สาวปากฉีก
![]() | บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาญี่ปุ่น (November 2022) คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|

คูจิซาเกะ-อนนะ (ญี่ปุ่น: 口裂け女; โรมาจิ: Kuchisake-onna; 'สาวปากฉีก'; อังกฤษ: Slit-Mouthed Woman)[1] เป็นบุคคลชั่วร้ายในตำนานและคติชนญี่ปุ่นที่ได้รับการอธิบายเป็นวิญญาณร้าย หรือ อนเรียว ของผู้หญิง เธอมักคลุมหน้าบางส่วนด้วยหน้ากากหรือสิ่งของอื่น และถือกรรไกร มีด หรือของมีคมอื่น ๆ ผู้คนมักอธิบายถึงเธอบ่อยครั้งว่ามีความสูงประมาณ 175-180 ซม. อย่างไรก็ตาม บางคนเชื่อว่าเธอมีความสูงถึง 8 ฟุต มีผมตรงยาวสีดำ มือสีขาว ผิวซีด และถือว่าสวยในด้านอื่นๆ (ยกเว้นรอยแผลเป็นของเธอ) เธอมักได้รับการอธิบายเป็นโยไกร่วมสมัย[1][2]
ตามตำนานเล่าขานกันว่า เธอจะถามผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อให้คิดว่าเธอสวยหรือไม่ ถ้าตอบ "ไม่" เธอจะฆ่าพวกเขาด้วยกรรไกรแพทย์ยาวของเธอที่จุดเกิดเหตุ หรือจะรอจนถึงพลบค่ำแล้วฆ่าพวกเขาขณะนอนหลับ ถ้าตอบ "ใช่" เธอจะเปิดเผยให้เห็นมุมปากที่ฉีกถึงหู และจะถามคำถามนั้นอีกครั้ง ถ้าตอบ "ไม่" เธอจะฆ่าด้วยอาวุธของเธอ และถ้าตอบ "ใช่" อย่างลังเล เธอจะตัดมุมปากของพวกเขาในลักษณะที่คล้ายกับรูปหน้าของเธอเอง วิธีที่สามารถใช้เพื่อเอาชีวิตรอดจากการเผชิญหน้ากับคูจิซาเกะ-อนนะ ได้แก่ การตอบคำถามของเธอโดยบรรยายลักษณะภายนอกของเธอว่า "ธรรมดา"[3]
ตำนานคูจิซาเกะ-อนนะมีบันทึกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 19 ในยุคเอโดะของญี่ปุ่น[1] เรื่องราวนี้ได้รับความสนใจอีกครั้งในญี่ปุ่นช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับรายงานเกี่ยวกับตำนานนี้ และข่าวลือเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ทำให้เด็กนักเรียนต้องเดินกลับบ้านกับผู้ใหญ่เป็นกลุ่ม ๆ[2][4]
ตำนานและรูปแบบต่าง ๆ
[แก้]
ตามตำนาน คูจิซาเกะ-อนนะเป็นสตรีที่ถูกทำให้เสียโฉมตอนที่มีชีวิตด้วยปากที่ถูกกรีดจากหูข้างหนึ่งถึงหูอีกข้าง ในบางฉบับ คูจิซาเกะ-อนนะเป็นภรรยาที่ผิดประเวณีหรือภรรยาลับของซามูไรตอนที่ยังมีชีวิตอยู่[5][6] เธอเริ่มเหงาเนื่องจากซามูไรมักจะออกรบนอกบ้าน และเริ่มมีสัมพันธ์กับผู้คนในเมือง เมื่อซามูไรได้ยินเรื่องนี้ เขาก็โกรธมาก สามีของเธอจึงเฉือนมุมปากของเธอจากหูถึงหูเพื่อเป็นการลงโทษฐานที่เธอไม่ซื่อสัตย์[5][6] ในเรื่องเล่าอีกฉบับ ปากของเธอถูกทำให้เสียโฉมขณะทำทันตกรรมหรือทางการแพทย์ หรือโดยผู้หญิงที่อิจฉาในความงามของเธอ ในเรื่องราวอีกแบบหนึ่ง ปากของเธอเต็มไปด้วยฟันแหลมคมจำนวนมาก[7]
หลังเสียชีวิต สตรีผู้นั้นกลับมาเป็นวิญญาณอาฆาต (อนเรียว) ในฐานะ อนเรียว เธอปิดปากด้วยหน้ากากผ้า (มักระบุเฉพาะเจาะจงเป็นหน้ากากอนามัย) หรือในบางฉบับระบุเป็นพัดโบกหรือผ้าเช็ดหน้า[1] เธอพกของมีคมติดตัวไปด้วย ซึ่งได้รับคำอธิบายว่าอาจเป็นมีด มีดพร้า เคียว หรือกรรไกรขนาดใหญ่[7] เธอได้รับการอธิบายว่ามีความเร็วเหนือธรรมชาติด้วย[8] กล่าวกันว่าเธอจะถามผู้ที่อาจเป็นเหยื่อว่าพวกเขาคิดว่าเธอมีเสน่ห์หรือไม่ ซึ่งมักจะใช้วลีว่า "วาตาชิ, คิเร?" (ญี่ปุ่น: 私、綺麗?; โรมาจิ: Watashi, kirei)[a] (แปลว่า "ฉันสวยไหม?")[1] ถ้าบุคคลนั้นตอบว่า "ไม่" เธอจะฆ่าพวกเขาด้วยอาวุธของเธอ และถ้าบุคคลนั้นตอบว่า "ใช่" เธอจะเปิดปากที่ทำให้เสียโฉม จากนั้นจึงถามซ้ำอีกครั้ง (หรือถามว่า "โคเระ เดโมะ?" ซึ่งแปลว่า "แม้แต่สภาพนี้หรอ?" หรือ "แล้วตอนนี้หล่ะ?") และถ้าบุคคลนั้นตอบว่า "ไม่" หรือกรีดร้องด้วยความกลัว เธอจะสังหารคนั้นด้วยอาวุธของเธอ[1] ถ้าตอบว่า "ใช่" เธอจะเฉือนมุมปากของคนนั้นตั้งแต่หูข้างหนึ่งถึงอีกข้าง คล้ายกับใบหน้าที่เสียโฉมของเธอเอง[1][9]
วิธีการเอาชีวิตรอดจากการเผชิญหน้ากับคูจิซาเกะ-อนนะใช้ได้ด้วยหนึ่งในหลายวิธี ในบางตำนาน คูจิซาเกะ-อนนะจะปล่อยผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อถ้าพวกเขาตอบว่า "ใช่" กับทั้งสองคำถาม แม้ว่าในบางฉบับ เธอจะไปเยี่ยมบ้านของผู้ที่ถูกถามในคืนนั้น และฆ่าบุคคลนั้นขณะนอนหลับ[1][2] กลวิธีอีกอย่างหนึ่งคือการบอกว่าบุคคลนั้นกำลังสาย และเธอจะโค้งคำนับและขอโทษเพื่อให้บุคคลนั้นผ่านไปได้ กลวิธีเอาตัวรอดอื่น ๆ ได้แก่ การตอบคำถามของคูจิซาเกะ-อนนะโดยบรรยายลักษณะภายนอกของเธอว่า "ก็พอใช้ได้" เพื่อให้บุคคลนั้นมีเวลามากพอที่จะวิ่งหนี[2][7] ทำให้เธอไขว้เขวด้วยการให้เงินเธอหรือลูกกวาด โดยเฉพาะลูกกวาดที่มีชื่อว่าเบ็กโกะอาเมะ ที่ทำจากน้ำตาลคาราเมล (หรือโยนลูกอมไปทางเธอ ทำให้เธอหยุดเพื่อหยิบมันขึ้นมา)[1][2][10] หรือพูดคำว่า "ยาขี้ผึ้งใส่ผม" สามครั้ง[2][11]
ประวัติ
[แก้]แมทธิว เมเยอร์ (Matthew Meyer) นักเขียนและนักคติชนวิทยา กล่าวถึงตำนานคูจิซาเกะ-อนนะว่ามีรากฐานถึงยุคเอโดะของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 19[1] แต่อีกูระ โยชิยูกิ ศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีญี่ปุ่น เชื่อว่าตำนานนี้มีอายุถึงเพียงคริสต์ทศวรรษ 1970[3]
ตำนานคูจิซาเกะ-อนนะในเอกสารตีพิมพ์สืบได้ถึง ค.ศ. 1979 มีการรายงานถึงตำนานนี้ในสื่อสิงพิมพ์หลายแห่ง เช่น ใน กิฟุนิจินิจิชิมบุง หนังสือพิมพ์ของจังหวัดกิฟุ ฉบับวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1979 สื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์ ชูกังอาซาฮิ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1979 และนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ ชูกังชินโจ ฉบับวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1979[12] ข่าวลือเกี่ยวกับคูจิซาเกะ-อนนะกระจายไปทั่วญี่ปุ่น ซึ่งทำให้บางครั้งเด็กเล็กจะมีสมาชิกองค์กรผู้ปกครอง–ครูเดินเป็นกลุ่มขณะกลับจากโรงเรียนด้วย[2][4]
ชิเงรุ มิซูกิ นักประวัติศาสตร์และนักเขียนมังงะ ถือให้ตูจิซาเกะ-อนนะเป็นตัวอย่างโยไก ดวงวิญญาณ และปีศาจในคติชนญี่ปุ่น[13] แซ็ก เดวิสสัน ผู้แปลผลงานของมิซูกิหลายงาน กล่าวว่า "เมื่อมิซูกิระบุสาวปากฉีกเข้าในหนึ่งในสารานุกรมโยไกเล่มใหม่ล่าสุดของเขา นั่นเป็นช่วงเธอถือเป็นโยไกอย่างเป็นทางการ"[13]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- แมรีโชกเลือด (Bloody Mary), ความเชื่อทำนองเดียวกันในตำนานพื้นบ้านตะวันตก
- อนเรียว (Onryō), คำเรียกผีร้ายในคติชนญี่ปุ่น
- เทเกะเทเกะ (Teke Teke), ผีหญิงร้ายอีกตนในคติชนญี่ปุ่น
- ตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่น
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Meyer, Matthew (31 May 2013). "Kuchisake onna". Yokai.com. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Philbrook, Scott (co-host); Burgess, Forrest (co-host); Meyer, Matthew (guest) (14 October 2018). "Ep 121: Yokai Horrors of Japan" (Podcast). Astonishing Legends. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
- ↑ 3.0 3.1 Yoshiyuki, Iikura (27 December 2019). "Japanese Urban Legends from the "Slit-Mouthed Woman" to "Kisaragi Station"". Nippon.com. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Alverson, Brigid (16 June 2016). "A Short Course in Yokai with Translator Zack Davisson". Barnes & Noble. สืบค้นเมื่อ 14 August 2019.
- ↑ 5.0 5.1 Matchar, Emily (31 October 2013). "Global Ghosts: 7 Tales of Specters From Around the World". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
- ↑ 6.0 6.1 Fordy, Tom (8 March 2019). "Sadako lives: the true stories behind five Japanese horror movies". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Yoda & Alt 2013, p. 204–206.
- ↑ Yoda & Alt 2013.
- ↑ Harden, Blaine (31 October 2008). "Monsters: Japan has thousands of 'yokai'". The Santa Fe New Mexican. p. A001. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
- ↑ Yoda & Alt 2013, p. 206.
- ↑ Yoda & Alt 2013, p. 206–207.
- ↑ Dylan Foster 2008, p. 252.
- ↑ 13.0 13.1 Lombardi, Linda (7 January 2019). "Shigeru Mizuki, the legendary manga creator and 'Yokai Professor,' finally gets his due". Syfy. สืบค้นเมื่อ 14 August 2019.
ข้อมูล
[แก้]- Dylan Foster, Michael (2008). Pandemonium and Parade: Japanese Monsters and the Culture of Yokai. University of California Press. ISBN 978-0520253629.
- Murguía, Salvador Jimenez (2016). The Encyclopedia of Japanese Horror Films (National Cinemas). Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-1442261662.
- Yoda, Hiroko; Alt, Matt (2013). Yokai Attack!: The Japanese Monster Survival Guide. Tuttle Publishing. ISBN 978-1462908837.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- よくわかる「世界の妖怪」事典―河童、孫悟空から、ドラキュラ、口裂け女まで [A Well-Understood "World Monster" Encyclopedia - from Kappa and Son Goku to Dracula and the Slit-Mouth Woman] (ภาษาญี่ปุ่น). Kosaido Publishing. 2007. ISBN 978-4331654170.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kuchisake-onna (ในภาษาญี่ปุ่น)
- Tales of Ghostly Japan, Japanzine
- Histoire de Kuchisake Onna (ในภาษาฝรั่งเศส)