ภาษาอังกฤษ: father

B /b/ ภาษาไทย: บ้าน, บิน, บ่อน

ภาษาอังกฤษ: by, absence

C /ts/ ตซ ภาษาอังกฤษ: pots

ภาษาญี่ปุ่น: 波(なみ、Tsunami)

คล้าย ต กับ ซ รวมกันเป็นเสียงเดียว
Cs csé /tʃ/ ภาษาไทย: ช้าง, เชียงใหม่

ภาษาอังกฤษ: check, cheek, etching

D /d/ ภาษาไทย: เด็ก, ดิน, ารา

ภาษาอังกฤษ: deck, wide

Dz dzé /dz/ ดซ (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: kids เป็นคำที่พบได้น้อยมากในภาษาฮังการี
Dzs dzsé /dʒ/ จ (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: jam, George, bridge, edge, fridge เป็นคำที่มักพบในคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ
E e /ɛ/ แอะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: less, cheque, edge, bed
É é /eː/ เอ ภาษาอังกฤษ: café
F ef /f/ ภาษาอังกฤษ: find, euphoria
G /ɡ/ ก (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: get, leg, go
Gy gyé /ɟ/ ดย คล้ายกับคำภาษาอังกฤษ ที่ใช้เสียง /d/ แบบอ่อน คำว่า duke during ออกเสียงคล้าย ด กับ ย มารวมกัน เป็นเสียงเดียว
H /h/ 1. [ɦ]

2.

3. [x]

4. [ç]

ฮ 1. ฮ


2. ไม่ออกเสียง

3. ค, ฮ

4. ช, ฮ

ภาษาอังกฤษ: hi

1. behind 2. honest

3. Loch, Chanukah 4. human

ออกเสียงได้ 4 แบบ ตามแต่ละคำ แต่ส่วนใหญ่ ออกเสียงเหมือน ฮ ในภาษาไทย
I i /i/ อิ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: sea, key, tree
Í í /iː/ อี ภาษาอังกฤษ: leek, leave, seed, sea
J /j/ ภาษาไทย: ยักษ์, ยี่หร่า, าย

ภาษาอังกฤษ: you, yes, faith

K /k/ ภาษาไทย: อง, ไก่

ภาษาอังกฤษ: ski, scar, mask

L el /l/ ภาษาอังกฤษ: leave, list
Ly elly, el-ipszilon /j/

/ /ʎ/

ย / ลย ภาษาอังกฤษ: play, pray ในปัจจุบัน ly ออกเสียงเหมือน j หรือ ย ตามภาษาฮังการีมาตรฐานเนื่องจากการเปลี่ยนไปของสำเนียงการพูดภาษาฮังการี
M em /m/ ภาษาอังกฤษ: mind, assume, might
N en /n/: [ŋ]

[n]

ง (เมื่อนำหน้า k, g)

ภาษาอังกฤษ: thing, lying (ก่อนตัว k, g),need, bone (ที่อื่น ๆ) ออกเสียงเหมือน ง เมื่อนำหน้า k, g แต่ออกเสียงเหมือน น เมื่อนำหน้าเสียงพยัญชนะอื่นทั้งหมด
Ny eny /ɲ/ ญ, นย ภาษาอังกฤษ: canyon

ภาษาสเปน: niño

ออกเสียงเหมือน ญ ในภาษาไทยโบราณ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นอีสาน
O o /o/ โอะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: force, sorcerer
Ó ó /oː/ โอ
Ö ö /ø/ เออะ (แบบไม่มีเสียงกัก) ตัว ö ในภาษาเยอรมัน
Ő ő /øː/ เออ คล้ายตัว ö ในภาษาเยอรมัน แต่เสียงยาว
P /p/ ภาษาไทย: า, ระเทศ
(Q) ออกเสียงเหมือน k พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
R er /r/ ภาษาไทย: เรียน, รู้ ร เรือ แบบรัวลิ้น ในภาษาไทยมาตรฐาน และเหมือนกับเสียงของ rr ในภาษาสเปน
S es /ʃ/ ช (เสียง ภาษาอังกฤษ: share, wish, shout การเขียนโดยใช้ s เป็นเสียง /ʃ/ และ sz เป็นเสียง /ʃ/ เป็นสิ่งที่พบได้น้อยมาก ในระบบการเขียนของยุโรป มีเพียงภาษาฮังการีที่เขียนแบบนี้
Sz esz /s/ ภาษาอังกฤษ: say, estimate
T /t/ ภาษาอังกฤษ: star, least, feast
Ty tyé /c/ ภาษาอังกฤษ: tube คล้าย ต กับ ย รวมกันเป็นเสียงเดียว
U u /u/ ภาษาอังกฤษ: rude
Ú ú /uː/ อู ภาษาอังกฤษ: do, fool
Ü ü /y/ อึ (แบบไม่มีเสียงกัก) ตัว ü ในภาษาเยอรมัน
Ű ű /yː/ อือ ตัว ü ในภาษาเยอรมัน แต่เสียงยาว
V /v/ ฟ, ว ภาษาอังกฤษ: very, every
(W) dupla vé /v/ ฟ, ว ภาษาอังกฤษ: view, evolve, vacuum ออกเสียงเหมือน v พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
(X) iksz กซ ออกเสียงเหมือน k + sz พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
(Y) ipszilon /i/ อิ (แบบไม่มีเสียงกัก) ภาษาอังกฤษ: happy ออกเสียงเหมือน i พบในคำทับศัพท์เท่านั้น
Z /z/ ซ (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: desert, roses
Zs zsé /ʒ/ ช (เสียงก้อง) ภาษาอังกฤษ: pleasure, leisure

ตัวอักษร ë ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรฮังการี อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์ใช้ตัวอักษรนี้เพื่อจำแนกความต่างระหว่างเสียง e สั้น สองชนิด (แอะ และ เอะ) ในบางภาษาถิ่นของภาษาฮังการี มีการใช้อักษรนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1770 โดยเยิดย์ ก็อลมาร์ (György Kalmár) แต่อักษรนี้ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรฮังการีมาตรฐาน เนื่องจากในภาษาฮังการีมาตรฐานไม่ได้จำแนกความต่างระหว่างเสียงทั้งสองนี้ (อย่างที่ในภาษาไทยแยกเสียง แอะ และ เอะ ออกจากกัน) อย่างไรก็ตาม เสียง ë (เอะ) ออกเสียงต่างจากเสียง e (แอะ) ในภาษาถิ่นของภาษาฮังการี 6 ภาษาจาก 10 ภาษา และออกเสียงอย่าง ö (เออะ) ในภาษาถิ่นของภาษาฮังการี 1 ภาษา (ภาษาถิ่นทรานซิลเวเนีย)

ทวิอักษร ch ยังปรากฏอยู่ในบางคำ (เช่น technika, monarchia) และออกเสียงเหมือนกับ h ส่วนในวิสามานยนาม ch จะออกเสียงเหมือน cs หรือบางครั้งออกเสียงเป็น h หรือ k (แบบภาษาเยอรมัน)

การเขียนแบบเดิม ที่ยังใช้ในชื่อเฉพาะและเอกสารทางประวัติศาสตร์

[แก้]

การเขียนแบบดั้งเดิม (บางส่วนมีความใกล้เคียงกับการเขียนแบบเยอรมัน) มีการใช้ในชื่อเฉพาะที่เป็นภาษาฮังการี โดยตารางด้านล่างจะเปรียบเทียบการเขียนแบบดั้งเดิม กับการอ่านออกเสียงแบบปัจจุบัน ตามการสะกดของภาษาฮังการีมาตรฐาน ดังนี้:

การเขียนแบบดั้งเดิม การอ่านออกเสียงตามหลักสมัยใหม่
พยัญชนะ
bb b
cz c
tz c
z c
ch cs
cz cs
č cs
ć cs
ts cs
csh cs
tsch cs
tzsch cs
chs cs
cy cs
ʟ cs
dd d
dsz dz
ds dzs
ff f
ph f
gh g
dgy ggy
dy gy
g gy
gi gy
gj gy
gʹ~g′ gy
ǵ gy
ġ gy
j gy
jj j
l j
y j
ck k
kh k
x ks
xy ksz
xz ksz
qu kv
ll l
l ll
w lv
j ly
l ly
li ly
ry ly
lly ly
′l(ʹl)~l′(lʹ)~ŀ ly
n ny
ni ny
nʹ~n′ ny
ń ny
ny
my ny
ph p
pp p
rh r
rr r
r
sch s
ss s
ss ssz
s sz
sc sz
sy sz
z sz
th t
tt t
ti ty
tʹ~t′ ty
ty
ky ty
u v
w v
s z
s zs
ss zs
zy zs
['s] zs

[7]

การเขียนแบบดั้งเดิม การอ่านตามหลักสมัยใหม่
สระ
a á
aa á
á
áh á
ä e
ae e
ai e
ay e
áe é
ái é
áy é
e é
ee é
é
éh é
i í
í
íh í
ii í
í
å o
o ó
óh ó
oo ó
ó
ua ó
â ö
åe ö
åi ö
åy ö
ö
ew ö
oe ö
oi ö
oy ö
ő
ő
ew ő
ia ő
ö ő
őh ő
öö ő
öő ő
óe ő
ói ő
óy ő
üa ő
u ú
úh ú
ú
uu ú
ú
ue ü
ui ü
uy ü
ü ű
űh ű
üő ű
üü ű
üű ű
úe ű
úi ű
úy ű
aj
aj
aÿ aj
ei aj
áë áj
áï áj
áÿ áj
åë oj
åï oj
åÿ oj
eu oj
oj
oj
oÿ oj
óë ój
óï ój
óÿ ój
au uj
uj
uj
uÿ uj
úë új
úï új
úÿ új
(g)y ~ gÿ gi
y ji
ý
(l)y ~ lÿ (l)i
(n)y ~ nÿ (ny)i or (n)i
(t)y ~ tÿ ti

โดยทั่วไปแล้ว ตัว y ในการเขียนแบบดั้งเดิมนั้น มักจะอ่านเป็น i ในการอ่านแบบปัจจุบัน (ตย..: Teleky, Rákóczy, zsy). ด้านล่างนี้คือตัวอย่างการอ่านด้วยหลักปัจจุบัน ที่มักจะมีการอ่านผิด เนื่องจากการสะกดที่ใช้หลักต่างจากปัจจุบัน มักพบในชื่อนามสกุล

ตัวอย่าง:

ชื่อ การอ่านตามหลักสมัยใหม่
Madách Madács
Széchenyi Szécsényi หรือSzécsenyi
Batthyány Battyányi
Gajdátsy Gajdácsi
Thököly Tököli
Weöres Vörös
Eötvös Ötvös
Kassay Kassai
Debrődy Debrődi
Karczagy Karcagi
Vörösmarty Vörösmarti
Cházár Császár
Czukor Cukor
Balogh Balog
Vargha Varga
Paal Pál
Gaál Gál
Veér Vér
Rédey Rédei
Soós Sós
Thewrewk rök
Dessewffy Dezsőfi

ตัวนำหน้านาม และ คำเชื่อม แบบดั้งเดิม

[แก้]

ในอดีต การเรียนคำนำหน้านาม a/az มีหลักการเขียนดังนี้:

  • คำว่า az ก่อนสระและ h เช่น az ember (คน), az híd (สะพาน) ปัจจุบันจะเขียนแบบนี้หน้าสระเท่านั้น
  • ก่อนสระ — a': a' csillag (ดวงดาว) ปัจจุบันเขียนโดยไม่ใช้ดัวอาฟอสโตรฟี

มีการย่อคำว่า és (และ) ปัจจุบันจะย่อว่า s จะเขียนโดยใช้ตัวอาฟอสโตรฟีไว้ด้านหน้า เช่น ’s (เช่น föld ’s nép แผ่นดินและผู้คน)

การเรียงคำในพจนานุกรม

[แก้]

ถึงแม้ว่าอักษรฮังการีจะแยกอักษรเสียงสั้น และ เสียงยาม ให้เป็นอักษรคนละตัว แต่ในเวลาที่มีการเรียงคำในพจนานุกรม หรือ อรรถาภิธาน จะนับให้อยู่ในหมวดเดียวกัน อาทิเช่น O/Ó และ Ö/Ő จะไม่มีการแยกกันเป็นคนละหมวด แต่ระหว่าง Ö และ O จะแยกหมวดกัน โดย O มาก่อน Ö

การเรียงคำคำเดียวกัน จะมีการเรียงอักษรที่ข้างหน้าเป็นพิมพ์เล็ก มาก่อนพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะ อาทิ varga ตามมาด้วยคำว่า Varga.)

The polygraphic consonant signs are treated as single letters.

comb
cukor
csak <cs> มาหลัง <c>
...
folyik
folyó <ó> นับเป็นหมวดเดียวกับ <o>
folyosó
...
<ő> นับเป็นหมวดเดียวกับ <ö>,
födém แต่ <ö> ตามหลัง <o>
...

สระเสียงยาวบางคำเป็นการรวมกันของสระประสมสองตัวขึ้นไป เช่น <nny>, <ssz> จะนับการเรียงเป็น <ny>+<ny>, <sz>+<sz> เป็นต้น

könnyű จะมีการเรียงคำเป็น <k><ö><ny><ny><ű>. tizennyolc จะมีการเรียงคำเป็น <t><i><z><e><n><ny><o><l><c>
คำว่า házszám 'บ้านเลขที่' = ház (บ้าน) + szám (เลขที่) ไม่ได้มาจากคำว่า *házs + *zám จึงต้องเรียงคำเป็น <h><á><z><sz><á><m>

การเรียงแบบนี้ ทำให้การเรียงภาษาฮังการีตามหลักอัลกอริทึมโดยคอมพิวเตอร์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เป็นปัญหาใหญ่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

แป้นพิมพ์ภาษาฮังการี

[แก้]

แป้นพิมพ์ภาษาฮังการีมาตรฐานจะใช้ระบบแบบเยอรมัน (QWERTZ). ซึ่งทำให้มีพื้นที่พอที่รองรับอักษรภาษาฮังการีได้ทุกตัว

Hungarian keyboard layout

อักษร "Í" มักจะอยู่ด้านซ้ายของ spacebar และกินพื้นที่ของ shift อักษร "Ű" มักอยู่ด้านซ้ายของ backspace ทำให้เสียพื้นที่บางส่วนของ backspace ไป Ű มักถูกกดแทนที่ Enter บนแป้งภาษาฮังการีมีอักษรเยอรมัน "ß" และอักษร "Ł" ของภาษาโปแลนด์ แป้นฮังการีมาตรฐานสามารถเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์พิเศษได้ด้วยการกดปุ่ม Alt Gr (ต่างจากของภาษาไทยที่กดปุ่ม Shift)

อัตราการใช้ตัวอักษรแต่ละตัว

[แก้]

อักษรที่พบมากที่สุดในภาษาฮังการี คือ e และ a[8]

ตารางด้านล่างแสดงอัตราการใช้อักษรฮังการีแต่ละตัว ตั้งแต่มากที่สุดไปหาน้อยที่สุด

ตัวอักษร ความถี่ที่พบ
e 12.256%
a 9.428%
t 7.380%
n 6.445%
l 6.383%
s 5.322%
k 4.522%
é 4.511%
i 4.200%
m 4.054%
o 3.867%
á 3.649%
g 2.838%
r 2.807%
z 2.734%
v 2.453%
b 2.058%
d 2.037%
sz 1.809%
j 1.570%
h 1.341%
gy 1.185%
ő 0.884%
ö 0.821%
ny 0.790%
ly 0.738%
ü 0.655%
ó 0.634%
f 0.582%
p 0.509%
í 0.499%
u 0.416%
cs 0.260%
ű 0.125%
c 0.114%
ú 0.104%
zs 0.021%
dz <0.010%
dzs <0.010%
ty <0.010%

ไวยากรณ์ภาษาฮังการี

[แก้]

ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ (agglutinative language) เป็นภาษาที่ใช้หน่วยคำเติม (affix) จำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยคำเติมท้าย (suffix) หลังคำแต่ละคำในประโยค เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำ รวมถึงใช้แสดงให้เห็นว่าคำคำนั้นมีหน้าที่ทางไวยากรณ์ใดในประโยค (เช่น เป็นประธาน, เป็นกรรม) โดยหน่วยคำเติมท้ายสามารถเปลี่ยนรูปไปได้หลายแบบเพื่อความไพเราะและความสะดวกในการออกเสียงตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ (vowel harmony) ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับภาษาฮังการี

คำกริยาในภาษาฮังการีสามารถใช้วางหน่วยคำเติมไว้ด้านหน้าและด้านหลังเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำกริยาได้ ซึ่งจะแสดงความชี้เฉพาะ (definiteness) ว่าเป็นคำกริยาที่เจาะจงการกระทำไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ หรือการกระทำไม่ได้มีการเจาะจงว่าต้องเป็นวัตถุชิ้นนั้น ๆ, แสดงกาล (tense) ว่ากริยานี้เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต, แสดงบุรุษ (person) ว่าคำกริยานั้นมีใครเป็นประธาน (ฉัน เธอ เขา พวกฉัน พวกเธอ พวกเขา), แสดงมาลา (mood) ของคำกริยานั้น ๆ และแสดงพจน์หรือจำนวน (number) ได้

นามในภาษาฮังการีสามารถผันโดยใช้หน่วยคำเติมท้ายแสดงการก (case) ทั้งหมด 18 หน่วยคำ ส่วนใหญ่สอดคล้องกับคำบุพบทในภาษาอังกฤษ

รูปแบบการเรียงลำดับคำในประโยคของภาษาฮังการีนั้นไม่ได้มีการจำกัดไว้อย่างตายตัวอย่างภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่มีโครงสร้างแบบประธาน-กริยา-กรรม กำหนดไว้โดยหลักการทางภาษา โดยไม่สามารถสลับประธาน–กริยา–กรรมในประโยคได้ แตกต่างจากภาษาฮังการีซึ่งสามารถเรียงประโยคได้อย่างค่อนข้างอิสระ วางประธาน–กริยา–กรรมสลับกันได้ ภาษาฮังการีเป็นภาษาเน้นหัวข้อ (topic-prominent language) กล่าวคือ การเรียงลำดับคำในประโยคภาษาฮังการีจะเน้นไปที่หัวข้อ (topic) ในประโยคที่ผู้พูดอยากให้ความสำคัญในการสื่อสารเป็นหลัก การเรียงประโยคต่างกันก็จะมีการเน้นความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารต่างกันไป

ลำดับคำ

[แก้]

ประโยคภาษาฮังการีที่เป็นกลาง (ไม่มีการเน้นความสำคัญสิ่งใดในประโยคเลย) จะมีลำดับคำแบบประธาน–กริยา–กรรมเหมือนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาษาฮังการีเป็นภาษาที่ไม่จำเป็นต้องระบุหัวเรื่องอย่างชัดเจน และไม่จำเป็นต้องมีการเรียงตามที่หลักภาษากำหนด แต่จะมีการเรียงตามลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการพูดในประโยคแทน โดยจะวางคำที่ต้องการให้เป็นจุดสำคัญของประโยคไว้หน้าคำกริยาแท้ (finite verb)

ประโยคฮังการีมักจะแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ หัวข้อ (topic), จุดสำคัญ (focus), คำกริยา (verb) และข้อความส่วนที่เหลือ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าในทุกประโยคจะต้องมีครบทั้งสี่อย่าง ในหนึ่งประโยค หัวข้อและข้อความส่วนที่เหลือจะมีกี่วลีก็ได้ แต่จุดสำคัญสามารถมีได้เพียงวลีเดียวเท่านั้น

การเน้นความสำคัญของคำในประโยค

[แก้]

ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นคุณสมบัติการเรียงคำแบบสลับกัน เพื่อเน้นความสำคัญของสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อในภาษาฮังการี โดยประโยคด้านล่างมาจากประโยคที่เป็นกลางว่า János tegnap elvitt két könyvet Péternek. ("ยาโนชเอาหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์เมื่อวาน") ประโยคนี้มีวลีหลัก ๆ อยู่ 4 วลี ได้แก่ János ("ยาโนช" เป็นชื่อบุคคลชาย), Péternek ["เปแตร์" เป็นชื่อบุคคลชาย; -nek คือหน่วยคำเติมหลังที่แสดงว่าเป็นผู้ที่ประธาน (ยาโนช) เอาสิ่งของให้"], két könyvet ("หนังสือ 2 เล่ม"; ตัว -et ข้างหลังหมายความว่าหนังสือ 2 เล่มนี้เป็นกรรม) และ tegnap ("เมื่อวาน")

หัวข้อ จุดสำคัญ คำกริยา ข้อความส่วนที่เหลือ ความหมายพิเศษที่แฝงไว้ในประโยค
János tegnap elvitt két könyvet Péternek. ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (กิจกรรมนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วและไม่มีการเน้นอะไรในประโยคเป็นพิเศษ)
János tegnap két könyvet vitt el Péternek. สิ่งที่ยาโนชเอาไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้คือ หนังสือ 2 เล่ม โดยเน้นว่าสิ่งที่เอาไปให้คือหนังสือ 2 เล่มจริง ๆ
János tegnap vitt el két könyvet Péternek. เมื่อวานนี้ คือเวลาที่ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์
János vitt el tegnap két könyvet Péternek. ยาโนช คือคนที่เอาหนังสือไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้
Péternek vitt el tegnap János két könyvet. เปแตร์ คือคนที่ยาโนชเอาหนังสือไปให้เมื่อวานนี้
János tegnap Péternek vitt el két könyvet. เมื่อวานนี้ยาโนชหยิบหนังสือสองเล่มมาให้กับเปแตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้เอาไปให้ใครอื่น
Elvitt János tegnap két könyvet Péternek. ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (การดำเนินการเสร็จสิ้นและตอนนี้หนังสืออยู่ที่บ้านของเปแตร์แล้ว)
Két könyvet tegnap elvitt János Péternek. ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์ (บางทีอาจเอาของอย่างอื่นไปให้เขาด้วย อย่างไรก็ตามหนังสือทั้งสองเล่มอาจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างเช่น ยาโนชอาจทิ้งเอกสารของเปแตร์ไว้ที่บ้าน)
Két könyvet vitt el János tegnap Péternek. ยาโนชเอาเพียงหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์ โดยไม่ได้เอาอย่างอื่นไปให้ด้วย

ถ้าในประโยคใดมีจุดสำคัญปรากฏอยู่ หน่วยคำเติมหน้า (prefix) ที่อยู่หน้าคำกริยา เช่น el ใน elvitt จะย้ายไปอยู่ด้านหลังคำกริยาแทน กล่าวคือ พูดหรือเขียนเป็น vitt el แทนที่จะเป็น elvitt นับเป็นคุณสมบัติของภาษาฮังการีโดยเฉพาะ ปัญหาก็คือว่า ในกรณีประโยคนั้นใช้คำกริยาที่ไม่มีหน่วยคำเติมหน้า หากมีคำคำหนึ่งเรียงอยู่หน้าคำกริยา ก็จะเกิดความกำกวมว่าคำคำนั้นเป็นหัวข้อหรือเป็นจุดสำคัญ เช่นในประโยค Éva szereti a virágokat. ("เอวอชอบดอกไม้") คำว่า Éva ("เอวอ" เป็นชื่อบุคคลหญิง) อาจเป็นหัวข้อของประโยค และประโยคนี้เป็นประโยคแบบไม่มีจุดสำคัญ หรือคำว่า Éva อาจเป็นจุดสำคัญของประโยคซึ่งเน้นประโยคนี้ว่า "เอวอคือคนที่ชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่น)"

ประโยค การตีความ
Éva szereti a virágokat. เอวอชอบดอกไม้
Szereti Éva a virágokat. เอวอชอบดอกไม้ (ถึงแม้คนอื่นอาจจะไม่คิดแบบนั้นก็ตาม)
Éva szereti a virágokat. เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่นที่ชอบดอกไม้)
Éva a virágokat szereti. เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่อย่างอื่น)
A virágokat Éva szereti. คนที่ชอบดอกไม้ก็คือเอวอ (ไม่ใช่คนอื่น ส่วนคนอื่นอาจจะชอบอย่างอื่น)
A virágokat szereti Éva. สิ่งที่เอวอชอบคือดอกไม้ (และไม่ชอบอย่างอื่นแล้ว)

ระบบหน่วยคำ

[แก้]

ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ ข้อมูลต่าง ๆ ในภาษาฮังการีนั้นเกือบทั้งหมดจะใช้หน่วยคำเติมท้ายในการบอกเล่า เช่น "อยู่บนโต๊ะ" = asztalon (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกพื้นที่), เมื่อ 5 โมง = öt órakor (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกเวลา) เป็นต้น แต่ก็ยังมีหน่วยคำเติมหน้าอยู่ 1 หน่วยคำ คือ leg- ซึ่งใช้บ่งบอกว่าสิ่งนี้คือที่สุด (superlative)

ตัวอย่างการวางหน่วยคำเติมท้ายในภาษาฮังการี

[แก้]

ในภาษาฮังการี มีการใช้เสียงเฉพาะเจาะจง (case/preposition) ลงท้ายที่แตกต่างกันสำหรับคำสรรพนามแต่ละตัว มีอยู่ทั้งหมด 8 แบบ สำหรับคำสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และ 3 (ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกเธอ พวกเขา คุณ พวกคุณ) โดยสามารถต่อกับคำสรรพนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรมของประโยค (accusative), ต่อคำปัจฉบท (postposition) เพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, ต่อคำนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนเป็นพหูพจน์, และต่อกับคำกริยา เพื่อเปลี่ยนประธานผู้กระทำ และเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นแบบชี้เฉพาะหรือไม่ชี้เฉพาะ

คำสรรพนาม คำปัจฉบท คำนาม คำกริยา ส่วนมูลฐาน

ที่ใช้เติมข้างท้าย

ประธาน กรรม + หน่วยคำเติมท้าย

แสดงบุคคล

+ หน่วยคำเติมท้าย

แสดงบุคคล

+ หน่วยคำเติมท้าย

แสดงความเป็นเจ้าของ

กริยาปัจจุบัน

แบบไม่ชี้เฉพาะ

กริยาปัจจุบัน

แบบชี้เฉพาะ

ผู้กระทำ

(เช่น ฉันตีเขา)

ผู้ถูกกระทำ

(เช่น เขาตีฉัน)

อยู่ที่ฉัน

(เช่น ปากกาอยู่ที่ฉัน)

อยู่ข้างใต้ฉัน หอพักของฉัน ฉันเห็นมัน

(สิ่งไม่ชี้เฉพาะ เช่น หมาตัวหนึ่ง)

ฉันเห็นมัน

(สิ่งชี้เฉพาะ เช่น หมาตัวนั้น)

én ("ฉัน") engem nálam alattam lakásom látok látom -m โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-eตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
te ("เธอ") téged nálad alattad lakásod látsz látod -d โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-eตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
ő ("เขา, มัน") őt nála alatta lakása lát látja -a/-e
mi ("พวกเรา") minket nálunk alattunk lakásunk látunk látjuk -nk โดยใช้สระเชื่อม -u/-üตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
ti ("พวกเธอ") titeket nálatok alattatok lakásotok láttok látjátok -tok/-tek/-tök
ők ("พวกมัน") őket náluk alattuk lakásuk látnak látják -k
สรรพนาม "คุณ, ท่าน"

(ทางการ)

Maga ใช้สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น หัวหน้าพูดกับพนักงาน, คนแก่พูดกับเด็ก

Ön ใช้สำหรับผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ เช่น พนักงานพูดกับหัวหน้า, เด็กพูดกับคนแก่

แต่หากสนิทกันแล้ว อาจเรียกกันโดยใช้คำสรรพนามที่ไม่เป็นทางการได้

Ön,

Maga ("คุณ")

ÖntMagát ÖnnélMagánál Ön alattMaga alatt az Ön lakásaa Maga lakása Ön látMaga lát Ön látjaMaga látja (-a/-e)
Önök,

Maguk ("พวกคุณ")

ÖnöketMagukat ÖnöknélMaguknál Önök alattMaguk alatt az Önök lakásaa Maguk lakása Önök látnakMaguk látnak Önök látjákMaguk látják (-k)

การใช้หน่วยคำเติมท้ายตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ

[แก้]
เปิด กลาง ปิด
ต่ำ a á o ó u ú
สูง ปากไม่ห่อ   e é i í
ปากห่อ   ö ő ü ű

การเลือกหน่วยคำเติมท้ายในการต่อหลังคำในภาษาฮังการี ต้องใช้หลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระต่ำ (low vowel) และสระสูง (high vowel) และหน่วยคำเติมท้ายบางตัวก็ยังแยกระหว่างสระปากไม่ห่อ (unrounded vowel ประกอบด้วย e, é, i, í) กับสระปากห่อ (rounded vowel ประกอบด้วย ö, ő, ü, ű)

หน่วยคำเติมท้ายคำต่อท้ายทั้งหมดในภาษาฮังการีสำหรับการกระจายคำกริยา (ให้เป็นกริยาแบบชี้เฉพาะและกริยาแบบไม่ชี้เฉพาะ), สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของ, สำหรับการต่อคำบุพบทเพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, และคำต่อท้ายที่เป็นเจ้าของ มีรูปแบบการใช้โดยใช้ "เสียงสระ" ของคำในการตัดสินว่าจะใช้หน่วยคำเติมท้ายเสียงใดในการต่อ ซึ่งตามหลักภาษาฮังการีสามารถแบ่งสระได้เป็น 6 แบบ (สระต่ำ, สระสูง, สระเสียงยาว, สระเสียงสั้น, สระปากห่อ และสระปากไม่ห่อ)

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ฮังการีใหม่ ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
    ฮังการีเก่า ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  2. Salminen, Tapani (2002). "Problems in the taxonomy of the Uralic languages in the light of modern comparative studies". Лингвистический беспредел: сборник статей к 70-летию А. И. Кузнецовой [Linguistic chaos: a collection of articles on the 70th anniversary of A. I. Kuznetsova]. Moscow: Izdatel'stvo Moskovskogo Universiteta. pp. 44–55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-13.
  3. Michalove, Peter A. (2002). "The Classification of the Uralic Languages: Lexical Evidence from Finno-Ugric". Finnisch-Ugrische Forschungen. 57.
  4. Janhunen, Juha (2009). "Proto-Uralic—what, where and when?" (PDF). ใน Jussi Ylikoski (บ.ก.). The Quasquicentennial of the Finno-Ugrian Society. Suomalais-Ugrilaisen Seuran Toimituksia 258. Helsinki: Société Finno-Ougrienne. ISBN 978-952-5667-11-0. ISSN 0355-0230.
  5. Government of Croatia (October 2013). "Peto izvješće Republike Hrvatske o primjeni Europske povelje o regionalnim ili manjinskim jezicima" [Croatia's fifth report on the implementation of the European Charter for Regional and Minority Languages] (PDF) (ภาษาโครเอเชีย). Council of Europe. pp. 34–36. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
  6. "Hungary". The World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
  7. Benkő Loránd et al.: Etymologisches Wörterbuch des Ungarischen; Band I; PP. XVII–XVIII. Budapest: Akadémiai Kiadó, 1993.
  8. Campie, Trishia. "Letter Frequency Statistics". www.cryptogram.org. American Cryptogram Association. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]