ข้ามไปเนื้อหา

ยฺวิ้นเยิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยฺวิ้นเยิ้งในภาษาจีนกวางตุ้ง ยฺเวียนยังในภาษาจีนกลาง (จีน: 鴛鴦; พินอิน: Yuānyāng; ยฺหวิดเพ็ง: jyun1 joeng1) กาแฟผสมชา หรือโกปีชัมในภาษามลายู (มลายู: kopi cham)[3] เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มในฮ่องกง มีส่วนผสมได้แก่กาแฟสามส่วนและชานมฮ่องกงเจ็ดส่วน นิยมดื่มทั้งแบบร้อนและเย็น[4] แต่เดิมจะมีจำหน่ายเฉพาะในไต่ไผ่ตงหรือร้านอาหารแบบเปิดโล่ง และในฉ่าช้านแท้งหรือร้านกาแฟเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีจำหน่ายตามร้านอาหารทั่วไป[5][6]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อยฺวิ้นเยิ้งหรือยฺเวียนยังแปลว่าเป็ดแมนดาริน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงความรักแท้ในวัฒนธรรมจีนเนื่องจากเป็ดแมนดารินจะครองคู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต และเป็ดแมนดารินตัวผู้กับตัวเมียแตกต่างอย่างชัดเจน[7] ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับการรวมเอาของสองสิ่งที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน[4]

ต้นกำเนิด

[แก้]
โกปีชัมในประเทศมาเลเซีย

ร้านไต่ไผ่ตงชื่อหล่านฟ้องยหวิ่น (จีน: 蘭芳園; ยฺหวิดเพ็ง: laan4 fong1 jyun4)[8]อ้างว่าเจ้าของร้านเป็นผู้คิดค้นสูตรยฺวิ้นเยิ้งและสูตรชานมแบบฮ่องกงใน ค.ศ. 1952[9] แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันว่าเจ้าของร้านหล่านฟ้องยหวิ่นเป็นผู้คิดสูตรยฺวิ้นเยิ้งก็ตาม แต่มีการอ้างถึงสูตรชานมของร้านหล่านฟ้องยหวิ่นในบันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติฮ่องกง[10]

การดัดแปลง

[แก้]

สตาร์บัคส์

[แก้]

ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2010 ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ในฮ่องกงและมาเก๊าจำหน่ายยฺวิ้นเยิ้งแบบแฟรปปุชชีโน[11] โดยใช้ชื่อเมนูว่า "Yuen Yeung Frappuccino Blended Cream"[12]

ยฺวิ้นเยิ้งสำหรับเด็ก

[แก้]

ยฺวิ้นเยิ้งสำหรับเด็กหรือหยี่ถ่งยฺวิ้นเยิ้ง (จีน: 兒童鴛鴦; ยฺหวิดเพ็ง: ji4 tung4 jyun1 joeng1) ซึ่งไม่มีกาเฟอีนทำจากเครื่องดื่มมอลต์สองชนิดผสมกันได้แก่ฮอร์ลิกส์และโอวัลติน ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีจำหน่ายในฉ่าช้านแท้งทั่วไปในฮ่องกง[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Yuenyeung Coffee with Tea". The University of Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  2. Tam, Arthur (12 August 2019). "Coffee or tea? Order a yuen yeung – the off-menu, half-half hybrid served at cafes across Hong Kong". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  3. "Teh & Kopi". July 23, 2007.
  4. 4.0 4.1 ""Yuanyang" exhibition showcases the contemporary ceramic art" (Press release). HKSAR Leisure and Cultural Services Department. 2003-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-24. สืบค้นเมื่อ 2007-01-12.
  5. "What is Yuen Yeung, Coffee & Milk Tea?". Coffeelnformer. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  6. "Cha Chaan Teng: Our Hong Kong–Style Tea Restaurant". City University of Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  7. "教育部國語辭典:鴛鴦". Ministry of Education, Taiwan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-01. สืบค้นเมื่อ 2007-01-14.
  8. "Lan Fong Yuen (Central)". OpenRice Hong Kong.
  9. "Brand Story_LAN Fong Yuen milk tea". www.hklanfongyuen.com.
  10. "OFFICIAL RECORD OF PROCEEDINGS Wednesday, 19 December 2007" (PDF). สภานิติบัญญัติฮ่องกง (ภาษาอังกฤษ). สภานิติบัญญัติฮ่องกง. 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
  11. Michael Taylor (8 October 2010). "Starbucks Takes on Hong Kong Tastes (Part 2)". accidentaltravelwriter.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-30. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.
  12. Starbucks Hong Kong: "Escape This Summer With a Taste of Home เก็บถาวร 2010-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" September 16, 2010
  13. Lew, Josh. "Coffee or tea? With this drink, you get both". mnn.com. Narrative Content Group. สืบค้นเมื่อ 24 August 2019.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยฺวิ้นเยิ้ง