ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อผี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาด: ผีแบงโคว ปรากฏตัวในบทประพันธ์แม็คเบ็ธ ของวิลเลียม เชกสเปียร์
สุภาพสตรีสีขาว

คติชนวิทยา

[แก้]
ตำนานของยุโรป
  • นักล่าแห่งพงไพร (The Wild Hunt) เป็นตำนานพื้นบ้านของยุโรปที่นักล่ามักจะเป็นบุคคลที่ตายแล้วหรือเทวดาที่สามารถติดต่อโลกแห่งความตายได้โดยจะปรากฏตัวเป็นกองทัพ
  • คนหัวขาดขี่ม้า หรือ "ปีศาจสับหัว" (The Headless Horseman) เป็นปีศาจที่มีอยู่ในตำนานพื้นบ้านในช่วงยุคกลางโดยจะเป็นบุรุษขี่ม้าสีดำและไม่มีหัว บางตำนานเล่าว่า มันจะไล่สังหารผู้คนโดยการตัดศีรษะ
  • สุภาพสตรีสีขาว (White Lady)[1] เป็นผีชนิดหนึ่งในลักษณะของผู้หญิงซึ่งมีการพบเห็นทั่วไปในชนบท เกี่ยวข้องกับเรื่องราวโศกนาฏกรรมท้องถิ่น ปรากฏตัวในรูปลักษณ์เป็นสตรีตัวขาวโพลน และมีการรายงานถึงการพบเห็นทั่วโลก
  • อัศวินขี่ม้าหัวขาดจอมทำนายความตาย หรือ "ดุลลาฮาน"(The Dullahan)เป็นปีศาจที่มีอยู่ในตำนานพื้นบ้านในช่วงยุคแรกถึงยุคกลางโดยจะเป็นบุรุษขี่ม้าสีดำและไม่มีหัว และจะคอยเรียกชื่อคนที่ใกล้ตายบางตำนานเล่าว่าหากเดินทางหลังเที่ยงคืนแล้วเจอดุลลาฮานพร้อมหยุดม้าเมื่อไรทำนายได้เลยว่าต้องมีคนในครอบครัวตายแต่2ตำนานเล่าว่าดุดลาฮานนั้นแพ้ทองเลยทำให้ยุคโบราณพ่อค้าและนักเดินทางต้องพกทองติดตัวไปด้วย
สแกนดิเนเวีย
สหราชอาณาจักร
  • มือกลองแห่งเทดเวิร์ท (Drummer of Tedworth) ซึ่งมักปรากฏที่เมืองเทดเวิร์ท มีการรายงานถึงเสียงกลองที่ดังมากและไม่ทราบที่มา รบกวนชาวบ้าน เป็นหนึ่งในโพลเทอร์ไกสท์
  • แมรีผู้กระหายเลือด (Bloody Mary)[5][6][7] เป็นผีในตำนานที่มักจะเปิดเผยอนาคต ซึ่งผีตนนี้จะปรากฏตัวในกระจกเมื่อมีการขานชื่อเธอหลายครั้ง ปรากฏในรูปลักษณ์ของหญิงสาวที่เต็มไปด้วยเลือดและจะฉายภาพอนาคตแก่ผู้ขานชื่อเธอ
  • สุภาพสตรีสีน้ำตาลแห่งไรน์แฮมฮอลล์ (Brown Lady of Raynham Hall)[8] มีการรายงานว่าเป็นผีของเลดี้โดโรธี วอลโพล น้องสาวของนายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต วอลโพล เป็นผีที่โด่งดังที่สุดในอังกฤษ มักปรากฏตัวในชุดคลุมสีน้ำตาลซึ่งเป็นชุดที่เลดี้โดโรธีชอบใส่
  • Sweet William's Ghost[9] เป็นเพลงพื้นบ้านของอังกฤษ
  • ผีถนนค็อกเลน (Cock Lane ghost) ปรากฏในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจไปทั่วอังกฤษ ในรูปแบบของเสียงเคาะแปลก ๆ และเสียงกรีดร้องโหยหวนโดยวิญญาณระบุถึงคนร้ายในคดีฆาตกรรม
ภาพถ่ายที่โด่งดัง:สุภาพสตรีสีน้ำตาลแห่งไรน์แฮมฮอลล์ ถ่ายโดยกัปตัน ฮูเบิร์ต ซี. โปรแวนด์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารคันทรี่ไลฟ์ พ.ศ. 2479
  • สุภาพบุรุษสีเทาแห่งโรงละครรอยัล (Man in Grey of the Theatre Royal) พบที่โรงละครรอยัล ถนนดูรีเลน
  • ผีถนนแนนทัก (Nan Tuck's Ghost) เป็นเรื่องราวของคุณนายทักที่วางยาฆ่าสามีตนเองราวปี พ.ศ. 2353 เจ้าหน้าที่สามารถจับเธอได้ที่ถนนนี้แต่เธอวิ่งหนีหายไปในป่าและไม่มีใครพบเห็นเธออีกเลย มีคนเคยพบเห็นเธอยังคงอยู่ในบริเวณนี้
  • ผีแม่ชีแห่งกุฏิบอร์ลีย์ (Borley Rectory) ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่ที่สยองขวัญที่สุดในอังกฤษจากเหตุการณ์โพลเทอร์ไกสท์ และมีคนพบเห็นผีแม่ชีที่ตายไปวนเวียนอยู่ ต่อมากุฏิถูกไฟไหม้จนไม่เหลือซากอย่างไม่มีสาเหตุ
  • แอนน์ บุลิน (Anne Boleyn) เป็นพระชายาของพระเจ้าเฮ็นรีที่ 8 พบที่หอคอยแห่งลอนดอนกล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งพานักท่องเที่ยวเข้าชมโบสถ์หลวงเซนต์ปีเตอร์ แอด วินชูลา พอบรรยายให้นักท่องเที่ยวฟังเสร็จก็ออกมาจากโบสถ์ มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งถามขึ้นมาว่าตอนที่อยู่ในโบสถ์ ผู้หญิงที่ยืนอยู่ข้างหลังเป็นใคร ไกด์ก็ตอบกลับไปว่าไม่มีใครยืนอยู่ข้างหลังผมหรอก แต่นักท่องเที่ยวคนนั้นก็ยังคะยั้นคะยอ แถมอธิบายเพิ่มว่าผู้หญิงที่ยืนข้างหลังนั้นรูปร่างไม่สูงเท่าไหร่ ใส่ชุดดำและยืนอยู่ตรงหลุมฝังศพพระนางแอนน์ โบลีน
สเปน
  • Catalina Lercaro
นิวซีแลนด์
ปากีสถาน
  • พิคาล เพรี (Pichal Peri) ปีศาจตามความเชื่อของอินเดียและปากีสถาน รูปลักษณ์เป็นผีดูดเลือดในร่างค้างคาวหน้าตาน่าเกลียด ที่มีเท้าหักงอไปด้านหลัง
สหรัฐอเมริกา
ซอนา เฮเอสเตอร์ ชู หญิงสาวซึ่งถูกฆาตกรรมในปีพ.ศ. 2440 เป็นที่มาของผีกรีนไบรเออร์เรียกร้องความยุติธรรม
  • ปีศาจริดจ์เวย์ (Ridgeway Ghost) เป็นปีศาจหรือผีตามตำนานพื้นบ้านของรัฐวิสคอนซิน คอยหลอกหลอนผู้คนตลอดทาง 25 ไมล์ของถนนเหมืองแร่เก่า บางครั้งอาจไม่ใช่ผีหรือปีศาจเพราะมันสามารถเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ได้ บางครั้งเป็นชายถือแส้เดินตามพวกเขาหรือไล่กวดพวกเขา, เป็นสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข แกะ หรือสัตว์ตัวอื่น ๆ ในฟาร์ม และหลายครั้งปรากฏในร่างมนุษย์ รวมทั้งเป็น "คนหัวขาดขี่ม้า" หรือ หญิงสาว หรือ หญิงชรา
  • แอนนี่กองขี้ตะกรัน (Slag Pile Annie) เป็นผีที่ปรากฏรูปลักษณ์ในรูปของหญิงชราทำงานในที่ห่างไกลและติดต่อถึงได้ยากในส่วนของโรงสี คนงานในฟาร์มจะได้คุยกับเธอในเวลาทำงานและไม่ทราบจนกระทั่งเพื่อนคนงานอื่นมาบอกถึงเรื่องราวของเธอ ผีตนนี้ปรากฏที่โรงสีโจนส์แอนด์ลอฟลินสตีล เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย
  • ผีกรีนเบรียร์ (Greenbrier Ghost) เป็นผีที่ปรากฏในเทศมณฑลกรีนไบรเออร์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย เป็นผีของหญิงสาวชื่อว่า ซอนา เฮเอสเตอร์ ชู ซึ่งถูกฆาตกรรมในปีพ.ศ. 2440 ในการคลี่คลายคดีฆาตกรรม เธอได้รับการยอมรับหลักฐานโดยการใช้ "พยานของผี" และสามีของเธอได้ถูกจับในคดีฆาตกรรม
ออสเตรเลีย
ลาตินอเมริกา
  • ลาโยโรนา (La Llorona) หรือ "นางร่ำไห้" เป็นผีในตำนานพื้นบ้านของลาตินอเมริกา ตำนานเล่าว่าเธอเป็นผู้หญิงที่สวยมากนามว่า มารีอา แต่เธอได้ฆาตกรรมลูก ๆ ของเธอเองโดยการจับถ่วงน้ำด้วยคำสั่งของชายที่เธอรัก แต่เมื่อชายคนนั้นปฏิเสธเธอ เธอจึงฆ่าตัวตาย เธอไม่สามารถไปสู่สุคติได้ต้องวนเวียนอยู่ชั่วกัลป์เพื่อตามหาร่างของลูก ๆ ที่ถูกเธอฆ่า เธอวนเวียนและร่ำไห้อย่างเวทนา บางตำนานกล่าวว่า เธอในร่างผีจะลักพาตัวเด็กเร่ร่อนและเด็กที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ไปอยู่กับเธอด้วย
ญี่ปุ่น
  • ผีนับจาน หรือ "ซารายาชิกิ" (Banchō Sarayashiki, Okiku) โอคิคุแห่งปราสาทฮิเมจิ เป็นเรื่องเล่าของวิญญาณที่จะออกมาจากบ่อเก็บน้ำ และเริ่มนับจานตั้งแต่ 1 ใบจนถึง 9 ใบ แล้วจะร้องไห้อย่างหัวใจสลาย ซึ่งที่มาก่อนที่โอคิคุจะกลายเป็นผีนั้นมีหลายเรื่องเล่า บางเรื่องกล่าวว่าโอคิคุทำจานของเจ้านายแตก เจ้านายโมโหมากจึงฆ่าโอคิคุทิ้งแล้วเอาศพทิ้งลงบ่อน้ำ
ภาพวาด "สตรีหิมะ" โดยจิตรกรราวคริสต์ศตวรรษที่ 18
  • สตรีหิมะ หรือ "ยุกิอนนะ" (Yuki-onna) เป็นชื่อที่ใช้เรียกภูตหิมะที่มีรูปร่างเป็นสตรีที่งดงาม ว่ากันว่าเป็นจิตวิญญาณแห่งฤดูหนาว ซึ่งยูกิอนนะนี้ จะมีลักษณะเป็นผู้หญิงสาวสวย สวมชุดกิโมโนสีขาวสะอาด นางจะปรากฏตัวบนภูเขาหิมะในวันที่มีพายุหิมะ และหลอกล่อให้ผู้ชายที่หลงใหลในความงามของนางไปสู่ความตาย
  • โอะนิ (Oni) ยักษ์ในตำนานของชินโต มันเป็นยักษ์สูงใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ มี 3 ตา มี 2 เขา มีเขี้ยวและเล็บคมกริบ และในมือถือกระบองอันใหญ่เอาไว้ ว่ากันว่าโอะนิจะนำพามาซึ่งโรคร้าย โรคระบาด ความโชคร้าย และความหายนะ โอะนิเหาะเหินเดินในอากาศได้ และจะคอยจับเอาดวงวิญญาณของคนชั่วที่กำลังจะตาย
  • บะกุ (Baku) เป็นปีศาจที่คอยกินฝันร้ายของผู้คน (dream eater) เชื่อกันว่าบะกุนั้น มีรูปร่างคล้ายหมี และมีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิด เช่น มีหน้าผากมีนอคล้ายแรด มีจมูกเป็นงวงคล้ายช้าง มีเท้าเหมือนเสือ มีหางเหมือนวัว ชาวญี่ปุ่นโบราณเชื่อว่า เมื่อมีฝันร้ายหรือลางร้าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการกระทำของปีศาจ ให้ท่องคาถาว่า "บะกุ คุระเอะ" ซึ่งแปลว่า "บะกุ จงมากินฝันร้ายของข้า" 3 ครั้ง บะกุจะมากินฝันร้ายนั้นให้ และกลับจากร้ายเป็นดี ปีศาจทั้งหลายจะถูกสูบลงไปในพื้นดินลึก
  • เท็งงุ (Tengu) เท็งงุ มีภาพลักษณ์ของปีศาจร้าย และมักจะสร้างพายุเข้าโจมตีผู้คนเสมอ ๆ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถูกพายุถล่มบ่อยครั้ง เท็งงุเป็นข้ารับใช้ของไดเทนกุ ซึ่งมักปรากฏภาพของไดเทนกุ ที่ล้อมรอบไปด้วยเท็งงุ บางความเชื่อนั้นเชื่อว่าเท็งงุไม่ได้เป็นผีร้าย ทั้งยังเป็นปีศาจที่รักสงบและสุภาพ แต่การกระทำร้าย ๆ นั้น เป็นเพราะเท็งงุต้องทำตามคำสั่ง ของไดเทนกุ
  • โดะโดะเมะกิ หรือ "ปีศาจร้อยตา" (Dodomeki) เป็นปีศาจของญี่ปุ่น อาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษ์ มีลักษณะเป็นดวงตาลามไปทั่วร่างกาย
  • คัปปะ (Kappa) เป็นผีญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกพรายน้ำ มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกบ ตัวสีเขียว แต่มีกระดองเต่าอยู่ข้างหลัง เท้ามีพังผืดทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง จมูกแหลม มีลักษณะศีรษะที่แบนและกลางกระหม่อมไม่มีผม มีปากแหลมเหมือนนก ผิวเป็นเมือกลื่น คัปปะมีนิสัยที่ขี้เล่นและอยากรู้อยากเห็น ซึ่งบางครั้งก็เป็นอันตรายกับมนุษย์ คัปปะเคยหลอกล่อให้คนลงไปในน้ำ มักจะลากม้า หรือเด็ก ๆ ลงแม่น้ำจนจมน้ำตาย
  • สาวปากฉีก หรือ "คุจิซะเกะอนนะ" (Kuchisake-onna) เป็นหญิงสาวในปกรณัมญี่ปุ่นซึ่งถูกสามีผู้หึงหวงทำร้ายจนเสียอวัยวะ และต่อมากลายเป็นผีร้าย มีการเล่ากันในพุทธทศวรรษที่ 2500 มีเด็กพบเห็นหญิงคนหนึ่ง หญิงนั้นจะหยุดเดินและถามเด็กว่า "ฉันสวยไหม" ถ้าเด็กบอกปัด หญิงนั้นจะล้วงกรรไกรออกมาตัดปากเด็กจนถึงแก่ความตาย ถ้าเด็กตอบรับ หญิงนั้นจะปลดหน้ากากอนามัยออก และยิ้มให้เด็กชมดู เผยให้เห็นปากที่ถูกแหวะจนถึงใบหูมีโลหิตท่วม แล้วถามเด็กนั้นอีกว่า "แล้วตอนนี้ฉันสวยไหม" ถ้าเด็กว่าไม่ หญิงนั้นจะล้วงกรรโกรมาตัดกายเด็กเป็นสองท่อน ถ้าว่าใช่ หญิงนั้นจะมอบความสวยงามให้แก่เด็กนั้นบ้างโดยเอากรรไกรตัดปากเด็กจนถึงใบหูเสีย
  • ผีไม่มีหน้า หรือ "นปเปะระโบ" (Noppera Bou) เป็นผีญี่ปุ่นอย่างหนึ่งที่ไม่มีใบหน้า มีแต่หน้าเกลี้ยง ๆ คล้ายไข่ ซึ่งแม้แต่ตา จมูก ปาก ไม่มีบนใบหน้าเลย ผีตนนี้มักเที่ยวหลอกหลอนคนผ่านทางในเวลากลางคืน
  • สาวคอยาว หรือ "โรคุโรคุบิ" (Rokurokubi) มนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ต้องคำสาปหรืออาถรรพ์ เมื่อตกกลางคืนจะยืดคอออกไปได้ยาวมาก มักจะเป็นเฉพาะในผู้หญิง มีพฤติกรรมที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สาวคอยาวจะดูดพลังของเหยื่อที่เป็นทั้งคนและสัตว์ และจะใช้ลิ้นเลียเพื่อดับไฟตะเกียง
  • คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำ (Toire no Hanako-san) เป็นตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่นว่าด้วยเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งเกิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองและสิงอยู่ตามห้องน้ำโรงเรียน ถ้าเรียกขานแล้วเธอจะปรากฏตัว
  • เทะเกะเทะเกะ (Teke Teke) ผีหญิงร้ายอีกตนในคติชนญี่ปุ่น เป็นเด็กนักเรียนหญิงซึ่งพลัดตกลงสู่ทางรถไฟ แล้วถูกรถไฟแล่นทับตัวขาดเป็นสองท่อน จะออกมาฆ่าคนผู้เคราะห์ร้ายโดยทำให้ร่างกายคนนั้นขาดสองท่อน
  • อะกะมันโตะ (Aka Manto) ชายรูปงามซึ่งอยู่ตามห้องน้ำสาธารณะ คอยถามคนนั่งส้วมว่า จะเอากระดาษสีแดงหรือกระดาษสีฟ้าดี ถ้าตอบแดง ชายนั้นกระโจนลงมาฟันคนตอบเป็นชิ้น ๆ กระทั่งร่างแดงฉานเพราะโลหิต ถ้าว่าฟ้า ชายนั้นจะบีบคอคนตอบจนกระทั่งหน้าเปลี่ยนเป็นสีฟ้าแล้วตายในที่สุด
เวียดนาม
  • เหมื่อย (Myoi) หญิงสาวในสาวในรูปภาพที่มีความอาฆาตแค้น เนื่องจากตอนมีชีวิตถูกทำร้ายจากหญิงสาวที่เศรษฐี จนสูญเสียใบหน้าอันสวยงามไป เธอจึงตัดสินใจผูกคอตาย และกลายเป็นผีที่บ้านหญิงสาวเศรษฐี ก่อนที่เหมื่อยจะถูกผนึกลงไปในภาพ
อินโดนีเซีย
  • ไนย์ โรโด กิดุล (Nyai Roro Kidul) แห่งทะเลใต้ เป็นผีตามตำนานพื้นบ้านของอินโดนีเซีย เป็นที่รู้จักในนาม "ราชินีทะเลใต้แห่งชวา" นางมักสังหารผู้คนที่ว่ายน้ำในทะเลเพื่อการสังเวยดวงวิญญาณ
ตำนานเมือง
  • นักโบกรถที่หายไป (Vanishing hitchhiker) เป็นที่เล่ากันมาว่า นักเดินทางเมื่อขับรถในตอนกลางคืนมักพบกับผู้โบกรถเพื่อขอโดยสารไปด้วย และเมื่อจะจอดรับหรือขึ้นรถมาแล้วกลับอันตรธานหายไป ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่มีมาหลายศตวรรษและเกือบทุกที่ของโลก
  • ดี โอเกน (Deogen) แปลว่า "ดวงตา" เป็นผีที่มีการเล่าว่าได้หลอกหลอนบริเวณป่าโซเนียน ในเบลเยียม มักปรากฏตัวด้วยรูปลักษณ์ของหมอกและกลายเป็นร่างเงาขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ

บทประพันธ์

[แก้]
กองทัพคนตายแห่งดันแฮโรว์ ภาพจากภาพยนตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพ
เฟรดดี้ ครูเกอร์ ปรากฏในภาพยนตร์ชุดเรื่องนิ้วเขมือบ (A Nightmare on Elm Street)
  • ผีขี้จุ๊ย (Beetlejuice) เป็นผีที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง ผีขี้จุ๊ย ฉายในปีพ.ศ. 2531 ภาพยนตร์สยองขวัญแนวตลก เป็นผีของอดัมและบาร์บารา มาอิตแลนด์ สองสามีภรรยา
  • แม่มดของเบลล์ (Bell Witch)[12] เป็นผีแนวโพลเทอร์ไกสท์ ปรากฏในตำนานพื้นเมืองของอเมริกัน เป็นผีที่คอยหลอหลอนครอบครัวเบลล์ในรัฐเทนเนสซี ครอบครัวของเบลล์ ความทุกข์ทรมานดำเนินต่อไปเป็นเวลา 3 ปี แทบจะไม่มีวันไหนเลยที่ปราศจากเสียงกรีดร้องของแม่มดจากรอบ ๆ บ้าน โดยไม่เห็นตัวตนของมัน ท้ายสุดความเหนื่อยล้าก็เข้ามากล่าวคำทักทายกับ จอห์น เบลล์ สุขภาพของเขาเสื่อมโทรมและถึงแก่ความตายในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2363 หลังจากนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้หยุดลง ตำนานนี้ได้มีการเอาไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง
  • โจรสลัดดำ (The Black Pirate) เป็นภาพยนตร์เงียบ ฉายในปีพ.ศ. 2469
  • บุคคลในฮอกวอตส์ (Hogwarts) จากนวนิยายและภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้แก่
  • บารอนเลือด (The Bloody Baron) หนึ่งในผีที่สิงอยู่ในฮอกวอตส์และเป็นผีประจำบ้าน Slytherin เขายังเป็นคนเดียวที่สามารถควบคุม Peeves ผีโปลเตอร์ไกสต์
  • บาทหลวงอ้วน (The Fat Friar) หนึ่งในผีที่สิงอยู่ในฮอกวอตส์และเป็นผีประจำบ้าน Hufflepuff เป็นผีที่ร่าเริงและมีเมตตา เขาเป็นนักบวชที่เป็นธรรมมาก เป็นเขาเสมอที่ขอร้องในนามของ Peeves ผีโพลเตอไกสต์เพื่อให้เขามาในงานต้อนรับ
  • สุภาพสตรีสีเทา (The Grey Lady) ชื่อเดิมคือ เฮเลนา เรเวนโคล์ว หนึ่งในผีที่สิงอยู่ในฮอกวอตส์และเป็นผีประจำบ้าน Ravenclaw เป็นผีที่มีสติปัญญาสูงและเป็นหญิงสาวที่ไม่ได้พบรักแท้และไม่ได้พบชายที่คู่ควรกับเธอ นางได้ถูกบารอนเลือดฆ่าและกลายเป็นผี
  • นิกหัวเกือบขาด (Nearly Headless Nick) ชื่อเดิมคือ เซอร์ นิโคลัส เดอ มิมซี-พอร์พิงตัน หนึ่งในผีที่สิงอยู่ในฮอกวอตส์และเป็นผีประจำบ้าน Gryffindor เขาถูกตัดหัวอย่างไม่ค่อยดีเท่าไหร่ หลังจากที่ถกเถียงกับเลดี้ กริฟ เนื่องจากหัวเขาขาดไม่หมดทำให้เข้าร่วมเกมส์ของสมาคมคนหัวขาดไม่ได้ สมาคมคนหัวขาดเป็นสังคมของผีที่ถูกตัดหัว ซึ่งทำให้ผีหลายตนหงุดหงิดพอควร
  • ผู้คุมวิญญาณ (The Dementor) ผู้คุมวิญญาณมีลักษณะคือ มือยาวมีเกร็ด ใต้ผ้าคลุมศีรษะคือส่วนหัวที่ไร้ดวงตา และแทนที่ด้วยสิ่งที่เหมือนปาก ใช้สำหรับสูดเอาความรู้สึกดี ๆ ออกไปจากเหยื่อ และบางครั้งหากจำเป็น ผู้คุมวิญญาณจะใช้ปากนั้นสำหรับการมอบจุมพิต เรียกกันว่า "จุมพิตผู้คุมวิญญาณ" ใครก็ตามที่ได้รับจุมพิตของผู้คุมวิญญาณจะสูญเสียความทรงจำไปตลอดกาล และถูกดูดกลืนเอาความรู้สึกไปจากตัวจนหมดสิ้น เหลือไว้เพียงร่างที่ไม่ต่างอะไรกับการตาย
ผีคะยะโกะ ซะเอะกิวิญญาณพยาบาทในภาพยนตร์ชุดเรื่องผีดุ (Ju-on) และ โคตรผีดุ (The Grudge)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Weird NJ Stories, The Lady in White". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  2. "Bothwell's bones rattle in Denmark". Daily Mail. February 5, 2005. p. 103. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  3. O'Donnell, Frank (April 16, 2001). "Even Bothwell Deserves a Dececnt Burial". The Scotsman. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  4. Womersley, Tara (April 17, 2001). "Queen of Scots' bigamist earl 'is really a hero'". The Daily Telegraph. p. 5. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  5. http://www.mythologyweb.com/bloodymary.html
  6. "Urban Legends Reference Pages: Bloody Mary". Snopes.
  7. "Bloody Mary, Mary Worth and other variants of a modern legend". MythologyWeb.
  8. "Brown Lady of Raynham Hall - Castle of Spirits". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-08. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  9. Francis James Child, English and Scottish Popular Ballads, "Sweet William's Ghost"
  10. Braunmuller, A. R. (1997). "Introduction". ใน Braunmuller, A. R. (บ.ก.). Macbeth. The New Cambridge Shakespeare. Cambridge: Cambridge University Press. p. 266. ISBN 0-521-29455-X.
  11. Sylvan Barnet, "Shakespeare: An Overview," in Macbeth, ed. Sylvan Barnet, A Signet Classic, 1998, p. ix.
  12. Hendrix, Grady, "Little Ghost on the Prairie", Slate, May 4, 2006.