ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อประเทศเรียงตามการผลิตกาแฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แหล่งผลิตกาแฟของโลก
r: แหล่งปลูก Coffea canephora
m: แหล่งปลูก Coffea canephora และ Coffea arabica.
a: แหล่งปลูก Coffea arabica

รายชื่อแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก

[แก้]
  • จาเมกา เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก บลู เมาเทน ซึ่งปลูกบนยอดเขาสูง ผลผลิตเกือบทั้งหมดถูกส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และที่เหลืออีกเล็กน้อยถูกส่งไป สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, และเยอรมนี ยี่ห้อที่มีชื่อเสียงคือ ไฮ เมาเทน ซูพรีม (Hign Mountain Supreme) และไพรม์ วอชด์ จาเมกัน (Prime Washed Jamaican)
  • บราซิล ผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ของโลก ยี่ห้อมีชื่อคือ บราซิเลี่ยน ซานโตส (Brazillian Santos)
  • โคลอมเบีย ผลิตกาแฟเป็นอันดับ 2 ของโลก กาแฟที่มีชื่อคือ ซูเรโม่ (Suremo)
  • ฮาวาย กาแฟขึ้นชื่อคือ โคน่า (Kona)
  • ประเทศลาว แหล่งปลูกบนที่ราบสูงบ่อละเวน (Bolaven Plateau) เมืองปากซ่อง (Pakxong) แขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งปลูกที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เนื่องจากมีคนเคยนำกาแฟที่ปลูกจากแหล่งนี้ ไปประกวดรสชาติกาแฟในระดับโลก ปรากฏว่ากาแฟที่ส่งเข้าประกวดติด 1 ใน 3 ของกาแฟที่มีรสชาติดีเยี่ยมของโลก โดยเป็นกาแฟสายพันธุ์ อะราบิกา (Arabica) ที่นิยมดื่มกันทั่วโลก
  • อินโดนีเซีย
    • ชวา วิธีการเฉพาะของที่นี่คือ การบ่มในโกดังพิเศษเพื่อให้เมล็ดกาแฟเปลี่ยนสี และมีรสชาติที่ดี
    • สุมาตรา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า กาแฟแมนเฮลิงและอันโกลาของชวา มีรสชาติดีกว่าบลู เมาเทนและโคน่าเสียอีก
  • อินเดีย มีกาแฟรสชาติเฉพาะตัว ชื่อ มอนซูนด์ มาลาบาร์ (Monsooned Malabar)
  • เอธิโอเปีย ประชากร 1 ใน 4 ของประเทศมีรายได้จากอุตสาหกรรมกาแฟ กาแฟที่นี่มีลักษณะเฉพาะเนื่องจากมีกาแฟป่าปะปนอยู่ แต่นี่ก็เป็นสาเหตุให้รสชาติมีความไม่แน่นอนสูงด้วยเช่นกัน กาแฟที่มีชื่อเสียงคือ ฮาร์ราร์ลองเบร์รี (Harrar Longberry), ซิดาโม่ (Sidamo) และคาฟฟา (Kaffa)
  • เคนยา พิถีพิถันเรื่องคุณภาพมาก กาแฟที่มีคุณภาพที่สุดคือ "เคนยา AA"
  • เวียดนาม ส่งออกกาแฟได้เป็นอันดับ 3 ของโลก

การปลูกกาแฟในประเทศไทย

[แก้]

สำหรับประเทศไทยปลูกกาแฟโรบัสตาร้อยละ 98 โดยมากปลูกทางภาคใต้ เช่น ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นกาแฟอะแรบิกาซึ่งปลูกมากตามดอยต่าง ๆ ทางภาคเหนือ กาแฟที่มีชื่อเสียงของไทยได้แก่ กาแฟดอยช้าง ซึ่งปลูกบนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นกาแฟได้จากกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับสากล และรสชาติดีเทียบเคียงกับกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก ส่วนแหล่งปลูกอื่นๆ ในภาคเหนือได้แก่ บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน, บ้านแม่ตอนหลวง อำเภอดอยสะเก็ด, บ้านแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่[1][2][3] และ สวนยาหลวง บ้านสันเจริญ อำเภอท่าวังผา, บ้านมณีพฤกษ์ อำเภอทุ่งช้าง, บ้านห้วยโทน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน[4][5][6] เป็นต้น

ผู้ส่งออกหลักเรียงตามประเทศ

[แก้]
แผนที่ประเทศผู้ผลิตกาแฟ 2019

จากข้อมูลของ World Atlas ผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟหลักในปี 2019 ได้แก่[7]

อันดับ ประเทศ ถุง 60 กิโลกรัม ตัน ปอนด์
1  บราซิล 44,200,000 2,652,000 5,714,381,000
2  เวียดนาม 27,500,000 1,650,000 3,637,627,000
3  โคลอมเบีย 13,500,000 810,000 1,785,744,000
4  อินโดนีเซีย 11,000,000 660,000 1,455,050,000
5  เอธิโอเปีย 6,400,000 384,000 846,575,000
6  ฮอนดูรัส 5,800,000 348,000 767,208,000
7  อินเดีย 5,800,000 348,000 767,208,000
8  ยูกันดา 4,800,000 288,000 634,931,000
9  เม็กซิโก 3,900,000 234,000 515,881,000
10  กัวเตมาลา 3,400,000 204,000 449,743,000
11  เปรู 3,200,000 192,000 423,287,000
12  นิการากัว 2,200,000 132,000 291,010,000
13  จีน(2013–14 est.)[8] 1,947,000 116,820 257,544,000
14  โกตดิวัวร์ 1,800,000 108,000 238,099,000
15  คอสตาริกา 1,492,000 89,520 197,357,000
16  เคนยา 833,000 49,980 110,187,000
17  ปาปัวนิวกินี 800,000 48,000 105,821,000
18  แทนซาเนีย 800,000 48,000 105,821,000
19  เอลซัลวาดอร์ 762,000 45,720 100,795,000
20  เอกวาดอร์ 700,000 42,000 92,594,000
21  แคเมอรูน 570,000 34,200 75,398,000
22  ลาว 520,000 31,200 68,784,000
23  มาดากัสการ์ 520,000 31,200 68,784,000
24  กาบอง 500,000 30,000 66,138,000
25  ไทย 500,000 30,000 66,138,000
26  เวเนซุเอลา 500,000 30,000 66,138,000
27  สาธารณรัฐโดมินิกัน 400,000 24,000 52,910,000
28  เฮติ 350,000 21,000 46,297,000
29  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 335,000 20,100 44,312,000
30  รวันดา 250,000 15,000 33,069,000
31  บุรุนดี 200,000 12,000 26,455,000
32  ฟิลิปปินส์ 200,000 12,000 26,455,000
33  โตโก 200,000 12,000 26,455,000
34  กินี 160,000 9,600 21,164,000
35  เยเมน 120,000 7,200 15,873,000
36  คิวบา 100,000 6,000 13,227,000
37  ปานามา 100,000 6,000 13,227,000
38  โบลิเวีย 90,000 5,400 11,904,000
39  ติมอร์-เลสเต 80,000 4,800 10,582,000
40  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 65,000 3,900 8,598,000
41  ไนจีเรีย 40,000 2,400 5,291,000
42  กานา 37,000 2,220 4,894,000
43  เซียร์ราลีโอน 36,000 2,160 4,761,000
44  แองโกลา 35,000 2,100 4,629,000
45  จาเมกา 21,000 1,260 2,777,000
46  ปารากวัย 20,000 1,200 2,645,000
47  มาลาวี 16,000 960 2,116,000
48  ตรินิแดดและโตเบโก 12,000 720 1,587,000
49  ซิมบับเว 10,000 600 1,322,000
50  ไลบีเรีย 6,000 360 793,000
51  แซมเบีย 2,000 120 264,000

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หอมกลิ่นกาแฟที่บ้านแม่กำปอง
  2. "ทุกทิศทั่วไทย : แหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า จ.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
  3. "สถานีวิจัยและส่งเสริมกาแฟอราบิก้าแม่หลอด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
  4. "กาแฟสวนยาหลวง" ...กาแฟดีที่ท่าวังผา
  5. ท่องเที่ยวไทย หยัดยืนบนแผ่นดินผืนนี้ บ้านมณีพฤกษ์
  6. กาแฟ (ห้วยโทน) สวมหมวกบนยอดดอย
  7. Szenthe, Adriana (May 29, 2019). "Top Coffee Producing Countries". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-06.
  8. ICO - Coffee in China