เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่ง ราชมิตราภรณ์ | |
---|---|
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย | |
อักษรย่อ | ร.ม.ภ. |
ประเภท | สายสะพายและดารา (ชั้นเดียว) |
วันสถาปนา | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2505 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
แพรแถบ | |
ผู้สมควรได้รับ | ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ |
มอบเพื่อ | การเจริญสันถวไมตรีกับต่างประเทศ |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สถิติการมอบ | |
รายแรก | สมเด็จพระราชาธิบดีซัยยิด ปูตรา 20 มิถุนายน พ.ศ. 2505 |
รายล่าสุด | สมเด็จพระราชาธิบดีมีซัน ไซนัล อาบีดิน 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 |
ทั้งหมด | 33 ราย |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | ไม่มี (เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับสูงสุด) |
รองมา | เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (อังกฤษ: Knight and Dame of the Most Auspicious Order of the Rajamitrabhorn) เรียกโดยย่อว่า "ร.ม.ภ." เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 โดยเหตุที่ว่าได้มีการผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ[1] โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงที่สุดของไทย[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ มีพระมหากษัตริย์เป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และมีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้แก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ
องค์ประกอบของ ร.ม.ภ.
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบ มีนายสนิท ดิษฐพันธุ์เป็นช่างผู้เขียนแบบและหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ทรงควบคุม[3] โดย 1 สำรับ ประกอบด้วย[1]
- ดวงตราสำหรับสายห้อยสร้อย มีรูปจักรและตรีศูลขัดกัน ประดับเพชรอยู่ในวงกลมบนพื้นสีขาบ ขอบวงกลม เป็นเพชรสร่งเงินมีรัศมีทองแปดแฉก ด้านหลังมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." อยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาว ขอบวงกลมสีน้ำเงิน เบื้องบนด้านหน้ามีอุณาโลมและพระมหามงกุฎทองมีรัศมีทองห้อยกับสายสร้อยทองรูปดอกชัยพฤกษ์สลับกนกเกลียว ตรงที่ห้อยดวงตรามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." ประดับเพชร อยู่ในรูปปทุมลงยาสีเหลือง ใช้สำหรับสวมคอ
- ดวงตราสำหรับห้อยสายสะพาย มีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตราสำหรับห้อยสายสร้อย แต่มีขนาดเล็กกว่า รูปจักรและตรีศูลลงยาสีขาวด้านหลังไม่มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ห้อยกับสายสะพายแพรแถบสีเหลืองขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร มีริ้วสีขาวกว้าง 5 มิลลิเมตรใกล้ขอบทั้งสองข้าง ริมริ้วสีขาวทั้ง 2 ข้าง มีเส้นสีน้ำเงิน สะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
- ดารา มีรูปนารายณ์ทรงครุฑทองอยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาบขอบวงกลมเป็นเพชนสร่งเงินมีรัศมีทองแปดแฉก ประดับที่อกเสื้อด้านซ้าย หมายเหตุ: สำหรับองค์ประธานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราจะมีขนาดใหญ่และประดับเพชรทั้งดวง
สำหรับประมุขของรัฐต่างประเทศที่เป็นสตรีดวงตรา ดารา และสายสร้อยจะมีขนาดเล็กกว่า รวมทั้ง ใช้สายสะพานขนาดกว้าง 7 เซนติเมตร
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายสำหรับประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมีลักษณะเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑทองอยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาบ[4] และเครื่องหมายที่ใช้เป็นดุมเสื้อเป็นรูปดอกไม้จีบด้วยแพรแถบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเครื่องสากลโดยให้ประดับที่รังดุมคอพับของเสื้อชั้นนอกเบื้องซ้าย[5] และสามารถใช้ประดับเมื่อสวมชุดไทย โดยบุรุษมีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเสื้อชุดไทยสีสุภาพ โดยประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย บริเวณปากระเป๋าเสื้อ ส่วนสตรีนั้น มีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเสื้อชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ และชุดไทยบรมพิมาน โดยประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย[6]
ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]รายพระนามและชื่อผู้ได้รับ ร.ม.ภ.
[แก้]ประมุขของประเทศที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีทั้งสิ้น 33 สำรับ
ผู้ได้รับถวายและรับพระราชทาน ร.ม.ภ. ที่ยังทรงพระชนม์และยังมีชีวิตอยู่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, เล่ม ๗๙, ตอน ๕๒ ก, ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕, หน้า ๖๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ , เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สถาปนาในรัชกาลปัจจุบัน, สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกากำหนดเครื่องหมายสำหรับประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และที่ใช้เป็นดุมเสื้อ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๕, เล่ม ๗๙, ตอน ๕๓ ก ฉบับพิเศษ, ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกากำหนดเครื่องหมายสำหรับประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และที่ใช้เป็นดุมเสื้อ พ.ศ. ๒๔๙๘, เล่ม ๗๒, ตอน ๙๐ ก, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘, หน้า ๑๕๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกากำหนดเครื่องหมายสำหรับประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และที่ใช้เป็นดุมเสื้อ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘, เล่ม ๑๐๒, ตอน ๙๖ ก ฉบับพิเศษ, ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีแห่งสหพันธ์มลายา เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙, ตอน ๗๑ง, ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕, หน้า ๑๗๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชมิตราภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙, ตอน ๑๑๓ง, ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕, หน้า ๒๗๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชมิตราภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐, ตอน ๔ง, ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศกรีซ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐, ตอน ๓๕ง, ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๑๑๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาว เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐, ตอน ๓๕ง, ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๑๑๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑, ตอน ๗๐ ง, ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๒๐๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเทอร์แลนด์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑, ตอน ๙ง, ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๒๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔, ตอน ๑๐ ง, ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ๓๗, ตอน ๓๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕, ตอน ๓๒ ง ฉบับพิเศษ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑, หน้า ๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐, ตอน ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ, ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๖, หน้า ๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑, ตอน ๔๕ ง ฉบับพิเศษ, ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗, หน้า ๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชมิตราภรณ์ แด่ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งประเทศมาเลเซีย เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๔ง ฉบับพิเศษ, ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙, หน้า ๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี แห่งเนปาล พร้อมด้วยคณะ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๘๐ง, ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ , หน้า ๒๐๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก่ชาวต่างประเทศ พลเอก โมฮัมหมัด เซีย อุล ฮัก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔, ตอน ๒๒๓ ง, ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๗๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก่ชาวต่างประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี แห่งสเปนและคณะ เก็บถาวร 2014-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔, ตอน ๒๕๗ง, ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๘๓๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน ๗ ราย เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๑๘๙ ง, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑. หน้า ๘๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗, ตอน ๒๕๖ง, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓, หน้า ๑๑๐๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (แด่ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นราชมิตราภรณ์) เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๗๔ ง, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๙๗๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นายไกสอน พมวิหาน, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๑๒ ง, ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๖๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านซาลาฮุดดิน อับดุล อาซิซ ชาห์ และสมเด็จพระราชินี ตอนกูซีตี ไอซาห์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗, ตอน ๑๖ข, ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ ๒ แห่งเดนมาร์ก เจ้าชายเฮนริก แห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี และเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ ๑๖ กุสตาฟ และสมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งราชอาณาจักรสวีเดน เก็บถาวร 2014-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐, ตอน ๔ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และเจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๖ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖, ตอน ๔ ข, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๑